"...อย่างไรก็ตามทุกพรรคการเมืองยังคงเร่งจัดตั้งสาขาและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด และอาจอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพื่อแจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้งภายใน 15 วันนับแต่วันจัดตั้งสาขาและแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด..."
"รอๆ ต้องรอประกาศในราชกิจจาฯก่อน"
คือ คำให้สัมภาษณ์ล่าสุดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 หลังถูกถาม ถึงการยุบสภา ได้เตรียมแล้วหรือยัง
@ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
สอดคล้องกับ นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในฐานะคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ออกมาเปิดเผยถึงไทม์ไลน์การยุบสภา ในช่วงวันที่ 20 มี.ค.นี้ ซึ่งจะกลายเป็นการเริ่มนับถอยหลังเข้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ ที่จะมีขึ้นในช่วงเดือน พ.ค. ตามกรอบเวลาที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) วางไว้
สรุปชัดๆ คือ การยุบสภาฯ เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ มาถึงแล้ว
คำถามที่น่าสนใจ คือ ข้อมูลพรรคการเมืองต่างๆ ที่เตรียมพร้อมลงสนามสู้ศึกเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นอย่างไร?
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน พบว่า จากข้อมูลของ สำนักกิจการพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566 )
มีพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 88 พรรคการเมือง รวมจำนวนสมาชิก 1,412,839 ราย รวมจำนวนสาขาพรรคการเมือง 492 สาขารวมจำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 2,740 ราย รวมจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 484 ราย รวมจำนวนคณะกรรมการบริหาร 1,189 ราย
ประกอบด้วย
1.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) หัวหน้าพรรค นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รวมจำนวนสมาชิก 82,648 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 23 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 214 ราย
2.พรรคประชากรไทย (ปชท.) หัวหน้าพรรค นายคณิศร สมมะลวน รวมจำนวนสมาชิก 13,788 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 9 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 17 ราย
3.พรรคความหวังใหม่ (ควม.) หัวหน้าพรรค นายชิงชัย มงคลธรรม รวมจำนวนสมาชิก 7,498 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 11 ราย
4.พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (พนท.) หัวหน้าพรรค นายวชิร ศุภรมย์ รวมจำนวนสมาชิก 10,028 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 24 ราย
5.พรรคเพื่อไทย (พท.) หัวหน้าพรรค นายชลน่าน ศรีแก้ว รวมจำนวนสมาชิก 66,833 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 243 ราย
6.พรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) หัวหน้าพรรค - (ไม่ได้ระบุ) รวมจำนวนสมาชิก 6,427 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 12 ราย
7.พรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) (เดิมชื่อพรรคชาติพัฒนา) หัวหน้าพรรค นายกรณ์ จาติกวนิช รวมจำนวนสมาชิก 15,210 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 31 ราย
8.พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) หัวหน้าพรรค นายวราวุธ ศิลปอาชา รวมจำนวนสมาชิก 11,433 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 41 ราย
9.พรรคอนาคตไทย (อท.) หัวหน้าพรรค นายประวัติ เทียนขุนทด รวมจำนวนสมาชิก 10,313 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 2 ราย
10.พรรคภูมิใจไทย (ภท) หัวหน้าพรรค นายอนุทิน ชาญวีรกูล รวมจำนวนสมาชิก 61,703 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 212 ราย
11.พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย (ส.ป.ท.) หัวหน้าพรรค นายสาวิทย์ แก้วหวาน รวมจำนวนสมาชิก 11,443 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 9 ราย
12.พรรคประชาสามัคคี (ปส.) หัวหน้าพรรค นางสมพร จูมั่น รวมจำนวนสมาชิก 10,087 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 2 ราย
13.พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.) หัวหน้าพรรค นายสุรทิน พิจารณ์ รวมจำนวนสมาชิก 40,423 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 20 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 36 ราย
14.พรรคพลังบูรพา (พบ.) หัวหน้าพรรค นายเชาว์ มณีวงษ์ รวมจำนวนสมาชิก 15,514 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 2 ราย
15.พรรคครูไทยเพื่อประชาชน (ค.พ.ช.) หัวหน้าพรรค นายปรีดา บุญเพลิง รวมจำนวนสมาชิก 18,402 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 6 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 11 ราย
16.พรรคพลังสหกรณ์ (พ.พส.) หัวหน้าพรรค นายอดิศักดิ์ ฟักแฟง รวมจำนวนสมาชิก 11,980 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 8 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 1 ราย
17.พรรคพลังท้องถิ่นไท (พทท.) หัวหน้าพรรค นายชัชวาลล์ คงอุดม รวมจำนวนสมาชิก 17,278 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 6 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 1 ราย
18.พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล (ถกชว) หัวหน้าพรรค นางจุฑามาศ ปลอดดี รวมจำนวนสมาชิก 10,494 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 9 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 13 ราย
19.พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย (รป.) หัวหน้าพรรค นายประเสริฐ อภิปุญญา รวมจำนวนสมาชิก 11,484 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 44 ราย
20.พรรคเสรีรวมไทย (สร.) หัวหน้าพรรค พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส รวมจำนวนสมาชิก 46,919 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 296 ราย
21.พรรครักษ์ธรรม (ร.ธ.) หัวหน้าพรรค นายศักดาวุธ โกมลประเสริฐ รวมจำนวนสมาชิก 10,339 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 1 ราย
22.พรรคเพื่อชาติ (พ.พ.ช.) หัวหน้าพรรค นางสาวปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช รวมจำนวนสมาชิก 11,118 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 39 ราย
23.พรรคพลังประชาธิปไตย (พปต.) หัวหน้าพรรค นายพูนพิพัฒน์ นิลรังษี รวมจำนวนสมาชิก 26,325 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 13 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 2 ราย
24.พรรคภราดรภาพ (ภดภ.) หัวหน้าพรรค นายบุญญา หลีเหลด รวมจำนวนสมาชิก 10,272 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 4 ราย
25.พรรคพลังไทยรักชาติ (พทรช.) หัวหน้าพรรค นายกิตติเดช เมืองอู่มงคล รก.หน.พรรค รวมจำนวนสมาชิก 11,586 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 9 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 4 ราย
26.พรรคช่วยชาติ (พชช.) หัวหน้าพรรค นางสาวนงนุช บัวใหญ่ รวมจำนวนสมาชิก 15,038 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 7 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 6 ราย
27.พรรคก้าวไกล (ก.ก.) หัวหน้าพรรค นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รวมจำนวนสมาชิก 44,893 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 12 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 228 ราย
28.พรรคทางเลือกใหม่ (ทลม.) หัวหน้าพรรค นายราเชน ตระกูลเวียง รวมจำนวนสมาชิก 33,642 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 19 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 8 ราย
29.พรรคประชาภิวัฒน์ (ปชภ.) หัวหน้าพรรค นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ รวมจำนวนสมาชิก 13,785 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 10 ราย
30.พรรคพลเมืองไทย (พล.) หัวหน้าพรรค นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ รวมจำนวนสมาชิก 10,726 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 7 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 42 ราย
31.พรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) (เดิมชื่อพรรคพลังไทยนำไทย) หัวหน้าพรรค นายอุตตม สาวนายน รวมจำนวนสมาชิก 16,963 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 25 ราย
32.พรรคพลังธรรมใหม่ (พธม.) หัวหน้าพรรค นายระวี มาศฉมาดล รวมจำนวนสมาชิก 10,151 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 20 ราย
33.พรรคไทยธรรม (ทธม. หัวหน้าพรรค นายอโณทัย ดวงดารา รวมจำนวนสมาชิก 28,881 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 12 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 12 ราย
34.พรรคไทยศรีวิไลย์ (ทศล.) หัวหน้าพรรค นายมงคลกิตต์ สุขสินธารานนท์ รวมจำนวนสมาชิก 11,399 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 4 ราย
35.พรรครวมพลัง (รพ.) (เดิมชื่อพรรครวมพลังประชาชาติไทย) หัวหน้าพรรค นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รวมจำนวนสมาชิก 11,656 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 7 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 13 ราย
36.พรรคพลังไทรุ่งเรือง (พทร) (เดิมชื่อสยามพัฒนา) หัวหน้าพรรค นายฮงค์ฑัย แซ่ตัน รวมจำนวนสมาชิก 10,689 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 2 ราย
37.พรรคไทยพร้อม (พทพ) (เดิมชื่อไทยพัฒนา) หัวหน้าพรรค นายวิทยา อินาลา รวมจำนวนสมาชิก 10,075 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 11 ราย
38.พรรคพลังปวงชนไทย (พลท.) หัวหน้าพรรค นายนิคม บุญวิเศษ รวมจำนวนสมาชิก 16,565 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 6 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 2 ราย
39.พรรคเพื่อชาติไทย (พ.ชต.ท.) (ชื่อเดิมพรรคพลังไทยรักไทย) หัวหน้าพรรค นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล รวมจำนวนสมาชิก 17,829 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 5 ราย
40.พรรครวมแผ่นดิน (รผด.) (ชื่อเดิมพรรคพลังชาติไทย) หัวหน้าพรรค พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รวมจำนวนสมาชิก 22,124 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 18 ราย
41.พรรคประชาชาติ (ปช.) หัวหน้าพรรค นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รวมจำนวนสมาชิก 19,820 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 6 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 27 ราย
42.พรรคแผ่นดินธรรม (ผธ.) หัวหน้าพรรค นายกรณ์ มีดี รวมจำนวนสมาชิก 10,324 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 23 ราย
43.พรรคคลองไทย (คล.ท.) หัวหน้าพรรค นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ รวมจำนวนสมาชิก 35,907 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 127 ราย
44.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หัวหน้าพรรค พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รวมจำนวนสมาชิก 58,582 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 267 ราย
45.พรรคเศรษฐกิจใหม่ (ศม) หัวหน้าพรรค นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ รวมจำนวนสมาชิก 11,007 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 8 ราย
46.พรรคพลังสังคม (พ.พ.ส.) หัวหน้าพรรค นางณฐพร ชลายนนาวิน รก.หัวหน้าพรรค รวมจำนวนสมาชิก 10,123 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 7 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 8 ราย
47.พรรคเพื่อราษฎร (พร.) (ชื่อเดิมพรรคสุจริตชน) หัวหน้าพรรค - รวมจำนวนสมาชิก 10,381 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 1 ราย
48.พรรคพลังศรัทธา (พลศธ.) หัวหน้าพรรค พล.อ. อนันตร์ บุญรำไพ รวมจำนวนสมาชิก 5,912 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 4 ราย
49.พรรคเป็นธรรม (ปธ.) (ชื่อเดิมพรรคกลาง) หัวหน้าพรรค นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ รวมจำนวนสมาชิก 9,359 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 3 ราย
50.พรรคพลังเพื่อไทย (พล.พท) หัวหน้าพรรค นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ รวมจำนวนสมาชิก 10,223 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 4 ราย
51.พรรคประชาไทย (ปรชท.) หัวหน้าพรรค นายบุญยงค์ จันทร์แสง รวมจำนวนสมาชิก 9,057 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 39 ราย
52.พรรคกรีน (กร) หัวหน้าพรรค นายพงศา ชูแนม รวมจำนวนสมาชิก 10,315 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 8 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 28 ราย
53.พรรคสามัญชน (พ.สมช) หัวหน้าพรรค นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ รวมจำนวนสมาชิก 10,186 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 6 ราย
54.พรรคภาคีเครือข่ายไทย (ภคท.) หัวหน้าพรรค นางสาว กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์ รวมจำนวนสมาชิก 10,727 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 4 ราย
55.พรรครวมไทยยูไนเต็ด (รทย) (เดิมชื่อพรรคเพื่อไทยพัฒนา) หัวหน้าพรรค นายอภิรัต ศิรินาวิน รวมจำนวนสมาชิก 10,902 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 1 ราย
56.พรรคคนงานไทย (พ.ค.ง.ท.) หัวหน้าพรรค นายธีระ เจียบุญหยก รวมจำนวนสมาชิก 7,977 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 3 ราย
57.พรรคสร้างชาติ (สช.) หัวหน้าพรรค พล.อ. ปกิตน์ สันตินิยม รวมจำนวนสมาชิก 7,360 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 7 ราย
58.พรรคเพื่ออนาคตไทย (พอท) หัวหน้าพรรค นายอนุวัฒน์ วิกัยพัฒน์ รวมจำนวนสมาชิก 9,222 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 36 ราย
59.พรรคเศรษฐกิจไทย (ศท) หัวหน้าพรรค นายเชวงศักดิ์ ใจคำ รวมจำนวนสมาชิก 23,633 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 7 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 68 ราย
60.พรรคเส้นทางใหม่ (สทม.) (เดิมชื่อพรรคไทยชอบธรรม) หัวหน้าพรรค นายเมธี กาญวัฒนะกิจ รวมจำนวนสมาชิก 6,099 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 2 ราย
61.พรรคไทยรวมไทย (ทรวท.) หัวหน้าพรรค นายณัฐติพงษ์ วันทวี รวมจำนวนสมาชิก 10,961 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 27 ราย
62.พรรคกล้า (ก.) หัวหน้าพรรค นายจีระยุทธ วีรวงศ์ รวมจำนวนสมาชิก 25,578 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 6 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 77 ราย
63.พรรคยุทธศาสตร์ชาติ (ย.ศ.ช.) หัวหน้าพรรค นายขจรศักดิ์ ประดิษฐาน รวมจำนวนสมาชิก 21,660 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 11 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 38 ราย
64.พรรคพลังสังคมใหม่ (พ.ส.ม.) หัวหน้าพรรค นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ รวมจำนวนสมาชิก 13,410 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 10 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 34 ราย
65.พรรคไทยสร้างไทย (ทสท) หัวหน้าพรรค คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รวมจำนวนสมาชิก 62,412 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 6 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 49 ราย
66.พรรคมิติใหม่ (มต.) หัวหน้าพรรค นายปรีชา ไข่แก้ว รวมจำนวนสมาชิก 5,978 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 12 ราย
67.พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) หัวหน้าพรรค นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รวมจำนวนสมาชิก 50,652 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 13 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 52 ราย
68.พรรคไทยสมาร์ท (ทสม) (เดิมชื่อพรรคมวลชนสยาม) หัวหน้าพรรค นายเกียรติภูมิ สิริพันธุ์ รวมจำนวนสมาชิก 11,316 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 16 ราย
69.พรรคเพื่อประชาชน (พป.) หัวหน้าพรรค นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รวมจำนวนสมาชิก 5,465 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขาจำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 1 ราย
70.พรรคพลังสยาม (พส.) หัวหน้าพรรค นายทรงธรรม โรจนเครือวัลย์ รวมจำนวนสมาชิก 5,248 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 3 ราย
71.พรรคไทยภักดี (ทภด) หัวหน้าพรรค นายวรงค์ เดชกิจวิกรม รวมจำนวนสมาชิก 16,547 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 33 ราย
72.พรรคแนวทางใหม่ (นทม) หัวหน้าพรรค นายธวเดช ภาจิตรภิรมย์ รวมจำนวนสมาชิก 8,240 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 22 ราย
73.พรรคเสมอภาค (สมภ.) หัวหน้าพรรค นางรฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ รวมจำนวนสมาชิก 6,470 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 3 ราย
74.พรรคไทยชนะ (ทช) หัวหน้าพรรค นายจักรพงศ์ ชื่นดวง รวมจำนวนสมาชิก 7,180 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 7 ราย
75.พรรคเพื่อไทรวมพลัง (พทล.) หัวหน้าพรรค นายวสวรรธน์ พวงพรศรี รวมจำนวนสมาชิก 7,579 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 6 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 1 ราย
76.พรรคไทยสร้างสรรค์ (ท.ส.ส) หัวหน้าพรรค นายธำรงค์ เรืองธุระกิจ รวมจำนวนสมาชิก 5,782 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 5 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 3 ราย
77.พรรคราษฎร์วิถี (รวถ) (เดิมชื่อเทิดไท) หัวหน้าพรรค นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ รวมจำนวนสมาชิก 5,871 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 5 ราย
78.พรรคไทยเป็นหนึ่ง (ทปน) หัวหน้าพรรค นายนิธิพัฒน์ พัสวีดิลกภัทร์ รวมจำนวนสมาชิก 5,851 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 3 ราย
79.พรรคท้องที่ไท (ท.) หัวหน้าพรรค ด.ต.วีระ หมีทอง รวมจำนวนสมาชิก 7,037 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 3 ราย
80.พรรคเปลี่ยนอนาคต (พปอ.) หัวหน้าพรรค นายอัครนันท์ อริยศรีพงษ์ รวมจำนวนสมาชิก 3,145 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด – ราย
81.พรรคใหม่ (ม) หัวหน้าพรรค นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน รวมจำนวนสมาชิก 2,794 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 2 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 1 ราย
82.พรรคแรงงานสร้างชาติ (รสช.) หัวหน้าพรรค นายมนัส โกศล รวมจำนวนสมาชิก 3,628 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 4 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 3 ราย
83.พรรคไทยก้าวหน้า (ทกน.) หัวหน้าพรรค นายวัชรพล บุษมงคล รวมจำนวนสมาชิก 3,706 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง 2 สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด 3 ราย
84.พรรคพลัง (พ.) หัวหน้าพรรค นายชัยยพล พสุรัตน์บรรจง รวมจำนวนสมาชิก 1,245 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง – สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด – ราย
85.พรรคสยามพล (สย.) หัวหน้าพรรค นายสุขอนันต์ วังสุนทร รวมจำนวนสมาชิก 1,448 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง – สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด – ราย
86.พรรคชาติรุ่งเรือง (ชรร.) หัวหน้าพรรค นางพิมไหมทอง ศักดิพัตโภคิน รวมจำนวนสมาชิก 2,536 ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง – สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด – ราย
87.พรรครวมใจไทย (ร.จ.ท.) หัวหน้าพรรค นายบุญรวี ยมจินดา รวมจำนวนสมาชิก – ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง – สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด – ราย
และ 88.พรรคสัมมาธิปไตย (สธต.) หัวหน้าพรรค นายใจเพชร กล้าจน รวมจำนวนสมาชิก – ราย จำนวนสาขาพรรคการเมือง – สาขา จำนวนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด – ราย
(หมายเหตุ สัญญาลักษณ์ - หมายถึงยังไม่ปรากฏข้อมูลชัดเจน)
ทั้งนี้ สำหรับความพร้อมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีการสรุปจำนวนจังหวัดที่พรรคการเมืองต่างๆ สามารถส่งผู้สมัครได้ โดยเป็นข้อมูล ณ วันที่ 15 มี.ค. รวมทั้งหมด 88 พรรค
โดยพบว่า พรรคการเมืองที่สามารถส่งผู้สมัครได้ครบ 77 จังหวัด มีทั้งหมด 3 พรรค ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ
ส่วนพรรคเสรีรวมไทย 76 จังหวัด พรรคเพื่อไทย 74 จังหวัด พรรคพลังประชารัฐ 71 จังหวัด พรรคก้าวไกล 61 จังหวัด
พรรคคลองไทย 60 จังหวัด พรรคเศรษฐกิจไทย 53 จังหวัด พรรคไทยสร้างไทย 52 จังหวัด พรรคโอกาสไทย 45 จังหวัด พรรคไทยภักดี 43 จังหวัด พรรคชาติพัฒนากล้า 40 จังหวัด พรรคประชาธิปไตยใหม่ 38 จังหวัด พรรคพลเมืองไทย 37 จังหวัด พรรคพลังสังคมใหม่ 37 จังหวัด พรรคเพื่อชาติ 36 จังหวัด
พรรคประชากรไทย 29 จังหวัด พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย 28 จังหวัด พรรคไทยสมาร์ท(มวลชนสยาม) 26 จังหวัด พรรคกล้า 24 จังหวัด พรรคสร้างอนาคตไทย (พลังไทยนำไทย) 22 จังหวัด พรรคแนวทางใหม่ 22 จังหวัด พรรครวมแผ่นดิน (พลังชาติไทย) 21 จังหวัด พรรคไทยศรีวิไลย์ 19 จังหวัด พรรคเพื่อชาติไทย (พลังไทยรักไทย) 19 จังหวัด พรรคชาติไทยพัฒนา 18 จังหวัด พรรคทางเลือกใหม่ 18 จังหวัด พรรคไทยธรรม 17 จังหวัด
พรรครวมพลัง 14 จังหวัด พรรคความหวังใหม่ 12 จังหวัด พรรคเพื่อชีวิตใหม่ 16 จังหวัด พรรคเพื่ออนาคตไทย 16 จังหวัด พรรคมิติใหม่ 16 จังหวัด พรรคพลังประชาธิปไตยไทย 15 จังหวัด พรรคไทยรวมไทย 15 จังหวัด พรรคพลังสังคม 13 จังหวัด พรรคเศรษฐกิจใหม่ 12 จังหวัด พรรคกรีน 11 จังหวัด พรรคยุทธศาสตร์ชาติ 11 จังหวัด พรรคสามัญชน 10 จังหวัด พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 10 จังหวัด พรรคประชาภิวัฒน์ 10 จังหวัด พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล 10 จังหวัด
พรรคพลังไทยรักชาติ 9 จังหวัด พรรคพลังปวงชนไทย 9 จังหวัด พรรคไทยชนะ 9 จังหวัด พรรคไทยก้าวหน้า 9 จังหวัด พรรคประชาชาติ 8 จังหวัด พรรคพลังธรรมใหม่ 8 จังหวัด พรรคพลังสหกรณ์ 8 จังหวัด พรรคสังคมประชาธิปไตย 8 จังหวัด พรรคพลังศรัทธา 8 จังหวัด พรรคเทิดไทย (รวมไทยรักชาติ) 8 จังหวัด พรรคพลังท้องถิ่นไท 7 จังหวัด พรรคพลังสยาม 7 จังหวัด พรรคใหม่ 7 จังหวัด พรรคเสมอภาค 6 จังหวัด พรรคเป็นธรรม 6 จังหวัด
พรรคพลังเพื่อไทย 6 จังหวัด พรรคคนงานไทย 6 จังหวัด พรรคไทยสร้างสรรค์ 6 จังหวัด พรรคไทยเป็นหนึ่ง 6 จังหวัด พรรคท้องที่ไท 6 จังหวัด พรรคอนาคตไทย 5 จังหวัด พรรคประชาสามัคคี 5 จังหวัด พรรครักษ์ธรรม 5 จังหวัด พรรคภารดรภาพ 5 จังหวัด พรรคพลังไทรุ่งเรือง (สยามพัฒนา) 5 จังหวัด พรรคไทยพร้อม 5 จังหวัด พรรคแผ่นดินธรรม 5 จังหวัด พรรคเพื่อราษฎร 5 จังหวัด พรรครวมไทยยูไนเต็ด(เพื่อไทยพัฒนา) 5 จังหวัด
พรรคพลังชล 4 จังหวัด พรรคประชาไทย 4 จังหวัด พรรคภาคีเครือข่ายไทย 4 จังหวัด พรรคเส้นทางใหม่ (ไทยชอบธรรม) 4 จังหวัด พรรคเพื่อประชาชน 4 จังหวัด พรรคเพื่อไทยรวมพลัง 4 จังหวัด พรรคเปลี่ยนอนาคต 4 จังหวัด พรรคแรงงานสร้างชาติ 4 จังหวัด พรรคชาติรุ่งเรือง 4 จังหวัด พรรคสยามพล 2 จังหวัด พรรคพลัง 1 จังหวัด พรรครวมใจไทย 0 จังหวัด พรรคสัมมาธิปไตย 0 จังหวัด และพรรคเปลี่ยน 0 จังหวัด
อย่างไรก็ตามทุกพรรคการเมืองยังคงเร่งจัดตั้งสาขาและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด และอาจอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพื่อแจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้งภายใน 15 วันนับแต่วันจัดตั้งสาขาและแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
บทสรุปศึกเลือกตั้งครั้งนี้จะออกมาเป็นอย่างไร
พรรคไหนชนะ หรือพ่ายแพ้ ระยะเวลาไม่เกิน 45-60 วัน
หลังราชกิจจาฯ ประกาศยุบสภาเป็นทางการ นกหวีดส่งสัญญาณเริ่มต้นดังขึ้น
สังคมไทยคงจะได้รู้คำตอบที่ชัดเจนแน่นอน