นับแต่ช่วงวันที่ 28 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2561 มีประมาณเกือบ 5 ล้านบาท บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของนางสาวศิธิพร เพียงช่วงวันที่ 13 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2561 มีสูงถึง 26 ล้านบาท บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจําเลยที่ 2 เพียงช่วง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2561 มีสูงถึงเกือบ 4 ล้านบาท ขณะเกิดเหตุจําเลยที่ 1 ประกอบอาชีพรับจ้าง นางสาวศิธิพร อายุ 19 ปี ยังเป็นนักศึกษา ส่วนจําเลยที่ 2 ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นพนักงานบริษัท พักอาศัยอยู่กับญาติ ไม่น่าเชื่อว่า บุคคลทั้งสามจะมีกระแสเงินหมุนเวียนมากมายขนาดนั้นหากประกอบอาชีพโดยสุจริต
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวว่าสืบเนื่องจากที่ปรากฎเป็นข่าวในหลายครั้งเกี่ยวกับกรณีการกระทำความผิดด้านการรับจ้างเป็นผู้เปิดบัญชีหรือว่าส่งมอบบัญชีของตัวเองให้กับบุคคลอื่น
สำนักข่าวอิศรารายงานว่าไม่นานมานี้สำนักข่าวได้มีการสืบค้นข้อมูลจนพบรายละเอียดของคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 เกี่ยวกับฐานความผิดของการฟอกเงิน ต่อกรณีที่ฝ่ายจำเลยนั้นได้รับจ้างเปิดบัญชีซึ่งสุดท้ายบัญชีดังกล่าวก็กลายเป็นที่พักพิงของเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดในข้อหาค้ายาเสพติด สำนักข่าวจึงได้นำเอาคำพิพากษาดังกล่าวมานำเสนอเพื่อเป็นกรณีศึกษาโดยคำพิพากษานั้นมีรายละเอียดดังนี้
@พฤติการณ์ตามคำฟ้องของฝ่ายโจทก์
โจทก์ซึ่งคือพนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรีฟ้องและแก้ฟ้องว่า จําเลยทั้งสอง (นาย ณ. จำเลยที่ 1 และนาย อ. จำเลยที่ 2)กับนางสาวศิธิพร ซึ่งเป็นเยาวชนแยกไปดําเนินคดีต่างหาก และนายอภิวิชญ์ พวกของจำเลยทั้งสองซึ่งยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันกระทําความผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ เมื่อระหว่างต้นเดือนมกราคม 2561 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกัน
จําเลยทั้งสองกับพวกสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทําความผิดฐานฟอกเงิน ด้วยการร่วมกันทําธุรกรรมการดําเนินการทางการเงินที่ จําเลยที่ 1 นางสาวศิธิพรและนายอภิวิชญ์ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐาน ตามที่นายอภิวิชญ์จะสั่งการ โดยตกลงให้จําเลยทั้งสองกับนางสาวศิธิพร เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารในชื่อของตนเพื่อนําไปใช้ในการทําธุรกรรมทางการเงินของจําเลยที่ 1 นางสาวศิธิพรและนายอภิวิชญ์ เมื่อกลุ่มผู้ซื้อยาเสพติดให้โทษจากจําเลยที่ 1 นางสาวศิธิพร และนายอภิวิชญ์ชําระเงินค่ายาเสพติดให้โทษแล้ว จําเลยที่ 1 นางสาวศิธิพรและนายอภิวิชญ์ จะโอนเงินค่ายาเสพติดให้โทษเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารชื่อของจําเลยที่ 1 หรือนางสาวศิธิพร จากนั้นจําเลยที่ 1 และนางสาวศิธิพรร่วมกันโอนเงินต่อไปยังบัญชีเงินฝากธนาคารของคนอื่น รวมถึงบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 2 ด้วย เพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
วันที่ 11 มกราคม 2561 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จําเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกระทําความผิดฐานฟอกเงิน ด้วยการโอนเงิน 100,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 1 ที่ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาคลอง 2 ธัญบุรี เลขที่บัญชี 441 --- ไปยังบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 2 ที่ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา เลขที่บัญชี 035 ----อันเป็นการโอนหรือรับโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทําความผิด เพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น และกระทําด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด
วันที่ 13 มกราคม 2561 เวลากลางวัน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 เวลากลางคืน ก่อนเที่ยงและเวลากลางวัน จําเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกระทําความผิดฐานฟอกเงิน โดยร่วมกัน โอนเงินในวันแรก 147,000 บาท และโอนเงินในวันหลัง 180,000 บาท และ 20,000 บาท ตามลําดับ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจากบัญชีเงินฝากของนางสาวศิธิพร ที่ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซีรังสิตคลอง 3 เลขที่บัญชี 031---- ไปยังบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 2 ที่ธนาคารกสิกรไทย จํากัด(มหาชน) สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา เลขที่บัญชี 035--- อันเป็น การโอนหรือรับโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด เพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มา ของทรัพย์สินนั้น และกระทําด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มา ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด ทั้งนี้ การกระทําความผิดของจําเลยทั้งสองกับพวก ดังกล่าว เป็นการสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทําความผิดฐานฟอกเงิน และมีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้สมคบกันดังกล่าวแล้ว เหตุทั้งหมดเกิดที่ ตําบลหรือแขวง และเขตหรืออําเภอใดไม่ปรากฏชัด จังหวัดปทุมธานีและกรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน
จําเลยที่ 1 เป็นบุคคลเดียวกันกับจําเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.5247/2561, อ.423/2562, อ.524/2562, อ.1582/2562, อ.1652/2562 ของศาลชั้นต้น และ คดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.5920/2561, อ.5922/2561, อ.5523/2561, อ.54924/2561, อ.5925/2561, อ.5926/2561, อ.593o/2561, อ.5932/2561, อ.5533/2561,
อ.5963/2561, อ.6114/2561, อ.6115/2561, อ.1559/2562 ของศาลชั้นต้น
จําเลยที่ 2 เป็นบุคคลเดียวกันกับจําเลยในคดีอาญาหมายเลขดําที่ 5428/2561 ของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3,5, 7, 9, และ 60 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91 นับโทษจําคุกของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อจากโทษในคดีดังกล่าว
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่จําเลยทั้งสองรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลย ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลฎีกาตรวจสํานวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกัน ในชั้นนี้รับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 เจ้าพนักงานตํารวจจับกุมจําเลยที่ 1 พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน ชนิดเม็ด 1,950 เม็ด ชนิดเกล็ดใส (ยาไอซ์) น้ําหนักสุทธิ 232.80 กรัม โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข 06- ของจําเลยที่ 1 สมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) เลขที่บัญชี 031 – ของนางสาวศิธิพรภริยาจําเลยที่ 1 และทรัพย์สินอื่นอีกหลายรายการเป็นของกลาง รายละเอียดปรากฏตามบันทึกการจับกุมเอกสารหมาย จ.4
จากการสอบสวนขยายผลเฉพาะคดีนี้พบว่า เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2561 มีการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาคลอง 2 ธัญบุรี เลขที่บัญชี 441--- ของจําเลยที่ 1 ไปยังบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา เลขที่บัญชี 035 --- ของจําเลยที่ 2 จํานวน 100,000 บาท เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2561 มีการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซีรังสิตคลอง 3 เลขที่บัญชี 031 ---- ของนางสาวศิธิพร ไปยังบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา เลขที่บัญชี 035 --- ของจําเลยที่ 2 จํานวน 147,000 บาท
และเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 มีการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซีรังสิตคลอง 3 เลขที่บัญชี 031--- ของ นางสาวศิธิพรไปยังบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาแฟชั่น ไอส์แลนด์ รามอินทรา เลขที่บัญชี 035 --- ของจําเลยที่ 2 อีก 2 ครั้ง ครั้งแรกเวลา 1.07 นาฬิกา จํานวน 180,000 บาท และครั้งที่สองเวลา 13.52 นาฬิกา จํานวน 20,000 บาท ตามรายการเดินบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เอกสารหมาย จ.6 ถึง จ.8 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติด ให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่ายกับฐานสมคบกันกระทําความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดและได้กระทําความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครอง เพื่อจําหน่ายตามที่ได้สมคบกัน เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.5247/2561
@ประเด็นที่ศาลฎีกาต้องพิจารณา โดยฟังความจากพยานฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย หลังจากฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้คดีจนถึงชั้นศาลฏีกา
จําเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มี ประจักษ์พยานรู้เห็นว่าจําเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมในการกระทําความผิด ทั้งไม่มีพยานหลักฐาน บ่งชี้ว่าจําเลยที่ 2 ประสงค์ให้ใช้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจําเลยที่ 2 เป็นที่ซุกซ่อนหรือ ปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินของจําเลยที่ 1 และนายอภิวิชญ์ ที่เกี่ยวกับยาเสพติด ให้โทษ ในข้อนี้โจทก์มีร้อยตํารวจเอกจํานงค์ แหวนวงษ์ เป็นพยานเบิกความว่า หลังจากจับกุม จําเลยที่ 1 พยานสืบสวนขยายผลเพื่อหาเครือข่ายผู้กระทําความผิด ได้ความจากจําเลยที่ 1 และนางสาวศิธิพร ภริยาจําเลยที่ 1 ประกอบกันว่า ประมาณต้นเดือนมกราคม 2561 นายอภิวิชญ์ติดต่อทางโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข 06-- มอบหมายให้ จําเลยที่ 1 ไปขับรถยนต์ที่บรรทุกเมทแอมเฟตามีน 4 ล้านเม็ด และยาไอซ์ 5 กิโลกรัม ที่จอดไว้ริมคลอง 3 อําเภอคลองหลวง ไปซุกซ่อนไว้ที่หมู่บ้านพฤกษาวิลล์ เลขที่ 46/2 หมู่ที่ 5 ตําบลคลองหลวง หลังจากนั้นจําเลยที่ 1 กับนางสาวศิธิพรร่วมกันลักลอบนํา เมทแอมเฟตามีนส่งให้แก่ลูกค้าตามคําสั่งของนายอภิวิชญ์ โดยใช้บัญชีธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สาขาคลอง 2 ธัญบุรี เลขที่ 441 ---- ของจําเลยที่ 1และสาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา เลขที่ 031 ของนางสาวศิธิพร ในการชําระเงินค่ายาเสพติด ทั้งนี้นายอภิวิชญ์จะติดต่อสั่งการผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์
พยานตรวจสอบข้อมูลในโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจําเลยที่ 1 พบหลักฐานการติดต่อเรื่องยาเสพติดระหว่างจําเลยที่ 1 กับนายอภิวิชญ์ และตรวจสอบ เส้นทางการเงินพบว่ามีการโอนเงินจากบัญชีของจําเลยที่ 1 และนางสาวศิธิพรดังกล่าวไปยัง
บัญชีของจําเลยที่ 2 จํานวน 4 ครั้ง ครั้งที่หนึ่ง วันที่ 11 มกราคม 2561 จํานวน 100,000 บาท ครั้งที่ 2 วันที่ 13 มกราคม 2561 จํานวน 147,000 บาท ครั้งที่สามและครั้งที่สี่ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 จํานวน 180,000 บาท และ 20,000 บาท ตามสําเนารายการเดินบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เอกสารหมาย จ.6 ถึง จ.8
ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า เงินในบัญชีของจําเลยที่ 1 และนางสาวศิธิพรเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด สําหรับเส้นทางการเงินของบัญชีทั้งสองที่เชื่อมโยงไปยังบัญชีธนาคารของจําเลยที่ 2 พันตํารวจโทศิริมงคล สุขะปารมี พยานโจทก์เบิกความสนับสนุนว่า จากตรวจสอบการข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายอภิวิชญ์และจําเลยทั้งสองผ่านโปรแกรมไอทูเพื่อหาหลักฐานการติดต่อทางโทรศัพท์ ระหว่างกันตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2561 พบว่า นายอภิวิชญ์ มีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนติดต่อกับหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจําเลยที่ 1 นับร้อยครั้ง และติดต่อกับจําเลยที่ 2 รวม 3 ครั้ง ตามเอกสารการติดต่อสื่อสารเครือข่าย หมาย จ.11 และจําเลยที่ 1 ให้การในชั้นสอบสวนตามบันทึกคําให้การเอกสารหมาย จ.15 ว่า ในการถอนเงินสดหรือโอนเงินจากบัญชีทั้งสองดังกล่าว จําเลยที่ 1 จะทําตามคําสั่งของ นายอภิวิชญ์ที่ให้ส่งเงินไปยังบัญชีปลายทาง ซึ่งเป็นบัญชีเครือข่ายยาเสพติดทั้งสิ้น
ข้อเท็จจริง จึงมีความเชื่อมโยงกันทําให้เห็นได้ว่า จําเลยที่ 2 เข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินที่ได้มาจากการกระทํา ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในลักษณะที่เป็นขบวนการ ซึ่งผู้กระทํามักจะมีการวางแผนปกปิด การกระทํา และเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของเงินเพื่อให้ยาก แก่การตรวจสอบ
@คำพิจารณาของศาลฎีกา
ศาลจึงต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แวดล้อมเกี่ยวกับการที่จําเลยที่ 2 ได้เงินดังกล่าวมาโดยล่วงรู้หรือไม่ว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในส่วนนี้จําเลยที่ 1 เบิกความว่า ในการโอนเงินนั้นบางส่วนเป็นการชําระเงินค่าสิ่งของ การโอนเงินให้แก่จําเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นการโอนเงินค่ายาเสพติด และจําเลยที่ 2 นําสืบต่อสู้ว่า จําเลยที่ 2 มีอาชีพเสริมในการซื้อขายพระเครื่องทางโปรแกรมเฟซบุ๊ก การโอนเงินของลูกค้า รวมทั้งที่รับโอนมาจากบัญชีของจําเลยที่ 1 และนางสาวศิธิพรนั้นเป็นบัญชีที่จําเลยที่ 2 เปิดไว้ สําหรับซื้อขายพระเครื่อง เมื่อช่วงเดือนมกราคม 2561 มีลูกค้าคนหนึ่งติดต่อว่าอยากได้ สร้อยข้อมือทองคําน้ําหนัก 5 บาท ของหลวงพ่อรวย 2 เส้น ให้จําเลยที่ 2 สั่งทําให้
ลูกค้าโอนเงินเข้ามารวม 437,000 บาท และในวันรับสร้อยข้อมือทองคําชําระเงินสด ค่าสั่งสินค้าเพิ่มเติมอีก 64,000 บาท เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่จําเลยที่ 1 อ้างเป็นเรื่องที่เพิ่ง ยกขึ้นในชั้นพิจารณาและขัดแย้งกับคําให้การในชั้นสอบสวนที่จําเลยที่ 1 ยืนยันว่า บัญชีที่ จําเลยที่ 1 โอนเงินไปยังปลายทางเป็นเครือข่ายยาเสพติดทั้งสิ้น จึงเป็นพิรุธ นอกจากนี้ ร้านค้าของจําเลยที่ 2 เป็นร้านค้าบนโปรแกรมเฟซบุ๊ก ไม่ปรากฏว่าจําเลยที่ 2 เปิดหน้าร้าน เป็นหลักแหล่งแน่นอน และไม่ปรากฏหลักฐานใดเลยว่าจําเลยที่ 2 เป็นช่างผู้ชํานาญงาน หรือมีฝีมือเป็นพิเศษในการรับทําสร้อยข้อมือทองคําฝังเพชรจนเป็นที่ประจักษ์ชัดแก่บุคคลทั่วไป
จําเลยที่ 2 เบิกความรับว่า จําเลยที่ 2 กับลูกค้าไม่เคยรู้จักกันมาก่อน จึงไม่สมเหตุผลที่ จําเลยที่ 2 จะไม่สอบถามชื่อลูกค้าหรือไม่ทําหลักฐานการว่าจ้างและการรับเงินระหว่างกัน ให้เป็นกิจจะลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งจําเลยที่ 1 และนางสาวศิธิพรกับจําเลยที่ 2 ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้ากันมาก่อน เป็นที่น่าสงสัยว่าจําเลยที่ 1 และ นางสาวศิธิพรทราบหมายเลขบัญชีของจําเลยที่ 2 ได้อย่างไร และเพราะสาเหตุใดจึงกล้าโอนเงิน จํานวนมากเข้ามาในบัญชีของจําเลยที่ 2 อันเป็นการผิดวิสัยอย่างยิ่งของวิญญชนที่ทําการค้าขาย โดยสุจริต ประกอบกับตามสําเนาใบเสร็จเอกสารหมาย ล.11 แผ่นที่ 2 และแผ่นที่ 3 ปรากฏว่า จําเลยที่ 2 มีค่าใช้จ่ายในการจัดทําสร้อยข้อมือทองคําน้ําหนัก 5 บาท 2 เส้น เป็นเงิน 291,000 บาท ค่าสั่งทําเลี่ยมทองฝังเพชรและเชื่อมต่อสายทอง เป็นเงิน 220,000 บาท รวมเป็นเงิน 551,100 บาท สูงกว่าจํานวนเงินที่จําเลยที่ 2 รับโอนมา นับเป็นข้อพิรุธเช่นกัน ข้ออ้างของจําเลยที่ 2 ที่ว่า เงินที่รับโอนเข้าบัญชีของจําเลยที่ 2 นั้น เป็นเงินที่ลูกค้าสั่งทําสร้อยข้อมือทองคําจึงเป็นเรื่องเลื่อนลอยไม่มีน้ําหนักให้น่าเชื่อถือ ประกอบ จําเลยที่ 2 นําสืบปฏิเสธโดยมิได้อธิบายเหตุผลโดยชัดแจ้งว่าเพราะเหตุใดจึงปรากฏหลักฐานที่ นายอภิวิชญ์ติดต่อทางโทรศัพท์มายังจําเลยที่ 2 ถึง 3 ครั้ง เพียงแต่อ้างว่าจําเลยที่ 2 ไม่เคยเป็นฝ่ายติดต่อทางโทรศัพท์ไปยังนายอภิวิชญ์ก่อนเท่านั้น นายอภิวิชญ์จะทราบเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวได้อย่างไร เมื่อพิจารณาถึงกระแสเงิน หมุนเวียนในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ตามเอกสารหมาย จ.6 ถึง จ.8 ของจําเลยที่ 1 ปรากฏว่า
นับแต่ช่วงวันที่ 28 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2561 มีประมาณเกือบ 5 ล้านบาท บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของนางสาวศิธิพร เพียงช่วงวันที่ 13 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2561 มีสูงถึง 26 ล้านบาท บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจําเลยที่ 2 เพียงช่วง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2561 มีสูงถึงเกือบ 4 ล้านบาท ขณะเกิดเหตุจําเลยที่ 1 ประกอบอาชีพรับจ้าง นางสาวศิธิพร อายุ 19 ปี ยังเป็นนักศึกษา ส่วนจําเลยที่ 2 ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นพนักงานบริษัท พักอาศัยอยู่กับญาติ ไม่น่าเชื่อว่า บุคคลทั้งสามจะมีกระแสเงินหมุนเวียนมากมายขนาดนั้นหากประกอบอาชีพโดยสุจริต
ข้อเท็จจริง บ่งชี้ว่า ที่จําเลยที่ 2 พยายามปิดบังอําพรางโดยอ้างข้อเท็จจริงต่าง ๆ นานานั้น จําเลยที่ 2 รู้เห็นกับนายอภิวิชญ์ในการที่นายอภิวิชญ์มีคําสั่งให้จําเลยที่ 1 และนางสาวศิธิพรโอนเงินเข้ามา ในบัญชีของตน
โดยจําเลยที่ 2 ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ ที่จําเลยที่ 2 ฎีกาว่า หากจําเลยที่ 2 วางแผนในการกระทําความผิดเป็นอย่างดี ก็ย่อมต้อง แบ่งเงินจากการจําหน่ายยาเสพติดให้โทษเป็นเงินสด ไม่มีความจําเป็นต้องโอนผ่านระบบธนาคาร นั้น เห็นว่า ขณะที่จําเลยที่ 1 กับนางสาวศิธิพรโอนเงินเข้าบัญชีของจําเลยที่ 2 นั้นไม่ปรากฏว่าบุคคลทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตํารวจติดตามตรวจสอบในขณะนั้น การโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารเป็นวิธีการชําระเงินทั่วไปที่กระทํากัน การที่ผู้กระทําความผิดโอนเงินเกี่ยวกับยาเสพติดระหว่างกันจึงเป็นเรื่องปกติหาทําให้มีข้อระแวงสงสัยในพยานหลักฐานของโจทก์ไม่
แม้คดีนี้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นในการกระทําความผิดของจําเลยที่ 2 แต่จาก พยานหลักฐานแวดล้อมของโจทก์ดังได้วินิจฉัยมารับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จําเลยที่ 2 สมคบกับจําเลยที่ 1 นางสาวศิธิพรและนายอภิวิชญ์ในการรับโอนเงินเข้าบัญชีของจําเลยที่ 2 เพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของเงินที่ได้มาจากการจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ และกระทํา ด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทําความผิดของจําเลยที่ 2 การกระทําของจําเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดดังโจทก์ฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจําเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
@คำพิพากษา
อนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กําหนดโทษจําคุกจําเลยทั้งสองกระทงละ 1 ปี รวมโทษ 4 กระทง เป็นจําคุก 4 ปี แล้วลดโทษให้จําเลยทั้งสองคนละหนึ่งในสาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจําคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน โดยมิได้ลดโทษจําคุก จําเลยทั้งสองเป็นรายกระทงก่อน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จําเลยทั้งสอง เพราะถ้าระยะเวลาที่คํานวณ นั้นกําหนดเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน ถ้ากําหนดเป็นปี ให้คํานวณตามปีปฏิทิน ในราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า เมื่อลดโทษจําคุกจําเลยทั้งสองเป็นรายกระทงแล้ว จึงให้รวมโทษ 4 กระทง เป็นจําคุกคนละ 32 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1.