"...หากพิจารณาข้อมูลในภาพรวมจะพบข้อสังเกตสำคัญ คือ 1. วงเงินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินก่อสร้างโครงการฯ เหล่านี้ หากนับรวมยอดวงเงินจะมีมูลค่าสูงนับพันล้านบาท 2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการฯ เหล่านี้ มีหลายประการ บางแห่งมีปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้สร้างเสร็จแล้ว ไม่สามารถใช้งานได้ บางโครงการมีปัญหาในการส่งมอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บางสถานที่สร้างขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจน บางโครงการใช้เวลาก่อสร้างนานหลายสิบปี บางแห่งมีปัญหาในการจัดการสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น.. นี่ยังไม่นับรวมปัญหาความไม่โปร่งใสหรือการเอื้อประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานหลายโครงการฯ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างด้วย ..."
ในช่วงเวลารอบปี 2565 ที่ผ่านมา
ปัญหาใช้จ่ายเงินงบประมาณแบบ สูญเปล่า ไม่คุ้มค่า ผ่านโครงการสิ่งปลูกสร้างของหน่วยงานราชการ ปรากฏให้เห็นผ่านการเสนอข้อมูลจากกลุ่มเพจตรวจสอบปัญหาการทุจริตในสังคมไทย อาทิ ต้องแฉ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ชมรมและเครือข่าย STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง
หลายโครงการฯ หลังการนำเสนอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสาธารณะถึงปัญหาอุปสรรค หลายโครงการมีการรับเรื่องไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไข แต่หลายโครงการก็เงียบหายไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ย้อนไปสำรวจข้อมูลโพสต์ ต้องแฉ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ชมรมและเครือข่าย STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย ในรอบปี 2565 ที่ผ่านมา พบว่า มีการนำเสนอข้อมูลการตรวจสอบพบโครงการก่อสร้างของหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ถูกทิ้งร้าง เป็นจำนวนกว่า 52 แห่ง แบ่งเป็น อาคารร้าง 39 แห่ง ประปาร้าง 13 แห่ง กระจายทั่วประเทศไทย
สามารถจำแนกรายละเอียดโครงการ และความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาได้ดังต่อไปนี้
@ ประปาร้าง
มีจำนวน 13 โครงการ ได้แก่
1.โครงการประปา อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
โครงการประปา อบต.ทะเลบก อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
รายละเอียด: 20 พ.ค. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่าโครงการนี้สร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2558 แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานเนื่องจากทางหน่วยงานอ้างว่าไม่มีน้ำ
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
2.โครงการประปา อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
โครงการประปา บ้านช่อง ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร
รายละเอียด: 20 พ.ค. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่าที่แห่งนี้สร้างเสร็จแต่ใช้งานได้ไม่คุ้มกับค่าไฟจึงไม่ใช้งานต่อ
งบประมาณ: 2.1 ล้าน
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
โครงการประปา อ.เมือง จ.พัทลุง
รายละเอียด: 20 พ.ค. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่าที่แห่งนี้สร้างเสร็จแต่ไม่ได้ใช้งาน ทิ้งอาคารไว้จนสภาพรกร้างดังภาพ
งบประมาณ: ไม่ทราบ
4.โครงการประปา อ.สทิงพระ จ.สงขลา
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
โครงการประปา อ.สทิงพระ จ.สงขลา
รายละเอียด: 20 พ.ค. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่าโครงแห่งนี้การยังไม่หมดระยะประกัน แต่กำลังจะถูกทิ้ง ไม่ได้ใช้งานตามวัตถุประสงค์
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
5.โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ ต.น้ำเป็น อ.เขาชะเมา จ.ระยอง
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ ม.1 ต.น้ำเป็น อ.เขาชะเมา จ.ระยอง
รายละเอียด: 27 ก.ย. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่าที่แห่งนี้สร้างเสร็จเป็นปี ไม่เคยได้ใช้งาน อีกทั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็ยังไม่ติดตั้ง ไม่เคยทดสอบและทดลองระบบใด ๆ สักอย่าง จนปัจจุบันมีหญ้าขึ้นรกรุงรัง
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: เมื่อ 21 ต.ค. 2565 ทางเพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่าก่อนหน้านี้ทางสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 9 จ.ระยอง ออกมาชี้แจงว่า หอถังประปามีน้ำเต็มถัง เพียงแต่การจ่ายน้ำยังไม่ทั่วถึง เพราะเตรียมความพร้อมอยู่ ล่าสุดเมื่อ 20 ต.ค. 2565 ป.ป.ช.ระยอง ได้ติดตามงานลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า ผู้รับจ้างได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง มีการนำเครื่องสูบน้ำมาเปลี่ยนกับเครื่องที่ชำรุดเรียบร้อยแล้ว และทดสอบระบบบาดาลจนใช้งานได้แล้ว ส่วนเครื่องสำรองไฟจะนำมาใช้ในกรณีที่จำเป็น แต่จะเก็บไว้ในพื้นที่ของอบต.เพื่อความปลอดภัย
6.โครงการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน แบบผิวดินขนาดใหญ่ ต.พุดซา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
โครงการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน แบบผิวดินขนาดใหญ่ บ้านบุกกระถิน ม.5 ต.พุดซา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
รายละเอียด: 8 ก.ย. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่าที่แห่งนี้เป็นประปาที่ชาวบ้านในพื้นที่ออกเสียงให้สร้างใหม่ เนื่องจากประปาแบบเก่ามีน้ำใช้ไม่เพียงพอ แต่เมื่อประปาแห่งนี้สร้างเสร็จกลับไม่เปิดใช้งาน เมื่อไปถามช่างของเทศบาลในพื้นที่ได้คำตอบว่าเหลือต่อสายไฟเข้าเครื่องก็พร้อมใช้งาน แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ได้ใช้งาน ถูกปล่อยทิ้งร้างให้หญ้าขึ้นรกรุงรัง
งบประมาณ: 2.46 ล้านบาท
ความคืบหน้า: 23 ก.ย. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2565 ป.ป.ช.นครราชสีมาลงพื้นที่ตรวจสอบ พบสาเหตุที่ยังใช้งานไม่ได้ เกิดจากปัญหาการวางท่อเมนจ่ายน้ำประปาที่ยังไปไม่ถึงจุดที่กำหนดไว้ และปัญหาการต่อสายจั้ม ได้มีการจัดประชาคมหาทางออกกับชาวบ้าน ซึ่งทางเทศบาลฯ ได้จัดงบเพิ่มซื้อท่อเมนและสายจั้มในเดือน ต.ค. และคาดว่าจะใช้งานได้เดือน พ.ย. 2565
7.โครงการระบบประปาหมู่บ้าน แบบผิวดินขนาดกลาง ต.หนองนกเขียน อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
โครงการระบบประปาหมู่บ้าน แบบผิวดินขนาดกลาง บ้านโคกก่อง ม.2 ต.หนองนกเขียน อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี
รายละเอียด: 10 พ.ค. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่าที่โครงการข้างต้นสร้างเสร็จเมื่อปี 2561 ปัจจุบันผ่านมาเกือบ 4 ปี มีการใช้งานแค่ปีเดียวก็ปล่อยทิ้งร้าง กลายเป็นแหล่งขีดเขียนภาพผนังจิตรกรรมของวัยรุ่นในพื้นที่ นอกจากนี้อุปกรณ์ควบคุมระบบน้ำและมิเตอร์ถูกถอดออกไปหมด เหลือเพียงแค่เสายืนโด่เดียวดาย
งบประมาณ: ประมาณ 1.1 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
8.โครงการศึกษาพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ (โครงการต่อยอด) ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
โครงการศึกษาพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ (โครงการต่อยอด) บ้านศรีทอง ม.8 ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี
รายละเอียด: 28 มิ.ย. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่าเมื่อปี 2563 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ทำโครงการศึกษาพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ (โครงการต่อยอด) เนื้องานมีการสร้างถังเก็บน้ำ ติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมระบบกระจายน้ำทั่วประเทศ ทั้งหมด 17 แห่ง ใช้งบ 193,369,260 บาท หนึ่งในนั้นสร้างอยู่ที่บ้านศรีทอง ม.8 ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี ซึ่งสร้างแล้วเสร็จ ส่งงานกันเรียบร้อย สองปีผ่านไปไม่เคยใช้งาน
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
9.ระบบประปาหมู่บ้าน ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
ภาพจากเฟซบุ๊กคิด ทำ ทิ้ง
โครงการประปาแบบบาดาล ขนาดกลาง ม.10 ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
รายละเอียด: 27 ก.ย. 2565 เพจคิด ทำ ทิ้ง ระบุว่าเจ้าของโครงการ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 10 ก.ค. 2563 แล้วเสร็จปลายปี ใช้งบประมาณ 1,830,000 บาท ผ่านมา 2 ปี ไม่เคยใช้งาน ชาวบ้านบอกมีปัญหาตรงปั๊มน้ำใช้งานไม่ได้ตั้งแต่ติดตั้ง นอกจากนี้ทีมงานคิดทำทิ้งตรวจสอบข้อมูลโครงการประปาแบบบาดาล ขนาดกลาง ลักษณะดังกล่าวพบว่าเป็นโครงการใหญ่ของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย ผ่านงบลงมาทางท้องถิ่นทั่วประเทศทั้งสิ้น 194 โครงการ รวมเป็นเงินงบประมาณกว่า 209.91 ล้านบาท เฉพาะที่จ.นครศรีธรรรมราช รวม 14 โครงการ จำนวนเงิน 18.84 ล้านบาท
งบประมาณ: 1.83 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
10.โครงการ 9101 บ้านดุหุน หมู่ 3 ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง
ภาพจากเฟซบุ๊กคิด ทำ ทิ้ง
โครงการ 9101 ขุดลอกสระและ สร้างหอถังประปา บ้านดุหุน ม.3 ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง
รายละเอียด: 17 ม.ค. 2565 เพจคิด ทำ ทิ้ง ระบุว่าโครงการประชานิยมที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ โครงการที่รัฐอัดฉีดหมู่บ้านและชุมชนเมือง ใช้เงินงบประมาณถึง 2 หมื่นล้านบาท 3 ปีผุดกว่า 2 แสนโครงการ แต่ส่วนใหญ่เหลือแค่ซากทิ้งร้างเกลื่อนกลาดเกือบทุกหมู่บ้าน เช่นที่ บ้านดุหุน ม.3 ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง ที่จัดทำโครงการ 9101 ในปี 2560 ขุดลอกสระเก่าด้วยงบ 200,000 บาท ต่อด้วยงบอีก 250,000 บาท สร้างหอถังประปาพร้อมเครื่องสูบน้ำ ทั้งที่มีเสียงค้านว่าอย่าทำเลยเพราะน้ำกร่อยและประปาภูมิภาคก็ได้เริ่มทำการแล้ว แต่ไม่สนใจพยายามสร้างจนเสร็จ ได้ใช้อยู่แค่สามหลังคาเรือน ผ่านไปไม่นานก็ทิ้งร้างจนถึงวันนี้
งบประมาณ: 4.5 แสนบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
11.โครงการประปา บ้านผักแพว ต.ทองหลาง อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
โครงการประปา ม.5 บ้านหนองผักแพว ต.ทองหลาง อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี
รายละเอียด: 16 ก.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า อบต.ทองหลาง ในพื้นที่บ้านผักแพว ต.ทองหลาง อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี ได้สร้างโครงการประปาที่ ม.5 บ้านหนองผักแพว มาตั้งแต่เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน แต่ชาวบ้านกลับไม่เคยได้ใช้น้ำจากโครงการนี้เลยสักหยด และไม่ทราบว่าชื่อโครงการอะไร งบเท่าไร เพราะอยู่จนสนิมกินป้ายไปหมดแล้ว และที่ผ่านมาชาวบ้านใช้น้ำด้วยวิธีดูดน้ำจากสระมาใช้และแกว่งสารส้มเอา
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
12.ระบบประปาหมู่บ้าน แบบผิวดินขนาดใหญ่ ของบ้านทิพโสต ม.10 ต.ดอนกลาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ระบบประปาหมู่บ้าน แบบผิวดินขนาดใหญ่ บ้านทิพโสต ม.10 ต.ดอนกลาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
รายละเอียด: 27 ม.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่าคนในพื้นที่ จ.มหาสารคาม ทักมาที่เพจต้องแฉว่าอยากให้ตรวจสอบโครงการระบบประปาหมู่บ้าน แบบผิวดินขนาดใหญ่ที่บ้านทิพโสต ม.10 ต.ดอนกลาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ผู้รับผิดชอบ คือ อบต.ดอนกลาง ผู้รับจ้าง คือ หจก.สุรินทร์ไทยสงวน สิ้นสุดสัญญาไปเมื่อ 7 ก.ย. 2564 ที่ผ่านมา คนในพื้นที่เล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่สร้างเสร็จช่วงเดือน ก.ย. 2564 ก็ไม่เคยได้ใช้งาน พอถามผู้นำชุมชนก็ได้รับคำตอบมาว่า มีปัญหาเรื่องเครื่องปั่นไฟ จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครเข้าแก้ไขปัญหาเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้งานประปาได้
งบประมาณ: 2.69 ล้านบาท
ความคืบหน้า: 3 เม.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่าอบต.ดอนกลางชี้แจงกับ ป.ป.ช. มหาสารคาม ว่าติดปัญหาเรื่องการเบิกจ่าย จะเร่งดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จไม่เกิน 30 วัน แต่ตอนนี้ผ่านมาเกิน 1 เดือนแล้ว คนในพื้นที่แจ้งว่ายังคงใช้งานไม่ได้ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร
13.โครงการก่อสร้างระบบประปาบ้านปากห้วยแม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก
ภาพจากเฟซบุ๊กสื่อสารองค์กร สำนักงาน ป․ป․ท․
โครงการก่อสร้างระบบประปาบ้านปากห้วยแม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก
รายละเอียด: 31 ต.ค. 2565 เพจสื่อสารองค์กร สำนักงาน ป․ป․ท․ ระบุว่า ป.ป.ท. เขต 6 ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ข้างต้นพบว่า โครงการดังกล่าวมีอำเภอแม่สอดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2556 อีกทั้งระบบประปาของโครงการไม่สามารถใช้งานได้และถูกปล่อยทิ้งร้าง โดยอุปกรณ์ระบบประปาสูญหาย ประกอบด้วยสายไฟ หม้อแปลง เครื่องปั๊มน้ำ ท่อส่งประปา นอกจากนี้ประชาชนไม่ได้ใช้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าว
งบประมาณ: 4 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
@ อาคารทิ้งร้าง
มีจำนวน 39 โครงการ ได้แก่
1.อาคารโครงการเตาเผาขยะ ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
โครงการเตาเผาขยะเพื่อลดมลพิษประหยัดพลังงาน ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
รายละเอียด: 2 พ.ย. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่า โครงการเตาเผาขยะ สร้างเพื่อลดมลพิษประหยัดพลังงานของ อบต.เทพราช สร้างตั้งแต่ปี 2556 สร้างเสร็จมาหลายปีก็ไม่เคยใช้งาน แถมการจัดเก็บขยะไม่มี บ่อขยะในการฝั่งกลบก็ไม่ทำ จนชาวบ้านต้องกำจัดขยะกันเอง
งบประมาณ: 8.97 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
2.ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ต.ท่านา อ.กะปง จ.พังงา
ภาพจากเฟซบุ๊กปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ต.ท่านา อ.กะปง จ.พังงา
รายละเอียด: 1 พ.ย. 2565 เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านระบุว่า อาคารหลังนี้สร้างเมื่อปี 2559 เป็นโครงการของทต.ท่านา อ.กะปง จ.พังงา เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่สร้างเสร็จมาใหม่ ๆ พบว่าไม่มีการเปิดใช้งานแต่อย่างใด
งบประมาณ: 9.6 แสนบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
3.อาคารเรียนอเนกประสงค์ห้องปฏิบัติการวิชาชีพ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ภาพจากเฟซบุ๊กชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย
อาคารเรียนอเนกประสงค์ห้องปฏิบัติการวิชาชีพ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
รายละเอียด: 17 ก.ย. 2565 เพจชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทยระบุว่า ยังไม่หมดสำหรับโครงการทำไม่เสร็จภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ชื่อโครงการก่อสร้างอาคารเรียนอเนกประสงค์ห้องปฏิบัติการวิชาชีพคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมพร้อมครุภัณฑ์ เริ่มต้นโครงการเมื่อกลางปี 2559 จัดซื้อจัดจ้างแบ่งเป็น 2 โครงการ คือจ้างออกแบบอีก 1,600,000 บาท และ งบก่อสร้างอาคาร 88,270,000 บาท สิ้นสุดสัญญาเมื่อปี 61 ผ่านมา 5 ปี ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะดำเนินการต่อ
งบประมาณ: ประมาณ 90 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
4.อาคารทิ้งร้างจำนวนหลายหลัง ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
ภาพจากเฟซบุ๊กชมรมตรังต้านโกง
อาคารทิ้งร้างจำนวนหลายหลัง ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
รายละเอียด: 3 พ.ค. 2565 ชมรมตรังต้านโกงระบุว่า เครือข่าย STRONG จังหวัดตรัง พบอาคารทิ้งร้างจำนวนหลายหลัง ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง (Trang College of Agriculture and Technology) ลักษณะของอาคารมีห้องพัก1ห้องในห้องพัก มีเตียงเหล็ก 2 ชั้น 2 ชุด มีห้องโถง 1 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง ภายในอาคารมีเตียงทุกหลัง แต่ไม่พบการเข้าไปใช้ สร้างเสร็จทิ้งร้าง ส่วนด้านหน้าเคยมีนักศึกษาพัก แต่ขาดการควบคุมดูแล ขยะของใช้ทิ้งไว้แล้วก็ทิ้งร้าง
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
5.อัฒจันทร์เหล็กค้ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ภาพจากเฟซบุ๊กชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย
อัฒจันทร์เหล็กค้ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
รายละเอียด: 13 ก.ย. 2565 เพจชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทยระบุว่า เครือข่ายชมรม STRONG จังหวัดนครศรีธรรมราช พบเห็นความผิดปกติโครงการก่อสร้างอัฒจันทร์สนามกีฬา ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งมีลักษณะแปลกตา จากการสืบเสาะข้อมูลของเครือข่ายในมหาลัยฯ พบว่า โครงการดังกล่าวเริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2559 ใช้งบออกแบบไป 8.1 แสนบาท และใช้งบก่อสร้างไป 41 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จไม่สามารถใช้การได้ เนื่องจากมีปัญหาด้านโครงสร้างหลังคาไม่มั่นคงแข็งแรงพร้อมที่จะถล่มลงมาทุกเมื่อ จึงแก้ปัญหาโดยการเอานั่งร้านเหล็กไปค้ำไว้ก่อนจนเป็นเวลาจะ 3 ปีก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้ใช้การ
งบประมาณ: ประมาณ 42 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
6.โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจฐานรากวิถีชุมชน ตำบลช่อง จ.ตรัง
ภาพจากเฟซบุ๊กชมรมตรังต้านโกง
โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจฐานรากวิถีชุมชน ตำบลช่อง จ.ตรัง
รายละเอียด: 29 ส.ค. 2565 เพจชมรมตรังต้านโกงระบุว่า เครือข่ายชมรมตรังต้านโกงพบโครงการทิ้งร้าง คือ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจฐานรากวิถีชุมชนตำบลช่อง ตลาดวิถีชุมชนช่อง ติดถนนเส้นเพชรเกษม พบสนามเด็กเล่น อุปกรณ์เครื่องเล่น สภาพที่ใช้งานได้ และวัสดุในโครงการกลับโดนทิ้งขว้างปล่อยให้รกร้าง ไม่ใช้งานอยู่ทิ้งอยู่ในป่าสวนปาล์ม จนถึงตอนนี้ปล่อยร้างนานกว่า 5 ปี
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
ภาพจากเฟซบุ๊กชมรม STRONG ต้านทุจริตภาคอีสาน
สวนสาธารณะ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 กิจกรรมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน การปรับปรุงภูมิทัศน์ลำทวนฝั่งซ้าย ต.ตาดทอง อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร
รายละเอียด: 17 ส.ค. 2565 เพจชมรม STRONG ต้านทุจริตภาคอีสานระบุว่า 24 ล้าน 5 ผู้ว่า ไร้หน่วยงานรับผิดชอบ ปัญหาจากข้าราชการระดับสูงสุดของจังหวัด (ผวจ.) ผ่านผู้ว่าฯมา 5 คนแล้วกลับมีไม่มีการตั้งคณะทำงานสำรวจพื้นที่อ้างว่าเป็นที่รกร้าง ว่างเปล่า โดยไม่ยอมกล่าวถึงสิ่งปลูกสร้างเดิมที่ผ่านมา 6 ปีแล้วแต่ยังไม่เปิดใช้ เครือข่ายแจ้งว่าสภาพปัจจุบันเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ อาคารสิ่งก่อสร้างมีการชำรุด เป็นสถานที่มั่วสุ่มของวัยรุ่นในพื้นที่โครงการจุดนี้ยังส่งไม่ได้ส่งมอบให้ท้องถิ่น
งบประมาณ: 24.5 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
ภาพจากเฟซบุ๊กชมรม Strong - จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดชัยนาท
ตลาดโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรมธรรมชาติ และวิถีชีวิตลุ่มน้ำ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนวัดจันทนาราม ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
รายละเอียด: 25 ก.ค. 2565 เพจชมรม Strong - จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดชัยนาทระบุว่า ชมรมฯ ได้รับข้อมูลขอให้ตรวจสอบโครงการก่อสร้างตลาดห้วยกรด ที่สร้างด้วยงบประมาณกลุ่มจังหวัดปี 2559 เมื่อสร้างเสร็จแล้วกลับปล่อยทิ้งร้างมิได้ใช้งานตามวัตถุประสงค์ เมื่อตรวจสอบจากเว็บไซต์ 'ภาษีไปไหน' พบว่าเป็นงบประมาณจากโครงการ พัฒนายกระดับคุณภาพ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรมธรรมชาติ และวิถีชีวิตลุ่มน้ำ; พัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนวัดจันทนาราม ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรีจ จ.ชัยนาท
งบประมาณ: 9.48 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
9.ที่ทำการองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน อ่างเก็บน้ำผาวัง ม.5 บ้านไทยนิยม ต.วังทอง อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู
ภาพจากเฟซบุ๊กต้านทุจริต ภาคประชาชน
ที่ทำการองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน อ่างเก็บน้ำผาวัง ม.5 บ้านไทยนิยม ต.วังทอง อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู
รายละเอียด: 8 ก.ค. 2565 เพจต้านทุจริต ภาคประชาชนระบุว่า อาคารของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ถูกปล่อยให้ทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ ที่อ่างเก็บน้ำผาวัง ม.5 บ้านไทยนิยม ต.วังทอง อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู พบว่าเป็นอาคารของหน่วยงานราชการที่สร้างขึ้น ป้ายด้านหน้าอาคารเขียนว่า ที่ทำการองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน ก่อสร้างเป็นปูนชั้นเดียวยกพื้นสูง ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำผาวัง
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
10.โครงการก่อสร้างบ้านพักของพนักงาน กรมท่าอากาศยาน สนามบินนานาชาติสุราษฎร์ธานี
ภาพจากเฟซบุ๊กคิด ทำ ทิ้ง
โครงการก่อสร้างบ้านพักของพนักงาน กรมท่าอากาศยาน สนามบินนานาชาติสุราษฎร์ธานี
รายละเอียด: 22 ก.ย. 2565 เพจคิด ทำ ทิ้ง ระบุว่าบ้านพักสนามบินสุราษฎร์ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการก่อสร้างบ้านพักของพนักงาน กรมท่าอากาศยาน ภายในสนามบินนานาชาติสุราษฎร์ธานี เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 61 เรื่อยมาไม่มีท่าทีว่าจะแล้วเสร็จ ล่าสุด แฟนเพจคิดทำทิ้งเฝ้ารอมากว่า 2 ปี ก็ยังมีสภาพทิ้งร้าง ไม่มีการดำเนินการต่อ
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
11.โครงการก่อสร้างหอสมุดและแหล่งเรียนรู้โรงเรียนสตูลวิทยา จ.สตูล
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
โครงการก่อสร้างหอสมุดและแหล่งเรียนรู้โรงเรียนสตูลวิทยา จ.สตูล
รายละเอียด: 19 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า จากข่าวคอลัมน์หมายเลข 7 ที่ได้ติดตามประเด็นโครงการก่อสร้างหอสมุดและแหล่งเรียนรู้โรงเรียนสตูลวิทยา ด้วยงบประมาณสูงถึง 27,210,000 ล้านบาท ทั้งหมด 12 งวด แต่มีการก่อสร้างและส่งมอบงานจริงแค่เพียง 2 งวด เบิกจ่ายไปแล้วกว่า 6 ล้านบาท ส่วนงวดที่ 3 ไม่ผ่านการตรวจรับและก็ถูกปล่อยทิ้งร้างจนเลยสัญญาจ้างมาแล้วกว่า 8 เดือน ปัจจุบันอาคารมีแต่โครงสร้างเสาคอนกรีต ดูแทบไม่ออกว่าจะสร้างเป็นอะไร และถูกปล่อยทิ้งร้าง
งบประมาณ: 27.21 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
12.โครงการก่อสร้างโรงเรียนอนุบาล เทศบาลตำบลเมืองรามัน อ.รามัน จ.ยะลา
ภาพจากเฟซบุ๊กคิด ทำ ทิ้ง
โครงการก่อสร้างโรงเรียนอนุบาล เทศบาลตำบลเมืองรามัน อ.รามัน จ.ยะลา
รายละเอียด: 26 ก.ย. 2565 เพจคิด ทำ ทิ้ง ระบุว่าโครงการก่อสร้างโรงเรียนอนุบาล เทศบาลตำบลเมืองรามัน อ.รามัน จ.ยะลา ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2563 หลังจากตรวจรับงานแล้วก็มิได้ดำเนินการใด ๆ ต่อปล่อยทิ้งร้างมาจนถึงปัจจุบัน
งบประมาณ: 6.14 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
13.ศูนย์ไอที เทศบาลปาเสมัส บ้านซารายอ ม.6 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส
ภาพจากเฟซบุ๊กคิด ทำ ทิ้ง
ศูนย์ไอที เทศบาลปาเสมัส บ้านซารายอ ม.6 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส
รายละเอียด: 8 ส.ค. 2565 เพจคิด ทำ ทิ้ง ระบุว่า ศูนย์ไอที เทศบาลปาเสมัส บ้านซารายอ ม.6 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อ กันยายน 2558 ปัจจุบันถูกปล่อยทิ้งร้างอย่างน่าเสียดาย
งบประมาณ: ประมาณ 5 แสนบาท
ความคืบหน้า: 11 ส.ค. 2565 เพจคิด ทำ ทิ้ง แสดงความคิดเห็นใต้โพสต์วันที่ 8 ส.ค. 2565 ว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ร่วมกับชมรม STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริตตรวจสอบอาคารข้างต้นพบว่า อาคารศูนย์ไอทีแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลปาเสมัส และปัจจุบันยังไม่มีการใช้ประโยชน์
14.อาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
อาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
รายละเอียด: 3 พ.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า จากที่ เดลินิวส์ พบอาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี สร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2552 โดยใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 3.7 ล้านบาท แต่ถูกทิ้งร้างไม่สามารถใช้งานได้มาถึง 13 ปี สาเหตุจากปัญหาฟ้องร้องกันเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้าง ที่ทาง อบต.ห้วยขมิ้น (ในสมัยนั้น)
ไม่เซ็นรับงาน เพราะการก่อสร้างไม่ตรงแปลน จนนำไปสู่การฟ้องร้องศาลปกครองเรียกค่าชดเชย และศาลปกครองชั้นต้นตัดสินให้ อบต.จ่ายเงินที่เหลือให้กับผู้รับเหมา พร้อมดอกเบี้ยประมาณ 2.5 ล้านบาท จนกระทั่ง นายก อบต.ห้วยขมิ้นคนปัจจุบัน ขออุทธรณ์จึงต้องรอฟังคำวินิจฉัยจากศาลปกครอง โดยนายก อบต. คนปัจจุบันแจ้งว่าวางแผนจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาคารใหม่ เพราะทรุดโทรมจนไม่สามารถใช้งานได้ หากไม่สามารถซ่อมแซมได้อาจจะต้องทุบใหม่ ที่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มอีกไม่เกิน 8 ล้านบาท
งบประมาณ: ประมาณ 3.7 ล้านบาท (ไม่นับงบประมาณที่จะถูกใช้ในอนาคต)
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
15.อาคารสำนักงานแห่งใหม่ ของ อบต.บ้านลี่ จ.อยุธยา
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
อาคารสำนักงานแห่งใหม่ ของ อบต.บ้านลี่ จ.อยุธยา
รายละเอียด: เพจต้องแฉระบุว่า อาคารสำนักงานแห่งใหม่ ของ อบต.บ้านลี่ จ.อยุธยา สร้างไม่เสร็จมาตั้งแต่ราวปี 2562 และถูกปล่อยทิ้งร้างไว้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งป.ป.ช. อยุธยา ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว พบว่าคือ 'โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลี่ ขนาด 2 ชั้น ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)' มีทั้งหมด 4 งวดงาน และหลังจากผู้รับเหมาเบิกจ่ายค่าจ้างไปแล้ว 1 งวด จำนวน 1,823,596.26 บาท การก่อสร้างก็หยุดชะงักไป เพราะเกิดการฟ้องร้องระหว่างผู้รับเหมากับอบต.บ้านลี่ สาเหตุมาจากผู้รับเหมาส่งมอบงานช้ากว่ากำหนด จึงมีการเรียกค่าปรับตามสัญญา โดยทาง อบต.บ้านลี่แจ้งว่า ผู้รับเหมาไม่ยอมจ่ายค่าปรับ จึงต้องยกเลิกสัญญา ด้านผู้รับเหมาก็ได้ทำการฟ้อง อบต.บ้านลี่ ต่อศาลปกครองจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุผลว่า นายกอบต. ไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา โครงการนี้จึงต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาจึงจะดำเนินการสร้างต่อไปได้
งบประมาณ: 6.13 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
16.ค่ายลูกเสือ ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ค่ายลูกเสือ ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
รายละเอียด: 2 พ.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า เดลินิวส์ เผยว่า พบค่ายลูกเสือ พื้นที่กว่า 100 ไร่ ที่ ต.กุดจิก อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ทิ้งร้างไม่ได้ใช้งานมานานจนมีสภาพเสื่อมโทรม ซึ่งค่ายลูกเสือแห่งนี้ถูกสร้างเมื่อปี 2547 แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวลำภู และได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 และที่น่าสนใจ คือ ในช่วงแรก ๆ ค่ายลูกเสือแห่งนี้ ใช้งานได้ดีจนเคยได้รับรางวัลจากสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ระดับประเทศอันดับ 1-10 ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน แต่หลังจากปี 2559 สถานที่แห่งนี้ก็ไม่ถูกใช้งาน จนตัวอาคารสิ่งปลูกสร้างชำรุดทรุดโทรม วัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าถูกขโมย ห้องน้ำห้องส้วมพังไม่ได้รับการซ่อมแซม
งบประมาณ: 1.75 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
17.อาคารที่ถูกสร้างขึ้นมาในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
อาคารที่ถูกสร้างขึ้นมาในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช
รายละเอียด: 28 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า ยังคงทิ้งไว้เป็นปริศนาธรรมกับอาคารที่ถูกสร้างขึ้นมาในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช ถูกทิ้งร้างไว้ไม่ได้ใช้งาน ซึ่ง Thai PBS ได้ติดตามประเด็นนี้ไปเมื่อปี 2561 และพบว่าอาคารแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อปี 2548 ด้วยงบประมาณท้องถิ่น แต่ภายในอาคารนี้มีสภาพชำรุดเสียหาย ใช้งานไม่ได้ แถม ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ได้ชี้แจงอีกด้วยว่า แม้อาคารจะอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก แต่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ แต่อย่างใด เพราะเป็นงานก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเท่าที่พบข้อมูลเห็นว่าเมื่อปี 2561 ทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน อยู่ในช่วงระหว่างการตรวจสอบว่าเป็นการใช้งบไปอย่างคุ้มค่าหรือไม่ แต่ทีมเพจต้องแฉไม่พบข้อมูลเพิ่มเติมว่าปัจจุบันผลการตรวจสอบออกมาเป็นเช่นไร สรุปแล้วอาคารนี้คืออะไร สร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด
งบประมาณ: ประมาณ 5 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
18.สนามกีฬาร้าง ต.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
สนามกีฬาร้าง ต.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
รายละเอียด: 18 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า จากข่าว Thai PBS ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบตามที่ชาวบ้านร้องเรียนเกี่ยวกับการสร้างสนามกีฬาในเขตเทศบาล ต.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา แต่กลับถูกทิ้งร้างจนสภาพเสื่อมโทรม สนามกีฬาถูกสร้างเมื่อปี 2553 มีกำหนดแล้วเสร็จ ปี 2559 แต่กลับไม่สามารถส่งมอบถ่ายโอนให้เทศบาลต.บางคล้าได้ เนื่องด้วยการติดขัดในเรื่องของข้อกฎหมาย และเงื่อนไขของกรมธนารักษ์ ทางจ.ฉะเชิงเทรา ได้แจ้งให้กรมพลศึกษาเร่งปรับปรุงสนามกีฬาเทศบาลต.บางคล้าให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานภายในวันที่ 29 เม.ย. 2561 กลับพบว่าผู้รับเหมาได้เข้ามาซ่อมแซมบางส่วนเท่านั้น และไม่เข้ามาแก้ไขเพิ่มเติมให้เสร็จทันตามกำหนด พอทวงถามไปยังกรมพลศึกษาก็เงียบหาย จนเป็นปัญหาที่ยังไม่มีข้อยุติว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จจนใช้งานได้เมื่อไร จนชาวบ้านในพื้นที่ได้เตรียมจะเข้าร้องเรียนกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ เพื่อให้มีเกิดการแก้ไขปรับปรุงสนาม ให้สามารถกลับมาใช้งานได้จริงเสียที ปัจจุบันเรื่องก็ดูเหมือนจะเงียบไป เพจต้องแฉจึงอยากจะชวนชาวต้องแฉมาช่วยกันติดตามว่าสรุปแล้วได้มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยตรวจสอบ ติดตามปัญหาก่อสร้างแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์นี้หรือยัง
งบประมาณ: ประมาณ 13 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
19.อาคารเรียน 8 แห่ง ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครราชสีมา
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
อาคารเรียน 8 แห่ง ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครราชสีมา
รายละเอียด: 7 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า จากสื่อข่าวออนไลน์ เดลินิวส์ ที่ได้ติดตามและเผยแพร่ข้อมูลโครงการก่อสร้างอาคารเรียน 13 แห่ง ในสังกัดอบจ.นครราชสีมา
ที่สร้างไม่เสร็จและถูกปล่อยทิ้งร้าง จากการถูกผู้รับเหมายกเลิกสัญญาจ้างเนื่องด้วยการขาดแคลนแรงงานในช่วงระบาดของโควิด-19 ซึ่งทางรองนายกอบจ.นครราชสีมา
ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่า จากมาตรการคุมเข้มช่วงโควิด ประกอบกับกรมบัญชีกลางประกาศให้งดเว้นค่าปรับและเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาบอกเลิกสัญญาว่าจ้างได้โดยไม่มีความผิด
จึงทำให้ผู้รับเหมาได้ยกเลิกสัญญาจ้างรวมทั้งสิ้น 13 โครงการก่อสร้างอาคารเรียนในสังกัดอบจ.นครราชสีมา
โดยที่ผ่านมามีการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 5 โครงการ แต่ยังเหลืออีก 8 โครงการ ซึ่งทางสภาอบจ. ได้มีการประชุมหาข้อสรุปเพื่ออนุมัติดำเนินการก่อสร้างโครงการที่ยังเหลืออยู่ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เดิมให้ได้ โดยโครงการก่อสร้างอาคารเรียนที่ถูกยกเลิกสัญญาและยังรออยู่ว่าจะสร้างต่อไปได้หรือไม่ อีก 8 แห่งที่เหลือ มีดังนี้
1. โรงเรียนกุดจิกวิทยา โครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ขนาดเล็กมีชั้นลอย (ตอกเสาเข็ม) จำนวน 4,760,000 บาท
2. โรงเรียนเฉลียงวิทยาคม โครงการก่อสร้างโรงเรียน คสล. 3 ชั้น 12 ห้องเรียน จำนวน 4,800,000 บาท
3. โรงเรียนดอนไพลวิทยาคม โครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ขนาดเล็กมีชั้นลอย (ตอกเสาเข็ม) จำนวน 4,650,000 บาท
4. โรงเรียนพระทองคำวิทยา โครงการก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 12 ห้องเรียน (แบบมีเสาเข็ม) จำนวน 3,590,000 บาท
5. โรงเรียนสองครวิทยาคม โครงการก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 12 ห้องเรียน (ใต้ถุนโล่งแบบตอกเสาเข็ม) และครุภัณฑ์ จำนวน 10,650,200 บาท
6. โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา โครงการก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น 12 ห้องเรียน จำนวน 8,500,000 บาท
7. โรงเรียนเมืองยางศึกษา โครงการก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น 12 ห้องเรียน จำนวน 8,082,400 บาท
8. โรงเรียนหนองหว้าพิทยาสรรค์ โครงการก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น 12 ห้องเรียน จำนวน 8,000,000 บาท
เพจต้องแฉเลยชวนชาวต้องแฉมาช่วยกันติดตามอีกแรงหน่อยว่า โครงการก่อสร้างอาคารเรียนอีก 8 แห่งที่เหลือ จะได้ถูกดำเนินการก่อสร้างต่อเมื่อไร
งบประมาณ: ประมาณ 53 ล้านบาท
ความคืบหน้า: 7 ต.ค. 2565 เพจปปช ภาค 3 แสดงความคิดเห็นใต้โพสต์วันที่ 7 ต.ค. 2565 ว่าสำนักงาน ป.ป.ช.ภาค 3 ร่วมกับ ป.ป.ช.นครราชสีมาเริ่มดำเนินการแล้ว 2 โรงเรียน เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2565 ณ โรงเรียนสองครพิทยาคม และวันที่ 12 ต.ค. 2565 ณ โรงเรียนกุดจิกวิทยา
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
โครงการศูนย์การเรียนรู้และแปรรูปปลาสลิดของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง เพื่อส่งเสริมให้ได้มาตรฐาน OTOP และส่งเสริมการส่งออก จ.สมุทรปราการ
รายละเอียด: 29 มิ.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า 'ศูนย์การเรียนรู้และแปรรูปปลาสลิด' ถูกสร้างมาเพื่อเป็นศูนย์กลางเรียนรู้เกี่ยวกับปลาสลิดและเป็นช่องทางการตลาด มาตรฐาน OTOP ของเหล่าผู้ประกอบการที่เคยถูกไล่รื้อแผงจำหน่ายปลาสลิดจากริมถนนสุขุมวิท โดยมีอบต.คลองด่านและสำนักพัฒนาชุมชน จ.สมุทรปราการ ร่วมจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้นแต่เปิดตัวใช้งานครั้งแรกเมื่อปี 60 เพียงครั้งเดียวหลังจากนั้นก็ไม่มีการเปิดใช้งานอีกเลย จากข้อมูลในเว็บ ACT Ai ที่ทีมต้องแฉลองหา พบว่ามีการก่อสร้างศูนย์ปลาสลิด จำนวน 2 ครั้ง
1. ปีงบประมาณ 2556 : ก่อสร้างด้วยวงเงินสัญญา 19,599,100 บาท ผู้รับจ้างคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภัสสรชัยมงคล
2. ปีงบประมาณ 2559 : ก่อสร้างด้วยวงเงินสัญญา 5,000,000 บาท ผู้รับจ้างคือ บริษัท สยาม แอคมี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จากงบพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการและงบกองทุนไฟฟ้า รวมมูลค่าสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ทั้งหมด 25.08 ล้านบาท และเมื่อปี 2563 สตง. ได้เข้าตรวจสอบพบปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่และการชำรุดเสียหายของอาคาร จึงได้แจ้งให้ อบต.คลองด่าน เร่งพิจารณาใช้ประโยชน์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และให้มีการดำเนินการซ่อมแซมศูนย์ปลาสลิดในส่วนที่ชำรุดเสียหายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งหาแนวทางในการดูแลรักษาอาคารและสิ่งก่อสร้างต่อไปด้วย
แต่ผ่านมาหลายปีจนปัจจุบัน ศูนย์ปลาสลิดก็ยังคงถูกทิ้งร้างไม่ได้ใช้งาน ไร้การดูแล
งบประมาณ: 25.08 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
21.ศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนและจุดพักรถสำหรับการเดินทาง ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนและจุดพักรถสำหรับการเดินทาง ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
รายละเอียด: 4 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า ยังคงไร้วี่แววสำหรับศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนและจุดพักรถสำหรับการเดินทาง ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ หนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการบึงอร่าม โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาดเป็นผู้รับผิดชอบดูแลบำรุงรักษาและบริหารจัดการศูนย์ฯ แห่งนี้ หลังจากประเด็นนี้ถูกเผยในเพจต้องแฉเมื่อปี 2564 ป.ป.ช. และชมรม STRONG กาฬสินธุ์ พร้อมผู้สื่อข่าว MCOT ทั่วไทย ลงพื้นที่ตรวจสอบ และหน่วยงานรับผิดชอบแจ้งว่าจะเร่งปรับปรุงพื้นที่ แต่จนป่านนี้ก็ไม่รู้ว่าตอนความคืบหน้าเป็นอย่างไร
งบประมาณ: 18.99 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
22.โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านทุ่งจูด ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณา จ.นครศรีธรรมราช
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านทุ่งจูด ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณา จ.นครศรีธรรมราช
รายละเอียด: 4 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านทุ่งจูด ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณา จ.นครศรีธรรมราช โดยการจัดทำโครงการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ OTOP และอาชีพอื่น ๆ ใช้งบประมาณ 55,329,000 บาท และด้านกิจกรรมเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว ใช้งบประมาณ 41,521,800 บาท แต่ตามที่ ชมรม STRONG ต้านทุจริต จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เผยแพร่ไปเมื่อปี 2562 ว่าซุ้มไม้ไผ่ถูกปล่อยทิ้งไว้ โต๊ะเก้าอี้ไร้หน่วยงานใดมาเหลียวแล จนถึงตอนนี้ไม่รู้ว่าได้ใช้งานบ้างแล้วหรือยัง
งบประมาณ: 96.85 ล้านบาท
ความคืบหน้า: 4 ต.ค. 2565 เพจชมรม STRONG ต้านทุจริต จังหวัดนครศรีธรรมราช แสดงความคิดเห็นในโพสต์ข้างต้นว่า ร้างสนิทจ้า
23.โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ OTOP กลางบึงทุ่งกะโล่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ OTOP กลางบึงทุ่งกะโล่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
รายละเอียด: 12 ก.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ OTOP กลางบึงทุ่งกะโล่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ที่เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 2547 ภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยงบประมาณของจ.อุตรดิตถ์ และถ่ายโอนให้อยู่ในการดูแลของอบจ.อุตรดิตถ์ ประกอบไปด้วย
1. ก่อสร้างโอทอป 21 ล้านบาท
2. ถนนเข้าออกโครงการแบบ 4 ช่องทางจราจร 8 ล้านบาท
3. ค่าออกแบบอาคาร OTOP จำนวน 3 ล้านบาท
4. ขยายเขตไฟฟ้าเข้าโครงการ 3 ล้านบาท
แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณก่อสร้าง จนปี 2553 โครงการต้องหยุดชะงักไป เพราะครม. มีมติให้บึงทุ่งกะโล่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำทำให้ไม่สามารถก่อสร้างหรือพัฒนาได้ตามแผนที่กำหนดไว้ได้
จนมาถึงปัจจุบันปี 2565 เดลินิวส์ออนไลน์ ได้ติดตามและพบว่า อาคารศูนย์ OTOP แห่งนี้ ยังคงถูกปล่อยทิ้งร้างมานานกว่า 20 ปี ระบบสาธารณูปโภคและอาคารก็พังเสียหาย แม้กลางปี 2564 ที่ผ่านมา มีบริษัทวิสาหกิจแห่งหนึ่งให้ความสนใจพัฒนาพื้นที่อาคารศูนย์ OTOP แห่งนี้ เตรียมพัฒนาสร้างประโยชน์ให้สังคมและชุมชน แต่สถานที่ก็ยังคงถูกทิ้งร้าง และล่าสุดพื้นที่ถูกถ่ายโอนมาสู่ เทศบาลตำบลเป่าเซ่า ที่ก็ยังไม่สามารถทำอะไรต่อได้เช่นกันเพราะติดปัญหาข้อกฎหมาย
งบประมาณ: 35 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
24.ศูนย์จัดกิจกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP ของชุมชน จ.นครพนม
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ศูนย์จัดกิจกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP ของชุมชน จ.นครพนม
รายละเอียด: 15 ก.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า ยังเงียบกริบ! OTOP นครพนม 30 ล้าน ร้างเป็นอาหารปลวก จากปีก่อนที่หลายสื่อข่าวได้ติดตามประเด็นที่คนในพื้นที่ ต.หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม ร้องเรียนให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จังหวัดนครพนม ตรวจสอบโครงการก่อสร้าง อาคารหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ก่อสร้างเมื่อปี 2555 เพื่อใช้เป็นศูนย์จัดกิจกรรม จำหน่ายสินค้าโอท็อปของชุมชนและจัดกิจกรรมต่าง ๆ แต่หลังจากสร้างเสร็จก็ไม่เคยถูกใช้งาน แถมยังถูกปล่อยทิ้งร้างมาเป็นเวลากว่า 10 ปี
จนเกิดปัญหาชำรุดทรุดโทรม ตัวอาคารส่วนใหญ่เป็นไม้เริ่มผุพังเสียหาย เลยอยากให้มีการตรวจสอบเพื่อที่จะหาวิธีทางแก้ไขและพัฒนาให้กลับมาใช้งานได้ จนกระทั่งมีการเลือกตั้งนายกและสมาชิกอบจ.จนได้คณะบริหารชุดใหม่เข้ามา แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขพัฒนาอาคารแห่งนี้ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้เสียที ปัจจุบันเรื่องร้องเรียนนี้ก็ยังดูเงียบกริบ ไม่รู้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเรื่องนี้ไปถึงไหนแล้ว
งบประมาณ: ประมาณ 30 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ม่อนเสาหินพิศวงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและจำหน่ายสินค้า OTOP เมืองแพร่ในพื้นที่หมู่ 10 ต.นาพูน อ.วังชิ้น จ.แพร่
รายละเอียด: 4 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า อบต.นาพูน จ.แพร่ ได้ดำเนินการพัฒนาม่อนเสาหินพิศวงในพื้นที่หมู่ 10 ต.นาพูน อ.วังชิ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและจำหน่ายสินค้า OTOP ของเมืองแพร่ ดำเนินการต่อเนื่อง 2 โครงการ วงเงินรวม 9.3 ล้านบาท ทั้งอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อาคารแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP อาคารศาลาที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว สร้างศาลาที่พักตามจุด จำนวน 7 หลัง วางรางระบายน้ำทางขึ้นลง ราวทางเดินชมแนวหิน ทำปูพื้นลานจอดรถและปรับปรุงภูมิทัศน์
แต่เมื่อปี 2561 ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน เผยว่าสภาพถูกปล่อยทิ้งรกร้าง ชำรุดเสียหาย ไร้ร่องรอยการเปิดใช้งาน อาคารศาลาที่พักหลังคาพุผัง แถมบางหลังยังก่อสร้างไม่เสร็จถูกปกคลุมไปด้วยหญ้าและต้นไม้ ไม่ทราบว่าปี 2565 พื้นที่แห่งนี้จะได้รับการปรับปรุงและเปิดใช้งานบ้างแล้วหรือยัง
งบประมาณ: 9.3 ล้านบาท
ความคืบหน้า: 26 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉแสดงความคิดเห็นในโพสต์วันที่ 4 ต.ค. 2565 ว่า ล่าสุด เมื่อ 25 ต.ค. 2565 ป.ป.ช.แพร่ ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว
26.หมู่บ้านวิถีไทยในจารึก จ.สุโขทัย
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
หมู่บ้านวิถีไทยในจารึก จ.สุโขทัย
รายละเอียด: 4 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า หมู่บ้านวิถีไทยในจารึกของคนสุโขทัยที่ผ่านมา 10 กว่าปี ยังไม่เคยเปิดใช้งาน ใช้งบประมาณ 350 ล้านบาท ที่แห่งนี้เป็นทั้งศูนย์นักท่องเที่ยว ศูนย์สาธิตการผลิต ร้าน OTOP สวนสมุนไพร ศูนย์แสดงศิลปะพื้นบ้าน วัดพระมหาธาตุจำลอง เพจคิด ทำ ทิ้ง เผยว่า สตง.เคยลงไปตรวจ หลังจากนั้นก็มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ แต่ก็ถูกทิ้งร้างยาว ไม่รู้ว่าตอนนี้ถูกปรับปรุงให้ใช้ประโยชน์ได้บ้างแล้วหรือยัง
งบประมาณ: 350 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
27.ตลาดขายสินค้าเกษตรและสินค้าโอท็อปในพื้นที่ทุ่งกระต่ายขัง จ.ประจวบคีรีขันธ์
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ตลาดขายสินค้าเกษตรและสินค้าโอท็อปในพื้นที่ทุ่งกระต่ายขัง จ.ประจวบคีรีขันธ์
รายละเอียด: 4 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า ตลาดขายสินค้าเกษตรและสินค้าโอท็อปในพื้นที่ทุ่งกระต่ายขัง จ.ประจวบคีรีขันธ์ สร้างด้วยงบประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อให้เป็นจุดเช็กพอยต์ กระตุ้นการซื้อขายสินค้าการเกษตร สินค้า OTOP แต่ปัจจุบันตลาดแห่งนี้ได้กลายเป็นตลาดร้าง ไม่มีทั้งผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว เมื่อปี 2563 สื่อ The EXIT ได้พยายามติดต่อไปยังนายอำเภอเมืองประจวบในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการก่อสร้าง แต่ก็ไม่ได้รับการติดต่อกลับ จนทุกวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าตลาดแห่งนี้จะสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้หรือไม่
งบประมาณ: 20 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
28.อาคาร OTOP ข้างศาลากลาง จ.ประจวบขีรีขันธ์
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
อาคาร OTOP ข้างศาลากลาง จ.ประจวบขีรีขันธ์
รายละเอียด: 4 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า อาคาร OTOP หรู ข้างศาลากลางจังหวัด ก่อสร้างด้วยงบวงเงินสัญญา 2,208,700 ล้านบาท อาคารแห่งนี้เคยถูกใช้ในการจัดแสดงสินค้า OTOP แต่ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน จนปัจจุบันกลายเป็นอาคารขายอาหารตามสั่งไปแทนซะแล้ว แบบนี้มันผิดวัตถุประสงค์ของการก่อสร้างและส่อให้เห็นถึงความผิดพลาดในการใช้งบประมาณหรือเปล่านะ จากการหาข้อมูลพบว่าการใช้งบประมาณนี้อยูในโครงการปรุงภูมิทัศน์เขาช่องกระจก ข้อมูลโครงการ ปีงบประมาณ 2560 ก่อสร้างด้วยงบวงเงินสัญญา 2,208,700 บาท (อยู่ในงบประมาณใหญ่ 16.9 ล้าน)
งบประมาณ: 2.2 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
29.อาคารศูนย์ท่องเที่ยวและแสดงสินค้า OTOP จ.อยุธยา
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
อาคารศูนย์ท่องเที่ยวและแสดงสินค้า OTOP จ.อยุธยา
รายละเอียด: 4 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า สำหรับการก่อสร้างอาคารศูนย์ท่องเที่ยวและแสดงสินค้า OTOP จ.อยุธยา ด้วยงบประมาณ 29 ล้านบาท ถูกปล่อยทิ้งร้าง ไม่ได้ประโยชน์ ทาง ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครศรีอยุธยาได้ลงพื้นที่ตรวจสอบไปแล้ว (ตรวจสอบเมื่อ 20 ก.ย. 2565) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า เอาล่ะถึงเวลาที่ชาวต้องแฉและป.ป.ช.ต้องช่วยกันติดตามความคืบหน้าว่าสรุปแล้วอาคารแห่งนี้จะถูกบริหารจัดการได้เกิดประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่
งบประมาณ: 29 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
30.ร้านค้าชุมชนบ้านแหลมยาง OTOP HUB พิกัดหมู่ที่ 8 ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ร้านค้าชุมชนบ้านแหลมยาง OTOP HUB พิกัดหมู่ที่ 8 ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร
รายละเอียด: 10 ต.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า จากที่เพจต้องแฉเปิดข้อมูล OTOP สร้างทิ้งร้างทั่วไทยว่ามีที่ไหน ผลาญงบไปเท่าไรกันแล้วบ้าง ก็มีชาวต้องแฉส่งเบาะแสเข้ามาเพิ่มเติม คราวนี้เป็นร้านค้าชุมชนบ้านแหลมยาง OTOP HUB พิกัดหมู่ที่ 8 ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร ขายสินค้าพื้นเมือง และผลิตภัณฑ์ชุมชนของคนในพื้นที่ แต่คนในพื้นที่สงสัยว่าทำไมผู้นำชุมชนเคยประกาศในที่ประชุมครั้งหนึ่งว่าได้รับงานค่าเช่าร้านค้า และมีการซื้อของเข้าร้านอีก แต่ร้านค้าแห่งนี้ถูกปล่อยทิ้งไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ตั้งแต่อาศัยในชุมชนก็ไม่เคยเห็นเปิดใช้งาน และพอจะทราบข้อมูลมาว่าเป็นร้านค้าที่ใช้งบสร้างมาจากส่วนหนึ่งของงบหลวงในโครงการประชารัฐ จึงอยากให้ช่วยกันดูหน่อยว่าแบบนี้คุ้มค่างบประมาณหรือเปล่า
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
31.สนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก เมืองพัทยา ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
โครงการศูนย์สนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก เมืองพัทยา ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
รายละเอียด: 1 ส.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า จากเพจ คนรักบอลไทย.com กำลังพูดถึงสภาพสนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก เมืองพัทยา ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2551-ปัจจุบัน ถูกปล่อยร้างไร้คนเหลียวแล ไม่มีคนสานต่อการก่อสร้าง จนทำให้เกิดคำถามว่าทำไมยังสร้างไม่เสร็จสักที ทีมเพจต้องแฉจึงได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสนามกีฬาดังกล่าว พบว่าคือ 'โครงการศูนย์สนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก' ที่มีการจัดสรรงบจำนวน 774 ล้านบาท มาเพื่อก่อสร้างตั้งแต่ปี 2551 ประกอบไปด้วย สนามฟุตบอลพร้อมลู่วิ่ง สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอลและสนามฝึกซ้อมกว่า 10 สนาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและสันทนาการในพื้นที่ภาคตะวันออก
แต่ต่อมามีปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงานเมืองพัทยาจึงได้มาทำความร่วมมือกับกองทัพภาคที่ 1 ในปี 2557 เพื่อดำเนินการต่อในระยะที่ 2 และจะเปิดใช้งานในปี 2564 เพื่อให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันยูธโอลิมปิกในอนาคต แต่ปัจจุบันปี 2565 ก็ยังสร้างไม่เสร็จ ซึ่งรองนายกเมืองพัทยา เผยว่าเกิดการล่าช้าจากปัญหาผู้รับเหมาและสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ส่งผลกระทบกับเรื่องงบประมาณอีกด้วย 14 ปีผ่านไป ยาวนานกว่าทศวรรษกับงบจำนวนมหาศาล แต่ก็ยังไร้วี่แววว่าจะเสร็จ
งบประมาณ: 774 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
32.ศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา
รายละเอียด: 29 ส.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า จากแฮชแทกร้อนแรงเมื่อปี 2563 อย่าง #อบจอินไซด์ ที่หลาย ๆ คนได้ออกมาจับตาและแฉแต่ละจังหวัดว่าใช้งบไปกับอะไรบ้าง ซึ่ง 1 ในตัวเต็งที่หลายคนจับตามอง คือ #อควาเรียมหอยสังข์ หรือ 'ศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา' ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สร้างมานานกว่า 10 ปี แต่ไร้ท่าทีจะเปิดใช้งาน โดยเว็บไซต์ AGENDA ได้เผยข้อมูลว่าอาคารแห่งนี้เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 2551 กำหนดเสร็จในปี 2554 ใช้งบประมาณก่อสร้างถึง 1,400 ล้านบาท
นอกจากนี้เมื่อปี 2563 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ก็ได้เผยเช่นกันว่า พบข้อมูลเบื้องต้นของการก่อสร้างอควาเรียมหอยสังข์แห่งนี้ จากเว็บไซต์ ACT Ai จำนวน 4 โครงการ ได้แก่
1. ปี 2558 ได้ใช้งบไป 269,000,000 บาท สำหรับก่อสร้างศูนย์ฯ ระยะที่ 2
2. ปี 2559 ได้ใช้งบไป 42,570,700 บาท สำหรับก่อสร้างศูนย์ฯ ระยะที่ 3
3. ปี 2560 ได้ใช้งบไป 69,868,000 บาท สำหรับก่อสร้างศูนย์ฯ ระยะที่ 4
4. ปี 2562 ได้ใช้งบไป 460,000 บาท สำหรับจ้างเหมาบริการประเมินงบประมาณค่าใช้จ่ายโครงการปรับปรุงก่อสร้างศูนย์ฯ
รวมเป็นเงินกว่า 381,898,700 บาท แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์
จนมาถึงปัจจุบันปี 2565 จากที่ทีมเพจต้องแฉติดตามความคืบหน้า อควาเรียมแห่งนี้ก็ยังใช้งานไม่ได้ จนมีตัวแทนเครือข่ายพลเมืองสงขลา ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้มีตัวแทนจากกระทรวงศึกษาธิการมาชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงแนวทางที่จะดำเนินการต่อ เพื่อไม่ให้งบประมาณที่ถูกใช้ไป 1,400 ล้านบาท สูญเสียไปอย่างว่างเปล่า
หลังจากนั้นจึงได้มีการหารือจากทุกฝ่ายเกี่ยวข้องพร้อมกับแกนนำภาคประชาชนร่วมรับฟัง โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ชี้แจงว่าการแก้ไขแบบแปลนสุดท้ายของการก่อสร้างหยุดชะงัก เนื่องจากหาผู้รับเหมาไม่ได้ จึงได้เสนอถึงแผนที่วางไว้ 6 แนวทาง เพื่อเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ของอาคารแห่งนี้ คือ
1. ให้ดำเนินการสร้างอควาเรียมเหมือนเดิม
2. สร้างอควาเรียม แต่บูรณาการเทคโนโลยีเสมือนจริงเข้าไปด้วย
3. จัดทำเป็นศูนย์ศึกษาพันธุ์พืช และป่าชายเลน (เปลี่ยนเป็นศูนย์พฤกษาศาสตร์)
4. จัดทำเป็นศูนย์อบรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
5. โอนให้จังหวัดมาดำเนินการ เพื่อจัดแสดงสินค้า แสดงศิลปวัฒนธรรมภาคใต้
6. จัดทำเป็นศูนย์แสดงสินค้า และการท่องเที่ยวทางน้ำโดยสร้างท่าเรือ
ล่าสุดเหมือนว่าเรื่องจะค้างอยู่ที่ คณะกรรมการการศึกษาอาชีวศึกษา กำลังพิจารณาทางเลือกก่อนที่จะนำเสนอให้ ครม. เป็นผู้อนุมัติต่อไป โดยเผยว่าหากเลือกแนวทางที่ 3-6 จะเป็นการลงทุนน้อยแต่ผิดวัตถุประสงค์ หากกลับไปสร้างอควาเรียมเช่นเดิม สามารถดำเนินการออกแบบเพิ่มเติมได้โดยไม่จำเป็นต้องเสนอ ครม. แต่ต้องใช้งบเพิ่มอีก 800-1,200 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมถึงการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาดูแลอีก และเห็นว่าตามกำหนดเดิม วันที่ 26 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา และรมว.กลาโหม จะต้องเดินทางมาที่จ.สงขลา ซึ่งตัวแทนชาวสงขลาจะขอเข้าพบเพื่อขอความชัดเจนกับแนวทางว่าจะขับเคลื่อนไปทางไหนได้บ้าง แต่ไม่ทราบว่าตอนนี้มีคำตอบว่าอย่างไร
งบประมาณ: 1,400 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
33.ตลาดน้ำเค็มวังหม้อแกง ต.ถ้ำน้ำผุด อ.เมืองพังงา จ.พังงา
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ตลาดน้ำเค็มวังหม้อแกง ต.ถ้ำน้ำผุด อ.เมืองพังงา จ.พังงา
รายละเอียด: 22 ก.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า ต่อจากเพจแฉ กล โกง ที่กำลังติดตามตลาดร้าง เพจต้องแฉได้หาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าที่นี่ คือ ตลาดน้ำเค็มวังหม้อแกง ต.ถ้ำน้ำผุด อ.เมืองพังงา จ.พังงา ที่ถูกสร้างเมื่อปี 2555 เพื่อเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงนิเวศฯ ตลาดขายสินค้า OTOP สินค้าเกษตร อาหารทะเลและอื่น ๆ ด้วยงบประมาณกว่า 10 ล้านบาท จากกลุ่มจังหวัดอันดามัน ซึ่งมีการก่อสร้างทั้งซุ้มขายของ อาคารสินค้า 2 ชั้นรูปเรือสำเภา เขาตาปูจำลองฯ บริเวณสวนป่าชายเลน เนื้อที่ถึง 4 ไร่ เพื่อเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวในปี 2556 แต่ต่อมาคนในพื้นที่ก็ได้ร้องเรียนกับสื่อข่าวต่าง ๆ ว่าอยากให้เกิดการตรวจสอบตลาดแห่งนี้ เพราะสร้างทิ้งไว้หลายปี แต่ไม่เคยได้ใช้งานให้คุ้มกับงบประมาณที่เสียไป จึงมีสื่อข่าวไปลงพื้นที่พบว่าซุ้มอาคารและอื่น ๆ ในจังหวัดมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ไร้การดูแลใด ๆ
ซึ่งปลัดเทศบาลเมืองพังงา ได้ให้คำตอบกับเรื่องนี้ว่า สร้างมาแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางเทศบาลเมืองพังงาเลยได้ถ่ายโอนทั้งโครงการให้กับสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 เข้าบริหารจัดการแล้วเมื่อปี 2562 ตอนนี้มาผ่านแล้วหลายปีแต่ยังดูไร้วี่แวว ไม่รู้มีการตรวจสอบและความคืบหน้ายังไงบ้าง
งบประมาณ: ประมาณ 10 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
34.ศูนย์ USO NET หรือศูนย์อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของกสทช. ต.บ้านเดื่อ อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ศูนย์ USO NET หรือศูนย์อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของกสทช. ต.บ้านเดื่อ อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ
รายละเอียด: 14 มิ.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า ชาวต้องแฉส่ง inbox มาว่าศูนย์ USO NET ของกสทช.ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ต.บ้านเดื่อ อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ
สร้างไม่เสร็จและถูกปล่อยทิ้งร้างมา 2-3 ปี แล้วเลยอยากให้มีคนมาตรวจสอบหน่อยว่าทำไมถึงทิ้งร้างไว้แบบนี้ สิ้นเปลืองงบหรือเปล่า ทีมเพจต้องแฉจึงได้หาข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์ USO NET พบว่า คือ ศูนย์อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ของโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้เยาวชน บุคคลทั่วไปในชุมชนสามารถเข้ามาเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานและใช้งานอื่น ๆ ได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน 'โครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ' โดยมีกสทช.เป็นผู้รับผิดชอบและมีศูนย์เช่นนี้ทั่วประเทศถึง 763 แห่ง แต่ไม่ทราบว่าที่อื่น ๆ พบปัญหา สร้างทิ้งร้างเหมือนในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ด้วยหรือเปล่า และเท่าที่ค้นข้อมูลในเว็บ ACT Ai ถึงโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเตอร์เน็ตฯ สำหรับปีงบประมาณ 2560 พบว่า กสทช. ได้ใช้งบรวมไปทั้งสิ้น 163,000,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมกับงบก่อนหน้านี้ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2548 แต่ยังไม่พบข้อมูลว่าได้ใช้งบก่อสร้าง USO NET ในแต่ละพื้นไปเท่าไร โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ที่เกิดปัญหาสร้างทิ้งร้างเอาไว้
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ตลาดอินโดจีน จ.มุกดาหาร
รายละเอียด: 5 ก.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า จากเพจ ทีมข่าว มุกดาหารนิวส์ ตามไปเช็กอินแลนด์มาร์ก 'สังกะสีมุกดาหาร' หรือตลาดอินโดจีน ที่พบสภาพทิ้งร้างและถูกล้อมด้วยสังกะสี เพราะกำลังอยู่ในช่วงซ่อมแซมด้วยงบกว่า 149.9 ล้านบาท มาตั้งแต่ปี 61 จนตอนนี้ผ่านไป 4 ปี ผู้ค้าขายรอแล้วรออีกก็ยังเงียบสนิท ไร้วี่แววว่าจะได้กลับมาใช้งาน ในปีงบประมาณ 2560 จ.มุกดาหารจึงได้มีโครงการซ่อมแซมและปรับภูมิทัศน์ตลาดฯ ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. 2561- 6 ต.ค. 2563 ด้วยวงเงิน 149,950,000 บาท โดยมีการจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) แต่จากที่ดูข้อมูลในเว็บ ACT Ai มีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวแบบนี้ปกติหรือไม่
เมื่อบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างในโครงการได้เข้ามาดำเนินงาน แต่ติดปัญหาต่าง ๆ ทั้งการรับมอบพื้นที่ ปัญหาสภาพพื้นที่หน้างาน ระบบไฟฟ้า รวมถึงผลกระทบจากโควิด-19 ที่ทำให้เกิดความล่าช้าจึงได้ขยายสัญญาไปอีกถึงเดือน ก.พ. 2564 แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จ โดยก่อนหน้านี้ก็ได้เบิกเงินค่าดำเนินงานไปแล้วบางส่วน จากความล่าช้าที่เกิดขึ้น จ.มุกดาหาร จึงได้บอกเลิกสัญญาบริษัทผู้รับเหมาไปแล้วเมื่อ 23 มี.ค. 2565 พร้อมแจ้งค่าปรับไปกว่า 18 ล้านบาท และได้ส่งหนังสือไปถึงกระทรวงมหาดไทย เพื่อของบ 94 ล้านบาทที่ถูกดึงกลับไป เพื่อนำมาใช้ดำเนินซ่อมแซมให้แล้วเสร็จ แต่ดูเหมือนว่าจะต้องพับโครงการไปก่อน เพื่อจัดทำใหม่ในปี 2567
งานนี้จากที่ล่าช้าแล้วก็ล่าช้าไปกว่าเดิม แถมยังต้องรอถึงปี 2567 จึงจะได้ดำเนินงานใหม่ แล้วอย่างนี้งบที่ถูกใช้ไปแล้วบางส่วนจะคุ้มค่าหรือไม่ จะเสร็จจริงได้เมื่อไร ?
งบประมาณ: 149.9 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
36.จุดจอดพักรถบรรทุก ของสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ กรมทางหลวง จ.ยโสธร
ภาพจากเฟซบุ๊กแฉ กล โกง
จุดจอดพักรถบรรทุก ของสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ กรมทางหลวง จ.ยโสธร
รายละเอียด: 10 มิ.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า เพจต้องแฉได้รับ inbox มาว่าพบจุดจอดพักรถบรรทุก จ.ยโสธร ของสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ กรมทางหลวง มีสภาพทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งาน และบริเวณใกล้เคียงมีสถานีตรวจสอบน้ำหนัก ที่ถูกทิ้งร้างเอาไว้เช่นกัน จึงไม่ทราบว่าแบบนี้จะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณหรือไม่
เบื้องต้นไม่ทราบว่าเคยถูกใช้งานไหม ทิ้งร้างจนหญ้าขึ้นแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไร และยังไม่พบแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณก่อสร้างของสถานที่นี้ว่าใช้งบไปเท่าไร แต่เท่าทีมเพจต้องแฉลองค้นหาข้อมูล เหมือนว่าจุดจอดพักรถแห่งนี้ คือ 1 ในโครงการขยายทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะช่วยส่งเสริมการขนสินค้าระหว่างประเทศ และเพื่อความปลอดภัย กรมทางหลวงจึงสร้างจุดจอดรถบรรทุก truck rest area และจุดตรวจน้ำหนัก เพิ่ม 3 จุด ซึ่ง จุดที่ 2 คือในพื้นที่ ร้อยเอ็ด - ยโสธร
งบประมาณ: ประมาณ 100 ล้านบาท
ความคืบหน้า: 5 ก.ค. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า เมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา มีชาวต้องแฉส่งเบาะแสมาให้ทาง inbox ว่าจุดพักรถบรรทุก จ.ยโสธร มีสภาพถูกทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งานจนหญ้าขึ้นสูง (ต้นเรื่องมาจากเพจ แฉ กล โกง) ทีมเพจต้องแฉจึงค้นหาข้อมูลและพบว่าจุดจอดพักรถแห่งนี้ คือ 1 ในโครงการขยายทางหลวงหมายเลข 23 ร้อยเอ็ด-ยโสธร ขนสินค้าระหว่างประเทศ และเพื่อความปลอดภัย
จากนั้น ป.ป.ช. ยโสธรและเครือข่ายชมรม STRONG ตามไปตรวจสอบทันที พบว่าจุดพักรถดังกล่าวมีงบสูงถึง 100 ล้าน โดยอยู่ในขั้นตอนส่งมอบงาน และกรมทางหลวงจะจัดส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานภายใน 1-2 เดือน ผ่านไป 1 เดือน ป.ป.ช.ยโสธรได้ช่วยไปติดตามอีกครั้ง พบว่า โครงการจุดพักรถฯ ได้ถูกส่งมอบงานและกรมทางหลวง เปิดให้มีการใช้งานเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง และจะเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบภายในเดือน ก.ค. 2565 นี้ ในที่สุดงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ก็ได้ถูกใช้อย่างคุ้มค่าสักที แต่จะมีการเปิดใช้งานอย่างไรต่อไป จะถูกทิ้งร้างไว้อีกหรือไม่ ฝากชาวต้องแฉที่อยู่ในพื้นที่ช่วยกันสอดส่องหน่อย
37.ศูนย์ USO NET ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
ศูนย์ USO NET ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์
รายละเอียด: 20 มิ.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า หลังจากมีชาวต้องแฉพบว่ามีศูนย์ USO NET หรือศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชนของ กสทช. ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.ชัยภูมิ สร้างไม่เสร็จและถูกปล่อยทิ้งร้างมา 2-3 ปี ทำให้นักเรียนและคนในชุมชนไม่เคยได้ใช้งานจริง ล่าสุดเราได้รับข้อมูลจากชาวต้องแฉ จ.เพชรบูรณ์ ว่าที่นี่ก็มีศูนย์ USO NET
แต่ไม่ทันได้แม้แต่ขึ้นเสาคานให้มีความหวัง ก็ถูกทิ้งเป็นซากเสาและหลังคาเอาไว้แบบนี้ อยู่บริเวณทางเข้าหน้าโรงเรียนแห่งหนึ่ง พิกัด ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์
เห็นว่าจะเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2562 แต่จากนั้นก็เงียบหายไป ไม่ทราบว่าเพราะอะไรถึงถูกทิ้งไว้สภาพนี้มาถึงปี 2565
งบประมาณ: ไม่ทราบ
ความคืบหน้า: 23 มิ.ย. 2565 เพจต้องแฉระบุว่า เมื่อ 3 วันก่อนเพจต้องแฉได้ลงประเด็นข้อสงสัยจากชาวต้องแฉ จ.เพชรบูรณ์ มาว่าที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในต.วังกวาง อ.น้ำหนาว มีซากเสาและหลังคาที่เคยจะสร้างเป็นศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน (USO NET) มาตั้งแต่ปี 2562 แต่จนปัจจุบันก็เห็นเพียงแค่ซาก ไม่รู้ว่าเพราะอะไรถึงถูกทิ้งไว้สภาพนี้ล่าสุด สำนักงานป.ป.ช.ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ไปตรวจสอบต่อจากเพจต้องแฉอย่างรวดเร็วทันใจ ได้ข้อมูลทั้งจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนดังกล่าวว่า ได้ยกเลิกการจ้างจากผู้รับจ้าง เนื่องจากตรวจพบว่าการดำเนินการของผู้รับจ้างไม่เป็นไปตามแบบที่ทางกสทช. ได้กำหนดไว้ และในขณะนี้อยู่ในระหว่างที่ กสทช. ดำเนินการหาผู้รับจ้างรายใหม่ เพื่อดำเนินโครงการต่อ
38.อาคารศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ จ.ตรัง
ภาพจากเฟซบุ๊กต้องแฉ
อาคารศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ จ.ตรัง
รายละเอียด: เพจต้องแฉได้รับข้อมูลจากเครือข่ายชมรมตรังต้านโกงมาว่าจ.ตรัง มีอาคารทิ้งร้างอยู่แห่งหนึ่งเป็นศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรม ที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2559 จนผ่านไป 6 ปี ตอนนี้ก็ยังสร้างไม่เสร็จ ปล่อยทิ้งร้าง ทีมต้องแฉจึงได้หาข้อมูลเพิ่มเติมพบชื่อ 'อาคารศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ' มีหน่วยงานรับผิดชอบ คือ สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและเทศบาลนครตรัง ใช้งบรวมไปแล้วกว่า 107,296,600 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ปีงบประมาณ ดังนี้
1.ปี 2559 ใช้งบ 39,320,000 บาท สร้างเสร็จเฉพาะโครงสร้างภายนอกเท่านั้น
2.ปี 2560 ได้งบเพิ่มอีก 67,976,600 บาท สำหรับโครงสร้างงานผนัง-ผิวหนัง งานผิวพื้น งานหลังคา งานระบบไฟฟ้า และงานระบบประปา-สุขาภิบาล สิ้นสุดสัญญาเมื่อ 21 ก.ย. 2563 แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
ซึ่งนายกเทศมนตรีนครตรัง แจ้งว่าความล่าช้าเกิดมาจากพื้นที่นี้เคยขอไว้สร้างสนามกีฬา ตอนปี 56 จึงต้องขอทำเรื่องเปลี่ยนจากสนามกีฬามาเป็นการสร้างอาคารศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมแทน และได้รับการอนุมัติให้สร้างได้วันที่ 11 ก.พ. 2562 แถมปี 2559 ยังเคยมีข่าวอีกว่าชั้น 2 ของอาคารได้ถล่มลงจนทำให้คนงานบาดเจ็บไป 20 ราย ขออนุมัติเปลี่ยนการก่อสร้างก็แล้ว ได้งบเพิ่มก็แล้ว ผ่านไป 6 ปีก็แล้ว แต่ศูนย์แสดงฯ ก็ยังว่างเปล่า แล้วจะให้ประชาชนเข้าไปชื่นชมอะไรดี
งบประมาณ: ประมาณ 107.29 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
39.สนามกีฬาสมุทรปราการ เคหะเมืองใหม่บางพลี ต.บางเสาธง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
ภาพจากเพจ The EXIT Thaipbs
สนามกีฬาสมุทรปราการ เคหะเมืองใหม่บางพลี ต.บางเสาธง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
รายละเอียด: 4 ต.ค. 2565 เพจ The EXIT Thaipbs ระบุว่า The EXIT ลงพื้นที่สนามกีฬาสมุทรปราการ เคหะเมืองใหม่บางพลี ต.บางเสาธง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ หลังได้รับแจ้งข้อมูลว่า ที่นี่มีโครงการก่อสร้างที่ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 160 ล้านบาท ใน 3 โครงการ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ สภาพทิ้งร้างมานานกว่า 7 ปี
เอกสารจัดซื้อจัดจ้าง 'โครงการก่อสร้างสนามกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ' (เคหะเมืองใหม่บางพลี) อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.สมุทรปราการ
ทั้ง 3 โครงการ ได้รับงบประมาณอุดหนุน จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ในปีงบประมาณ 2558 และ 2559 เพื่อก่อสร้างและปรับปรุงสนามกีฬารวมถึงการจัดฝึกอบรม แต่พบปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้รับจ้างการก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบ มีความล่าช้าในการก่อสร้าง และขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1. โครงการก่อสร้างสระว่ายน้ำ อาคารประกอบ
2. ปรับปรุงสนามเทนนิส
( 2 โครงการแรก ใช้งบประมาณก้อนเดียวกัน 89,800,000 บาท)
3. โครงการก่อสร้างโรงยิมเนเซียม งบประมาณ 69,070,000 บาท
ปัจจุบันพบว่า ทั้ง 3 โครงการ อยู่ในสภาพถูกปล่อยทิ้งร้าง ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากสระว่ายน้ำและสนามเทนนิสที่สร้างแล้วเสร็จไม่เป็นไปตามแบบ เช่น สระว่ายน้ำไม่สามารถใช้ได้ อัฒจันทร์ไม่มีเก้าอี้นั่งและสร้างไม่ครบจำนวนชั้น สนามเทนนิสกำหนดเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแต่สร้างเป็นพื้นแอสฟัลติก ส่วนโรงยิมเนเซียมก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่พบข้อมูลว่ามีการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้รับจ้างครบแล้ว เรื่องนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
งบประมาณ: ประมาณ 160 ล้านบาท
ความคืบหน้า: ไม่ทราบ
*************
เหล่านี่ เป็นข้อมูลโครงการก่อสร้างของหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ถูกทิ้งร้าง ผ่านการนำเสนอของเพจ ต้องแฉ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ชมรมและเครือข่าย STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย ที่สำนักข่าวอิศรา รวบรวมมาไว้ ณ ที่นี้
หากพิจารณาข้อมูลในภาพรวมจะพบข้อสังเกตสำคัญ คือ
1. วงเงินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินก่อสร้างโครงการฯ เหล่านี้ หากนับรวมยอดวงเงินจะมีมูลค่าสูงนับพันล้านบาท
2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการฯ เหล่านี้ มีหลายประการ บางแห่งมีปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้สร้างเสร็จแล้ว ไม่สามารถใช้งานได้ บางโครงการมีปัญหาในการส่งมอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บางสถานที่สร้างขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจน บางโครงการใช้เวลาก่อสร้างนานหลายสิบปี บางแห่งมีปัญหาในการจัดการสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น ซึ่งปัญหาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการทำงานของหน่วยงานรัฐ ที่ญหาขาดการวางแผนงานที่มีประสิทธิภาพมาตั้งแต่ต้น
นี่ยังไม่นับรวมปัญหาความไม่โปร่งใสหรือการเอื้อประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานหลายโครงการฯ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างด้วย
กรณี "การคิดทำทิ้ง" ผ่านโครงการก่อสร้างต่างๆ หากพิจารณาภาพรวมทั้งประเทศ จึงนับเป็นประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับปัญหาการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ อันมีที่มาจากเงินภาษีประชาชน ที่ไม่ควรถูกมองข้ามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคนในสังคมไทยโดยเด็ดขาด
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา : การรวบรวมข้อมูลข้างต้นเป็นการรวบรวมข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊กหลายแห่ง ข้อมูลบางส่วนอาจตกหล่นได้