ทั้งนี้ถ้านำข้อมูลการวิจัยดังกล่าวไปผนวกกับข้อมูลที่ได้จากซีดีซี ก็จะได้ข้อมูลว่ามีประชากรผู้สูงอายุกว่า 2.5 ล้านคน ที่อาจจะต้องเผชิญกับภาวะลองโควิดในสหรัฐฯ ซึ่งอาการลองโควิดที่ว่านี้เมื่อเกิดกับกลุ่มผู้สูงอายุนั้น ผลที่ตามมาอาจจะเป็นหายนะเลยก็ได้ เพราะหมายถึงผู้สูงอายุจะมีความพิการ,การไร้ซึ่งความสามารถในการทำงาน,ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ถูกลดลง และคุณภาพชีวิตที่หดหายไป
แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19หรือโคโรน่าไวรัส ทั้งในประเทศไทยและในทั่วโลกนั้นจะอยู่ในทิศทางขาลงแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ในประเด็นเรื่องของอาการโควิดระยะยาว หรือว่าลองโควิดนั้นกลับเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงกันอย่างน้อยมาก ทั้งๆที่ส่งผลกระทบกับประชากรบางกลุ่มไม่แพ้กัน
ล่าสุดสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นของสหรัฐอเมริกาได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับปัญหาลองอาการลองโควิด โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นเป็นที่สังเกตได้ยากเป็นอย่างยิ่ง สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอ เนื่องจากว่าประเด็นดังกล่าวนั้นอาจจะมีคววามสำคัญกับคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่งจะหายจากไวรัสโควิด-19 มานำเสนอ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
นายเทอร์รี่ เบลล์ในวัย 70 ปีนั้นเคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ และจนถึงบัดนี้ เขาก็ปลอดเชื้อไปแล้วเป็นระยะเวลา 18 เดือน อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้นายเบลประสบกับปัญหาความยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง แค่จะทำกิจกรรมง่ายๆอย่างการตากผ้า
การแขวนเสื้อ ยกแขน การจัดของในตู้เสื้อผ้า ทุกอย่างนั้นดูจะเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับนายเบลล์ที่มักจะมีอาการหายใจถี่และอาการอ่อนล้าอย่างรุนแรง ทุกวันนี้ ที่เขาทำได้แค่ก็มีแค่การเดินเป็นระยะสั้นๆ ด้วยไม้เท้าเท่านั้น ซึ่งหลังจากติดเชื้อไปแล้ว น้ำหนักเขาลดลงไปถึง 50 ปอนด์ (22 กิโลกรัม)
แต่ทว่าไม่ใช่นายเบลล์เท่านั้นแต่ประสบกับปัญหาดังกล่าวนี้ เนื่องจากในสหรัฐฯ ยังมีประชากรในกลุ่มผู้สูงอายุอีกหลายล้านคนที่ต้องประสบกับปัญหาลองโควิด ซึ่งประชากรกลุ่มผู้สูงอายุที่ว่านี้ก็ถือเป็นกลุ่มที่ได้รับความสนใจน้อยเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าจะมีบทวิจัยที่เปิดเผยออกมาแล้วว่าผู้สูงอายุนั้นมีความเป็นไปได้เป็นอย่างยิ่งที่จะมีอาการบางอย่างที่อธิบายได้ยากหลังจากติดโควิด มากกว่ากลุ่มประชากรวัยหนุ่มสาว หรือในกลุ่มวัยกลางคนที่ผ่านการติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว
ผู้ที่แข็งแรง แต่เมื่อหายจากป่วยโควิดกลับมีอาการสมองล้า ส่งผลกระทบต่อความทรงจำ (อ้างอิงวิดีโอจาก ABC NEWS)
คำว่าลองโควิดนั้นมักจะถูกใช้เพื่อสื่อให้เห็นถึงอาการที่ยังตกค้าง หรือว่าปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสี่สัปดาห์หลังจากถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐฯหรือว่าซีดีซี พบว่ายังคงมีข้อสับสนว่าเกี่ยวกับลองโควิด เนื่องจากว่าไม่มีระบบการทดสอบโรคเพื่อยืนยันว่าบุคคลนั้นมีอาการของลองโควิดจริงหรือไม่,ไม่มีคำจำกัดความชัดเจนว่าอะไรคือลองโควิด และไม่มีทางจะทำนายได้อย่างชัดเจนเลยว่าใครจะได้รับผลกระทบจากลองโควิดบ้าง
อาการโดยทั่วไปของลองโควิด ที่จะสามารถอยู่ได้เป็นระยะเวลานานหลายเดือน หรืออาจจะหลายปีนั้นมีหลายประการมาก อาทิ อาการจากความเมื่อยล้า, หายใจถี่, อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้น, กล้ามเนื้อและอาการปวดข้อ, ปัญหาการนอนหลับ,ปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการเพ่งความสนใจ,ปัญหาด้านภาษาและปัญหาด้านความจำ ซึ่งปัญหาด้านความสามารถดังกล่าวนั้นถูกเรียกรวมๆว่าภาวะสมองล้า
มีการวิเคราะห์กันว่าอาการอักเสบอย่างต่อเนื่อง,การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ รวมไปถึงซากไวรัสที่ยังอยุ่ในร่างกาย,อาการลิ่มเลือด หรือความเสียหายที่ตกค้างต่อหัวใจ,ปอด,ระบบหลอดเลือด,สมอง,ไตหรืออวัยวะอื่น ๆนั้น ทุกอย่างเป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการลองโควิดขึ้นมา
โดย ณ เวลานี้ เพิ่งเริ่มจะมีการเก็บข้อมูลผลกระทบของอาการลองโควิดที่เกิดกับผู้สูงอายุ ซึ่งผลกระทบที่เก็บข้อมูลเป็นวงกว้างที่สุดนั้น ได้มีการเผยแพร่ไม่นานนี้ในวารสารทางการแพทย์ BMJ ,สำหรับผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยได้ประเมินว่า 32 เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงอายุในประเทศสหรัฐฯ ที่ผ่านการติดเชื้อโควิดมานั้น จะมีอาการของลองโควิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อยถึงสี่เดือนหลังจากการติดเชื้อ ขณะที่ผู้ซึ่งอยู่ในวัย 18-64 ปี จะพบว่า 14 เปอร์เซ็นต์ของประชากรกลุ่มนี้จะมีอาการของลองโควิด หรือก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเรื่องอาการลองโควิดมากกว่ากลุ่มคนหนุ่มสาว มากกว่าสองเท่านั่นเอง ขณะที่ผลการศึกษาอื่นๆนอกเหนือจากที่มีการเผยแพร่ลงวารสาร BMJ พบว่าอาการลองโควิดนั้นอยู่ได้นานกว่าหนึ่งปีหรือว่านานกว่านั้น
การศึกษาของ BMJ ได้สำรวจกลุ่มประชากร 87,000 ราย ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ที่ติดเชื้อโควิดในปี 2563 โดยใช้ข้อมูลจากแผนสุขภาพ UnitedHealth Group's Medicare Advantage ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นยังได้รวมไปถึงอาการที่ผู้ติดเชื้อเหล่านี้ต้องเผชิญเป็นระยะเวลา 21 วันหรือว่านานกว่าหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งระยะเวลา 21 วันดังกล่างนั้นถือว่าสั้นกว่านิยามของซีดีซี ที่จะกำหนดว่าใครมีอาการลองโควิด และในกลุ่มประชากร 87,000 ดังกล่าวนั้นพบว่าเป็นผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 27 เปอร์เซ็นต์ และผู้ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 73 เปอร์เซ็นต์
ผลการศึกษานั้นพบว่าอัตราการเกิดอาการหลังติดเชื้อโควิดในกลุ่มผู้สูงอายุนั้นดูเหมือนว่าจะมาจากการเกิดโรคเรื้อรังและความเปราะบางทางสุขภาพของประชากรในกลุ่มนี้ ซึ่งลักษณะจำดังกล่าวนั้นนำไปสู่การมีอาการป่วยอย่างรุนแรง การเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นในระหว่างการระบาด
“โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้สูงอายุมีความยืดหยุ่นทางสุขภาพที่น้อยกว่ามาก พวกเขาไม่มีความสามารถที่จะกลับมาได้เป็นเหมือนเดิมหลังจากเผชิญกับโรคร้ายแรง” นพ.เคน โคเฮน ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยกล่าว
ทั้งนี้ถ้านำข้อมูลการวิจัยดังกล่าวไปผนวกกับข้อมูลที่ได้จากซีดีซี ก็จะได้ข้อมูลว่ามีประชากรผู้สูงอายุกว่า 2.5 ล้านคน ที่อาจจะต้องเผชิญกับภาวะลองโควิดในสหรัฐฯ ซึ่งอาการลองโควิดที่ว่านี้เมื่อเกิดกับกลุ่มผู้สูงอายุนั้น ผลที่ตามมาอาจจะเป็นหายนะเลยก็ได้ เพราะหมายถึงผู้สูงอายุจะมีความพิการ,การไร้ซึ่งความสามารถในการทำงาน,ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ถูกลดลง และคุณภาพชีวิตที่หดหายไป
แต่ว่าในกลุ่มผู้สุงอายุจำนวนมาก อาการลองโควิดนั้นอาจจะไม่เป็นที่สังเกตได้ง่ายนัก
“ความท้าทายหนึ่งก็คือว่าอาการดังกล่าวนั้นไม่ใช่อาการที่เฉพาะเจาะจงของแค่ลองโควิดเท่านั้น อาการ อาทิ ความเมื่อยล้า,ความเจ็บปวด ความรู้สึกสับสน ต่างๆเหล่านี้ นั้นเป็นสิ่งที่เรามักจะว่าเป็นหนึ่งในอาการป่วยของผู้สูงอายุกันอยู่แล้ว หรือบางคนอาจจะคิดด้วยซ้ำไปว่าที่พวกเขามีอาการเหล่านี้ก็เพราะว่าพวกเขานั้นแก่ตัวลง” นพ.ชาร์ลส์ โทมัส อเล็กซานเดอร์ เซเมลกา หมอทางด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุที่มหาวิทยาลัยเวคฟอเรสต์กกล่าว
มีกรณีของนางแอน มอร์ส ในวัย 72 ปี จากเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ซึ่งเธอถูกวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโควิดตั้งแต่เดือน พ.ย. 2563 และเธอได้ฟื้นตัวจากการรักษาตัวที่บ้านหลังจากที่ก่อนหน้านี้เธอต้องเข้ารับการรักษาตัวในห้องฉุกเฉิน และต้องมีพยาบาลมีตรวจสอบอาการที่บ้านในทุก 2-3 วัน อย่างไรก็ตาม หลังจากการฟื้นตัว พบว่าเธอมีปัญหาในเรื่องความจำ,การให้ความสนใจ และการพูดการจา รวมไปถึงปัญหาในด้านการนอนหลับและความเหนื่อยล้า โดยแม้ว่าเธอจะฟื้นตัวจากอาการเหล่านี้ตามลำดับ แต่ว่าก็ยังมีอาการหลายอย่างเกี่ยวกับการรับรู้ และ ความเหนื่อยล้าที่ยังคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
ผลกระทบโควิด-19 ต่อสมอง (อ้างอิงวิดีโอจาก Science Magazine)
“สิ่งที่หงุดหงิดก็คือว่าฉันพยายามจะบอกกับคนอื่นว่าฉันมีอาการเหล่านี้ และคนอื่นก็บอกว่าเขาก็มีอาการที่ว่านี้เหมือนกัน คือทุกคนมองว่านี่เป็นเหมือนกับอาการของการแก่ตัวลง แต่ฉันรู้สึกได้เลยว่าอาการเหล่านี้นั้นมันเกิดขึ้นแค่เกือบจะชั่วข้ามคืนเท่านั้น” นางมอร์สกล่าว
ย้อนกลับมาที่นายเบลล์ เขานั้นเป็นนักร้องและแต่งเพลงจากเมืองแนชวิลล์ แต่ว่าในตอนนี้เขากลับประสบกับความยากลำบากในการให้ความสนอกสนใจกับสิ่งต่างๆ หลังจากที่เขาต้องใช้เวลาถึงสองสัปดาห์ในห้องผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลพิเศษหรือห้องไอซียูอันเนื่องมาจากการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งหลังจากออกมาจากห้องไอซียูแล้ว เขาก็ต้องใช้เวลาอีกประมาณห้าสัปดาห์เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพในบ้านพักคนชรา
“ผมไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากหมอประตัวเกี่ยวกับอาการด้านการหายใจของผมเลข พวกเขาเพียงแต่บอกว่าให้ไปหายาตามร้านยาสำหรับรักษาโพรงจมูก หรืออะไรทำนองนี้ ก็เท่านั้น” นายเบลล์กล่าวและกล่าวต่อไปว่าการฟื้นตัวที่แท้จริงของเขานั้นเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่เขาได้รับคำแนะนำให้ไปหาผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์
ทางด้านของ นพ.เจมส์ แจ็คสัน ผู้อํานวยการด้านผลลัพธ์ระยะยาวที่มาจากโรคร้ายแรงทางด้านความผิดปกติของสมอง ณ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ที่เคยมีประวัติในการช่วยเหลือกลุ่มที่มีอาการป่วยลองโควิดอย่างนางมอร์สและนายเบลล์กล่าวว่าเขาได้ทำงานรักษาผู้ป่วยที่มีอาการค้ลายกันนี้นับร้อยคน และประเมินว่า 1 ใน 3 ของผู้หายป่วยโควิดที่เป็นผู้สูงอายุนั้นมีอาการบกพร่องทางสติปัญญาอยู่ในระดับหนึ่ง
“เรารับรู้ว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญระหว่างสมองของผู้ที่มีอายุน้อยกับผู้ที่สูงอายุ สมองของผู้ที่มีอายุน้อยนั้นมีความมีประสิทธิภาพในการสร้างระบบประสาทขึ้นมาใหม่ได้มากกว่า และสมองของคนไข้ที่อายุน้อยกว่านั้น ก็ดูเหมือนว่าจะได้รับระบบการทำงานด้านการรับรู้กลับมาได้รวดเร็วกว่า” นพ.แจ็คสันกล่าว
“ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่รุนแรงมากๆ การติดโควิดนั้นอาจจะนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน ซึ่งนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการที่ผู้สูงอายุที่มีภาวะป่วยรุนแรงด้วยโควิดนั้นอาจจะมีอาการสติวิปลาสตามมา ซึ่งคำว่าสติวิปลาสั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะทางจิตอย่างเฉียบพลันและฉับพลัน และอาการดังกล่าวนั้นก็จะนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม” พญ.ลิรอน ซินวานี แพทย์ผู้สูงอายุและผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สถาบัน Feinstein ของ Northwell Health's Feinstein Institutes for Medical Research ในรัฐนิวยอร์กกล่าว
ทั้งนี้สมองของผู้สูงอายุนั้นอาจจะได้รับบาดเจ็บจากภาวการณ์ขาดออกซิเจนหรือว่าการอักเสบ หรือกระบวนการของโรคที่เกื้อหนุนต่อภาวะสมองเสื่อมนั้นอาจเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นอยู่แล้วในกลุ่มผู้ป่วย และการที่กลุ่มผู้ป่วยได้รับเชื้อโควิด-19 เข้าไปอีกก็ยิ่งจะไปเร่งกระบวนการสมองเสื่อมให้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ผลงานวิจัยที่ดำเนินงานโดย พญ.ซินวานี และเพื่อนร่วมงาน ที่เผยแพร่ในเดือน มี.ค.นั้นพบว่า 13 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโควิดที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนอร์ทเวลเฮลธ์ในเดือน มี.ค.หรือในเดือน เม.ย. 2563 นั้นพบหลักฐานว่ามีอาการป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมในหนึ่งปีให้หลัง
ทางด้านของ นพ.โทมัม กัท รองประธานฝ่ายการแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสเตเตนไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่เปิดให้รักษาผู้ป่วยลองโควิดในสหรัฐฯ ได้กล่าวว่าจากการสำรวจนั้นพบว่าผู้มีอาการป่วยด้วยโควิด ถ้าหากเป็นผู้ป่วยซึ่งสูงอายุ การป่วยโควิดนั้นก็จะเป็นปัจจัยผลักดันอาการที่มีอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน อาทิ ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือโรคที่เกี่ยวกับปอด ทำให้ผู้ป่วยโควิดนั้นมีอาการเหล่านี้รุนแรงมากขึ้นไปอีก
และประเด็นที่สำคัญก็คือว่าในกลุ่มผู้สุงอายุนั้น ก็เป็นการยากจะระบุว่าอาการป่วยที่มีมาก่อนที่จู่ๆก็รุนแรงขึ้นมานั้นมีปัจจัยมาจากการติดเชื้อโควิดหรือว่ามาจากการเสื่อมถอยของสุขภาพอันเนื่องมาจากการแก่ตัวกันแน่
ในกรณีของนายริชาร์ด การ์ด อายุ 67 ปี ซึ่งมีประวัติทางด้านสุขภาพที่ดีเยี่ยม โดยเขานั้นเป็นอดีตกะลาสี อดีตนักประดาน้ำ และเป็นครูสอนดนตรีที่มหาวิทยาลัยเยล ซึ่งนายแกรนท์นั้นติดโควิดเมื่อเดือน มี.ค. 2563 และเขายังเป็นผู้ป่วยโควิดคนแรกที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเยล นิวเฮเวน
โดยนายการ์ดป่วยหนักเป็นเวลาสองสัปดาห์ครึ่ง , รวมไปถึงอยู่ในห้องไอซียูอีกเป็นระยะเวลาห้าวัน และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลาสามวัน
หลังจากนั้นสองปี นายการ์ดต้องใช้เวลาประมาณสองเดือนอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการที่คล้ายกับจะเป็นโรคหัวใจ
“ถ้าผมต้องพยายามเดินขึ้นบันได หรือเดินเป็นระยะทาง 10 ฟุต ผมแทบจะหมดสติเพราะความเหนื่อยล้า และก็จะเริ่มมีอาการทั้งการเจ็บหน้าอก ลามมายังแขน และคอ รวมไปถึงมีปัญหาด้านการหายใจและอาการเหงื่อออก” นายการ์ดกล่าว
พญ.เอริก้า สแปตซ์ ผู้อํานวยการโครงการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มหาวิทยาลัยเยล และยังเป็นหนึ่งในหมอที่ดูแลนายการ์ดกล่าวว่า “ยิ่งติดเชื้อโควิดรุนแรงมากเท่าไร และยิ่งสูงวัยมากเท่าไร ก็มีโอกาสที่คุณจะมีภาวะแทรกซ้อนหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นเท่านั้น โดยภาวะแทรกซ้อนนั้นก็รวมไปถึงถึงการลดลงของกล้ามเนื้อหัวใจ, ลิ่มเลือด, จังหวะหัวใจผิดปกติ, ความเสียหายของระบบหลอดเลือด, และความดันโลหิตสูง”
โดยหลังจากที่นายการ์ดนั้นติดเชื้อ และหาย ชีวิตเขาก็เปลี่ยนไปแบบที่ตัวเขาไม่เคยจะคาดคิดด้วยซ้ำว่ามันสามารถเกิดกับเขาได้ โดยเขาไม่สามารถจะทำงานได้ เขาต้องรับประทานยาถึง 22 ชนิด และสามารถเดินได้เพียงแค่ 10 นาที ในแนวราบเท่านั้น นอกจากนี้เขายังมีภาวะเครียดหลังจากผ่านเหตุการณ์เลวร้ายหรือพีทีเอสดีปรากฏอยู่บ่อยครั้ง
เรียบเรียงจาก:https://edition.cnn.com/2022/05/18/health/long-covid-older-americans-khn/index.html