"...โครงการฯ นําเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการทํางาน ร่วมกันของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีฐานข้อมูลที่ใช้ในการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ ซึ่งจะช่วยยกระดับประสิทธิผล และช่วยเพิ่มความคล่องตัว ในการดําเนินงาน โดยเฉพาะการทํางานภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่..."
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ 'โคก หนอง นา โมเดล' ของกรมการพัฒนาชุมชน
ถูกจับตามองอย่างมากในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล และระดับครัวเรือน และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร แรงงาน และบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แต่กระบวนการในการดำเนินงานในปัจจุบันมีความเสี่ยงหลายประการ ที่ดูเหมือนจะเป็นช่วงโหว่สำคัญที่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้โครงการฯ เกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุด
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สืบค้นข้อมูลพบว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะหน่วยงานพันธมิตรร่วมบูรณาการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ 'โคก หนอง นา โมเดล' ได้เผยแพร่ผลตรวจสอบของโครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์คุณภาพชีวิตในบริบท ‘โคก หนอง นา โมเดล’ โดยดำเนินการ พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศาเป็นเครื่องมือหลักในการดําเนินงานควบคู่ไปกับการพัฒนาตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการที่ ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
-
พัฒนาตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลของ การพัฒนาตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อนําไปสู่ขั้นตอนการสร้างระบบ โปรแกรม และระบบฐานข้อมูลพัฒนาระบบ Digital รองรับ Local Economy
-
วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลผลสัมฤทธิ์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในภาพรวม และในบริบทพื้นที่เป้าหมาย
-
ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการองค์ความรู้ และฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทาง เพิ่มศักยภาพผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต่อการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจชุมชน
อย่างไรก็ตาม ได้กำหนดแนวทางในการประเมินผลสัมฤทธิ์ ยังสอดคล้องกับดัชนี ความอยู่ดีมีสุข ที่พัฒนาโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ
• ด้านที่ 1 สุขภาพอนามัย
• ด้านที่ 2 ความรู้
• ด้านที่ 3 ชีวิตการทำงาน
• ด้านที่ 4 รายได้และการกระจายรายได้
• ด้านที่ 5 สภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต
• ด้านที่ 6 ชีวิตและครอบครัว
ต่อจากนี้ เป็นผลการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ ‘โคก หนอง นา โมเดล’ โดยการศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีประเด็นข้อตรวจพบ ดังนี้
ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 158 ราย ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ของกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บริหารระดับสูงหรือตัวแทนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้บริหารและตัวแทนของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ โครงการฯ
ด้านความรู้
องค์ความรู้ที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
-
ส่วนที่ 1 องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมโครงการฯ เกี่ยวกับการนําปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงและแนวคิดของ โคก หนอง นา ไปใช้เป็นแนวทางในการประกอบสัมมาชีพและบริหารจัดการ ทรัพยากรในพื้นที่ของตน ที่นําไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
-
ส่วนที่ 2 องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับบุคลากรของ พช. จากการนําเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดของ โคก หนอง นา ช่วยยกระดับศักยภาพของบุคลากรให้สูงขึ้น ส่งผลให้บุคลากรของ พช. ได้ยกระดับทักษะการทำงานในเชิงพื้นที่ เกิดความ “เข้าใจ” หลักการและ “เข้าถึง” กลุ่มเป้าหมาย ได้ดีขึ้น
-
ส่วนที่ 3 องค์ความรู้ของภาคีเครือข่ายที่เกิดขึ้นจากการร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ การทำงานร่วมกัน เกิดการพัฒนากลไกในการระดมผู้เชี่ยวชาญและทรัพยากรที่จําเป็นต่อการ ขับเคลื่อนโครงการฯ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับภาพรวมของประเทศ
ด้านเศรษฐกิจ
การสนับสนุนงบประมาณเกิดประโยชน์สองทาง คือ งบประมาณที่ลงไปสู่ ครัวเรือน และสู่ชุมชน โดยในระยะแรกของการดำเนินโครงการฯ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย กิจกรรมสร้างงานสร้างรายได้รายเดือน ให้แก่ เกษตรกร แรงงานและบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่ อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน
ด้านสังคม
เป็นการจัดการศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายในชุมชนและพื้นที่ ใกล้เคียงให้ได้เข้ามาศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาต่อยอดเครือข่ายในพื้นที่ต่อไป
ด้านสิ่งแวดล้อม
ช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วม แม้บริบทพื้นที่ มีความแตกต่างกัน ซึ่งสังเกตได้จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มักประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมและ บริบทของพื้นที่ขาดแหล่งกักเก็บน้ำจึงเห็นความสำคัญของโครงการฯ นี้มากกว่าพื้นที่อื่น
ด้านธรรมาภิบาล
การเข้าร่วมโครงการฯ นั้น พื้นที่ที่นํามาเข้าร่วมมีทั้งที่ดินของตนเอง (แบบ โฉนด) และที่ดินที่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ (โดยต้องเป็นพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตให้ทำกินบนที่ดินได้) ในปัจจุบันพบว่า มีประชาชนที่ทำกินในพื้นที่อย่างผิดกฎหมายอยู่ เช่น อาศัยอยู่ภายในพื้นที่เขตป่า สงวน อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น จึงต้องมีการผลักดันให้สามารถอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมและสามารถ ใช้ประโยชน์ร่วมกันกับพื้นที่นั้นได้อย่างถูกต้อง
ด้านปัญหาอุปสรรค
การนําหลักของทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมกับทุกภาคส่วนนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากภารกิจของแต่ละหน่วยงานมีความแตกต่างกัน และการบูรณาการการทำงานแบบเชื่อมโยง กันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มองว่าโครงการไม่มีควงามยืดหยุ่น ทั้งกฎ ระเบียบ ระยะเวลา กระบวนการตัดสินใจ และงบเงินกู้ จะเห็นได้ว่าฝ่ายตรวจสอบไม่มีความเข้าใจใน รายละเอียดโครงการฯ จึงต้องมีการนําเงินเข้าระบบในทุกจังหวัดก่อน ทำให้เกิดกระบวนการเบิกจ่าย ที่ซับซ้อนไม่รวดเร็วอย่างที่ควรจะเป็น
ในขณะที่ผู้เสนอโครงการฯ มองในด้านวิธีการปกป้องทรัพยากรของภาครัฐให้ถูกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงระยะเวลาที่ไม่เพียงพอต่อการทำรูปแบบแปลงที่หลากหลายให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่การควบคุมกระบวนการขุด พบปัญหาที่ผู้รับเหมาทราบว่า หากขุดเต็มจำนวนพื้นที่ 1 ไร่ 3 งาน ตามเพดานราคาที่ได้สูงสุด จึงเกิดการโน้มน้าวเจ้าของแปลงที่ดินให้ขุดเต็มจำนวนที่ภาครัฐกำหนด ทั้งที่ความเป็นจริงสามารถพิจารณาได้จากสภาพของพื้นที่และสามารถจ่ายงบประมาณได้ตามจริง
ส่วนกระบวนการสื่อสารโครงการฯ ทั้งภายในหน่วยงานและ ภายนอกหน่วยงานเกิดปัญหา และกําลังพลฝ่ายสนับสนุนกิจกรรม ที่มาจากการคัดเลือกตาม คุณสมบัติเพื่อมาเป็นที่ปรึกษาช่วยเหลืองานด้านการพัฒนาชุมชน กลับมีความมุ่งหวังด้านการเงิน มากกว่ากําลังแรงใจ ทั้งมีการใช้ระบบเส้นสายในการเข้าร่วมโครงการฯ
ผลการลงพื้นที่ติดตามประเมินผลกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการฯ
ด้านความรู้
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการฯ กว่า 90% มีความรู้เพิ่มขึ้นและ ประมาณ 60% สามารถนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการดําเนินชีวิตและการดําเนิน โครงการฯ ได้
ด้านเศรษฐกิจ
ในกลุ่มพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้ต่อเดือนเพิ่มขึ้น 48.30% และมีเงินออมเพิ่มขึ้น 45.20% ส่วนระดับหนี้สินยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ อย่างไรก็ตาม สําหรับกลุ่มผู้รับจ้างในพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life: HLM) ระดับครัวเรือน ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้ เงินออม และหนี้สินอย่างมี นัยสําคัญ เนื่องจากยังเป็นระยะเริ่มต้นของโครงการฯ รายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 2 และรูปที่ 3
ด้านสังคม
แบ่งออกเป็น สุขภาวะ ความสัมพันธ์ภายในครัวเรือน และความสัมพันธ์ภายในชุมชน ทั้งกลุ่ม CLM และ HLM ผลสัมฤทธิ์ที่ประเมินจาก Diffusion Index ที่พัฒนาขึ้นมาให้
สอดคล้องกับดัชนีความอยู่ดีมีสุขพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีผลสัมฤทธิ์ในด้านสุขภาวะ ความสัมพันธ์ภายในครัวเรือน และความสัมพันธ์ภายในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่ชัดเจน โดยจะเห็นได้จากการที่ค่าดัชนีมีค่าเป็นบวก
ด้านสิ่งแวดล้อม
มีการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่ชัดเจน โดยเห็นได้จากการที่ค่าดัชนีที่มีค่าเป็น บวก และผลสัมฤทธิ์ด้านการเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ดังจะเห็น ได้จากจํานวนความหลากหลายของพืชพรรณที่เพิ่มขึ้นประมาณ 52.50% ในกลุ่ม CLM และ 77.10% ในกลุ่ม HLM นอกจากนี้แล้ว พื้นที่กักเก็บน้ำเพิ่มขึ้นราว 111.70% ในกลุ่ม CLM และ 20.80% ในกลุ่ม HLM
ด้านธรรมาภิบาล
เนื่องจากการดําเนินงานของโครงการฯ ในกลุ่มของ CLM และ HLM มีกรอบการทํางาน ในลักษณะเดียวกัน การประเมินผลด้านธรรมาภิบาลจึงสามารถประเมินในภาพรวมของโครงการฯ ได้ ด้วยการประเมินระหว่างทาง (Formative Evaluation) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินโครงการฯ ที่ยังอยู่ระหว่างการดําเนินการ โดยมีผลในการประเมินจําแนกตามมิติข้างต้น ดังนี้
ผลการประเมินด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
โครงการฯ นําเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการทํางาน ร่วมกันของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีฐานข้อมูลที่ใช้ในการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ ซึ่งจะช่วยยกระดับประสิทธิผล และช่วยเพิ่มความคล่องตัว ในการดําเนินงาน โดยเฉพาะการทํางานภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
ผลการประเมินด้านค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value)
การพัฒนาฐานข้อมูล และระบบติดตามประเมินผลที่สามารถแสดงผลในระดับครัวเรือน ช่วยให้ประเมินผลสําเร็จของ การดําเนินงานได้ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ตําบล จังหวัด ภูมิภาค และภาพรวมของประเทศ ทั้งยังเป็น ช่องทางที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการฯ สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานของ โครงการ จึงสอดคล้องกับค่านิยมประชาธิปไตย
ผลการประเมินด้านประชารัฐ (Participatory State)
แนวทางการดําเนินโครงการฯ ให้ความสําคัญกับการทํางานเชิงพื้นที่ และการทํางานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นไปตาม หลักการดําเนินงานแบบประชารัฐ
ผลการประเมินด้านความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility)
การดําเนินโครงการฯ ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการทํางานในทุกระดับ โดยเฉพาะหลักจริยธรรมและคุณธรรมของความพอเพียง การดําเนินงานของโครงการฯ จึงสอดคล้อง กับหลักความรับผิดชอบทางการบริหาร
ข้อเสนอแนะ
ในการส่งเสริม สนับสนุน การจัดการองค์ความรู้ และฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มศักยภาพผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต่อการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจชุมชน ผู้จัดทำโครงการฯ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
-
ควรมีการจัดเก็บข้อมูลระยะยาวของผู้เข้าร่วมโครงการฯ เนื่องจากโดย ธรรมชาติของโครงการฯ เป็นโครงการฯ ที่จะเห็นอย่างเป็นรูปธรรมในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เห็น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการใช้ระบบติดตามประเมินผลที่ทาง GISTDA พัฒนาขึ้นมา ติดตามประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในระยะยาว ที่จะช่วยให้มีข้อมูลสำหรับการประเมินผลสำเร็จ รวมถึงการมีฐานข้อมูลเพียงพอในการติดตามและประเมินผลโครงการฯ ที่จะช่วยให้เกิดธรรมาภิบาล ในการดำเนินโครงการฯ ต่อไป
-
การสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการฯ โครงการ โคก หนอง นา โมเดล เป็นโครงการฯ ที่มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมิติเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลที่ชัดเจน นอกจากนี้แล้ว การจะทำให้ โครงการฯ ประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาเครือข่ายของผู้เข้าร่วมโครงการฯ เครือข่าย ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงเครือข่ายของภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดพลังในการขับ เคลื่อนที่เป็นรูปธรรม การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ควรมีการขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ในการช่วยเหลือผู้ที่เข้าร่วมโครงการอยู่แล้ว และเกษตรกรรายใหม่ที่จะเข้ามาร่วมโครงการฯ
-
ส่งเสริมให้หน่วยงานในพื้นที่นําระบบที่ GISTDA พัฒนาขึ้นมาไป สนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ในระดับพื้นที่ เนื่องจากระบบที่ GISTDA พัฒนาขึ้นมา สามารถ แสดงผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ ได้ทั้งในระดับภาพรวมและระดับพื้นที่ จึงเป็นประโยชน์ในการบริหาร จัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ อย่างไรก็ตาม การจะใช้ประโยชน์จากระบบดังกล่าวให้ เกิดประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางและประโยชน์ที่จะได้จากการ นําข้อมูลในระบบไปใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละหน่วยงาน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ หน่วยงานได้เข้ามาใช้ระบบและเห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ว่าระบบจะเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานของ ตนอย่างไร
-
การถอดบทเรียนความสำเร็จเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อให้เกิด เครือข่ายของการเรียนรู้ (Learning Network) ของผู้เข้าร่วมโครงการฯ จึงควรมีการถอดบทเรียน ความสำเร็จของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการฯ ทั้งที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมโครงการ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อจัดทำฐานความรู้สำหรับใช้ในการพัฒนารูปแบบและ แนวทางในการดำเนินโครงการฯ ในระยะต่อไป รวมถึงใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรต่อยอด ยกระดับทักษะของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้สูงขึ้น ซึ่งจะนําไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้เข้าร่วม โครงการฯ อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ข้อมูลในรายงานผลการตรวจสอบชิ้นนี้ มีหลายส่วนสอดคล้องกับผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่มีการเผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ ตามบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบเพื่อติดตามดูผลสัมฤทธิ์การใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด และแจ้งข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปปรับปรุงแก้ไข อาทิ การสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและรวบรวมข้อมูลการสร้างฐานการเรียนรู้ การจัดเก็บ และการใช้ประโยชน์ครุภัณฑ์ตามโครงการของพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล เป็นต้น
หากหน่วยงานรัฐที่มีส่วนรับผิดชอบโดยตรงรับข้อเสนอเหล่านี้ ไปปรับปรุงแก้ไขให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก็น่าจะทำให้โครงการฯ สามารถดำเนินการต่อไปได้
ช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบทแบบยั่งยืนในอนาคต ตามวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการฯ ที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ได้เป็นอย่างดี
อ่านเรื่องในหมวดเดียวกัน: