“…ศูนย์ EOC เปิดตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2563 รวมระยะเวลาการดำเนินการ 2 ปี 8 เดือน โดยที่ผ่านมามีการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) โควิด-19 จำนวน 482 ครั้ง และออกข้อสั่งการ 480 ฉบับ รวม 3,259 ข้อสั่งการ แบ่งเป็นกลุ่มภารกิจ 2,648 ข้อ และพื้นที่ 611 ข้อ มีการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ (Video Conference) กับทุกหน่วยบริการทั่วประเทศ เพื่อสื่อสาร/สั่งการ และติดตามการดำเนินงานระดับพื้นที่ จำนวน 67 ครั้ง…”
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา เนื่องด้วยเป็นโรคอุบัติใหม่ และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ประเทศไทยจึงจำเป็นที่จะเตรียมความพร้อมรับมือ และมีการตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบดูแล
กระทรวงสาธารณสุข ยังได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด-19 (EOC) ทั่วประเทศ โดยมีอาจารย์แพทย์จากทุกภาคส่วน เป็นคณะทำงานและให้คำปรึกษา เพื่อทำหน้าที่ติดตามและประเมินสถานการณ์ภายในจังหวัด เตรียมความพร้อมโรงพยาบาล เวชภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการ และบุคลากร เฝ้าระวังผู้ป่วยโรคปอดบวม และผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ส่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) เคาะประตูบ้าน แจ้งข่าวประชาชน และคัดกรองกลุ่มเสี่ยง เปิดสายด่วน ให้กลุ่มเสี่ยงรายงานตัว แนะนำมาตรการต่างๆ ต่อประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และกำกับดูแลสถานประกอบการในพื้นที่ โดยเฉพาะสถานบันเทิง เพื่อให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคได้ตามมาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยสถานการณ์ที่ดีขึ้น ผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดน้อยลง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงประกาศยุติบทบาทของศูนย์ EOC โควิดระดับกระทรวง และให้เป็นภารกิจของศูนย์ EOC ระดับกรม โดยมีควบคุมโรคเป็นผู้รับผิดชอบ แต่จะยังมีการติดตามเฝ้าระวังโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิดต่อไป หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงก็พร้อมยกระดับมาเป็นศูนย์ EOC กระทรวงอีก
ศูนย์ EOC เปิดตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2563 รวมระยะเวลาการดำเนินการ 2 ปี 8 เดือน โดยที่ผ่านมามีการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) โควิด-19 จำนวน 482 ครั้ง และออกข้อสั่งการ 480 ฉบับ รวม 3,259 ข้อสั่งการ แบ่งเป็นกลุ่มภารกิจ 2,648 ข้อ และพื้นที่ 611 ข้อ
นอกจากนี้ มีการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ (Video Conference) กับทุกหน่วยบริการทั่วประเทศ เพื่อสื่อสาร/สั่งการ และติดตามการดำเนินงานระดับพื้นที่ จำนวน 67 ครั้ง
ที่ผ่านมา ศูนย์ EOC ได้ออกมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 จำนวนมาก โดยมีการสื่อสารที่ชัดเจนถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการควบคุมโรค และกระจายวัคซีน โดยมีมาตรการสำคัญๆ ดังนี้
Bubble and Seal
ดำเนินกำรป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร โดยการควบคุมการออกนอกพื้นที่ พร้อมทั้งจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ โดยให้ความครอบคลุมทั้งคนไทยและคนต่างด้าว
พื้นที่ ไข่ขาว-ไข่แดง
จัดทำแผนที่จุด (spot map) แสดงแผนที่การกระจายตัวของผู้ติดเชื้อสะสม รักษาหาย และอยู่ระหว่างการรักษา และจัดทำแผนการตรวจหาเชื้อตามระดับพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อที่มีความเชื่อมโยงกับการแพร่ระบาดในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
ยุทธศาสตร์ขนมครก
กำหนดแนวทำงกำรใช้วัคซีนฯ และจัดสรรวัคซีนตำมแนวทำงการใช้วัคซีน กรณีที่มีการติดเชื้อแบบเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) หลายจุดในพื้นที่ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด
Good Factory Practice
ดำเนินมาตรการกับโรงงานในจังหวัดสมุทรสาครและพื้นที่เสี่ยง กำกับติดตามการดำเนินกำรเพื่อส่งเสริมมาตรการป้องกันและควบคุมโรคของภาคอุตสาหกรรมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ในการดำเนินงานเพื่อเฝ้ำระวังเชิงรุกในสถานประกอบการ
นำหนึ่งก้าว (นนก.)
จัดระบบสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนเพื่อเป็นการสื่อสารเชิงรุก
โรงพยาบาลบุษราคัม
การจัดตั้งโรงพยาบาลบุษราคัมเพื่อแบ่งเบาวิกฤตผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลพื้นที่ กทม. โดยระดมบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศเข้ามาช่วยเหลือ และประสานหน่วยรักษาพยาบาลร่วมจัดทีมปฏิบัติการ
อีกทั้งเตรียมความพร้อมในการพัฒนาศูนย์คัดแยกผู้ป่วย (Pre admission center : Triage center) เพื่อเพิ่มช่องทำงในกำรเข้าถึงของผู้ป่วยในพื้นที่ กทม.
และขยายพื้นที่ปฏิบัติการนำส่งผู้ป่วย โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติในพื้นที่เขตปริมณฑล เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการปฏิบัติการนำส่งผู้ป่วย
มาตรการรับมือเพื่อเปิดประเทศ
ศูนย์ EOC ยังได้จัดทำมาตรการเพื่อรองรับการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ เช่น นโยบายแซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) มาตรการ Test & Go และ SHA+ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและเปิดประเทศ และการกำหนดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวสีฟ้า อีกทั้งมาตรการกำกับดูแล เช่น COVID Free Setting ในสถานประกอบการ
ต่อมาเมื่อสถานการณ์ผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงมากขึ้น แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสีเขียว ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย ศูนย์ EOC ได้ออกแนวทางการดูแลรักษาทั้ง Home Isolation Community Isolation และ 'เจอ แจก หรือระบบการรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้ำน (OPSI)
และได้ออกมาตรการ '2U 3พ' เพื่อรองรับการเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่
2U คือ Universal Prevention จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ขณะต้องใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง และ Universal Vaccination ฉีดวัคซีนทุกกลุ่มอายุ
3 พ คือ เตียงรักษาพยาบาลเพียงพอ ยา เวชภัณฑ์ และวัคซีนโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานเพียงพอ และมีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกระดับเพียงพอ
พร้อมต้องประชาสัมพันธ์เน้นย้ำถึงมาตรการส่วนบุคคล DMHTTA เน้นย้ำการปฏิบัติตนของประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค ได้แก่ กำรเว้นระยะห่างทำงสังคม การสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และการจัดให้มีจุดตั้งเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ
วัคซีนโควิด
ศูนย์ EOC ได้มีการวางแผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 และกำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีน แต่งตั้งคณะกรรมการบริหำรจัดกำรวัคซีนระดับประเทศ และจัดระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน พร้อมทั้งจัดทำ
แนวทางการดูผู้ป่วยแพ้วัคซีนอีกด้วย
สำหรับแนวทางการให้วัคซีนนั้น ได้มีรณรงค์ 'SAVE 608' หรือกลุ่มเสี่ยงสูงอายุและผู้ป่วย 8 โรคเรื้อรัง เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยที่ผ่านมาได้มีมาตรการ 'สามเหลี่ยมเขยื้อนวัคซีน' โดยการจัดระดับพื้นที่ (Area) การจัดหน่วยบริการฉีดวัคซีนฯ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล (Setting) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนมากที่สุด
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการจัดซื้อวัคซีนโควิด (Sinovac, AstraZeneca, Pfizer และ LAAB)จำนวน 156.2 ล้านโดส และรับบริจาค (Sinovac, AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Covovax) จำนวน 15.45 ล้านโดส
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ โควิดจะปรับเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง มีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ มากขึ้่น แต่มในการเฝ้าระวังและแผนรับมือทั้งทรัพยากรและเวชภัณฑ์ให้มีความเพียงพอเพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการแพทย์ของทั้งประเทศ และสำรองคงคลังในส่วนกลาง โดยมีการจัดเตรียมความพร้อมในส่วนของยาฟาวิพิราเวียร์ คงเหลือ 5,621,175 เม็ด เรมดิซิเวียร์ คงเหลือ 23,451 ไวอัล และโมลนูพิราเวียร์ คงเหลือ 20,362,045 เม็ด จึงมั่นใจได้ว่า สธ.เตรียมเวชภัณฑ์อย่างเพียงพอ
ทั้งหมดนี้ คือผลงานของศูนย์ EOC โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีมาตรการและข้อสั่งการที่ชัดเจนถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยควบคุมโรคโควิด-19 ได้ดี