โดยทั่วไปแล้ว บริษัทซึ่งมีพฤติกรรมหลอกลวงนั้นจะใช้เว็บไซต์ซึ่งดูเหมือนกับเว็บไซต์สมัครงาน อาทิ Naukri.com, Monster.com เป็นต้น และยังมีการใช้ช่องทางสื่อสารอื่นๆ อาทิ SMS/WhatsApp เพื่อใช้ในการสื่อสารเพื่อล่อลวงเหยื่อเป็นต้น ซึ่งหนึ่งในเนื้อหาการล่อลวงก็คือการเสนอค่าตอบแทนมูลค่าสูง อาทิ ค่าตอบแทนชั่วโมงละ 3,000-6,000 รูปี (1,375-2,752 บาท) หรือประมาณ 1 แสน-6 แสนรูปี (45,878- 275,174 บาท) ซึ่งแน่นอนว่าข้อเสนอดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีวิกฤติเรื่องคนตกงาน ก็เป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจให้กับทุกคน โดยเฉพาะคนอย่างนายฮาริชที่กำลังตกงานให้ตกหลุมพรางได้อย่างง่ายดาย
สืบเนื่องจากที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับหนึ่งในบริษัทสัญชาติจีนที่ถูกระบุจากสถานทูตประเทศอินเดียประจำนครย่างกุ้งของประเทศเมียนมา ว่าเป็นบริษัทที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงออนไลน์ โดยลักษณะการทำงานของบริษัทที่ว่านี้นั้นจะเป็นการหลอกชาวอินเดียมาสมัครงานที่อ้างว่าจะเป็นงานในประเทศไทย ซึ่งมีเงินเดือนที่สูง
แต่เมื่อผู้สมัครงานหลงกลก็จะถูกพาตัวจากประเทศไทยเพื่อไปทำงานเป็นแรงงานทาสให้กับกลุ่มมิจฉาชีพในพื้นที่แถบเมืองเมียวดี ในพื้นที่ชายแดนไทย เมียนมา
- อ้างร่วมทุน รบ.ไทย! ตามไปดู เว็บ บ.จีน ถูกสถานทูตอินเดียแฉหลอกทำฉ้อโกงออนไลน์ที่เมียนมา
- มีตั้งในไทยด้วย!-สถานทูตอินเดีย ณ ย่างกุ้ง เปิด 36 บ.หลอกทำงานฉ้อโกงออนไลน์ในเมียนมา
- เปิดโปงขบวนการหลอกเสนองานรายได้ดีในไทย ล่อเหยื่อมาเลเซียส่งไปกักขังกัมพูชา
- เจาะลึกเครือข่ายหลอกสมัครงานสู่ค้ามนุษย์ ระบาดหนักทั่วอาเซียน หลังผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19
- มิจฉาชีพหลอกชาวมาเลเซีย อ้างจัดหางานรายได้ดี ก่อนพาตัวผ่านไทย ลอบเข้ากัมพูชา
- มิจฉาชีพไทยหลอกชาวทมิฬ 50 ชีวิต ทำงานฉ้อโกงออนไลน์ในเมียนมาร์ วอน รบ.อินเดียช่วยเหลือ
จากกรณีดังกล่าวนั้นทางเว็บไซต์ Ince24 ซึ่งเป็นเว็บไซต์รายงานข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีของประเทศเมียนมา ได้มีการเปิดโปงขบวการมิจฉาชีพเหล่านี้ ซึ่งสำนักข่าวอิศราได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กรณีการฉ้อโกงคริปโต นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในแง่ของปฏิบัติการณ์และในแง่ของตัวมิจฉาชีพ แต่อย่างไรก็ตามสาระสำคัญของการฉ้อโกงก็คือการหลอกล่อให้คนนั้นเสียเงินจำนวนมากกับการไปลงทุนในคริปโตปลอมๆ โดยสัญญาว่าจะให้รายได้ตอบแทนสูงกลับมา
อย่างไรก็ตามผู้ที่หลอกลวงให้เราเสียเงินไปกับคริปโตปลอมดังกล่าวนั้น แท้จริงแล้วอาจจะไม่ใช้กลุ่มอาชญากรไซเบอร์ หรือว่ากลุ่มแฮกเกอร์ แต่กลับเป็นผู้ที่ถูกหลอกให้ไปเป็นแรงงานทาสเพื่อให้ดำเนินการหลอกลวงทางออนไลน์อีกทีก็เป็นได้
อันที่จริงแล้วมีข้อมูลว่ามีผู้ถูกหลอกลวงให้เป็นแรงงานทาสและถูกทรมานเป็นจำนวนนับพันราย ถ้าหากพวกเขานั้นไม่ดำเนินการหลอกลวงให้ได้ตามเป้าหมายที่กลุ่มมิจฉาชีพกำหนดเอาไว้
โดยนี่คือเรื่องราวของสองชาวอินเดียที่เป็นหนึ่งในขบวนการเหล่านี้
นายฮาริชและเพื่อนของเขาชื่อว่านายกิริช (ชื่อถูกเปลี่ยนในภายหลัง) กล่าวว่าช่วงเวลาที่พวกเขาถูกหลอกลวงให้เป็นแรงงานทาสนั้นเปรียบเสมือนกับฝันร้ายทั้งเป็นสำหรับเขา
โดยที่ผ่านมานั้นทั้งสองเคยทำงานในนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ด้วยวีซ่าทำงานเป็นระยะเวลาประมาณสามเดือน ซึ่งในขณะนั้นทั้งสองกำลังมองหางานที่มีรายได้สูงในช่วงเวลาที่มีโรคระบาด ส่งผลทำให้หลายล้านชีวิตต้องตกงาน และทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน
และจากความพยายามของการหางาน ไม่นานนักพวกเขาก็ได้รับการติดต่อจากบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศหรือว่าบริษัทไอที ซึ่งบริษัทนี้ได้เสนองานในประเทศไทย โดยอ้างว่าเป็นงานประเภทของผู้ที่ดำเนินการให้ข้อมูล เมื่อทั้งสองคนได้รับข้อเสนองานดังกล่าว พวกเขาจึงได้บินมายังกรุงเทพ ซึ่งพอมาถึงกรุงเทพแล้ว ก็มีคนท้องถิ่น (ไม่ได้ระบุสัญชาติ) พาตัวพวกเขาไป อ.แม่สอด จ.ตาก ที่อยู่ริมชายแดนไทย-เมียนมา
และหลังจากนั้นทั้งสองคนก็ถูกพาตัวจากแม่สอดข้ามไปยังเมืองเมียวดี ซึ่งเป็นเมืองเอกของรัฐกะเหรี่ยง โดยที่ทั้งสองนั้นไม่ได้มีทั้งวีซ่าหรือว่าใบอนุญาตเข้าประเทศแต่อย่างใด และหนังสือเดินทางรวมไปถึงโทรศัพท์มือถือของพวกเขาก็ถูกยึดไปโดยผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัท ซึ่งพอถึงขั้นนี้แล้ว สถานการณ์ของพวกเขาเรียกว่าไม่มีทางเลือกให้ถอยหลังกลับแล้ว
พื้นที่ในเมียนมาที่เหยื่อชาวอินเดียอ้างว่าถูกหลอกให้ไปทำงานฉ้อโกงออนไลน์
มีรายงานด้วยว่าทั้งสองคนนั้นถูกเรียกเงินค่าไถ่เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น รายละ 8 แสน – 1 ล้านรูปีอินเดีย หรือประมาณ 3.6 -4.5 แสนบาท เพื่อแลกกับอิสรภาพของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าทั้งสองคนนี้ไม่มีเงินจ่ายค่าไถ่
และสิ่งที่แน่นอนยิ่งกว่านี้ก็คือว่าสองคนนี้ไม่ใช่เหยื่อเพียงรายเดียวอย่างแน่อน เพราะมีรายงานข่าวว่ามีบุคคลคิดเป็นจำนวนนับร้อยราย มาจากหลายประเทศก็ถูกหลอกให้มาเป็นแรงงานเพื่อทำงานผิดกฎหมายในลักษณะนี้ โดยกลุ่มมิจฉาชีพนั้นจะมีการทำโปรไฟล์บนโซเชียลมีเดียปลอมๆ เพื่อจะสร้างความไว้ใจ พอที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวและให้ข้อมูลทางการเงินได้ จนในที่สุดเหยื่อก็หลวมตัวเข้ามาทำงานในเครือข่ายการฉ้อโกงคริปโต และถ้าหากเหยื่อปฏิเสธที่จะทำงานให้ พวกเขาก็จะถูกทำร้ายร่างกายและถูกขายไปให้กับบริษัทอื่น
ทางด้านของนายฮาริชได้ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว NDTV ของอินเดียเพิ่มเติมว่าบริษัทที่เขาถูกหลอกไปทำงานให้นั้นพบว่าเป็นบริษัทขนาดเล็ก มีผู้ที่ถูกจับกุมตัวมาประมาณทั้งสิ้น 400-500 คน ซึ่งทั้งหมดก็ถูกบังคับให้งานฉ้อโกงคริปโตและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามในเมียนมานั้นมีบริษัทที่มีลักษณะดังกล่าวอยู่เป็นจำนวนอย่างน้อยก็ประมาณ 2,000-3,000 แห่ง ซึ่งแน่นอนว่าขบวนการอาชญากรรมที่ว่านี้นั้นถือว่าเป็นขบวนการใหญ่ และมีผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนนับหลายพันราย
นายฮาริชกล่าวต่อว่าเขาต้องใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณสี่เดือน เพื่อทำงานให้กับกลุ่มอาชญากรในเมียนมา ก่อนที่จะถูกจับกุมตัวโดยกองทัพไทยในที่สุด
ทั้งนี้จากการเปิดโปงของนายฮาริช ทำให้เห็นว่ามีโครงข่ายที่มีเส้นโยงใยซึ่งเกี่ยวกับขบวนการฉ้อโกงออนไลน์และออฟไลน์เต็มไปหมด ซึ่งนี่ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด โดยบริษัทซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานชาวจีนนั้น พบว่าจะมีการค้ามนุษย์ โดยหลอกเหยื่อที่มีลักษณะแบบเดียวกับนายฮาริช มาจากประเทศอื่นๆ อาทิ ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ เนปาล จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
โดยนอกเหนือจากบริษัทของจีนที่เกี่ยวข้องกับขบวนการฉ้อโกงแล้ว ก็มีการกล่าวหาว่กลุ่มที่ชื่อว่า ‘กลุ่มลาซารัส’ ของเกาหลีเหนือเข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงข่ายการสร้างเว็บปลอมหลอกสมัครงานด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้กลุ่มลาซารัสนั้นถือว่าเป็นกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่ดำเนินการโดยชาวเกาหลีเหนือ โดยกลุ่มนี้ถือว่าอยู่เบื้องหลังอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเกี่ยวข้องกับกรณีการโจมตีด้วยแรมซัมแวร์ที่ชื่อว่า Wannacry ในเดือน พ.ค. 2560 ซึ่งการใช้แรนซัมแวร์ดังกล่าวนั้น จะเป็นกรณีการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีไปยังคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยจะล็อกไฟล์ในคอมพิวเตอร์เป้าหมายเอาไว้ แลกกับการที่เหยื่อจะต้องจ่ายเงินค่าไถ่ไฟล์ให้กับกลุ่มมิจฉาชีพก่อน จึงจะสามารถปลดล็อกไฟล์ได้
@ตามรอยไปถึงต้นตอ
ตามที่ทราบกันแล้วว่ากลุ่มบริษัทจีนนั้นมักจะมีพฤติกรรมการล่อลวงเหยื่อที่มาจากอินเดีย เนปาล บังกลาเทศ มาเลเซีย และแม้แต่จากประเทศจีนด้วยกันเอง โดยในกรณีของอินเดียนั้นพบว่าเหยื่อส่วนมากมาจากรัฐทมิฬนาฑู อุตตรประเทศ เตลังคานา และหารยาณา โดยข้อมูลดังกล่าวนี้มาจากหนึ่งในเหยื่อที่มาจากเมืองเบลกาลูรู ซึ่งถูกหลอกให้มาทำงานที่กรุงเทพและพบกับชะตากรรมเช่นเดียวกับนายฮาริช
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทซึ่งมีพฤติกรรมหลอกลวงนั้นจะใช้เว็บไซต์ซึ่งดูเหมือนกับเว็บไซต์สมัครงาน อาทิ Naukri.com, Monster.com เป็นต้น และยังมีการใช้ช่องทางสื่อสารอื่นๆ อาทิ SMS/WhatsApp เพื่อใช้ในการสื่อสารเพื่อล่อลวงเหยื่อเป็นต้น ซึ่งหนึ่งในเนื้อหาการล่อลวงก็คือการเสนอค่าตอบแทนมูลค่าสูง อาทิ ค่าตอบแทนชั่วโมงละ 3,000-6,000 รูปี (1,375-2,752 บาท) หรือประมาณ 1 แสน-6 แสนรูปี (45,878- 275,174 บาท) ซึ่งแน่นอนว่าข้อเสนอดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีวิกฤติเรื่องคนตกงาน ก็เป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจให้กับทุกคน โดยเฉพาะคนอย่างนายฮาริชที่กำลังตกงานให้ตกหลุมพรางได้อย่างง่ายดาย
ตัวอย่างข้อเสนอสมัครงานออนไลน์ที่อ้างว่าจะมีการมอบค่าตอบแทนมูลค่าสูง
@ปฏิบัติการสามระดับ
โดยการทำงานของบริษัทมิจฉาชีพเหล่านี้จะมีการขั้นจอนการทำงานอยู่ในสามขั้นตอนด้วยกันได้แก่
1.พวกเขาจะมีการล่อผู้คนให้เข้ามา ด้วยการเสนองาน และพอเหยื่อหลวมตัวเข้ามา เหยื่อเหล่านี้ก็จะถูกจับเป็นตัวประกันในประเทศต่างๆ เช่น ลาว,กัมพูชา และเมียนมา
2.มิจฉาชีพมีการบังคับผู้ที่เป็นเหยื่อให้ตกแต่งโปรไฟล์โซเชียลมีเดียปลอมของตัวเอง และรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล,ข้อมูลทางการเงินจากผู้คนจำนวนมากที่ติดกับของขบวนการฉ้อโกงคริปโตออนไลน์หรือว่าการพนันออนไลน์
3.ท้ายที่สุด บริษัทมิจฉาชีพเหล่านี้ก็สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่มีลักษณะตรงกับเหยื่อได้จากทั้งช่องทาง WhatsApp, Telegram, Facebook Messenger และ Twitter เพื่อหลอกให้พวกเขานั้นลงเงินลงทุนไปกับคริปโตปลอมๆ และการพนันออนไลน์
โดยสาระสำคัญของขบวนการนี้ก็คือว่าเหยื่อที่ถูกหลอกนั้นจะต้องพูดคุยกับเป้าหมายของกลุ่มมิจฉาชีพเพื่อที่จะสร้างความไว้ใจ
เหยื่ออีกรายให้ข้อมูลเช่นกันว่า โดยส่วนมากแล้วเป้าหมายนั้นจะถูกหลอกให้มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นสำหรับเทรดคริปโตที่ชื่อว่า Binance wallet และจะมีการให้ไปลงทุนกับอีกแอปพลิเคชั่นหนึ่งที่เป็นแอปปลอม ซึ่งจะมีการหลอกล่อเหยื่อให้เห็นว่าแอปพลิเคชั่นดังกล่าวนั้นมีการทำงานด้วยการเทรดคริปโตแบบอัตโนมัติ ที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างดี แต่ก็ตามที่เรียนไปแล้วว่าทั้งหมดนั้นเป็นของปลอม ทำขึ้นมาเพื่อที่จะหลอกล่อเป้าหมายให้หลงเชื่อเท่านั้น
ตัวอย่างข้อความแชทหลอกลวง
โดยย้อนไปเมื่อเดือน พ.ย.-ธ.ค.2564 ก็พบว่ามีการตั้งกลุ่มในแอปพลิเคชั่น WhatsApp จำนวนหลายกลุ่มมาก ซึ่งกลุ่มเหล่านี้นั้นมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหลายร้อยคนในช่วงที่เปิดห้องแชท โดยอ้างว่ามีการให้คำแนะนำในการลงทุนได้ตรงถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ พร้อมสร้างผลกำไรได้เป็นมูลค่ามหาศาล ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นทำให้มีนักลงทุนจากอินเดียต้องถูกหลอกเป็นจำนวนมาก และในขณะนี้เรื่องนี้ก็กำลังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของตำรวจจากมุมไบและเดลี
ขณะที่เหยื่อรายหนึ่งก็ให้ข้อมูลมาว่าฐานของปฏิบัติการฉ้อโกงที่ว่ามานี้นั้น อยู่ที่ประเทศเมียนมา,กัมพูชา และลาว
@การฉ้อโกงคริปโตกับขบวนการค้ามนุษย์
ทางด้านของนายเอ็น อานห์ (N Anh) ก็ได้กล่าวว่ากรณีการฉ้อโกงคริปโตนั้นเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานหลายปีแล้ว โดยแฮ็กเกอร์จากจีนและเวียดนามถือว่าเป็นศูนย์กลางทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับกรณีคริปโตมาจากแต่ปี 2556
ต่อมาในปี 2560 เวียดนามได้สั่งแบนการใช้คริปโต ส่งผลทำให้แฮ็กเกอร์หลายพันคนต้องหลบซ่อนตัว ในปีต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจเวียดนามก็มีการจับกุมผู้ต้องหาได้เป็นจำนวนนับร้อยราย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ โดยใช้คริปโตเป็นสื่อกลาง
นายอานห์กล่าวต่อไปว่าหนึ่งในการฉ้อโกงผ่านการพนันออนไลน์นั้นพบว่ามีมูลค่าสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (150,688 ล้านบาท) และหลังจากที่เวียดนามเริ่มที่จะมีการปราบปรามการใช้คริปโต กลุ่มมิจฉาชีพที่มาจากทั้งจีนและเกาหลีเหนือรวมไปถึงแฮ็กเกอร์รายอื่นๆที่เกี่ยวกับกรณีการฉ้อโกง ก็มีการย้ายฐานปฏิบัติการณ์ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ประเทศไทย กัมพูชา และลาว
นายอานห์กล่าวว่าตัวเขานั้นเชื่อว่าหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายในประเทศเหล่านี้ไม่ได้รอบรู้ดีถึงขบวนการฉ้อโกงคริปโต ซึ่งขบวนการดังกล่าวนั้นเริ่มที่จะเติบโตในประเทศเหล่านี้มาตั้งนานแล้ว ก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 และพอโควิดมาถึงก็ทำให้ขบวนการฉ้อโกงคริปโตนั้นเติบโตขึ้นมากไปอีก
“มีข้อสังเกตประการหนึ่งก็คือว่า พื้นที่เมียวดีของเมียนมานั้น ส่วนใหญ่ถูกยึดครองโดยกลุ่มกบฏติดอาวุธซึ่งมีเชื้อสายจีน และแน่นอนว่ากลุ่มกบฏเหล่านี้ก็ได้รับการสนับสนุนทางด้านเทคนิคจากกองทัพจีน” นายอานห์กล่าวและกล่าวต่อว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองที่ทำงานภายใต้สังกัดกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของประเทศจีนนั้นอาจจะมีการสมรู้ร่วมคิดบางอย่างกับเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้าน
ทางการอินเดียประกาศให้ระวังการสมัครงานที่อาจเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพ
ขณะที่ Ince24 ก็ได้ระบุต่อไปว่ามีข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกประการก็คือว่าแท้จริงแล้วนั้นนายฮาริชได้รับการช่วยเหลือในครั้งแรกจากทางกองทัพเมียนมา อย่างไรก็ตาม ทางกองทัพเมียนมากลับไม่ยอมส่งตัวนายฮาริชไปให้กับเจ้าหน้าที่อินเดียโดยทันที แต่กลับส่งตัวนายฮาริชกลับมาให้กับทางฝ่ายกองทัพไทยแทน
โดยในช่วงที่อยู่ในประเทศไทย นายฮาริชอ้างว่าเขาไม่เพียงแต่ถูกทำร้ายในระหว่างถูกคุมขังเท่านั้น แต่ยังถูกต้องข้อหาว่าข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาโดยผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน
เรียบเรียงเนื้อหาและรูปภาพจาก:https://inc42.com/features/the-myanmar-cambodia-and-laos-saga-inside-the-underworld-of-crypto-crime/