“..การใส่หน้ากากในที่สาธารณะ สวมเฉพาะผู้ให้บริการ เฉพาะการให้บริการที่เกี่ยวกับการสัมผัส/ขนส่งอาหาร ทำหัตถการ/กิจกรรมที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด บริการในสถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี เช่น ขนส่งสาธารณะ ตลาด สถานบันเทิง กิจกรรมรวมตัวขนาดใหญ่ หรือเฉพาะการใช้บริการในสถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี กิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก กลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ป่วยเรื้อรัง และผู้ติดเชื้อทางเดินหายใจ..”
สถานการณ์การแพร่ระบาของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก มีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาลง ยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดลง เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ผู้ติดเชื้อรายวันและผู้เสียชีวิตลดลง แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าหลังจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะพุ่งสูงขึ้น แต่ขณะนี้ตัวเลขก็ทรงตัวและลดลง ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
จากแนวโน้มการระบาดที่ทรงตัว หลายๆ ประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการป้องกัน และเตรียมเปลี่ยนผ่านโควิดสู่การเป็นโรคประจำถิ่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แบ่งระยะดำเนินการนำไปสู่โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นเป็น 3+1 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ต่อสู้ (Combatting) ระยะที่ 2 คงตัว (Plateau) ระยะที่3 ลดลง (Declining) และระยะหลังการแพร่ระบาด (Post Pandemic ) เข้าสู่โรคประจำถิ่น ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นไป
โดยได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาเป็น โรคประจำถิ่น ของโควิด-19 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งผ่านความเห็นชอบศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ได้แก่
-
ความร่วมมือของทุกหน่วยงาน เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจาย ในวงกว้างกันอย่างเต็มที่ โดยวิธีการดู คือ ดูแนวโน้มการติดเชื้อ แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก อัตราการครองเตียง ระดับ 2 และระดับ 3
-
การฉีดวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุมการฉีดวัคซีนในประชากรรวม ฉีดเข็มกระตุ้นได้ มากกว่า 60 % ของประชากรตามสิทธิ์การรักษา โดยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม เกิน 80 % จากประชากรตามสิทธิการรักษา ได้รับเข็มกระตุ้นมากกว่า 60% ขึ้นไป ก่อน 1 กรกฎาคม2565
-
จำนวนผู้เสียชีวิต โดยคิดคำนวณจากผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 หารด้วยผู้ป่วยโรคโควิด19ที่รับการรักษา คูณด้วย 100 จะต้องน้อยกว่า 0.1 % รายสัปดาห์ ช่วง 2 สัปดาห์ติดต่อกัน
ขณะนี้ กว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศ มีสถานการณ์โควิดขาลง หรือเรียกว่าอยู่ในระยะลดลง (Declining) ซึ่งเป็นการจ่อที่จะเข้าสู่ระยะหลังการแพร่ระบาดหรือโรคประจำถิ่น (Post pandemic) ขณะเดียวกัน มีบางจังหวัดที่ยังเป็นขาขึ้น คืออยู่ในช่วงระยะต่อสู้ (Combatting) และระยะคงตัว (Plateau)
ล่าสุด ในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด (EOC) เมื่อเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 กรมอนามัย ได้นำเสนอเป้าหมาย แนวทาง และการติดตามประเมินผล ความรับรู้ ทัศนคติประชาชน ชุมชน สังคม และองค์กร เมื่อเข้าสู่สถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือการกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Post Pandemic COVID-19 (Endemic Approach)) ภายใต้กรอบแนวคิดที่สำคัญคือ ความรู้ด้านสุขภาพ โดยประชาชนมีความรู้เรื่อง สุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีและการดูแลตนเอง และมาตรฐานสุขอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
- ประชาชนมีการรับรู้ และทัศนคติในการป้องกันโรคโควิด-19 มากกว่า 90%
รับรู้เข้าใจความเสี่ยง และความรุนแรงของโรค ปฎิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention: UP) การได้รับวัคซีน และสามารถเข้าถึงบริการ และการดูแลตนเองเบื้องต้น
- ประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันโรคพึงประสงค์มากกว่า 80%
การใส่หน้ากากในที่สาธารณะ ล้างมือ และเว้นระยะห่าง
- กิจกรรม/กิจการ/สถานประกอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค มากกว่า 90%
ปฏิบัติตามมาตรฐานสุขาภิบาล มีการจัดการความหนาแน่น ระบายอากาศ และคัดกรองภูมิก่อนเข้าบริการ
มาตรการระดับบุคคลในการการป้องกันโรคเมื่อเข้าสู่ระยะ Post Pandemic
-
ใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่อ
-
-
เข้าไปในสถานที่ปิด ระบายอากาศไม่ดี
-
เข้าร่วมกิจกรรมที่คนรวมตัวหนาแน่น ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้
-
ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือผู้มีความเสี่ยงสูง
-
ป่วยเป็นโรคที่มีการแพร่เชื้อทางเดินหายใจ
-
-
ล้างมือบ่อยๆ เมื่อออกจากบ้าน และ/หรือสัมผัสสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน
-
เว้นระยะห่างตามความเหมาะสม และหลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่แออัด
-
คัดกรองตนเองเมื่อมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
-
รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด
-
การปฏิบัติตนเองเมื่อติดเชื้อ และเข้ารับบริการทางการแพทย์
มาตรการกิจกรรม/กิจการ/สถานประกอบการในระยะ Post pandemic
การใส่หน้ากากอนามัย (Mask) ในที่สาธารณะ
-
ผู้ให้บริการ เฉพาะการให้บริการที่เกี่ยวกับ
-
-
การสัมผัส/ขนส่งอาหาร
-
ทำหัตถการ/กิจกรรมที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด
-
บริการในสถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี เช่น ขนส่งสาธารณะ ตลาด สถานบันเทิง
-
กิจกรรมรวมตัวขนาดใหญ่
-
-
ผู้รับบริการ เฉพาะการใช้บริการใน
-
-
สถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
-
กิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก
-
กลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ป่วยเรื้อรัง
-
ผู้ติดเชื้อทางเดินหายใจ
-
การเว้นระยะห่าง (Distancing)
- จัดบริการให้มีการเว้นระยะห่างขณะบริการ หรือรอคิวอย่างเหมาะสม
การบริการจุดล้างมือ (Handwashing)
- จัดจุดบริการล้างมือ/เจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้เพียงพอ
ความสะอาด (Clean)
- จัดการของเสีย ขยะ ส้วม ตามหลักสุขาภิบาล
ระบายอากาศ Ventilation
- จัดการให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม
การจัดการความจุ (Density)
- ความหนาแน่นในสถานที่ให้บริการ 1 ต่อ 3 ตารางเมตร
การประเมินความเสี่ยง และวัดอุณหภูมิ และกำหนดเส้นทางเข้าออก
- ดำเนินการตามความเหมาะสม
การฉีดวัคซีน (Vaccine) ตามเกณฑ์
- ทุกการให้บริการทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
การตรวจ ATK
-
ผู้ให้บริการ เฉพาะกลุ่มเสี่ยง/คนมีอาการ หรือให้บริการด้านสุขภาพ/กิจกรรม/หัตถการที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด บริเวณใบหน้า
-
ผู้รับบริการ เฉพาะกลุ่มเสี่ยง/คนมีอาการ
แนวทางการดำเนินงาน ติดตามประเมินผล
มาตรการบุคคล
-
สื่อสาร สร้างการรับรู้ประชาชนในการป้องกัน และการปฏิบัติตนเมื่อติดเชื้อ
-
จังหวัดจัดตั้ง Sentinel site จังหวัดละ 200 คน ส าหรับการเฝ้าระวัง และประเมิน
-
การรับรู้ ทัศนคติ .
-
พฤติกรรมประชาชนในการป้องกันโรค ผ่านระบบ Anamai Poll
มาตรการกิจกรรม/กิจการ/สถานประกอบการ
-
สื่อสาร สร้างการรับรู้ให้ผู้จัดกิจกรรม ผู้ประกอบกิจการ รับทราบมาตรการป้องกันโรค
-
จังหวัดโดยภาครัฐ ภาคเอกชน ก าหนดเป้าหมายและจัดท าแผนให้กิจกรรม/กิจการ/สถานประกอบการลงทะเบียน และประเมินตนเองบนระบบ TSC2+
-
เชิงปริมาณ ดำเนินการให้ครอบคลุมประเภทกิจการ และจำนวนในพื้นที่
-
เชิงคุณภาพ ให้ดำเนินการเป็นไปตามเกณฑ์การป้องกันโรค (CFS)
-
คสจ/คกก.โรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร สุ่มกำกับ ติดตาม ประเมิน อย่างเข้มงวดผ่าน จพง.ท้องถิ่น, จพง.สาธารณสุข และรายงานผลการด าเนินงานทุกเดือน
-
สื่อสาร และจัดช่องทางการร้องเรียนสำหรับประชาชน เช่น ระบบ COVID Watch หรือ TSC2+ กรมอนามัย ศูนย์ด ารงธรรม 1517 สายด่วน 1111
มาตรการพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายว่าการสาธารณสุขในการป้องกันโรค เมื่อเข้าสู่ระยะ Post Pandemic
เป้าหมาย
- สถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขลักษณะ สุขอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายกำหนด (สามารถป้องกันโรคติดต่อทางระบบ ทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร) ได้
หลักการ/แนวคิดการปรับปรุงกฎหมายฯ
-
คงมาตรการด้านสุขลักษณะ สุขอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อมที่สามารถรองรับโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในอนาคตได้
-
กำหนดมาตรการฯ 2 ระดับ กรณี New Normal และกรณี พบผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
-
กำหนดให้มีการประเมินตนเองของสถานประกอบการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด และการเฝ้าระวังความเสี่ยงจากโรคติดต่อ โดยการประเมินตนเองของผู้ปฏิบัติงาน/ผู้สัมผัสอาหารและผู้เข้าใช้บริการผ่านระบบดิจิทัล เช่น
-
-
การระบายอากาศ และการทำความสะอาด
-
การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
-
การคัดกรองและสวมหน้ากาก (ผู้ให้บริการสถานประกอบการเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยง)
-
การลดความแออัด/เว้นระยะห่าง
-
การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
- ประเมินการปฏิบัติตามาตรการฯ เพื่อการเฝ้าระวังฯ
-
สิ่งสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย เช่น
-
แพลตฟอร์มยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น
-
โปรแกรมรายงานผลการดำเนินงาน คสจ.
-
คู่มือ/แนวทางปฏิบัติงาน SOP
-
แบบฟอร์มการออกคำสั่ง
-
แบบฟอร์มการตรวจแนะนำ
บทกำหนดโทษ เช่น
- ฝ่าฝืนกฎกระทรวงฯ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท / ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
การบังคับใช้กฎหมาย
-
สสจ. (ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คสจ. และเป็น จพส.) มีบทบาทอ านาจหน้าที่ตามกฎหมาย สธ. ม.17/3 , ม.46, ม. 44 เช่น
-
สนับสนุนให้คำแนะนำปรึกษาแก่เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (จพถ. จพส. และผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งฯ) รวมทั้ง สุ่มตรวจ ให้คำแนะนำการปฏิบัติตามมาตรการตามกฎหมายของ สปก. หากพบว่าฝ่าฝืนให้ออกค าสั่ง/ ส่งเรื่องด าเนินการเปรียบเทียบปรับหรือดำเนินคดีอย่างเคร่งครัด แล้วแต่กรณี
-
สื่อสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ ผปก. และประชาชน เกี่ยวกับมาตรการตามกฎหมาย สธ.
-
กำกับติดตามการบังคับใช้กฎหมาย สธ. ในการควบคุม สปก. ต่าง ๆ รายงานต่อคณะกรรมการสาธารณสุข เพื่อทราบและพิจารณาแนวทางการดำเนินงานตามกฎหมายฯ
-
ทั้งนี้ มติที่ประชุม EOC ได้มอบหมายให้ทีม STAG ทบทวนมาตรการในร่างฯ โดยใช้หลักฐานประกอบการพิจารณาถึงการให้มีอยู่ใน สถานประกอบการ ระยะ Post pandemic เช่น มาตรการวัดอุณหภูมิก่อนเข้าสถานที่ การประเมินความเสี่ยง ด้วยไทยเซฟไทย เป็นต้น และนำเสนอเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้ง ก่อนประกาศให้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับประชาชนต่อไป
ทั้งหมดนี้ คือร่างแนวปฏิบัติและมาตรการต่างๆ หลังจากที่โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น ทั้งนี้จะต้องติดตามต่อไปว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสนี้จะยุติลงเมื่อใด