ในเดือน พ.ค. 2564 UNHCR ได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ระบุว่า มีผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 2,000 คนถูกโน้มน้าวให้กลับเมียนมา ซึ่งผู้ที่โน้มน้าวให้กลับประเทศก็คือกองทัพไทย และยิ่งไปกว่านั้นในเดือน มี.ค. องค์กรพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนที่ชื่อว่า Fortify Rights ได้รายงานว่าช่องทางที่ถูกสร้างไว้เพื่อให้ผู้ลี้ภัยเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยนั้นกำลังถูกทำลายลงโดยการกระทำที่มีเจตนาของทหาร
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวว่าเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์เนติบัณทิตยสภานานาชาติได้แสดงข้อกังวลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งเพิ่งจะมีผลบังคับใช้ไปเมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในข้อกังวลเรื่องที่ว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆในประเทศไทยนั้นจะนำเอากฎหมายนี้ไปยังคับใช้อย่างไรในเฉพาะกับกรณีผู้ลี้ภัยที่ต้องหนีภัยสงครามมายังประเทศไทย
โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้
พระราชบัญญัติต่อต้านการทรมานฉบับใหม่ของประเทศไทยซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้นมีเนื้อหาระบุว่าจะป้องกันไม่ให้ผู้ที่ขอลี้ภัยในประเทศถูกส่งกลับหากมีภัยคุกคามที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อความปลอดภัยของผู้ลี้ภัยเหล่านั้น แต่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนยังคงกังขากฎหมายที่เพิ่งจะมีผลบังคับใช้ดังกล่าวนั้นจะสามารถใช้งานได้จริงในเชิงปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้ประเทศไทยไม่ได้เป็นผู้ลงนามในอนุสัญญาผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติปี ค.ศ. 1951 ซึ่งหมายความว่าผู้ลี้ภัยสามารถ จะได้รับการปฏิบัติเหมือนคนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย' อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้ให้คํามั่นว่าจะจัดทําข้อตกลงระดับโลกว่าด้วยการย้ายถิ่นที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และสม่ำเสมอ และข้อตกลงโลกว่าด้วยผู้ลี้ภัย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยมากกว่า 95,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยและเดินทางมาจากเมียนมา พวกเขาอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยเก้าแห่งตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา โดยหลายคนอาศัยอยู่ที่นั่นมานานหลายทศวรรษ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานของผู้ที่แสวงหาที่ลี้ภัยมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนมากแล้วบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่หลบหนีจากความรุนแรงในเมียนมาซึ่งเกิดจากการรัฐประหารของกองทัพในต้นปี 2564 และเมื่อสถานการณ์ทุเลาลง คนกลุ่มนี้ก็จะเดินทางกลับประเทศตัวเอง
โดยนายดันแคน แมคอาเธอร์ ผู้อํานวยการบริหารร่วมของ The Border Consortium ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนด้านอาหาร ที่พักพิง และการเสริมสร้างขีดความสามารถแก่ผู้ลี้ภัยจากเมียนมากล่าวว่าโดยทั่วไปประเทศไทยเป็นแบบอย่างที่ดีสำในการให้เข้าถึงที่ลี้ภัยสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน ทว่าการรัฐประหารของกองทัพในเมียนมานั้นก็ทำให้เกิดข้อจำกัดบางประการเช่นกัน
ทั้งนี้ย้อนไปเมื่อช่วงระหว่างเดือน ก.พ. 2564- ก.ค. 2565 สํานักงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือ UNHCR ได้มีการประเมินว่ามีผู้ลี้ภัย 20,0000 รายจากประเทศเมียนมาลี้ภัยเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งส่วนมากแล้วผู้ลี้ภัยเหล่านี้จะได้รับอนุญาตให้พำนักเป็นการชั่วคราวเท่านั้นก่อนจะเดินทางกลับ โดยนับตั้งแต่การรัฐประหารเป็นต้นมา ก็มีสื่อหลายแห่งในประเทศไทยรายงานข่าวว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ได้ออกมารับปากว่าจะให้การสนับสนุนด้านมนุษยธรรม และเห็นชอบให้ผู้ลี้ภัยเดินทางกลับเมียนมาตามความสมัครใจเท่านั้น
บรรยากาศค่ายผู้ลี้ภัยชายแดนไทย-เมียนมา (อ้างอิงวิดีโอจาก Benar News)
อย่างไรก็ตามในเดือน พ.ค. 2564 UNHCR ได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ระบุว่า มีผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 2,000 คนถูกโน้มน้าวให้กลับเมียนมา ซึ่งผู้ที่โน้มน้าวให้กลับประเทศก็คือกองทัพไทย และยิ่งไปกว่านั้นในเดือน มี.ค. องค์กรพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนที่ชื่อว่า Fortify Rights ได้รายงานว่าช่องทางที่ถูกสร้างไว้เพื่อให้ผู้ลี้ภัยเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยนั้นกำลังถูกทำลายลงโดยการกระทำที่มีเจตนาของทหาร
ทว่าการที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. 2565 หรือที่รู้จักกันในชื่อหรือที่รู้จักกันดีในชื่อพระราชบัญญัติต่อต้านการทรมานของประเทศไทยมีผลบังคับใช้นั้น จะทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขอบเขตในการป้องผู้ลี้ภัยได้มากยิ่งขึ้น เพราะรายละเอียดในมาตราที่ 13 ของกฎหมายนั้นระบุว่า "ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐขับไล่ ส่งกลับ หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้น จะไปตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกกระทำทรมาน ถูกกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือถูกกระทำให้สูญหาย"
ทางด้านของนายอเล็กซานดาร์ สโตจิเซวิช เจ้าหน้าที่ด้านผู้ลี้ภัยของคณะกรรมการกฎหมายคนเข้าเมืองและสัญชาติ เนติบัณฑิตยสภาระหว่างประเทศ (IBA) และหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้งสำนักกฎหมาย MKS ซึ่งเป็นสำนักกฎหมายว่าด้วยการตรวจคนเข้าเมืองในแคนาดากล่าวว่า'กฎหมายนี้มีผลกระทบอย่างมากสำหรับโลกของผู้ลี้ภัย
โดยสำหรับประเทศไทยแล้วกฎหมายตัวนี้นั้นเป็นเสมือนกลับจุดยูเทิร์น หรือว่าการปรับท่าทีที่ประเทศไทยมีต่อผู้ลี้ภัย เพราะหลักคิดเรื่องผู้ลี้ภัยได้ถูกบัญญัติไว้เป็นกฎหมายแล้ว ส่วนประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียนนั้น กฎหมายฉบับนี้ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะอาจจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการออกกฎหมายที่คล้ายคลึงกันในประเทศเหล่านี้ได้
ทั้งนี้กฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาของประเทศไทย แต่ตามหลักการแล้วกฎหมายจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการใน 120 วันให้หลังจากการประกาศ ซึ่งวันนั้นก็จะตรงกับวันที่ 23 ก.พ. 2566 ตามขั้นตอนของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม มีความกังวลกันว่ากฎหมายนั้นจะมีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติได้จริงหรือ
โดย น.ส.กรกนก วัฒนภูมิ นักสิทธิมนุษยชนชาวไทยที่ทำงานร่วมกับ Fortify Rights มองว่ายังมีปัญหาในบางประการในเรื่องของบังคับใช้เช่นเดียวกับกฎหมายอื่นๆของประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่นกลไกการคัดกรองระดับชาติที่จะช่วยในเรื่องการระบุตัวตนผู้ลี้ภัย ซึ่งมีการพูดว่าจะมีการจัดตั้งกลไกนี้มาตั้งแต่ปี 2562 แล้ว แต่ปัจจุบันกลไกนี้ก็ยังไม่บรรลุผล
ทางด้านของนายสโตจิเซวิชกล่าวว่าปัญหาที่สำคัญก็คือข้อจำกัดในเรื่องของการตีความในหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศไทย หรือไม่ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่บางหน่วยงานอาจจะไม่สนใจที่จะบังคับใช้ในกฎหมายนี้ โดยที่สุดแล้วหน่วยงานเดียวที่จะทำตามกฎหมายนี้อย่างชัดเจนก็คือศาลไทย
ขณะที่นายแมคอาเธอร์กล่าวว่าจนถึงบัดนี้จุดสนใจนั้นมุ่งไปที่การออกกฎหมายกันเสียมากกว่า แต่หลังจากนี้สิ่งที่จะต้องจับตาต่อไปก็คือกฎหมายจะถูกนำไปปฏิบัติใช้อย่างไร ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆก้าวไปทีละขั้น
ส่วน น.ส.กรกนกกล่าวว่าถ้าหากกฎหมายนี้มีผลใช้บังคับ ผู้ลี้ภัยจะต้องแสดงหลักฐานให้เห็นว่าพวกเขาเสี่ยงต่อการถูกทรมานหรือได้รับอันตราย ซึ่งนี่เป็นเรื่องยากมาก
“แม้แต่อาการบาดเจ็บที่ร่างกายก็ไม่ได้หมายความว่าการบาดเจ็บนี้มาจากเจ้าหน้าที่รัฐ โดยตอนนี้ทุกคนต่างรู้ดีว่าในเมียนมามีสงครามเกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ควรจะเป็นอัตโนมัติสำหรับทางการไทยเลยก็คือว่าไม่ควรจะมีการส่งตัวผู้ลี้ภัยที่มาจากเมียนมากลับสู่ประเทศต้นทาง เพราะนี่จะหมายถึงอันตรายต่อชีวิตของพวกเขาอย่างชัดเจน และการไม่ส่งตัวกลับที่ว่ามานี้ก็ควรทำอย่างเท่าเทียมไม่มีการเลือกปฏิบัติ” น.ส.กรกนกกล่าว
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญานอกชายฝั่งไทย (อ้างอิงวิดีโอจาก Radio Free Asia)
น.ส.กรกนกกล่าวต่อไปว่ามีรายงานอีกว่าในบางครั้งมีผู้ลี้ภัยจากเมียนมาเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย แต่ว่าทางการไทยกลับตอบโต้ไปโดยระบุว่าไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นในเมียนมาเพื่อผลักดันผู้ลี้ภัยกลับไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ของประเทศไทยนั้นใช้เกณฑ์การตัดสินว่าพวกเขาไม่ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นที่บริเวณชายแดน จึงสรุปว่าไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น โดยตัวเธอก็ได้แต่หวังว่าจะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในอนาคต
ขณะที่ทางด้านนิตยสาร Global Insight ซึ่งเป็นนิตยสารในสังกัดของ IBA ได้มีการติดต่อไปยังรัฐบาลไทยเพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อกังวลดังกล่าวแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบกลับแต่อย่างใด
ส่วนสถาบันยุทธศาสตร์และนโยบายของ IBA ได้มีการประมาณการว่านับตั้งแต่การรัฐประหารในเมียนมาเมื่อปี 2564 เป็นต้นมา ยอดเสียชีวิตของพลเรือนในเมียนมาพุ่งขึ้นเกิน 5,600 รายแล้ว ซึ่งการเสียชีวิตเหล่านี้ก็มาจากทั้งการยิงสังหารและการทรมาน ดังนั้นทางด้านของ น.ส.กรกนกกล่าวว่าเธอก็คาดหวังว่ามาตราที่ 13 ของพระราชบัญญัติฯฉบับใหม่นี้จะเคารพสิทธิ์ของคงเมียนมาที่ต้องหนีจากความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นตลอดเวลาด้วยเช่นกัน
เรียบเรียงจาก:https://www.ibanet.org/Thai-law-would-end-forced-returns-of-refugees-scepticism-persists-over-implementation