ในช่วงเวลาที่สงครามทวีความรุนแรงในประเทศยูเครน ภาพที่ปรากฏตามหน้าสื่อให้เห็นเด่นชัดก็คือว่าชาวนายูเครนมักจะยุ่งอยู่กับการยึดรถถัง,ปืนใหญ่ และซากเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพรัสเซีย ซึ่งภาพเหล่านี้นั้นถือว่าเป็นอะไรที่แปลกใหม่ ในช่วงเวลาฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นเวลาที่จะต้องปลูกพืชผล และภาพดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่เตือนใจด้วยว่าการรุกรานของรัสเซียกำลังเกิดขึ้นกับประเทศที่ถือว่าเป็นหนึ่งในตะกร้าขนมปังที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และแน่นอนว่าการรุกรานดังกล่าวก็ส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในเอเชียและที่อื่นๆ
จากสถานการณ์ที่ประเทศรัสเซียรุกรานประเทศยูเครนนั้น แม้หากดูผิวเผินแล้วจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวจากประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ผลของการสู้รบดังกล่าวนั้นย่อมจะส่งผลต่อการส่งออกของทั้งประเทศยูเครนและประเทศรัสเซียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยสำนักข่าววิทยุเสรีของเอเชียหรือ Radio Free Asia ได้มีการออกบทวิเคราะห์ไว้เกี่ยวกับสถานการณ์การสู้รบระหว่างยูเครนและรัสเซียนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดอาหารของโลกโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียน ซึ่งสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้เอารายงานดังกล่าวมานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
ในช่วงเวลาที่สงครามทวีความรุนแรงในประเทศยูเครน ภาพที่ปรากฏตามหน้าสื่อให้เห็นเด่นชัดก็คือว่าชาวนายูเครนมักจะยุ่งอยู่กับการยึดรถถัง,ปืนใหญ่ และซากเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพรัสเซีย ซึ่งภาพเหล่านี้นั้นถือว่าเป็นอะไรที่แปลกใหม่ ในช่วงเวลาฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นเวลาที่จะต้องปลูกพืชผล และภาพดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่เตือนใจด้วยว่าการรุกรานของรัสเซียกำลังเกิดขึ้นกับประเทศที่ถือว่าเป็นหนึ่งในตะกร้าขนมปังที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และแน่นอนว่าการรุกรานดังกล่าวก็ส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในเอเชียและที่อื่นๆ
โดยข้อมูลในปี 2564 พบว่ายูเครนเป็นประเทศที่ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่เป็นดันดับสามของโลก และมีการส่งออกข้าวสาลีอยู่ที่ 60 ล้านตัน จากจำนวนทั้งหมดที่สามารถเพาะปลูกในประเทศได้ 80 ล้านตัน หรือคิดเป็นประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ของประมาณการส่งออกข้าวสาลีทั้งหมดของโลก ยูเครนยังเป็นประเทศที่เป็นผู้ผลิตข้าวบาร์เลย์รายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก,เป็นผู้ที่ผลิตข้าวโพดใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก และเป็นผู้ที่ผลิตน้ำมันทานตะวันรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก
ทั้งนี้ประเทศยูเครนและรัสเซียถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในตลาดอาหารของโลก แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นทั้งสองประเทศยังมีบทบาทในการช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาและช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมให้กับประเทศที่กำลังประสบภัยพิบัติ ซึ่งจำนวนครึ่งหนึ่งของธัญพืชที่มีการใช้ในโครงการอาหารโลกนั้นพบว่าถูกซื้อมาจากประเทศยูเครน ในช่วงปี 2564 โดยในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมานั้นพบว่าประเทศยูเครนได้มีการส่งออกข้าวสาลีคิดเป็นจำนวน 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (97,297,900,000 บาท) ในยังทวีปแอฟริกา
ดังนั้นนี่จึงส่งผลทำให้ในช่วงเริ่มต้นของสงคราม ราคาข้าวสาลีซึ่งก็สูงเป็นประวัติการณ์อยู่แล้ว เพิ่มราคาขึ้นไปอีก 30 เปอร์เซ็นต์
สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียนนั้นพบว่าทั้งรัสเซียและยูเครนต่างก็เป็นผู้ส่งออกรายสำคัญที่ส่งออกอาหารหลักและธัญพืชให้กับภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน โดยในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา ยูเครนได้มีการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 708 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (23,751,984,000 บาท) ไปยังประเทศอินโดนีเซีย คิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของการนำเข้าทั้งหมด,ส่งออกไปยังไปยังมาเลเซีย 93 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3,120,336,000 บาท) คิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ของการนําเข้าทั้งหมด และส่งออกไปยังประเทศไทย 131 ล้านดอลลาร์ (4,395,312,000 บาท) คิดเป็น17 เปอร์เซ็นต์ของการนําเข้าทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ที่ถือว่าเป็นสองประเทศที่มีความไม่มั่นคงทางด้านอาหารสูงที่สุดในอาเซียนนั้นจะกลายเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดจากสถานการณ์การสู้รบในยูเครนดังกล่าว เนื่องจากอินโดนีเซียมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ธัญพืชรวมไปถึงข้าวสาลีอยู่ในอัตราที่สูงถึงเกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ โดยข้อมูลในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่าอินโดนีเซียมีการนำเข้าข้าวสาลีจากยูเครนอยู่ที่ 3.07 ล้านตัน
ทั้งนี้ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา ยูเครนเป็นประเทศเพียงแห่งเดียวที่มีการส่งออกธัญพืชมายังอาเซียน ตามมาด้วยปี 2564 ที่ยูเครนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ให้กับทั้งอินโดนีเซียและอาเซียน
โดยข้อมูลจากสํานักงานสถิติฟิลิปปินส์พบว่าในปี 2564 ที่ผ่านมา การนำเข้าธัญพืชนั้นเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่เกือบ 48 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับในปี 2563,ส่วนที่อินโดนีเซียนั้นพบว่ามีการบริโภคแป้งเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2564
และประชากรของทั้งสองประเทศนั้นก็กำลังเติบโตขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนี่ก็หมายความว่าความต้องการธัญพืชก็จะเพิ่มขึ้นมากไปอีก
โดยประเทศอินโดนีเซียมีการเติบโตของประชากรอยู่ที่ 1.1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และฟิลิปปินส์มีอัตราการเติบโตประชากรอยู่ที่ 1.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ทำให้ทั้งสองประเทศนั้นมีอัตราการเติบโตของประชากรสูงสุดในอาเซียน ดังนั้นทั้งสองประเทศจึงไม่เคยมีอัตราการผลิตอาหารภายในประเทศที่จะสามารถรองรับต่ออัตราการเติบโตของประชากรในระดับนี้ได้ และทำให้รัฐบาลของสองประเทศนี้นั้นมีความไวต่ออัตราเงินเฟ้นในในสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอาหารค่อนข้างมาก
ราคาข้าวสาลีที่เพิ่มสูงขึ้นหลังรัสเซียบุกยูเครน (อ้างอิงวิดีโอจาก CNBC)
@การต่อสู้ที่ลามไปยังพื้นที่เพาะปลูก
ย้อนกลับไปที่ประเทศยูเครน ในช่วงเวลาที่ประเทศนี้อยู่ในระหว่างฤดูหว่านพืชผล แต่ปรากฎว่าทิศทางของสงครามนั้นได้มีการย้ายพื้นที่การสู้รบจากทางเหนือของกรุงเคียฟไปยังภูมิภาคทางด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งนี่หมายความว่าการสู้รบนั้นกำลังเกิดขึ้น ณ พื้นที่ซึ่งถือว่าแหล่งเพาะปลูกหลักที่เคยให้ผลผลิตสูงสุดของประเทศยูเครน
ส่วนในสถานที่ซึ่งดูจะไม่อันตรายเกินกว่าที่จะทำการเพาะปลูกได้นั้น ก็พบว่าโครงสร้างพื้นฐานต่างๆได้ถูกทำลายไปจากผลของสงคราม ขณะที่ชายและหญิงซึ่งอยู่ในวัยฉกรรจ์ก็ต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังป้องกันดินแดนของยูเครน, นี่ส่งผลทำให้รัฐบาลยูเครนได้ออกมาคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจะลดต่ำลงไปกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ อันเนื่องมาจากสงคราม และตามมาด้วยสัญญาณเตือนว่าการส่งออกในปี 2565 นั้นก็น่าจะลดต่ำลงไปกว่า 15-20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกในปี 2564
และแม้ว่าชาวนาจะสามารถปลูกพืชต่อไปได้ ก็มีคำถามตามมาเกี่ยวกับขีดความสามารถว่าจะเอาธัญพืชเหล่านี้ไปสู่ตลาดโลกได้อย่างไร เพราะว่ากองทัพรัสเซียได้ทำลายเมืองท่ามาริอูโพลจนราบคาบไปแล้ว และยังได้ทำลายโครงสร้างพื้นฐานและท่าเรือต่างๆของยูเครนที่อยู่ริมทะเลอาซิมอฟไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ณ เวลานี้นั้น เมืองโอเดสซาได้กล่าวเป็นเมืองท่าแห่งสุดท้ายของยูเครนแล้ว ที่รัสเซียยังไม่ได้บุกเข้าโจมตี และว่ากองทัพรัสเซียกำลังปิดกั้นเมืองท่าแห่งนี้อยู่
โดยจากสถานการณ์ดังกล่าวนั้น ทำให้ตอนนี้ยูเครนเหลือทางเลือกเดียวที่จะส่งออกธัญพืชออกนอกประเทศไปได้ก็คือด้วยรถไฟและรถบรรทุก แต่ถ้าหากกองทัพรัสเซียได้เล็งเป้าไปยังโครงสร้างโลจิสติกในภูมิภาคยูเครนตะวันตกด้วยแล้ว ก็อาจจะส่งผลทำให้การส่งออกได้รับความเสียหายตามมาด้วยเช่นกัน
ยิ่งไปกว่านั้นเกษตรกรท้องถิ่นในยูเครนก็กำลังกลายเป็นกลุ่มที่อยู่ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตสภาพคล่องด้วยเช่นกัน เพราะว่าไม่สามารถจะหาเงินกู้มาเพื่อครอบคลุมกับกับการเพาะปลูกต่างๆในครึ่งแรกของฤดูการเพาะปลูกนี้ได้
ทว่าก็ยังคงมีแหล่งผลิตอื่นๆนอกเหนือจากประเทศยูเครน ที่พอจะหาข้าวสาลีทดแทนได้อยู่บ้าง
โดยในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้นําเข้าข้าวสาลีคิดเป็นจำนวน 4.69 ล้านตันจากออสเตรเลีย ขณะที่ในช่วงปี 2563 พบว่ามีการนำเข้าข้าวสาลี 2.63 ล้านตันจากอาร์เจนตินา ดังนั้นการที่จะต้องมีผู้จัดหาข้าวสาลีให้ครบจากทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกเหนือจากยูเครนที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีเป็นอันดับหนึ่งในซีกโลกเหนือแล้ว ก็มีผู้ส่งออกข้าวสาลีในลำดับถัดมาอันได้แก่รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
ดังนั้นนี่จึงหมายความว่าการที่ยูเครนได้รับผลกระทบจากสงคราม ถือเป็นข่าวร้ายต่อตลาดอาหารโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับราคาธัญพืชนั้นพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกนั้นประสบปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการสูญเสียรายได้และการไต่ระดับความยากจนอันเนื่องมาจากว่าต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นระยะเวลายาวนาน
โดยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั้งในตลาดพลังงานและตลาดอาหารหลักนั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่กระทบต่อผู้บริโภคอย่างหนักทั่วโลก
ฟาร์มของชาวนายูเครนถูกทำลายจากการยิงถล่มของกองทัพรัสเซีย (อ้างอิงวิดีโอจาก:AP)
@ความไม่แน่นอนอื่นๆในตลาดอาหารโลก
นอกเหนือจากกรณีที่รัสเซียรุกรานยูเครนแล้ว ยังพบว่ามีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อไม่แน่นอนต่อตลาดอาหารทั่วโลกด้วยเช่นกัน
โดย ณ เวลานี้พบข้อมูลว่า ฤดูหนาวที่เกิดขึ้นในประเทศจีนส่งผลต่อการเก็บเกี่ยวข้าวสาลีอย่างรุนแรง จนแม้แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของประเทศจีนยังได้ออกมาบรรยายว่าสถานการณ์นี้นั้นถือว่า “เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์”
ส่วนที่แม่น้ำโขงก็พบว่าระดับน้ำนั้นลดต่ำลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากการกิจกรรมของเขื่อนส่งผลทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของเกลือ ณ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นี่ส่งผลทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรนั้นมีขนาดเล็กลงตามไปด้วย ซึ่งข้อมูลจากสติมสันเซ็นเตอร์ พบว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้นถือได้ว่ามีผลต่อการทำนาในประเทศเวียดนามถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนต่อการส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ที่ 90 เปอร์เซ็นต์
โดยในช่วงปี 2563 พบว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามนั้นคิดเป็น 7.4 เปอร์เซ็นต์ของตลาดการส่งออกข้าวทั่วโลก ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียนั้นก็ถือว่าเป็นสองตลาดส่งออกข้าวเป็นหลักของประเทศเวียดนาม
ขณะที่ผลพวงทางเศรษฐกิจของเมียนมาร์ ที่ได้รับผลกระทบตามมาจากการรัฐประหารนั้นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อตลาดอาหาร เนื่องจากว่าเงินจัตเมียนมาร์นั้นพบว่าสูญเสียมูลค่าไปถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเดิมนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2564 ที่เกิดการรัฐประหารเป็นต้นมา ส่งผลกระตุ้นทำให้เกิดการขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และทำให้การนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยนั้นอยู่ในอัตราที่สูงมากตามมาด้วย
ทั้งนี้แม้ว่าเมียนมาจะยังคงมีความมั่นคงทางด้านอาหาร แต่ก็มีการคาดการณ์กันว่าพืชผลที่จะไปสู่ตลาดโลกนั้นจะลดลงเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมียนมาร์นั้นเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับเจ็ดของโลก ซึ่งในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมานั้นการส่งออกข้าวของเมียนมาร์คิดเป็นสัดส่วน 3.2 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกทั้งหมด
ดังนั้นจึงมีการประเมินกันว่าในฉากทัศน์ที่ดีที่สุดนั้น การส่งออกข้าวของเมียนมาร์ในปี 2565 น่าจะลดเหลืออยู่แค่ 2 ล้านตัน จากจำนวนการส่งออกเดิม ซึ่งอยู่ ณ 2.5 – 3 ล้านตัน
ดังนั้นนี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมประเทศอื่นในอาเซียนนอกเหนือจากสิงคโปร์นั้นยังมีท่าทีที่ไม่ออกหน้ามากนักในการจะวิจารณ์ต่อกรณีที่รัสเซียบุกยูเครน และดูเหมือนว่าจะไม่มีประเทศใดที่แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าต้องมีการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย โดยประเทศเหล่านี้ได้อ้างว่าต้องรักษาความเป็นกลางเอาไว้
แต่หลายประเทศในอาเซียนล้วนรู้ดีว่าต้องมีความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจตามมาอย่างแน่นอนอันเกิดจากการที่รัสเซียได้เข้ารุกรานประเทศเพื่อนบ้านของตัวเอง
โดยในปีนี้ ในฐานะที่อินโดนีเซียเองก็เป็นประธานในกลุ่มประเทศจี-20 นี่ทำให้อินโดนีเซียต้องถูกครหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าจะเชิญนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเข้ามาร่วมประชุมที่เกาะบาหลีดีหรือไม่ เพราะแม้ว่าเวทีจี-20 นั้นจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องการเมือง หรือเรื่องของความมั่นคง
แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆให้ต้องคิดหนัก อาทิ ผลกระทบจากเรื่องของอัตราเงินเฟ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ และความเป็นไปได้ที่จะเกิดความไม่สงบของการเมืองในประเทศตัวเอง ซึ่งทุกอย่างนั้นก็อาจจะมีผลมาจากการที่นายปูตินจะได้เป็นแขกรับเชิญของประธานาธิบดีโจโค วิโดโด้ของอินโดนีเซียหรือไม่
เรียบเรียงจาก:https://www.rfa.org/english/news/vietnam/food-04072022220054.html