“…ปัญหาสุขภาพทั้งทางกาย และจิตใจ ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ มีการคาดประมาณว่าในปี 2590 จะมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 1.2 ล้านคน และต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงถึงประมาณ 3.4 แสนล้านบาท และในด้านที่อยู่อาศัยพบว่า ผู้สูงอายุในประเทศไทยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 92.44 ต้องการที่จะอยู่อาศัยในที่อยู่อาศัยเดิม และต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ…”
‘13 เมษายน’ วันผู้สูงอายุแห่งชาติ นับเป็นหนึ่งในวันสำคัญช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี โดยเฉพาะในปี 2566 นี้ ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด แต่ทั้งนี้ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงวัย ตั้งแต่ปี 2548 แล้ว
‘ผู้สูงอายุ’ ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญของครอบครัวไทย เนื่องจากสังคมไทยมักจะอาศัยอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ผู้สูงอายุจึงเปรียบเสมือนร่มโพธิ์ ร่มไทร เป็นที่พักใจในบ้าน
แต่ในปัจจุบัน ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผู้คนส่วนใหญ่จำเป็นจะต้องโยกย้ายหรือเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้ต้องจากบ้านมา และเดินทางกลับบ้านในช่วงเทศกาลเพื่อที่ครอบครัวได้จะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน ชวนกันคุยกันหลากหลายสาระ ความสุข ความทุกข์ ความคิดถึง และการขอพรอันประเสริฐจากพ่อ-แม่-ญาติผู้ใหญ่ เพื่อได้นำกลับไปใช้ดำเนินชีวิตในเมือง ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนต่อไป
แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกครอบครัวอาจจะลืมคำนึงถึง คือ การกลับบ้านมาอยู่รวมกับครอบครัวใหญ่แต่ละครั้งการพูดคุยและการสำรวจบ้านที่อยู่อาศัยมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของทุกช่วงวัยหรือไม่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่มักจะใช้ชีวิตกันเพียงลำพังกัน 2 คน
จากผลการวิจัยจำนวนมาก พบว่า ผู้สูงอายุประสบอุบัติเหตุภายในบ้านที่อยู่อาศัยจำนวนมาก โดยพื้นที่บ้านที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตในยามสูงวัย เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัว พื้นที่รอบบ้าน เส้นทางการเดินภายในและพื้นที่สาธารณะใกล้ ๆ บ้าน
การเกิดอุบัติเหตุจากการหกล้มเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการบาดเจ็บและเจ็บป่วยเรื้อรัง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตระยะยาว โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวร่างกายการเดิน การต้องใช้กายอุปกรณ์ช่วยพยุงร่างกาย เป็นต้น
การปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยและพื้นที่โดยรอบให้เหมาะสมต่อช่วงวัยเป็นการป้องกันและส่งเสริมการใช้ชีวิตให้มีความปลอดภัยและมีความสุขในระยะยาว
สถิติจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าเมื่อสิ้นปี 2565 ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวน 12,698,362 คน หรือคิดเป็นจำนวน 19.21% ของประชากรทั้งหมด 66,090,475 คน
ในจำนวนผู้สูงอายุกว่า 12 ล้านคนนี้ เป็นชาย 5,622,074 คน และหญิง 7,076,288 คน โดยกลุ่มที่มากที่สุดประมาณครึ่งหนึ่งคือกลุ่มอายุ 60-69 ปี
ข้อมูลล่าสุดจากฐานข้อมูลประชากรของกรมการปกครอง เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2566 พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว มีจำนวน 36,986 คน เป็นชาย 18,456 คน หญิง 18,530 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2556 เพิ่มขึ้นประมาณ 7 พันคน จากจำนวน 29,935 คน เป็นชาย 14,604 คน หญิง 15,331 คน นำสู่ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในปี 2566 นี้ มีผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นหลายพันคน แต่ทั้งนี้ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สมรรถภาพทางร่างกายก็เสื่อมถอยลง และนำมาสู่อุบัติเหตุที่ได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่อยู่ไม่เหมาะสม
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักประสานงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่องานนิติบัญญัติ สังคมคุณภาพและผู้สูงวัย ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สถาบันคลังสมองของชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา จัดเวที Public Policy Forum ครั้งที่ 2 เรื่อง ‘กลับบ้านช่วงสงกรานต์ สำรวจบ้านที่พ่อ-แม่-ตนเอง-ครอบครัว จะอยู่ร่วมกันยามสูงวัย’ เพื่อสื่อสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบที่อยู่อาศัยใน การส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุไทย และนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสู่ภาคนิติบัญญัติและภาคส่วนต่างๆ เพื่อหาแนวทางลดข้อปัญหาที่ เกิดขึ้น
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาอยู่ในที่พักอาศัยมากขึ้น เนื่องจากเกษียณอายุจากการทำงาน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถดถอยของร่างกายและการเคลื่อนไหว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุบัติเหตุในผู้สูงอายุมีมากขึ้น นํามาซึ่งความพิการและสูญเสียจำนวนมาก
ด้วยเหตุนี้ การออกแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคม จึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผ่านมา แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการจัดทำมาตรการ เพื่อกำหนดรูปแบบที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตร รวมทั้งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ช่วยเหลือการดำรงชีวิต (Assisted living) ของผู้สูงอายุ
แต่กลับพบว่ามาตรการและการดำเนินการดังกล่าวยังมีช่องว่าง อีกทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ยังขาดองค์ประกอบในการตอบโจทย์การอยู่อาศัยร่วมกันของผู้สูงอายุและคนหลากหลายวัยในอนาคต
จากการศึกษาโครงการวิจัย ‘รูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย-ใจ ภายใต้ แนวคิดชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ’ โดย รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ปัญหาสุขภาพทั้งทางกาย และจิตใจ ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ มีการคาดประมาณว่าในปี 2590 จะมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 1.2 ล้านคน และต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงถึงประมาณ 3.4 แสนล้านบาท และในด้านที่อยู่อาศัยพบว่า ผู้สูงอายุในประเทศไทยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 92.44 ต้องการที่จะอยู่อาศัยในที่อยู่อาศัยเดิม และต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
จึงนำมาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้
-
ควรผลักดันให้แนวคิดการสูงวัยในถิ่นเดิม และชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เป็นแนวทางหลักในการกำหนด และด าเนินนโยบายของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานโยบายด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ให้มีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเดิม และเพิ่มการปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน
-
ควรผลักดันให้การปรับปรุงที่อยู่อาศัยเดิมสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยเป็นภารกิจหลัก และควรเพิ่มกระบวนการดำเนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วน มีการขยายขอบเขตไปยังที่อยู่อาศัยที่มีความเสื่อมโทรมมากสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ด้วยการปรับปรุงหรือสร้างใหม่ เพราะเป็นกลุ่มที่มีความจำเป็น และงบประมาณในการปรับปรุงที่ภาครัฐกำหนดไว้ไม่เพียงพอ
-
ควรดำเนินการส่งเสริม กำกับ และดูแลให้สถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวทุกแห่ง จดทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบของทางราชการ และก าหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวให้ชัดเจน
-
ควรดำเนินการส่งเสริมช่างชุมชน ด้วยการจัดท าหลักสูตรอบรมให้ความรู้ ศึกษาดูงาน ทดลองปฏิบัติงานจริง และลงทะเบียนสำหรับช่างชุมชนที่ผ่านหลักสูตรแล้ว เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับใช้รับงานปรับปรุงที่อยู่อาศัย และพื้นที่ส่วนกลางสำหรับภาครัฐได้
ส่วนในกรณีของการออกแบบปรับปรุงบ้านที่มีความเสื่อมโทรมมากผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย รศ.ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยเสนอให้ปรับระเบียบกองทุนผู้สูงอายุให้สามารถใช้เพื่อการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสภาพแวดล้อมที่ดี โดยดำเนินการได้ใน 2 ลักษณะ คือ
-
แบบให้เปล่า เพื่อช่วยเหลือผู้สูงที่ท้องถิ่นเสนอขอผ่านกระบวนการชุมชน
-
แบบกู้ยืม ดอกเบี้ยต่ำ และ งดดอกเบี้ย 3 ปีแรก (เช่นเดียวกับกำรกู้ยืมประกอบอาชีพ)
หรือ ปรับระเบียบระเบียบกรมกิจการผู้สูงอายุว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุและการเสริมสร้างชุมชนที่เป็นมิตรสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ. 2562 โดยเพิ่มกรอบวงเงินในการปรับบ้านที่มีความเสื่อมโทรมมาก เป็นวงเงินไม่เกิน 120,000 บาท
กำหนดให้บ้านที่ต้องการจะปรับปรุงที่เข้าข่าย บ้านที่มีความเสื่อมโทรมมากตามแบบประเมินบ้านที่มีความเสื่อมโทรม
มากและในกำรพิจำรณำจะต้องพิจารณำร่วมกันของคณะกรรมกำรท้องถิ่นที่และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จังหวัด โดยเห็นชอบแต่งตั้งฯ ตำมกำรพิจำรณำเงื่อนไข คือ
-
ต้องใช้งบประมาณปรับมากกว่า 40,000 บาท
-
มีโครงสร้างที่เสื่อมโทรมจนยำกที่จะแก้ไขได้
-
ต้องปรับพื้นที่ในบ้านเกินกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด
-
ได้รับการรับรองจาก วิศวกรหรือสถาปนิกหรือนายช่างท้องถิ่น หรือผู้เชี่ยวชาญ เห็นว่าควรสร้างบ้านใหม่เหมาะกว่าซ่อมบ้านเดิม
-
เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย
-
แต่ละชุมชนอำจเพิ่มเกณฑ์ได้ตามสมควร เช่น เป็นผู้มีจิตอาสา เป็นผู้ที่มีเครดิตในธนาคารเวลา
และเมื่อผ่านเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ต้องผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้สูงอายุ/คนพิกำรที่เป็นเจ้าของบ้าน ตลอดจนคนในบ้านหลังนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ เกณฑ์การพิจารณางบประมาณดังกล่าวควรมีการนำกรอบอัตราเงินเฟ้อมาพิจารณาปรับปรุงทุก ๆ 5 ปี
ทั้งหมดนี้ คือ ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ว่าด้วย ‘สังคมสูงวัย’ กับ ‘บ้านที่อยู่อาศัย/พื้นที่สาธารณะ’ จะต้องติดตามต่อไปว่า ในช่วงสถานการณ์โค้งสุดท้ายสู่การเลือกตั้งนี้ แต่ละพรรคการเมืองจะมีนโยบายสำหรับรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ของประเทศไทยอย่างไร