ยิ่งไปกว่านั้นเหยื่อหลายคนยังถูกดำเนินคดีเมื่อกลับถึงประเทศต้นทางแล้วด้วยข้อหาว่ามีส่วนร่วมในการฉ้อโกง ซึ่งข้อมูลการร้องเรียนในอาเซียนได้อ้างถึงรายงานข่าวของสื่อที่ระบุตัวอย่างในประเทศไทย พบว่าประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของเหยื่อที่ถูกส่งตัวกลับประเทศไปจะถูกส่งตัวไปดำเนินคดี
สืบเนื่องจากข่าวขบวนการค้ามนุษย์ ขบวนการหลอกสมัครงานที่เป็นอาชญากรรมซึ่งแพร่ระบาดทั่วภูมิภาค ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ณ เวลานี้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา สำนักข่าวเซาธ์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ของฮ่องกงได้มีการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือเอ็นจีโอ เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาการใช้กฎหมายในภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำรายงานดังกล่าวมาเรียบเรียงมีรายละเอียดดังนี้
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียนกำลังประสบกับความล้มเหลวในการป้องกันขบวนการค้ามนุษย์ที่กระทำโดยเครือข่ายฉ้อโกง ซึ่งในขณะนี้กลุ่มนักจัดกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนกำลังมีการเรียกร้องให้เหล่าประเทศในอาเซียนได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยเหลือเหยื่อของชบวนการอาชญากรรมที่มีมูลค่านับร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ต้องยอมรับว่าเอเชียนั้นมีสิ่งที่เป็นเหมือนกับศูนย์ที่ทำหน้าที่หลอกลวงผู้คนจำนวนมาก โดยอ้างคำสัญญาว่าจะมอบงานที่ได้รับค่าตอบแทนสูงในต่างประเทศ แต่ท้ายที่สุดแล้วงานตามสัญญาดังกล่าวกับกลายเป็นการฉ้อโกงเป้าหมายให้กับกลุ่มอาชญากร โดยเป้าหมายของการฉ้อโกงที่ว่านี้มีความครอบคลุมมากทั้งกลุ่มผู้ที่ต้องการจะหางานใหม่รายได้สูง ผู้ที่ต้องการหาคู่ชีวิต และผู้ที่ต้องการหาโอกาสลงทุนใหม่ๆ ทั้งหมดล้วนมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อ
โดยเหยื่อที่ถูกหลอกมาฉ้อโกงนั้น ถ้าหากพวกเขาต้องการจะได้รับอิสรภาพ ก็จะต้องมีการจ่ายเงินค่าไถ่คิดเป็นจำนวนนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือไม่ก็ต้องพยายามหลบหนีจากที่จับกุมที่รายล้อมไปด้วยยามติดอาวุธและลวดหนาม
ทำให้นักรณรงค์ทั้งในประเทศไทย มาเลเซียและอินโดนีเซียได้มีการยื่นเรื่องร้องเรียนอย่างเป็นทางการต่อต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐบาลอาเซียน (AICHR) ซึ่งเป็นสถาบันสิทธิมนุษยชนหลักของภูมิภาค โดยหวังว่าจะให้ทำหน้าที่ทางกฎหมายการคุ้มครองเหยื่อค้ามนุษย์ ตามรายงานข่าวที่เผยแพร่โดยสำนักข่าว This Week In Asia
“เรากำลังพูดถึงเหยื่อจำนวนนับหลายพันคนจากทุกประเทศในอาเซียน” นางมายา ลินสตรัม-นิวแมน เจ้าหน้าที่สนับสนุนระหว่างประเทศของหน่วยงาน Global Alliance against Traffic in Women (GAATW) ในกรุงเทพฯ กล่าว
นางนิวแมนกล่าวเสิรมว่าสถานการณ์นี้นั้นไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่ว่าทั้งอาเซียนต้องมีความร่วมมือกันและดำเนินการอย่างเด็ดขาด นี่คือเหตุผลที่เรายื่นเรื่องไปยัง AICHR เพื่อให้ความช่วยเหลือ
ข่าวการค้ามนุษย์ที่กัมพูชา (อ้างอิงวิดีโอจากWION)
โดยประเทศสมาชิกทั้งหมดยกเว้นบรูไนนั้นถูกระบุชื่ออยู่ในคำร้อง ซึ่งคำร้องดังกล่าวยังได้ถูกส่งไปถึงอีกหน่วยงานหนึ่งชื่อว่าองค์กร Tenaganita ในประเทศมาเลเซียและองค์กร Migrant Care ให้ทำหน้าที่ดูแลด้วยเช่นกัน ซึ่งเอกสารนั้นถูกส่งไปเมื่อวันที่ 10 ก.พ.
ทั้งนี้กลุ่มอาชญากรการฉ้อโกงนั้นพบว่าถูกครอบงำโดยอาชญากรจากประเทศจีนอีกทีหนึ่ง ซึ่งคนจีนเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงคาสิโนที่ว่างเปล่าในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้กลายเป็นฐานปฏิบัติการณ์การฉ้อโกงขนาดใหญ่
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเปิดโปงความรุนแรง การค้ามนุษย์ และการบีบบังคับในพื้นที่ประเทศกัมพูชากล่าวว่ากัมพูชานั้นเป็นภาพจำที่ชัดเจนของกรณีที่หน่วยงานรัฐได้พยายามถอนรากถอนโคนจนทำให้เครือข่ายจำนวนมากต้องย้ายจากพรมเปญและสีหนุวิลล์ไปยังพื้นที่ใกล้ชายแดนประเทศไทยและใกล้กับเวียดนาม
มีรายงานด้วยว่าเครือข่ายเหล่านี้ยังได้ย้ายไปยังเขตเศรษฐกิจในลาว พื้นที่ที่ถูกครอบครองโดยกลุ่มกบฏในเมียนมา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนั้นถือว่าอยู่ไกลเกินเอื้อมของเจ้าหน้าที่และมีการกล่าวหาว่ามีการละเมิดอย่างร้ายแรงที่สุด
ทั้งนี้แม้จะมีการประชาสัมพันธ์เป็นวงกว้างเกี่ยวกับข้อมูลและกลยุทธ์ของเหล่านักต้มตุ่น แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลดภัยกล่าวว่ารูปแบบของการฉ้อโกงเป็นชั้นๆนั้นยังคงเป็นสิ่งที่แพร่หลายและมีการใช้งานค่อนข้างสูง
เหยื่อที่ถูกหลอกไปค้ามนุษย์โดยมากแล้วจะมีการศึกษาที่ดี มีความรู้ในด้านคอมพิวเตอร์ และสามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้มากกว่าหนึ่งภาษา อาทิ อังกฤษและจีนกลางเป็นต้น หรือก็คือว่าพวกเขาไม่ใช้เหยื่อการค้ามนุษย์ที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามรายงานของ GAATW
“นี่จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ทางการล้มเหลวในการปกป้องผู้คนในระดับมหึมา” นางนิวแมนกล่าว
ทางกลุ่มยังได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้หยุดการดำเนินคดีกับเหยื่อค้ามนุษย์หรือว่ากักตัวบุคคลเหล่านี้ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการข้ามพรมแดน หลังจากที่พวกเขาถูกปล่อยตัวจากกลุ่มอาชญากร และให้มีการเรียกสถานกงสุลให้ความช่วยเหลือในการส่งตัวเหยื่อค้ามนุษย์กลับประเทศโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
เอกสารที่ร้องเรียนไปยัง AICHR ยังได้ระบุอีกว่าหลายประเทศกำลังล้มเหลวในการตรวจสอบรายงานของสื่อในเชิงรุกเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ และไม่ได้ดำเนินการทันที่เพื่อให้เหยื่อได้รับการปล่อยตัว แต่ในทางกลับกันทางการของประเทศเหล่านี้ต้องรอให้ครอบครัวของเหยื่อมาร้องทุกข์เสียก่อนจึงจะดำเนินการได้
ทั้งนี้แนวทางที่หลายประเทศได้ดำเนินการดังกล่าวนั้นขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ของอาเซียนปี 2558 ที่มีผลผูกพันกับประเทศสมาชิกว่าจะต้องป้องกันไม่ให้การค้ามนุษย์เกิดขึ้น
“สำหรับประเทศที่เป็นเป้าหมายปลายทางการค้ามนุษย์ เช่นกัมพูชา ลาว และเมียนมา การสนับสนุนจากตัวแทนสถานทูตพบว่ามีแนวโน้มจะไม่ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมียนมาและในลาว” ตัวแทนขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านการดูแลผู้อพยพของอินโดนีเซียกล่าวโดยขอไม่ระบุตัวตน
ชาวมาเลเซีย 3 คนได้รับการช่วยเหลือจากเมียนมา (อ้างอิงวิดีโอจาก The Star)
ตัวแทนคนนี้ยังได้ยกตัวอย่างถึงกรณีชาวอินโดนีเซียสองคนที่ตกเป็นเหยื่อ พวกเขาก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือโดยทันทีจากสถานทูตในประเทศลาวและประเทศเมียนมา แบะท้ายที่สุดก็ต้องมีการจ่ายเงินให้กับกลุ่มค้ามนุษย์คิดเป็นมูลค่าถึง10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (343,775 บาท) เพื่อแลกกับการปล่อยตัว
ยิ่งไปกว่านั้นเหยื่อหลายคนยังถูกดำเนินคดีเมื่อกลับถึงประเทศต้นทางแล้วด้วยข้อหาว่ามีส่วนร่วมในการฉ้อโกง ซึ่งข้อมูลการร้องเรียนในอาเซียนได้อ้างถึงรายงานข่าวของสื่อที่ระบุตัวอย่างในประเทศไทย พบว่าประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของเหยื่อที่ถูกส่งตัวกลับประเทศไปจะถูกส่งตัวไปดำเนินคดี
โดยจากกรณีดังกล่าวนั้นทางกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหลายแห่งหรือว่าเอ็นจีโอได้ให้ข้อมูลว่าพวกเขาได้รับแจ้งว่าจะมีการหารืออย่างเป็นทางการกับตัวแทน AICHR กันอีกครั้งหนึ่ง ในการประชุมครั้งต่อไปในช่วงปลายเดือน ก.พง.
“ในความเห็นของผมนี่คือปัญหาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคของเรา ในแง่ของการเป็นกลไกระดับภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาเพราะว่าเราไม่มีศาล ที่จะบังคับใช้กฎหมายได้ ดังนั้นก็คงต้องพึ่งพากลไกกฎหมายในแต่ละประเทศสมาชิกเอาเองเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้” นาย Edmund Bon Tai Soon อดีตตัวแทนชาวมาเลเซียของ AICHR กล่าว