"...ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ได้รวบรวมข้อมูลทางสถิติการเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร ของ ส.ส.ชุดที่ 25 นับตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2562 จนถึงวันที่ 1ก.พ. 2566 คิดเป็นจำนวนวันประชุม 269 วัน จากฐานข้อมูลสำนักบริหารงานกลาง กลุ่มงานข้อมูลข่าวสาร ของ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยแบ่งหัวเรื่อง ส.ส.ที่เข้าประชุมน้อยที่สุด , ส.ส.ที่เข้าประชุมไม่ถึง 100 วัน , ส.ส.ที่มาประชุมด้วยจำนวนวันสูงสุด และ ส.ส.ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งหลังจากวันที่ 1. ก.พ. 2566..."
กรณีเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ส่งผลทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะต้องมีการจัดให้มีการเลือกตั้งในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันหลังมีพระราชกฤษฎีกา นั้น
ในตอนที่แล้ว สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำข้อมูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ป้ายแดง 2 รายสุดท้าย ที่เข้ามารับตำแหน่งได้ประมาณ 7 วัน ก่อนที่จะมีการประกาศยุบสภาฯ ดังกล่าว คือ นายวิวัฒน์ เจริญพาณิชย์ศิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ และ นางศิริรัตน์ สุขสนาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท มาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว
โดยบุคคลทั้งสอง เข้ามาดำรงตำแหน่ง ส.ส. ได้ เพราะผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส.ในบัญชีรายชื่อ ลำดับก่อนหน้าตนเอง ลาออกไป ทำให้มีการเลื่อนรายชื่อบุคคลทั้งสองขึ้นมาเป็น ส.ส.แทนตำแหน่งที่ว่างลง
- โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภา 2566 (1)
- ควันหลงยุบสภาฯ! เปิดตัว 'วิวัฒน์-ศิริรัตน์' ส.ส.(ใหม่) 2 คนสุดท้ายอยู่ในตำแหน่ง 7 วัน (2)
ทั้งนี้ นอกจากข้อมูล ส.ส.ที่มีช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง เพียงแค่ 7 วัน ดังกล่าวแล้ว
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ได้รวบรวมข้อมูลทางสถิติการเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร ของ ส.ส.ชุดที่ 25 นับตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2562 จนถึงวันที่ 1ก.พ. 2566 คิดเป็นจำนวนวันประชุม 269 วัน จากฐานข้อมูลสำนักบริหารงานกลาง กลุ่มงานข้อมูลข่าวสาร ของ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
โดยแบ่งหัวเรื่อง ส.ส.ที่เข้าประชุมน้อยที่สุด , ส.ส.ที่เข้าประชุมไม่ถึง 100 วัน , ส.ส.ที่มาประชุมด้วยจำนวนวันสูงสุด และ ส.ส.ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งหลังจากวันที่ 1. ก.พ. 2566
แสดงข้อมูลจากน้อยที่สุด ไปจนถึง มากที่สุด
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
@ส.ส.ที่เข้าประชุมน้อยที่สุด 10 อันดับแรกนับตั้งแต่วันที่เข้าประชุม 25 พ.ค.2562-1 ก.พ.2566
1.นายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เข้าประชุม 125 วัน
@ นายอนุทิน ชาญวีรกุล
2.นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส.พรรคประชาชาติ เข้าประชุม 154 วัน
3.นางสาวศุภมาส อิศรภักดี ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เข้าประชุม 168 วัน
4.นาย ศักดา คงเพชร ส.ส.พรรคเพื่อไทย เข้าประชุม 176 วัน
5. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ส.ส. พรรคภูมิใจไทย เข้าประชุม 181 วัน
6.นายกนก ลิ้มตระกูล ส.ส.พรรคเพื่อไทย เข้าประชุม 186 วัน
7.นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา เข้าประชุม 204 วัน
8.นายภาควัต ศรีสุรพล ส.ส.พรรคเพื่อไทย และนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ส.ส.พรรคพลังประชารัฐมีวันประชุมเท่ากันคือ 211 วัน
9.นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.และหัวหน้าพรรคก้าวไกล เข้าประชุม 213 วัน
10.นายฐานิสร์ เทียนทอง ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ มีวันเข้าประชุม 212 วัน (ลาออกจาก ส.ส. 9 ก.พ.2566)
@ส.ส.ที่เข้าประชุมไม่ถึง 100 วัน น้อยสุด 10 อันดับแรก เนื่องจากประสบเหตุทางการเมือง
ตลอดสมัยการประชุมของ ส.ส.ชุดที่ 25 พบว่ามีกรณีของ ส.ส.ที่ประสบอุบัติเหตุทางการเมือง อาทิ การต้องโทษคดี ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ส.ส.ที่ลาออก จนเป็นเหตุทำให้มีการเลื่อนบัญชีรายชื่อของ ส.ส. จึงมี ส.ส.ที่มีระยะเวลาของการประชุมไม่ถึง 100 วันเป็นจำนวนหลายคน
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.นายจักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ ส.ุส. พรรคประชาธิปัตย์เข้าประชุม 1 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อวันที่ 18 ม.ค. 2563 ลาออก 28 ม.ค. 2563 ,นายโกมินทร์ ทีฆธนานนท์ ส.ส.พลังประชารัฐ เข้าประชุม 1 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 24 ม.ค.2566,ร้อยตำรวจเอกจอมเดช ตรีเมฆ ส.ส.พรรครวมพลังเข้าประชุม 1 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 ,นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ส.ส.พรรครวมพลังเข้าประชุม 1 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 1 ส.ค. 2562 ลาออก 2 ส.ค. 2562
2. นางมารศรี ขจรเรืองโรจน์ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ เข้าประชุม 2 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 24 ม.ค.2566 ,นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.พรรครวมพลัง เข้าประชุม 2 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 17 ธ.ค.2565 นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าประชุม 2 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 25 ม.ค. 2566 ,นายสุรบถ หลีกภัย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าประชุม 2 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 2 ม.ค. 2566
3.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าประชุม 3 วัน ลาออก 5 มิ.ย.2562
@ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
4.นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เข้าประชุม 7 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 10 ม.ค.2566
5.นายสิทธิพงศ์ วงศ์เลิศศักดิ์ ส.ส.พรรคพลังท้องถิ่นไท เข้าประชุม 11 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อแทน 29 ธ.ค.2565
6.นายยอดยิ่ง แสนยากุล ส.ส.พรรคพลังท้องถิ่นไทเข้าประชุม 12 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 29 ธ.ค. 2565
7.นายทรงศักดิ์ ทองศรี ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เข้าประชุม 14 วัน ลาออก 23 ก.ค.2562
8.นายรองรักษ์ บุญศิริ ส.ส.พรรคประชาภิวัฒน์ เข้าประชุม 15 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 17 ธ.ค.2565,นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าประชุม 15 เลื่อนบัญชีรายชื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2565,นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ ส.ส.พรรคเพื่อชาติเข้าประชุม 15 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 17 ธ.ค.2565
9.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าประชุม 17 วัน ลาออก 8 ส.ค. 2562,มรว.จตุมงคล โสณกุล ส.ส.พรรครวมพลังประชาชาติไทย เข้าประชุม 17วัน ลาออก 31 ก.ค. 2562,นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐเข้าประชุม 17 วัน ลาออก 29 ก.ค.2562
10.นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.พรรคประชาภิวัฒน์ เข้าประชุม 19 วัน ลาออกวันที่ 11 ส.ค. 2562
11.นางวลัยพร รัตนเศรษฐ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เข้าประชุม 22 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 30 พ.ย.2565
12.นายนวัธ เตาะเจริญสุข ส.ส.พรรคเพื่อไทย เข้าประชุม 25 วัน สิ้นสุดสมาชิกภาพ 16 ต.ค.2562
13.นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าประชุม 27 วัน ลาออก 13 ก.ย. 2562
14.นายเดชทวี ศรีวิชัย ส.ส.พรรคเสรีรวมไทย เข้าประชุม 28 วัน หลังจากได้รับการเลือกตั้งแทน 10 ก.ค.2565 ลาออกจากตำแหน่ง 24 ธ.ค.2565
15.นายนราพัฒน์ แก้วทอง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าประชุม 33 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 22 มี.ค.2565 ลาออก 26 ส.ค.2565
16.นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เข้าประชุม 34 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 20 ส.ค.2565 ลาออก 19 ม.ค. 2566
17.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ) เข้าประชุม 38 วัน ลาออกพรรค 9 ธ.ค.2562
18.นายเจือ ราชสีห์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าประชุม 39 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 31 ส.ค.2565
19.นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าประชุม 40 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 31 ส.ค.2565
20.นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปัจจุบันอยู่พรรคชาติพัฒนากล้า) เข้าประชุม 43 วัน ลาออกจากพรรควันที่ 15 ม.ค. 2563
21.นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เข้าประชุม 58 วัน ถึงแก่อนิจกรรม 7 พ.ค.2563
22.นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าประชุม 59 วัน เลือกตั้งแทน 21 พ.ค.2565
23.นายอิสรพงษ์ มากอำไพ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าประชุม 66 วัน เลือกตั้งแทน 16 ม.ค.2565
24.นางสาวสุภาพร กำเนิดผล ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าประชุม 68 วัน เลือกตั้ง 16 ม.ค. 2565
25.นางสาวจิราพร นาคดิลก ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ เข้าประชุม 72 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 22 ก.พ.2565
26.นายภาคิน สมมิตรธนกุล ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เข้าประชุม 72 วันเลื่อนบัญชีรายชื่อแทน 21 เม.ย.2565
27.นายสุรชาติ เทียนทอง ส.ส.พรรคเพื่อไทย เข้าประชุม 74 วัน เลือกตั้งแทน 30 ม.ค.2565
28.นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เข้าประชุม 79 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 19 ม.ค.2565
29.นางนาที รัชกิจประการ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เข้าประชุม 84 วัน สิ้นสุดสมาชิกภาพ 27 ส.ค. 2563
30.นายชวน ชูจันทร์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ 89 วันเลื่อนบัญชีรายชื่อ 19 ม.ค.2565
31.นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าประชุม 91 วัน สิ้นสุดสมาชิก 16 ก.ย. 2563
32.นายต่อศักดิ์ อัศวเหม ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เข้าประชุม 96 วัน เลื่อนบัญชีรายชื่อ 14 ธ.ค.2564
33.นายธัญญ์วาริณ สุขะพิสิษฐ์ ส.ส.พรรคก้าวไกลเข้าประชุม 96 วัน สิ้นสุดสมาชิก 6 ก.พ.2562
34.นายวัฒนา สิทธิวัง ส.ส.พรรคเศรษฐกิจไทย เข้าประชุม 100 วัน เลือกตั้งแทน 20 มิ.ย.2563 หยุดปฏิบัติหน้าที่ 26 ม.ค.2565 ศาลฎีกามีคำสั่ง 27 พ.ค. 2565 ให้เลือกตั้งใหม่ (นายนายเดชทวี ศรีวิชัย ชนะเลือกตั้ง)
@ส.ส.ที่มาประชุมด้วยจำนวนวันสูงสุด 3 อันดับแรก
ส่วนสถิติส.ส.ที่มาประชุมจำนวนวันสูงสุด 3 อันดับแรก ที่ ส.ส.ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุม ส.ส.ชุดที่ 25 ได้แก่ 269 วัน,268 วัน และ 267 วันตามลำดับ มีดังนี้
1. ส.ส.ที่เข้าประชุมด้วยจำนวนวัน 269 วันได้แก่ นายโกวิทย์ พวงงาม ส.ส.พรรคพลังท้องถิ่นไท,นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์,นายประกอบ รัตนพันธ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์,นางสาว วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.พรรคก้าวไกล,นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.พรรคก้าวไกล,นางสาวเบญจา แสงจันทร์ ส.ส.พรรคก้าวไกล,นายทวีศักดิ์ ทักษิณ ส.ส.พรรคก้าวไกล,นายองค์การ ชัยบุตร ส.ส.พรรคก้าวไกลและนายวิรัช พันธุมะผล ส.ส.พรรคภูมิใจไทย
@ นายโกวิทย์ พวงงาม
2. ส.ส.ที่เข้าร่วมประชุมด้วยจำนวนวัน 268 วันได้แก่ นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย ส.ส.พรรคเพื่อไทย,นายภิญโญ นิโรจน์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ,นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร ส.ส.พรรคเพื่อไทย,นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ส.ส.พรรคเพื่อไทย,นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล,นายปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ ส.ส.พรรคก้าวไกล,พลตำรวจตรี สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.พรรคก้าวไกล,นางอาภรณ์ สาราคำ เพื่อไทย
3. ส.ส.ที่เข้าประชุมด้วยจำนวนวัน 267 วันได้แก่นายประสิทธิ์ มะหะหมัด ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ,นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ ส.ส.พรรคก้าวไกล,นายทศพร ทองศิริ ส.ส.พรรคก้าวไกล,นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย,นายยรรยงก์ ถนอมพิชัยธำรง ส.ส.พรรคโอกาสไทย,นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.พรรคพลังปวงชนไทย (ลาออกจากพรรค 2 ก.พ.2566),นายปรีดา บุญเพลิง ส.ส.พรรคครูไทยเพื่อประชาชน,นายพิเชษฐ สถิรชวาล ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ,นายจีรเดช ศรีวิราช ไม่สังกัดพรรค (ข้อมูลในฐานข้อมูลรัฐสภาระบุว่าอยู่พรรคพลังประชารัฐ),นาย ชนวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์,นาย จิรพงษ์ ทรงวัชราภรณ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย,นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา,นายสยาม หัตถสงเคราะห์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย,นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.พรรคก้าวไกล,นายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.พรรคก้าวไกล,นางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส.พรรคเพื่อไทย,นายกิตติ สมทรัพย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย,นายบัญญัติ เจตนจันทร์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์,นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ส.ส.พรรคเพื่อไทย,นายเกียรติ เหลืองขจรวิทย์ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย,นายศุภชัย นพขำ ส.ส.พรรคเพื่อไทย
@ส.ส.ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งหลังจากวันที่ 1. ก.พ. 2566
สำหรับข้อมูล บุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ส.ส.ใหม่ ในช่วงหลังจากวันที่ 1 ก.พ. 2566 หลังปรากฏข่าว การลาออก ย้ายพรรคใหม่ ของ ส.ส.จำนวนหลายรายมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 14 ราย
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.นางแพงศรี พิจารณ์ ส.ส.พรรคประชาธิปไตยใหม่ - เลื่อนบัญชีรายชื่อ 7 ก.พ.2566 ลาออก 14 ก.พ. 2566
2.นายปฏิวัติ พิจารณ์ ส.ส.พรรคประชาธิปไตยใหม่ เลื่อนบัญชีรายชื่อ หลังจากนางแพงศรี พิจารณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปไตยใหม่ประกาศลาออก โดยนายปฏิวัติเข้ารายงานตัววันที่ 17 ก.พ.2566
3.นางสาวกิตติประภา จิวะสันติการ ส.ส.พลังประชารัฐ เลื่อนบัญชีรายชื่อหลังจากนายภาคิน สมมิตรธนกุล ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ลาออกวันที่ 17 ก.พ.2566 โดยนางสาวกิตติประภาเข้ารายงานตัววันที่ 23 ก.พ.2566
4.นายเกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์ ส.ส.พรรคเพื่อชาติ เลื่อนบัญชีรายชื่อ 3 ก.พ.2566
5.นายพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ ส.ส.พรรคพลังปวงชนไทย เลื่อนบัญชีรายชื่อ 9 ก.พ.2566
6.นายศุภชัย นาคสุวรรณ์ ส.ส.พรรคเสรีรวมไทย เลื่อนบัญชีรายชื่อ 7 ก.พ.2566
7.นางสาววารีรัตน์ สิริธัญญ์สกุล ส.ส.พรรคเพื่อไทย เลื่อนบัญชีรายชื่อแทน 3 ก.พ. 2566
8.นายยุพ นานา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ที่ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 โดยนายยุพรายงานตัว 7 มี.ค.2566
9.นายราเมศ รัตนะเชวง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แทนนายเจือ ราชสีห์ทีลาออกตั้งแต่พรรคตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. โดยนายราเมศรายงานตัว 7 มี.ค.2566
10.นางศิริรัตน์ สุขสนาน ขึ้นมาเป็น ส.ส.พรรคพลังท้องถิ่นไทวันที่ 13 มี.ค. แทน นายโกวิทย์ พวงงาม ที่ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2566
@นางศิริรัตน์ สุขสนาน
11.นางสาว ภคอร จันทรคณา ส.ส.พรรคไทยศรีวิไล เลื่อนบัญชีรายชื่อหลังจากมงคลกิตต์ สุขสินธารานนท์ ลาออกวันที่ 17 ก.พ.2566 แต่ต่อมานางสาวภคอรได้มีหนังสือลาออกวันที่ 3 มี.ค. 2566
12.พลโท อัศวิน รัชฎานนท์ขึ้นมาเป็น ส.ส.พรรคไทยศรีวิไลแทน นางสาวภคอรที่ลาออกไปวันที่ 3 มี.ค.2566 แต่ต่อมาพลโทอัศวินได้ลาออกจาก ส.ส.ไปในวันที่ 10 มี.ค. 2566
13.นายวิวัฒน์ เจริญพาณิชย์ศิริ ขึ้นมาเป็น ส.ส.พรรคไทยศรีวิไล เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2566 หลังจากพลโทอัศวินลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.
@ วิวัฒน์ เจริญพาณิชย์ศิริ
14.นางสาวอาทิตยา อะนะฝรั่ง ได้รับการเลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคเศรษฐกิจใหม่ แทนนายภาสกร เงินเจริญกุล ที่ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 โดยนางสาวอาทิตยารายงานตัววันที่ 3 มี.ค.2566
ทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูลสถิติต่างๆ เกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่ของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ส.ส.ชุดที่ 25 นับตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2562 จนถึงวันที่ 1ก.พ. 2566 หรือคิดเป็นจำนวนวันประชุม269 วัน ที่สำนักข่าวอิศรา รวบรวมมาได้
ก่อนที่ ราชกิจจานุเบกษา จะเผยแพร่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมาเป็นทางการ
เพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ ที่จะมาถึงในเร็ววันนี้