"..แม้ว่าจะมีมาตรการการจัดงานต่าง ๆ แต่การจัดงานขนาดเล็ก หรือจำนวนผู้เข้าร่วมงานน้อยกว่าจำนวนการรวมกลุ่มที่จังหวัดกำหนด ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจัดงาน รวมถึงผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการ ละเลย DMHTA และการกำกับยังไม่เข้มงวด จนเป็นเหตุให้พบคลัสเตอร์และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น.."
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ระลอกล่าสุดนับตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 มีผู้ติดเชื้อรวม 3.33 แสนราย โดยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกิจกรรมรวมกลุ่มในชุมชน เช่น งานศพ งานบวช งานบุญ งานแต่งงาน
สาเหตุความเสี่ยงมาจากการรวมกลุ่มของคนจำนวนมากในชุมชน และมาจากหลากหลายพื้นที่หรือข้ามจังหวัด การรับประทานอาหารร่วมกัน ทำกิจกรรมสัมผัสใกล้ชิดกันเป็นระยะเวลานาน อาจมีกิจกรรมที่มีการตะโกน เชียร์ ร้องเพลง หรือมีการเล่นการพนัน รวมถึงมีการถอดหน้ากากเป็นระยะ
แม้ว่าจะมีมาตรการการจัดงานต่าง ๆ แต่การจัดงานขนาดเล็ก หรือจำนวนผู้เข้าร่วมงานน้อยกว่าจำนวนการรวมกลุ่มที่จังหวัดกำหนด ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจัดงาน (มีบางพื้นที่ที่กำหนดให้แจ้ง) รวมถึงผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการ ละเลย DMHTA และการกำกับยังไม่เข้มงวด จนเป็นเหตุให้พบคลัสเตอร์และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
โดยขอบเขตการจัดงานกิจกรรมที่จัดขึ้นและมีการรวมกลุ่มคน จำแนกตามขนาดได้ ดังนี้
-
ขนาดเล็ก (S) ผู้ร่วมงาน 1-200 คน
-
ขนาดกลาง (M) ผู้ร่วมงาน 201-500 คน
-
ขนาดใหญ่ (L) ผู้ร่วมงาน 501 คนขึ้นไป
-
Mega Event
จากข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 - 14 กุมภาพันธ์ 2565 เมื่อจำแนกรายละเอียดผู้ติดเชื้อจากการจัดกิจกรรมทางสังคมและพิธีกรรมทางศาสนา พบว่า งานศพเป็นการรวมตัวที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด 430 ราย คิดเป็น 54% รองลงมา คือ งานแต่งงาน 193 ราย คิดเป็น 24% งานบุญ 140 ราย คิดเป็น 18% และงานบวช 35 ราย คิดเป็น 4%
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำร่างมาตรการความความปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) สำหรับการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนในชุมชน มีรายละเอียด ดังนี้
มาตรการบุคคล (Covid Free Personnel)
มีภูมิคุ้มกัน
- ผู้จัดงาน/ผู้เข้าร่วมทุกคนได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
ไม่พบเชื้อโดยการคัดกรอง
-
คัดกรองความเสี่ยง ผู้จัดงาน/ผู้เข้ำร่วมด้วย TST หรือ อื่น ๆ หากมีความเสี่ยงสูง ให้คัดกรองด้วย ATK ก่อนเข้าร่วมงาน ภายใน 72 ชั่วโมง
-
ถ้าลักษณะกิจกรรมมีความเสี่ยงสูง (เช่น การแข่งกีฬา งานเทศกาล งานบวชในชุมชน) ให้ผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงานพิจารณาคัดกรองด้วย ATK และแสดงผลตรวจเป็นลบภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมงาน
DMHTA
-
สวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ในงาน
-
เว้นระยะห่าง งดการรวมกลุ่ม ใช้เวลาอยู่ในงานเท่าที่จำเป็น
-
ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอกอฮอล์
-
จัดอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัว เช่น ไมโครโฟน เครื่องสำอาง เครื่องแต่งกาย
-
เฝ้าระวังอาการตนเองอย่างน้อย 14 วันหลังจบงาน หากพบว่ามีอาการให้รีบแจ้ง จนท.สธ.
-
มีผู้รับผิดชอบ กำกับติดตาม
มาตรการสิ่งแวดล้อมปลอดภัย (Covid Free Environment)
Clean and Safe
-
ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม ทุก 1-2 ชั่วโมง เช่น ที่จับประตู โต๊ะ เก้าอี้ ไมโครโฟน ฯลฯ ก่อน-หลังกำรจัดงานทุกครั้ง
-
จัดห้องน้ำให้เพียงพอและทำความสะอาดทกุ 1-2 ชั่วโมง
-
กำหนดเส้นทำงเข้า - ออก จัดจุดคัดกรองที่เพียงพอ
-
จัดอุปกรณ์รับประทานอาหารและเครื่องดื่มเฉพาะบุคคลและบริการอาหำรแบบชุดเดี่ยว
-
จัดให้มีจุดล้างมือพร้อมสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอลอ์ อย่างเพียงพอ
Distancing
-
เว้นระยะห่างระหว่างที่นั่งของผู้เข้าร่วมงาน อย่างน้อย 1 เมตร หากมีการแสดงให้เว้นระยะห่างของเวทีและผู้ชมอย่างน้อย 2 เมตร
-
จำกัดจำนวนคน โดยให้มีพื้นที่รองรับจำนวนคน อย่างน้อย 4 ตร.ม.ต่อ 1 คน
-
งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความไร้ระเบียบ หรือสัมผัสใกล้ชิดกัน
Ventilation
-
จัดในพื้นที่โล่ง มีการระบายอากาศที่ดี
-
หากจัดในอาคารต้องจัดมีกำรระบายอากาศในอาคารอย่างเหมาะสม เช่น เปิดประตู หน้าต่างเพื่อระบายอากาศเป็นระยะ และทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ
มาตรการสำหรับผู้เข้าร่วมงาน (Covid Free Customer)
งานแต่งงาน
-
คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้าร่วมงาน ด้วย TST หรือ APP อื่นๆ
-
กลุ่ม 608 ที่เข้าร่วมงานต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับกลุ่มทั่วไป แนะนำให้ได้รับ vaccine ตามเกณฑ์
-
มีการกำกับให้ปฏิบัติมาตรการ UP-DMHTA อย่างเคร่งครัด และบันทึกประวัติผู้เข้าร่วมงานไว้ >14 วัน
งานศพ
-
จำกัดการเข้าร่วมงานของบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยงสูง
-
คัดกรองความเสี่ยง อุณหภูมิ และอาการของระบบทางเดินหายใจก่อนเข้าร่วมงาน
-
ปฏิบัติตามมาตรการ UP-DMHTA อย่างเคร่งครัด
-
เลือกวิธีทำบุญ ผ่าน APP /ผ่านระบบบริจาค e-Donation เพื่อลดการสัมผัส
การจัดกิจกรรมพิเศษ
-
คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้างาน ด้วย TST หรือ APP อื่นๆ
-
ต้องฉีดวัคซีนครบโดส หรือ เคยมีประวัติการติดเชื้อมาก่อน อยู่ในช่วง 1-3 เดือน หรือ ATK เป็นลบไม่เกิน 7 วัน
-
มีการกำกับให้ปฏิบัติมาตรการ UP-DMHTA อย่างเคร่งครัด และบันทึกประวัติผู้เข้าร่วมงานไว้ >14 วัน
-
กรณีที่มีผู้เดินทางจากต่างประเทศให้ปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด
หลักเกณฑ์การพิจารณากิจกรรมในชุมชนที่มีความเสี่ยงสูง
- ความหนาแน่น/เว้นระยะห่ำง
-
น้อยกว่ำ 4 ตร.ม./คน หรือ
-
เว้นระยะห่ำงน้อยกว่ำ 1 เมตร
- การพูดคุย
- ตะโกนร้อง ใกล้ชิด /สัมผัสกันมาก ตลอดเวลา
- การใส่หน้ากาก
- มีการถอดหน้ากากเป็นระยะเวลานาน หรือไม่สวม
- การระบายอากาศ
- อาคารปิดทึบ ติดแอร์
หากกิจกรรมมีลักษณะความเสี่ยงอย่างน้อย 2 ข้อขึ้นไป ถือว่า 'เสี่ยงสูง' ให้ทั้งผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงานพิจารณาคัดกรองด้วย ATK และแสดงผลตรวจเป็นลบภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเข้าร่วมงาน
ข้อเสนอการจัดงาน สำหรับการจัดกิจกรรมพิเศษ
ขั้นตอนการจัดงาน ดังนี้
Plan
- ผู้จัดงานแสดงวางแผนการจัดงานโดยอ้างอิงแนวทาง COVID Free Setting พร้อมจัดทำแผนเผชิญเหตุ และเลือกสถานที่ที่ได้มาตรฐาน TMVS SHA และ TSC+
Submit
- ผู้จัดงานแสดง และผู้จัดสถานที่เสนอแผนการจัดงานต่อ คณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด/กทม.เพื่อขอความเห็นชอบต่อการจัดงาน
Agree
- คณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด/กทม. พิจารณาเห็นชอบการจัดงาน และให้คำแนะนำ หากมีข้อแก้ไขให้ ผู้จัดงานแสดง ดำเนินการปรับแก้
Implement
- ผู้จัดงานแสดง ปฎิบัติตามแนวทาง Covid Free Setting และมีผู้กำกับการปฏิบัติตามมาตรการทุกวัน โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัด/กทม. สุ่มกำกับ
Report
- ผู้จัดงานแสดง นำส่งรายงานหลังการจัดงาน (POST - SHOW REPORT) ให้กับทาง คณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด/กทม.เก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมงานอย่างน้อย 14 วัน
กลไกการกำกับการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนในชุมชน
ผู้จัดงาน
-
ประเมินตนเองตามมาตรการ CFS กำรจัดกิจกรรมรวมกลุ่มใน ชุมชน บนระบบ TSC2+
-
แจ้งการจัดงานให้ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทราบเพื่อแจ้ง ศปก.ต.
-
วันงานให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเข้มงวด
ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคตำบล (ศปก.ต.)
- มอบหมายเจ้าหน้าที่ลงกำกับการจัดงานให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
ทั้งหมดนี้คือ มาตรการความปลอดภัยหรับการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนในชุมชน ถ้าทุกคนต่างปฏิบัติตาม ป้องกันตนเองและผู้อื่น ก็จะทำให้ทุกคนจะปลอดภัยพร้อมกับที่สามารถดำเนินกิจกรรมได้