ประเด็นเรื่องระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของรัสเซียที่มีความแตกต่างกันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคนั้นอาจจะส่งผลทำให้เกิดความแตกแยกในการที่อาเซียนจะแสดงท่าทีอย่างเพื่อเพิ่มความตึงเครียดกับวิกฤติยูเครนในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เคยเห็นมาแล้ว เมื่ออาเซียนมีความแตกแยกค่อนข้างมากในการแสดงความเห็นต่อวิกฤติของประเทศเมียนมา ดังจะเห็นได้ว่าท่าทีของประเทศต่างๆในอาเซียนต่อการบุกยูเครนนั้นมีตั้งแต่การประณามอย่างตรงไปตรงมา จนไปถึงการสรรเสริญอย่างตรงไปตรงมา
จากปัญหาสงครามระหว่างประเทศยูเครนและประเทศรัสเซียที่กำลัง คุกรุ่นอยู่ ณ เวลานี้นั้น คนไทยส่วนมากอาจมองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ไกลตัวจากประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากสำนักข่าวเอเชียนิกเกอิ ของประเทศญี่ปุ่น ว่าแท้จริงแล้วปัญหาเรื่องเหล่านี้นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง
โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
การรุกรานยูเครนของรัสเซียนั้นเป็นนเรื่องที่ไกลจากอาเซียนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้ก็ถือว่ายังไม่ปลอดภัยจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสู้รบ
ถ้าหากดูข้อมูลเพียงผิวเผินแล้วจะพบว่าประเทศรัสเซียและประเทศยูเครนมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับ 10 ประเทศอาเซียนน้อยมาก โดยรัสเซียมีตลาดสินค้าคิดเป็น 0.53 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการค้าทั้งหมดในช่วงปี 2563 และประเทศยูเครนเองก็มีตลาดอยู่แค่ 0.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ขณะที่มูลค่าการลงทุนของรัสเซียในภูมิภาคนี้อยู่ที่ 0.046 เปอร์เซ็นต์ และยูเครนอยู่ที่ 0.003 เปอร์เซ็นต์
แต่ถ้าหากลงลึกในรายละเอียดจะพบว่ามีความผูกพันบางประการแน่นแฟ้นกว่าที่เห็นอย่างอย่างยิ่ง
ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ปุ๋ย มีรายงานว่าอาเซียนต้องนำเข้าปุ๋ยคิดเป็น 9.74 เปอร์เซ็นต์จากประเทศรัสเซีย ซึ่งรัสเซียถือว่าเป็นแหล่งออกปุ๋ยอันดับสามรองจากประเทศจีนและแคนาดา ในขณะที่ภาคส่วนเกษตรกรรมนั้นยังคงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจในหลายประเทศในอาเซียนนี้ ดังนั้นถ้าหากเกิดปัญหาใดๆขึ้นมาเกี่ยวกับทรัพยากรปุ๋ย ก็ส่งผลต่อกระบวนการผลิตได้
ขณะที่ประเทศเวียดนามกับประเทศรัสเซียเองก็มีการความโดดเด่นในเรื่องของการค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเวียดนามนั้นมีการส่งออกเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า และสมาร์ทโฟนมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (48,840,000,000 บาท) ไปยังประเทศรัสเซียในปี 2563 ซึ่งมูลค่าการค้าดังกล่าวนี้อาจจะหายไปถ้าหากมีกติกาลงโทษออกมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับกรณีบริษัทหัวเว่ย ซึ่งทางสหรัฐฯได้ห้ามการส่งออกผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีของสหรัฐฯ
สำหรับตลาดการนำเข้าในอาเซียน มีรายงานว่ายูเครนได้มีการจัดหาสินค้าจำนวนธัญพืช,ข้าวโอ๊ต และซีเรียลอื่นๆคิดเป็นอัตราส่วน 9.21 เปอร์เซ็นต์ให้กับภูมิภาคนี้ในช่วงปี 2563 ขณะที่รัสเซียได้จัดหาสินค้าเหล่านี้ให้คิดเป็นจำนวน 3.99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าหากนำเอาตัวเลยของ 2 ประเทศนี้ที่กำลังทำสงครามมารวมๆกัน จะพบว่าทั้ง 2 ประเทศนั้นเป็นแห่งส่งออกธัญพืชให้กับอาเซียนสูงที่สุดเป็นอันดับสาม ในขณะที่มีรายงานว่าอาเซียนได้มีการเพิ่มการบริโภคผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีมากขึ้น
มูลค่าการค้าในประเทศอาเซียนกับประเทศรัสเซียและประเทศยูเครนในปี 2563
ดังนั้นจึงหมายความว่าการหยุดชะงักใดๆในการจัดหาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวทั้งจากทางรัสเซียและยูเครนอาจนำไปสู่แรงกดดันด้านเงินเฟ้นทั่วโลกได้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนก็ได้กล่าวว่าอาเซียนนั้นได้เจอกับอัตราภาวะเงินเฟ้อที่สูงโดยเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว
“การส่งออกส่วนสินค้าเกษตรส่วนมากแล้วมาจากท่าเรือในทะเลดำที่เป็นหัวใจของความขัดแย้งทางการทหาร และนอกเหนือจากประเด็นเรื่องท่าเรือ ก็ยังมีความเสี่ยงที่ว่าประเทศยูเครนอาจจะได้รับความเสียหายทางด้านพืชผลทางการเกษตรหรือต้องสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกอันเนื่องมาจากเหตุสู้รบ ดังนั้นด้วยความเสี่ยงที่ว่านี้เราจึงได้คาดการณ์กันว่าในระยะอันใกล้นี้ ราคาสินค้าการเกษตรจะปรับตัวขึ้นไป 25 เปอร์เซ็นต์” บริษัทวิเคราะห์ Capital Economics ระบุ
นอกจากนี้ก็มีรายงานว่าต้นเหตุของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อนั้นอาจจะมาจากทางด้านตลาดพลังงานทั่วโลกด้วยเช่นกัน โดยราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ผ่านมาอยู่ในทิศทางขอขึ้นอยู่แล้ว ก่อนที่ปฏิบัติการณ์ทางการทหารของรัสเซียจะเริ่มต้นขึ้น ด้วยความกลัวที่ว่าปัญหาความขัดแย้งนั้นอาจทำให้กระบวนการของสินค้าเกิดความชะงัก
“ด้วยราคาของน้ำมันทั่วโลกที่ยังคงขึ้นอยู่ อาจเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการปรับตัวต่อราคาน้ำมันและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ” นางปริยังกา คิชอร์ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ Oxford Economics กล่าว และยังได้กล่าวต่อด้วยว่าผลของราคาน้ำมันที่เพิ่งขึ้นนั้นจะมีความแตกต่างกันไปทั่วอาเซียน แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในครัวเรือนและการเติบโตด้วยเช่นกัน
ส่วนในแง่การเมือง ขณะที่อาเซียนได้พยายามยึดมั่นในหลักการว่าตัวเองเป็นกลางและพยายามจะวางตำแหน่งของตัวเองเพื่อทิ้งระยะห่างจากความขัดแย้งของมหาอำนาจ แต่ดูเหมือนว่าประเทศรัสเซียจะไม่ได้หลีกเลี่ยงจากการสร้างความสัมพันธ์กับทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคแต่อย่างใดในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดก็คือในวันแรกๆของการระบาดของไวรัสโควิด-19 กรุงมอสโกได้ดำเนินการในสิ่งที่เรียกว่าการทูตวัคซีน ด้วยการนำเสนอวัคซีนสปุตนิกวีของประเทศตัวเองไปยังประเทศเวียดนามและฟิลิปปินส์ ต่อในในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ก็มีรายงานว่ารัสเซียและอาเซียนได้มีการฝึกร่วมทางด้านกองทัพเรือเป็นครั้งแรก โดยมีเรือรบจาก 7 ประเทศอาเซียนเข้าร่วมการฝึกซ้อมนี้ด้วย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ ถือว่าเป็นสินค้าที่โดดเด่นที่สุดที่รัสเซียได้จัดหาให้กับอาเซียน ซึ่งกรุงมอสโกนั้นเป็นผู้จัดหาอาวุธรายใหญ่ให้กับอาเซียนระหว่างปี 2542 และ 2561 คิดเป็นสัดส่วนอาวุธประมาณ 26 เปอร์เซ็นต์ ของทั้งหมด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้มาจากรายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์มในช่วงปี 2562
อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงด้านอาวุธของรัสเซียก็เพิ่งจะพบกับอุปสรรค เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรที่มีมาก่อนหน้านี้ซึ่งมีผลต่อประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับอาวุธจากมอสโก ยกตัวอย่างเช่นในช่วงเดือน ธ.ค. ประเทศอินโดนีเซียเองก็มีการยกเลิกข้อตกลงการจัดหาเครื่องบินรบซู 35 และก็ได้เซ็นข้อตกลงจัดหาเครื่องบินรบรุ่นราฟาลจากฝรั่งเศสแทนในช่วงเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับทางสํานักงานความร่วมมือด้านความมั่นคงด้านกลาโหมสหรัฐฯ เองก็เพิ่งจะมีการอนุมัติให้ประเทศสามารถซื้อเครื่องบินรบเอฟ 15 ได้
ประเทศอินโดนีเซียยกเลิกข้อตกลงจัดหาเครื่องบินรบซู 35 จากรัสเซียและหันไปจัดหาเครื่องบินรบรุ่นราฟาลจากฝรั่งเศสแทน (อ้างอิงวิดีโอจาก CRUX)
ข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าประเด็นเรื่องระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของรัสเซียที่มีความแตกต่างกันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคนั้นอาจจะส่งผลทำให้เกิดความแตกแยกในการที่อาเซียนจะแสดงท่าทีอย่างเพื่อเพิ่มความตึงเครียดกับวิกฤติยูเครนในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เคยเห็นมาแล้ว เมื่ออาเซียนมีความแตกแยกค่อนข้างมากในการแสดงความเห็นต่อวิกฤติของประเทศเมียนมา ดังจะเห็นได้ว่าท่าทีของประเทศต่างๆในอาเซียนต่อการบุกยูเครนนั้นมีตั้งแต่การประณามอย่างตรงไปตรงมา จนไปถึงการสรรเสริญอย่างตรงไปตรงมา
นายวิเวียน บาลาคริชนานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์ แสดงจุดยืนให้มีการลงโทษประเทศรัสเซีย (อ้างอิงวิดีโอจาก CNA)
โดยประเทศสิงคโปร์นั้นเป็นประเทศแรกที่ออกแถลงการณ์ประณามรัสเซียเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งวันดังกล่าวนั้นเป็นวันเดียวกันกับที่นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้อนุมัติคำสั่งปฏิบัติการณ์ทหารในประเทศยูเครน ซึ่งโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ออกมากล่าวว่ากระทรวงมีความกังวลเกี่ยวกับคำประกาศของรัสเซียเกี่ยวกับการเริ่มต้นปฏิบัติการณ์พิเศษทางทหาร และระบุต่อไปด้วยว่าสิงคโปร์ขอประณามการกระทำใดที่เป็นการรุกรานต่อประเทศอธิปไตยไม่ว่าจะเป็นข้ออ้างใดๆก็ตาม
ส่วนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซียได้กล่าวไปในทิศทางเดียวกัน ในวันที่ 24 ก.พ.ว่า อินโดนีเซียมีความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางอาวุธที่เพิ่มมากขึ้น และขอประณามต่อการกระทำใดที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการละเมิดดินแดนและอำนาอธิปไตยของประเทศ
ขณะเดียวกัน ทางนายคาร์โล โนกราเลส รักษาการโฆษกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ก็ได้ออกแถลงการณ์ที่เรียบง่ายในวันที่ 24 ก.พ. ว่า “ความปลอดภัยของชาวฟิลิปปินส์ในประเทศยูเครนยังคงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆของประธานาธิบดีโรดริโก โรอา ดูเตอร์เต รัฐบาลฟิลิปปินส์ โดยกระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการในการนำตัวชาวฟิลิปปินส์ที่อยู่ในประเทศยูเครนกลับประเทศ” อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้นายดูเตอร์เต้เคยเรียกนายปูตินว่าเป็น “วีรบุรุษคนโปรด” ของเขา
สำหรับประเทศมาเลเซียนั้นก็มีถ้อยแถลงที่มีลักษณะคล้ายกับทางประเทศฟิลิปปินส์ โดยนายอิสมาอิล ซาบรี ยาคอบ นายกรัฐมนตรีฟิลิปปินส์ได้กล่าวว่ารัฐบาลมีความรู้สึกเศร้าโศกที่เกิดสถานการณ์ในยูเครนขึ้น รัฐบาลนั้นให้ความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยของชาวมาเลเซียในยูเครน และมาเลเซียหวังว่าจะมีกรดำเนินการยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธีระหว่างรัสเซียและมาเลเซียโดยเร็วที่สุด
ส่วนฝั่งที่อยู่ตรงข้ามกันอย่างสุดขั้วกับประเทศสิงคโปร์อย่างประเทศเมียนมานั้น พล.ท.ซอว์ มิน ตุน โฆษกของกองทัพเมียนมาได้ออกมากล่าวว่าประเทศรัสเซียกำลังเคลื่อนไหวเพื่ออํานาจอธิปไตยที่ดียิ่งขึ้น และรัสเซียได้แสดงให้โลกเห็นแล้วว่าพวกเขาเป็นประเทศทรงอำนาจในด้านการสร้างสมดุลของสันติภาพ
ขณะที่ พล.อ.อ.เคนเน็ธ วิลส์บาค ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯ ประจําภาคพื้นแปซิฟิกก็ได้กล่าวในระหว่างงานแอร์โชว์ในประเทศสิงคโปร์เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาเช่นกันว่า มีความกังวลว่าประเทศจีนนั้นอาจจะฉวยโอกาสทำกิจกรรมบางอย่างในทะเลจีนใต้ก็เป็นได้ ในช่วงเวลาที่ทั้งโลกนั้นกำลังให้ความสนใจกับประเทศยูเครน ซึ่งความเป็นไปได้ที่ว่านี้ก็อาจจะเป็นความพยายามยั่วยุ เพื่อจะดูว่าปฏิกิริยาของประชาคมโลกนั้นจะเป็นอย่างไร
เรียบเรียงจาก:https://asia.nikkei.com/Politics/Ukraine-conflict/ASEAN-faces-fallout-from-Russian-invasion-of-Ukraine