“..เมื่อตรวจพบว่า ATK ผลเป็นบวก เข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 ขอให้ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก ให้ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหนักมากน้อยเพียงใด รวมทั้ง ประเมินว่ามีอาการอย่างไรหรือไม่ หากไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ดื่มน้ำมากๆ ป้องกันตนเอง กักตัวที่บ้าน 10 วัน ตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข..”
สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ประเทศไทย มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อรายวันและผู้ติดเชื้อเข้าข่าย หรือ ผลตรวจ ATK เป็นบวกเพิ่มสูงมากขึ้น เพราะในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน พบการแพร่กระจายเร็ว และแสดงอาการเร็วกว่าเชื้อสายพันธ์อื่นๆ แม้ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อมักจะมีอาการไม่รุนแรง เนื่องจากประชาชนส่วนมากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จึงสามารถรรักษาตัวแบบผู้ป่วยนอกได้
โดยอาการของผู้ป่วยโรคโควิด ที่พบบ่อย คือ ไอ จาม มีน้ำมูก คัดจมูก เจ็บคอ มีไข้ เหงื่อออกตอน กลางคืน ปวดเมื่อยตามตัว อาจพบอาการอาเจียน ถ่ายเหลว ปวดศีรษะ อ่อนเพลียไม่มี อาการเหล่านี้พบประมาณ 2-3 วัน แล้วจะค่อยๆดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ ในช่วง 10 วันแรก จึงควรแยกกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
ทั้งนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำ คู่มือฉบับประชาชนกรณีรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง (Outpatient with Self Isolation) มีรายละเอียดดังนี้
การรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง (Outpatient with Self Isolation) เป็นวิธีการรักษา ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงต่อโรครุนแรง และมีความพร้อมในการพักรักษาตัวที่บ้าน โดยขึ้นอยู่กับ ความสมัครใจ และความพร้อมของผู้ติดเชื้อเป็นสำคัญ
แนวทางปฏิบัติหากตรวจพบ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด (ผลเป็นบวก)
เมื่อตรวจพบว่าATK ผลเป็นบวก เข้าข่ายเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขอให้ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก ให้ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหนักมากน้อยเพียงใด รวมทั้ง ประเมินว่ามีอาการอย่างไรหรือไม่
-
ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ดื่มน้ำมากๆ ป้องกันตนเอง กักตัวที่บ้าน 10 วัน ตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข
กรณีผู้ป่วยเด็ก ดูแลเรื่องระวังคอยติดตามอาการไข้สูง แล้วควรเช็ดตัวให้ไข้ลดลง หากเด็กเล็กให้ระวังน้ำมูก อุดตัน อาจต้องใช้น้ำเกลือล้างจมูกช่วยหรือไม้พันสำลี(คัตตอนบัด)เช็ดให้หายใจโล่งขึ้น
-
ถ้าประเมินแล้วมีความเสี่ยงต่อ ภาวะรุนแรง แนะนำไปสถานพยาบาลตามสิทธิใกล้บ้าน แนะนำให้โทร นัดหมายก่อนเข้ารับบริการ หรือดำเนินการตามประกาศของแต่ละจังหวัด
เจอ แจก จบ
อีกแนวทางการรักษาที่รัฐบาลกำหนดนโยบายมาเพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วย คือ ‘เจอ แจก จบ’
- เจอ: ผลตรวจ ATK เป็นบวก
สำหรับพื้นที่ กทม.และต่างจังหวัด สามารถไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ใกล้บ้าน โรงพยาบาลตามสิทธิ หรือติดต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ผ่านทางสายด่วน 1330 นอกจากนี้ พนที่ต่างจังหวัด ยังสามารถติดต่อผ่าน อสม. หรือ รพ.สต.ใกล้บ้านได้ หากประเมินอาการและภาวะเสี่ยง แล้วไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย และไม่มีภาวะเสี่ยง จะเข้าสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้านได้
- แจก: แพทย์พิจารณาจ่ายยาตามอาการ
โดยการจ่ายยาขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจ และแนะนำการดูแลรักษาให้กับผู้ป่วย
- จบ: ผู้ป่วยได้เข้าสู่ระบบบริการ
โดยแพทย์บุคลากรทางการแพทย์ ให้คำแนะนำการดูแลรักษาจ่ายยาแล้วให้ กลับมากักตัวที่บ้าน และให้ผู้ป่วยดูแลป้องกันตนเองจนครบกำหนดและติดตามอาการ 1 ครั้ง ที่ 48 ชั่วโมง มีช่องทาง การติดต่อกลับและระบบส่งต่อหากมีอาการแย่ลง
ระบบบริการการดูแลแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตัวเอง (OPD and Self Isolation)
เมื่อผู้ป่วยลงทะเบียนเข้ารับการรักษาแยกกักตัวเองที่บ้านแล้ว จะมีทีมสุขภาพจะให้คำแนะนำเรื่องช่องทางการสื่อสารและจะนัดติดตามอาการอีกครั้งที่ 48 ชั่วโมงหากประเมิน แล้วอาการดีขึ้นผู้ป่วยแยกกักตัวเองต่อเนื่อง 10 วัน จนพ้นระยะแพร่กระจายเชื้อ หลังจากนั้นจึงสามารถกลับไป ใช้ชีวิตตามแนววิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
เกณฑ์การพิจารณารักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง (Outpatient with Self Isolation)
ผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อ เป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย
-
-
อาจมีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ตาแดง มีผื่น ถ่ายเหลวเล็กน้อย จมูกไม่ได้กลิ่นหรือลิ้นไม่รับรส
-
ไม่มีอาการหายใจเร็ว
-
ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย
-
ไม่มีอาการหายใจลำบาก
-
ระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 94% ( หากมีอุปกรณ์)
-
ผู้ป่วยติดเชื้อที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 5-7 วัน อาการดีขึ้น แพทย์พิจารณาให้ กลับมากักตัวที่บ้านต่อ ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
-
-
อายุไม่เกิน 75 ปี หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
-
พักอาศัยอยู่คนเดียว หรือที่พักอาศัยมีห้องแยกกักตัวได้จากสมาชิกคนอื่น ๆ
-
ไม่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรค ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ ภาวะอ้วน ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
-
เกณฑ์ในการนำส่งต่อผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล
-
เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
-
หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที ในผู้ใหญ่
-
ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้ว Oxygen Saturation < 94%
-
โรคประจำตัวมีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
-
สำหรับในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง
การดูแลรักษาอาการต่างๆ จากโรคโควิด-19
- ไข้
ประคบผ้าเย็นที่บริเวณศีรษะ พิจารณาทานยาลดไข้ หากมีภาวะไม่สุขสบายจากอาการไข้สูง (ไม่แนะนำให้ทานยากลุ่ม NSAIDs เช่น แอสไพริน บรูเฟน) อาการไข้สูง จะเป็นอยู่ไม่นานเกิน 2-3 วัน หากเกินกว่านั้นแนะนำให้รีบพบแพทย์
ถ้าเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ปี อาจเกิดภาวะไข้สูงแล้วชักได้ มักเกิดในวันแรก ๆ ให้สังเกตหากเด็ มีอาการ หนาวในขณะที่มีอาการไข้และตัวซีดลง จับมือแล้วมือเย็น เสี่ยงต่อการเกิดอาการชักได้ การรักษาคือ หากเด็ก มีอาการไข้ให้ใช้ผ้าเย็นประคบที่ศีรษะเพื่อลดอุณหภูมิและหากมีอาการชักให้รีบพบแพทย์
- น้ำมูก
รับประทานยาลดน้ำมูก ในเด็กเล็กใช้ลูกยางหรืออุปกรณ์เฉพาะเพื่อดูดน้ำมูกออกจมูก
- คัดแน่นจมูก
ใช้กลิ่นหอมระเหย เช่น เปราะหอมแดง ใส่ผ้าขาววางไว้รอบห้อง เพื่อให้ได้น้ำมัน หอมระเหย สามารถช่วยลดอาการไอคัดแน่นจมูกตอนกลางคืน
- ไอ
แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อช่วยในการละลายเสมหะขับเสมหะออกง่าย น้ำขิงใส่มะนาว หรือ น้ำผึ้ง ก็ช่วยลดอาการได้ หลีกเลี่ยงอาหารระคายคอ ของทอดของมัน รับประทานยาแก้ไอตามคำแนะนำของแพทย์
- เจ็บคอ
บรรเทาอาการเจ็บคอด้วยยาแก้เจ็บคอ หรือใช้ยาสมุนไพร
- ท้องเสีย
จำเป็นต้องดื่มน้ำมาก ๆ และผสมน้ำเกลือเพื่อให้ได้สารน้ำและเกลือแร่ชดเชย ในเด็กอาจจะทำผสมน้ำเกลือแร่และผสมน้ำหวานทำเป็นไอครีมแช่แข็งก็ช่วยให้กินได้ ให้ระวังถ้าเด็กมีอาการซึมลงให้ รีบปรึกษาแพทย์
- เบื่ออาหาร
เป็นเรื่องปกติของความเจ็บป่วย ขอเพียงสังเกตอาการว่าเด็กมีอาการอ่อนเพลียมาก หรือไม่ ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่อาการดีขึ้นจะกลับมากินได้ ภายใน 2-3 วัน
- อาเจียน
แนะนำให้จิบน้ำเกลือแร่ หรือ น้ำข้าวต้ม หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยาก อาหารรสจัด
แนวทางการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโควิดที่แยกกักตัวที่บ้าน
การปฏิบัติตัวขณะรักษาแบบแยกกักตัวที่บ้าน
-
-
งดออกจากบ้านไปยังชุมชนทุกกรณี (ยกเว้นการเดินทางไปโรงพยาบาล)
-
เว้นระยะห่างจากคนในครอบครัวและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
-
แยกห้องนอนจากผู้อื่น ถ้าแยกไม่ได้ให้นอนห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 3-5 เมตร และต้องเป็นห้องที่ เปิดให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยจัดให้ผู้ติดเชื้อนอนอยู่ใต้ลม
-
ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น ถ้าแยกไม่ได้ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดพื้นผิวด้วยน้ำยา ฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำผสมผงซักฟอก หรือ น้ำยาล้างจาน หรือ น้ำยาฟอกขาวเจือจาง เพื่อทำลาย เชื้อ ทุกครั้งหลังใช้งาน
-
แยกข้าว แยกสำรับ ไม่กินข้าวร่วมกับผู้อื่น
-
ล้างมือให้สะอาดถูกวิธีโดยเฉพาะหลังไอ จาม หรือขับถ่าย
-
ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
-
ดื่มน้ำสะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ
-
มารดาให้นมบุตรได้ แต่ต้องสวมหน้ากากและล้างมือก่อนสัมผัสบุตรหรือให้นมบุตร
-
หลังจากครบกำหนดการกักตัวตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว สามารถประกอบกิจกรรมทางสังคม และทำงานได้ปกติตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ เช่น สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือ และรักษาระยะห่าง
-
การจัดการขยะติดเชื้อช่วงแยกกักตัวที่บ้าน
ขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู ชุดตรวจโควิด-19 ที่มีการปนสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
-
-
เก็บรวบรวมขยะติดเชื้อทุกวัน ใส่ถุงขยะสีแดง 2 ชั้น หากไม่มีถุงสีแดงให้เขียนป้ายกำกับ หรือ สัญลักษณ์ ที่แสดงถึงขยะติดเชื้อ
-
ถุงขยะชั้นแรกเมื่อใส่ขยะติดเชื้อแล้วให้ราดด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำผสม ผงซักฟอก หรือ น้ำยาล้างจาน หรือ น้ำยาฟอกขาวเจือจาง เพื่อทำลายเชื้อ
-
มัดปากถุงให้แน่น แล้วราดด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อตามข้อ 2) บริเวณปากถุง
-
ซ้อนด้วยถุงอีกชั้น รัดให้แน่นราดด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อตามข้อ 2) บริเวณปากถุง
-
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและ สบู่ ทันที
-
หากมีอุปกรณ์หรือสามารถจัดหาอุปกรณ์ได้ให้ใช้เพื่อประเมินอาการตนเอง
-
-
การใช้ปรอทวัดไข้
-
การใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วมือ
-
วิธีดูแลสุขภาพทางจิตใจเมื่อต้องกักตัว แนวทางการดูแลตนเอง
-
-
การติดตามข่าวสารต่อเนื่องอาจทำให้เกิดความเครียด จึงควรติดตามข่าวสารเพียงวันละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หากรู้สึกเครียด ควรหยุดติดตามข่าวทันที
-
หมั่นดูแลตนเอง ทำกิจวัตรประจำวันตัวเองตามปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับ ให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและจิตใจแจ่มใส
-
เสริมสร้างพลังใจ มองแง่บวก เชื่อว่าเราสามารถผ่านวิกฤตในครั้งนี้จะช่วยสร้างพลังเข้มแข็ง เห็นคุณค่า ในตนเองและความปรารถนาดีจากคนรอบข้าง หาวิธีคลายความเครียด ทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ฝึกสมาธิ ดูหนัง ฟังเพลง ทำสิ่งที่ชอบ สื่อสารกับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดผ่านช่องทางออนไลน์
-
กรณีผู้ป่วยจิตเวช ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และสังเกตรับรู้อารมณ์ตนเอง
-
สามารถตรวจเช็คสุขภาพใจตนเองเบื้องต้น ได้ที่ 'www.วัดใจ.com' หรือหากไม่สามารถรับมือ กับปัญหาสุขภาพจิตได้ แนะนำขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ Line @1323 for Thai
-
นอกจากนี้ สมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านถือเป็นผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงสูง จึงต้องได้รับการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK เพื่อที่จะได้ให้การดูแลรักษาหากมีการติดเชื้อ
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ตรวจไม่พบเชื้อก็ยังคงมีความจำเป็นต้องกักตัว (Quarantine) เนื่องจากอาจจะมีเชื้อแต่ยังอยู่ในระยะที่ตรวจไม่พบ ให้ตรวจหาเชื้อซ้ำเมื่อมีอาการหรือหลังเฝ้า สังเกตอาการไปแล้ว 7 วัน
ทั้งหมดนี้ คือแนวทางการรักษาตัวเมื่อติดเชื้อโควิด-19 สิ่งสำคัญที่สุดคือการตั้งสติ อย่าตื่นตระหนัก และประเมินอาการของตนเองตามคำแนะนำเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาได้อย่างทันถ่วงที