"... พฤติการณ์ในการกระทำความผิด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขาย วัสดุก่อสร้าง ด้วยวิธีพิเศษด้วยวงเงินงบประมาณ 7,342,095 บาท ตามสัญญาเลขที่ 04/2554 กับ ร้าน ส.สุวรรณวัสดุก่อสร้าง โดยมีชื่อผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 เป็นเจ้าของร้าน ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 26 หมู่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าร้านดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ไม่ได้เป็นเจ้าของร้านจริงแต่อย่างใด..."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) : เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภาค 9 (ป.ป.ช.ภาค 9) ได้เผยแพร่ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ 2564 และปีงบประมาณ 2565 ไตรมาสที่ 1 ครั้งที่ 2
โดย นายประดิษฐ์ จาริยะ เมื่อครั้งเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จำนวน 4 เรื่อง คือ
1. กรณีทำสัญญายืมเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในทางราชการ งบประมาณ 160,000 บาท โดยไม่มีโครงการอยู่จริง และไม่นำเงินคืน ส่งคลัง เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากและราชการได้รับความเสียหาย
2. กรณีเป็นเจ้าพนักงานมีส่วนได้เสียในการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล เกาะหมาก โดยวิธีพิเศษ งบประมาณ 7,342,095 บาท และยักยอกโทรศัพท์ของทางราชการ เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากและราชการได้รับความเสียหาย
3.กรณีเป็นเจ้าพนักงานมีส่วนได้เสียในการจัดซื้อยางมะตอยสำเร็จรูป ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จำนวน 500 ถุง เป็นเงิน 90,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2554 เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากและราชการได้รับความเสียหาย
4. กรณีการจัดซื้อวัสดุป้องกันกำจัดยุงลาย วัสดุเพื่อใช้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก วัสดุเพื่อใช้ในการป้องกัน การระบาดโรคไข้เลือดออก และวัสดุเพื่อใช้ในการป้องกันโรคในสัตว์เลี้ยง รวม 4 โครงการ จำนวน 360,000 บาท อันมีลักษณะเป็นการแบ่งซื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และเรียกรับเงิน จากผู้รับจ้าง จำนวน 175,000 บาท เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้รับจ้างได้เข้าทำสัญญากับองค์การบริหารส่วน ตำบลเกาะหมาก ในการจัดซื้อวัสดุดังกล่าวข้างต้น เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ราชการ และผู้รับจ้างได้รับความเสียหาย
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
@ เรื่องที่ 1
ผู้ถูกกล่าวหา นายประดิษฐ์ จาริยะ เมื่อครั้งเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีทำสัญญายืมเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในทางราชการ งบประมาณ 160,000 บาท โดยไม่มีโครงการอยู่จริง และไม่นำเงินคืน ส่งคลัง เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากและราชการได้รับความเสียหาย
พฤติการณ์ในการกระทำความผิด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2553 ผู้ถูกกล่าวหา ได้ทำสัญญายืมเงินจากองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก โดยอ้างว่าจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามโครงการลงนาม ถวายพระพรฯ ที่โรงพยาบาลศิริราช และศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 18 มีนาคม 2553 แต่ปรากฏว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อครบกำหนดการคืนเงิน ผู้ถูกกล่าวหาก็มิได้ชดใช้เงินยืมตามระเบียบฯ ต่อมาได้มีหนังสือทวงถามให้ผู้ถูกกล่าวหานำเงินคืนราชการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2554 และต่อมาในวันที่ 24 ธันวาคม 2544 สำนักการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 14 ได้ทำหนังสือแจ้งการตรวจสอบการเงินทั่วไปปีงบประมาณ 2553 ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ว่าให้ส่งใช้เงินยืมดังกล่าว
โดยนายประดิษฐ์ฯ ส่งใช้เงินยืม จำนวน 160,000 บาท ดังกล่าวในวันที่ 12 มิถุนายน 2555 ซึ่งล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 2 ปี
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณารายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว มีมติว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 151 และมาตรา 157 และมีมูลความผิด ฐานกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติการไม่ชอบดวยอำนาจหนาที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
ปัจจุบันได้มีหนังสือถึงอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 91 (1) (อยู่ในระหว่าง การพิจารณาของอัยการสูงสุด) และหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ ตามมาตรา 98 วรรคสี่ (ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงได้มีคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งแล้ว)
เรื่องที่ 2
ผู้ถูกกล่าวหา นายประดิษฐ์ จาริยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
นายประดิษฐ์ จาริยะ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ถูกกล่าวหาร่วมกับนางวรรณเพ็ญ จาริยะ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และนายอารี พรรณราย ผู้ถูกกล่าวหา ที่ 3 ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิด ที่เกี่ยวข้อง กรณีเป็นเจ้าพนักงานมีส่วนได้เสียในการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล เกาะหมาก โดยวิธีพิเศษ งบประมาณ 7,342,095 บาท และยักยอกโทรศัพท์ของทางราชการ เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากและราชการได้รับความเสียหาย
พฤติการณ์ในการกระทำความผิด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขาย วัสดุก่อสร้าง ด้วยวิธีพิเศษด้วยวงเงินงบประมาณ 7,342,095 บาท ตามสัญญาเลขที่ 04/2554 กับ ร้าน ส.สุวรรณวัสดุก่อสร้าง โดยมีชื่อผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 เป็นเจ้าของร้าน ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 26 หมู่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าร้านดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ไม่ได้เป็นเจ้าของร้านจริงแต่อย่างใด
สำนักงานของร้านตามที่แจ้งไว้ดังกล่าวก็ไม่มีการดำเนินกิจการ เนื่องจากร้านดังกล่าวเป็นร้านของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่โกดังไม่มีเลขที่ ถนนสายท่าวา - ช่องฟืน หมู่ 2 ตำบลเกาะหมาก ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับบ้านเลขที่ 67/4 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอ ปากพะยูน ซึ่งเป็นบ้านที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และ 2 พักอาศัยอยู่ด้วยกัน โดยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 และวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เป็นผู้อนุมัติการจ่ายเงินค่าวัสดุก่อสร้าง ให้กับร้าน ส.สุวรรณวัสดุก่อสร้าง จำนวน 2 งวด โดยผู้ถูกกล่าวหา ที่ 3 ได้รับเงินงวดแรก จำนวน 3,960,000 บาท (หักภาษี ณ ที่จ่าย) และงวดที่สอง จำนวน 3,342,095 บาท (หักภาษี ณ ที่จ่าย) จากองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณารายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว มีมติว่า การกระทำของนายประดิษฐ์ จาริยะ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157 และฐานกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพ ของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
การกระทำของนางวรรณเพ็ญ จาริยะ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และนายอารี พรรณราย ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86
ปัจจุบันได้มีหนังสือถึงอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 91 (1) (อัยการสูงสุด ได้ มีคำสั่งรับดำเนินคดีอาญาฟ้องท่านต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9) และหนังสือถึงผู้ว่าราชการ จังหวัดพัทลุงเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ ตามมาตรา 98 วรรคสี่ (ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงได้มี คำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งแล้ว)
เรื่องที่ 3
ผู้ถูกกล่าวหา นายประดิษฐ์ จาริยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
นายประดิษฐ์ จาริยะ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ถูกกล่าวหาร่วมกับนางวรรณเพ็ญ จาริยะ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และนางอนงรัตน์ หลับสะ (นกแดง) ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดที่เกี่ยวข้อง กรณีเป็นเจ้าพนักงานมีส่วนได้เสียในการจัดซื้อยางมะตอยสำเร็จรูป ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จำนวน 500 ถุง เป็นเงิน 90,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2554 เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากและราชการได้รับความเสียหาย
พฤติการณ์ในการกระทำความผิด เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2554 ผู้กล่าวหาที่ 1 ได้ทำบันทึกตกลงซื้อขาย วัสดุก่อสร้าง (ยางมะตอยสำเร็จรูป) โดยวิธีตกลงราคา จำนวน 500 ถุง ราคา 90,000 บาท กับร้าน อนงรัตน์วัสดุก่อสร้าง โดยมีชื่อผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 เป็นเจ้าของร้าน ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 42/1 หมู่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าร้านดังกล่าวผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ไม่ได้ เป็นเจ้าของร้านจริงแต่อย่างใด สำนักงานของร้านตามที่แจ้งไว้ดังกล่าวก็ไม่มีการดำเนินกิจการเนื่องจากร้าน ดังกล่าวเป็นร้านของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่โกดังไม่มีเลขที่ถนนสายท่าวา-ช่องฟืน หมู่ 2 ตำบล เกาะหมาก ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับบ้านเลขที่ 67/4 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน ซึ่งเป็นบ้าน ที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และ 2 พักอาศัยอยู่ด้วยกัน โดยเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ในฐานะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก เป็นผู้อนุมัติการจ่ายเงินค่าวัสดุก่อสร้าง ให้กับร้านอนงรัตน์วัสดุ ก่อสร้าง โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ได้รับเป็นจำนวนเงิน 89,000 บาท (หักภาษี ณ ที่จ่าย) จากองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณารายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว มีมติว่า การกระทำของนายประดิษฐ์ จาริยะ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 100 ประกอบ มาตรา 103/1 และมาตรา 122 และมาตรา 123/1 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192 และมีมูลความผิด ฐานกระทำการฝ่าฝืน ต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไข เพิ่มเติม มาตรา 92
การกระทำของนางวรรณเพ็ญ จาริยะ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 มาตรา 152 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 100 ประกอบมาตรา 103/1 และมาตรา 122 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 และมาตรา 123/1 ประกอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86
การกระทำของนางอนงรัตน์ หลับสะ (นกแดง) ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 มาตรา 152 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 100 ประกอบมาตรา 103/1 และมาตรา 122 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 และมาตรา 123/1 ประกอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86
ปัจจุบันได้มีหนังสือถึงอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 91 (1) (อัยการสูงสุดได้มี คำสั่งรับดำเนินคดีอาญาฟ้องท่านต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9)และหนังสือถึงผู้ว่าราชการ จังหวัดพัทลุงเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ ตามมาตรา 98 วรรคสี่ (ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงได้มี คำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งแล้ว)
เรื่องที่ 4
ผู้ถูกกล่าวหา นายประดิษฐ์ จาริยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดที่เกี่ยวข้อง กรณีการจัดซื้อวัสดุป้องกันกำจัดยุงลาย วัสดุเพื่อใช้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก วัสดุเพื่อใช้ในการป้องกัน การระบาดโรคไข้เลือดออก และวัสดุเพื่อใช้ในการป้องกันโรคในสัตว์เลี้ยง รวม 4 โครงการ จำนวน 360,000 บาท อันมีลักษณะเป็นการแบ่งซื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และเรียกรับเงิน จากผู้รับจ้าง จำนวน 175,000 บาท เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้รับจ้างได้เข้าทำสัญญากับองค์การบริหารส่วน ตำบลเกาะหมาก ในการจัดซื้อวัสดุดังกล่าวข้างต้น เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ราชการ และผู้รับจ้างได้รับความเสียหาย
พฤติการณ์ในการกระทำความผิด เมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2551 องค์การบริหารส่วนตำบล เกาะหมาก ได้สั่งซื้อวัสดุป้องกันกำจัดยุงลาย วัสดุเพื่อใช้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก วัสดุเพื่อใช้ในการ ป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออก และวัสดุเพื่อใช้ในการป้องกันโรคในสัตว์เลี้ยง รวม 4 โครงการ จากผู้รับ จ้าง โดยวิธีตกลงราคา โดยมีการสั่งการให้ผู้รับจ้าง นำรายชื่อบุคคลอื่นหรือร้านอื่น ๆ มาใช้ในการดำเนินการ เบิกจ่ายเงิน ในโครงการดังกล่าว อันเข้าลักษณะการแบ่งซื้อแบ่งจ้างแบ่งซื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม และประดิษฐ์ จาริยะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ได้เรียกรับเงินจากผู้รับจ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้รับจ้าง ได้เข้าทำสัญญากับองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ในโครงการดังกล่าว ข้างต้น จำนวน 175,000 บาท
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณารายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว มีมติว่า การกระทำของนายประดิษฐ์ จาริยะ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 มาตรา 151 และมาตรา 157 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 และมีมูลความผิด ฐานกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ ชอบด้วยอำ นาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92 ปัจจุบันได้มีหนังสือถึงอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 91 (1) (อยู่ในระหว่าง การพิจารณาของอัยการสูงสุด) และหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำ นาจ ตามมาตรา 98 วรรคสี่ (ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงได้มีคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งแล้ว)
ทั้งนี้ นอกจากคดีของ นายประดิษฐ์ จาริยะ แล้ว ยังมีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และเจ้าหน้าที่รัฐ หลายจังหวัด ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดในคดีกล่าวหาทุจริต ดังนี้
@ สงขลา
นายประจวบ ทองกลิ่น เมื่อครั้งดำรงนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ข้อกล่าวหา นำรถยนต์ส่วนกลางไปใช้ส่วนตัวและไม่นำกลับไปจอดเก็บรักษาที่องค์การบริหารส่วนตำบล คลองทราย
พฤติการณ์ในการกระทำความผิดโดยสรุป
เมื่อระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 จนถึงวันที่ 18 มกราคม 2562 ผู้ถูกกล่าวหาได้นำ รถยนต์ส่วนกลางขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองทรายคันหมายเลขทะเบียน ขน 3210 สงขลา ไปใช้งาน ส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว พร้อมทั้งเก็บกุญแจรถไว้กับตัวเอง โดยไม่มีการจัดทำบันทึกข้อมูลการใช้รถและไม่นำรถ กลับมาจอดเก็บรักษาที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย โดยไม่ปรากฏว่ามีการจัดทำรายงานขออนุญาต พร้อมแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องนำรถไปจอดยังสถานที่อื่น และตลอดช่วงเวลาดังกล่าวกองช่าง และกองคลังได้มีบันทึกข้อความติดตามรถจากผู้ถูกกล่าวหามาโดยตลอด แต่ผู้ถูกกล่าวหาเพิกเฉยไม่ได้ ดำเนินการตามที่ได้มีการทวงถามและไม่ได้นำรถกลับมาจอดเก็บรักษาที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย และไม่ได้แจ้งว่านำรถไปจอดไว้ที่ใดและระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหานำรถไปใช้งานโดยไม่นำกลับไปจอดเก็บรักษาที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย นั้น รถยนต์ส่วนกลางคันดังกล่าวได้เกิดความเสียหาย กล่าวคือมีร่องรอยบุบและขีดข่วนรอบคัน ล้อพร้อมยางเสียหายจนใช้การไม่ได้ จำนวน 1 ชุด โดยที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ รายงานว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และรถมีระยะทางการใช้งานไปแล้วถึง 42,301 กิโลเมตร ทั้งที่ในช่วงเวลา ดังกล่าวผู้ถูกกล่าวหาเดินทางไปทำงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทรายด้วยรถยนต์ส่วนตัว และใช้ รถยนต์ส่วนกลางอีกคันขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย คือ รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ขน 3209 สงขลา เดินทางไปปฏิบัติราชการ โดยไม่เคยนำรถยนต์ส่วนกลางคันหมายเลขทะเบียน ขน 3210 สงขลา เข้าไปที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้รถยนต์ส่วนกลางคัน หมายเลขทะเบียน ขน 3210 สงขลา เกิดความเสียหาย และองค์การบริหารส่วนตำบลคลองทรายได้รับ ความเสียหาย ขาดโอกาสในใช้งานรถยนต์ส่วนกลางคันดังกล่าวเพื่อประโยชน์หรือกิจการอันเป็นส่วนรวม ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองทรายหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการได้อย่างเต็มที่
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 72/2564 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 พิจารณาแล้ว มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกระทำของนายประจวบ ทองกลิ่น ผู้ถูกกล่าวหา มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็น เจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้น และฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 123/1 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 และมีมูลความผิด ฐานกระท าการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือ สวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 92
การดำเนินการ
1. ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีอาญาต่อศาล
2. ส่งเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาดำเนินการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ต่อมาผู้ว่าราชการ จังหวัดสงขลา ได้มีคำสั่งที่ 5490/2564 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ให้ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่ง
@ ปัตตานี
นายนิมะ เจะอาแว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์ จังหวัด ปัตตานี
ผู้ถูกกล่าวหา นายนิมะ เจะอาแว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์ จังหวัด ปัตตานี ในฐานะกรรมการตรวจการจ้าง กับพวกรวม 1 คน
ข้อกล่าวหาโดยสรุป ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีอนุมัติขยายเวลาก่อสร้างอาคารศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก หมู่ที่ 1 บ้านกำปงบูดี ตำบลแเหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์ สัญญาจ้างเลขที่ 1/2559 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2558 ให้แก่ผู้รับจ้างออกไปจำนวน 180 วัน
@ ตรัง
-นายปกครอง สุวรรณโชติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ผู้ถูกกล่าวหา นายปกครอง สุวรรณโชติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และนายสมวงค์ ทองชู
พฤติการณ์ในการกระทำความผิดโดยสรุป
กรณีเข้ามีส่วนได้เสียในโครงการวางท่อขยายเขตประปาส่วน ภูมิภาคภายในตำบล หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3
มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจ ในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 123/1 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192
-นายอำนวย พรหมคล้าย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ผู้ถูกกล่าวหา นายอำนวย พรหมคล้าย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง และ นางสาวจิราพรรณ์ แสนพันตรี
พฤติการณ์ในการกระทำความผิดโดยสรุป หักเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (โบนัส) ประจำปี งบประมาณ 2555 และปี 2556 ของพนักงานส่วนตำบลลูกจ้างประจำและพนักงานจ้างขององค์การ บริหารส่วนตำบลละมอ เพื่อประโยชน์สำหรับตนเอง
1.นายอำนวย พรหมคล้าย
- มูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 มาตรา 149 และมาตรา 157 2.นางสาวจิราพรรณ์ แสนพันตรี
- มีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ ระมัดระวังรักษา ประโยชน์ของทางราชการ
@ ยะลา
นายมะอูโซะ สาลัง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ผู้ถูกกล่าวหา นายมะอูโซะ สาลัง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา กับพวก รวม 3 คน
พฤติการณ์ในการกระทำความผิดโดยสรุป กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีบุกเบิกถนนเข้าเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเบตงพื้นที่บ้านซาโห่ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยไม่ได้รับอนุญาต
@ พัทลุง
นายสุมล จริยานุกูล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด พัทลุง
ผู้ถูกกล่าวหา นายสุมล จริยานุกูล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด พัทลุง สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กับพวกรวม 5 คน
ข้อกล่าวหา ร่วมกันเรียกรับเงินจากลูกจ้าง ตำแหน่งพี่เลี้ยงเด็กพิการ คนครัว คนงาน นักการภารโรง ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง เพื่อจ้างเป็นลูกจ้างศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง ในปีงบประมาณ พ.ศ 2557 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
พฤติการณ์ในการกระทำความผิดโดยสรุป
1. นายสุมลฯ ได้เรียกรับเงินจากนางสาวพิกุลแก้ว เกื้อเม่ง จำนวน 10,000 บาท เพื่อจ้างนางสาวพิกุลแก้ว เกื้อเม่ง เข้าทำงานเป็นลูกจ้างศูนย์การศึกษาพิเศษประจำ จังหวัดพัทลุง ตำแหน่งคนงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
2. นายสุมลฯ ได้เรียกรับเงินจากนางศศินี ภู่ประดิษฐศิลป์ จำนวน 30,000 บาท เพื่อจ้างนางศศินี ภู่ประดิษฐศิลป์ เข้าทำงานเป็นลูกจ้างศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง ตำแหน่งพี่เลี้ยงเด็กพิการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
3. นายสุมลฯ ได้ร่วมกับ นางยุพา หมื่นหนู นางสาวดวงใจ จริยานุกูล นางสาวชลธิชา รักษ์แก้ว และนายอมร วังช่วย เรียกรับเงินจากลูกจ้างชั่วคราวของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง เพื่อจ้างเป็นลูกจ้าง ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
รายนางสายบัว ชูภักดี นางสาววราภรณ์ เอียดดำ นางปรีดา สยามพันธ์ นางสาวนิตทิสา ขำจีด นางสาวจิตรา จันทร์สังข์ นายสิทธิชัย ศรีขาว นางสาวปริชาติ บอเนียว นางสาวสิริลักษณ์ สาดคง นางสาวสร้อยประดับ ขำหวาน คนละ 30,000 บาท นางสาวพิกุลแก้ว เกื้อเม่ง จำนวน 20,000 บาท และนางเพ็ญพรรณ์ เรืองเล็ก จำนวน 10,000 บาท
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าการกระทำของนายสุมล ฯ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 157 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 123/1 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 และมาตรา 91 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 84 วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา 94 การกระทำของนางยุพา หมื่นหนู นางสาวดวงใจ จริยานุกูล นางสาวชลธิชา รักษ์แก้ว และนายอมร วังช่วย มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 123/1 ประกอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 192 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 มาตรา 90 และมาตรา 91 และนางยุพา หมื่นหนูมีมีมูล ความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 94
@ สตูล
นายอดิศักดิ์ หลังจิ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ผู้ถูกกล่าวหา นายอดิศักดิ์ หลังจิ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ข้อกล่าวหา (1) เบิกจ่ายเงินงบประมาณของเทศบาลฯ เพื่อจัดทำโครงการจัดงานวันเมาลิดเป็นเท็จ (2) เบิกจ่ายเงินงบประมาณของเทศบาลฯ เพื่อจัดทำโครงการมหกรรมสัตว์เลี้ยงฯ สูงกว่าความเป็นจริง และนอกเขตเทศบาล
ผลการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
ได้พิพากษายืนศาลชั้นต้น จำคุก 2 ปี 12 เดือน และให้คืนเงินจำนวน 2 ล้านบาท ไม่รอลงอาญา
@ นราธิวาส
นางสาวอารีย์ การธิโร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งแรงงานจังหวัดนราธิวาส
ผู้ถูกกล่าวหา นางสาวอารีย์ การธิโร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งแรงงานจังหวัดนราธิวาส และนายชัยยุทธ เต็มหิรัญ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนักวิชาการแรงงานชำนาญการ สำนักงานแรงงานจังหวัดนราธิวาส
ข้อกล่าวหา ทุจริตในการเบิกจ่ายเงินโครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน ของบัณฑิตแรงงานจังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ระหว่างวันที่ 13 - 16 กันยายน 2556 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและ สำนักงานแรงงานจังหวัดนราธิวาส
อย่างไรก็ดี การชี้มูลความผิดทางอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นที่สุด ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด
ผลการต่อสู้คดีเหล่านี้ในชั้นศาลฯ เป็นอย่างไร ต้องคอยติดตามดูกันต่อไป