"..ไวรัส Neocov ยังติดได้ดีแต่เซลล์ของค้างคาว และ ติดเซลล์คนได้ไม่ดี ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม 1 ตำแหน่งที่โปรตีนหนามสไปค์ของไวรัส (T510F) ที่จะทำให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ได้เหมือน SARS-CoV-2.."
วิวัฒนาการ หรือการพัฒนาสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อไวรัส
จากสถานการร์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ที่มีจุดเริ่มต้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว มีการกลายพันธุ์แยกย่อยมากมาย
ปัจจุบัน เชื้อไวรัสโควิด-19 มีสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) สายพันธุ์บีต้า (Beta) สายพันธุ์แกรมม่า (Gamma) สายพันธุ์เดลต้า (Delta) และสายพันธุ์โอไมครอน (Omicrone)
ล่าสุด เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ได้มีการออกมาเคลื่อนไหวและส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ คือ 'NeoCov' ที่มีการแพร่กระจายในค้างคาวที่แอฟริกาใต้ ว่าอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ในอนาคต หากมีการกลายพันธุ์เพิ่มเติม เนื่องจากมีอัตราการแพร่เชื้อ และตายสูง
ผลการศึกษาที่โพสต์ลงเว็บไซต์ bioRxiv ระบุว่า NeoCov มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับโรคระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง (MERS) ซึ่งเป็นโรคไวรัสที่ระบุครั้งแรกในซาอุดิอาระเบียในปี 2555 รวมถึงมีความคล้ายคลึงกับ SARA-CoV-2 เป็นสาเหตุให้เกิดโคโรนาไวรัสในมนุษย์
นักวิจัยจากจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น และสถาบันชีวฟิสิกส์สถาบันวิทยาศาสตร์จีน ระบุว่า NeoCov พบได้ในค้างคาวที่แอฟริกาใต้ และแพร่เชื้อในหมู่สัตว์ด้วยกัน แต่ทั้งนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบัน NeoCov ไม่แพร่เชื้อในมนุษย์ แต่ถ้าเกิดการกลายพันธุ์ต่อไปอาจทำให้เป็นอันตรายได้
จากการศึกษานี้ นักวิจัยพบว่า NeoCoV และ PDF-2180-CoV ซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน สามารถใช้เอนไซม์ 2 ที่สร้าง Angiotensin-converting ของค้างคาวบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโปรตีนตัวรับในเซลล์ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับไวรัสเพื่อเชื่อมต่อและแพร่เชื้อในเซลล์ (ACE2) ของมนุษย์ยังไม่ค่อยดีในการเข้า
"การศึกษาของเราแสดงให้เห็นกรณีแรกของการใช้ ACE2 ในไวรัสที่เกี่ยวข้องกับ MERS เผยให้เห็นถึงภัยคุกคามความปลอดภัยทางชีวภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการเกิดขึ้นของมนุษย์ของ ACE2 โดยใช้ 'MERS-CoV-2' ที่มีทั้งอัตราการเสียชีวิตและอัตราการแพร่เชื้อสูง" นักวิจัย ระบุ
นอกจากนี้ นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า การติดเชื้อ NeoCov ไม่สามารถทำให้เป็นกลางโดยแอนติบอดีที่กำหนดเป้าหมาย SARS-CoV-2 หรือ MERS-CoV เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงการกลายพันธุ์ที่กว้างขวางในบริเวณสำคัญของไวรัสที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อกับตัวรับของร่างกาย (RBD) ของสายพันธุ์ SARS-CoV-2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรโอไมครอนที่กลายพันธุ์อย่างหนัก ไวรัสเหล่านี้อาจมีศักยภาพแฝงในการแพร่เชื้อสู่มนุษย์ผ่านการปรับตัวต่อไป
ขณะที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า NeoCov coronavirus ที่เพิ่งค้นพบในค้างคาวในแอฟริกาใต้นั้นเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์หรือไม่ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม องค์การอนามัยโลกกล่าวเสริมว่า ยังต้อง"ทำงานอย่างใกล้ชิด" กับองค์การอนามัยโลก ,องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เพื่อติดตามและตอบสนองต่อภัยไวรัสคุกคามจากสัตว์สู่คน
"แหล่งที่มาของโรคติดเชื้อในมนุษย์ 75% เป็นสัตว์ป่า ซึ่งไวรัสโควิด-19 ก็เช่นเดียวกัน ที่มักพบในสัตว์ รวมทั้งในค้างคาวซึ่งได้รับการระบุว่าเป็นแหล่งกักเก็บไวรัสตามธรรมชาติ" องค์การอนามัยโลก ระบุ
ทางด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana โดยระบุถึง NeoCoV (นีโอโคฟ)ไวรัสโคโรนาตัวใหม่ในค้างคาวที่ต้องเฝ้าระวัง โดยระบุว่า
งานวิจัยชิ้นหนึ่งถูกเผยแพร่มาจากทีมวิจัยจากประเทศจีนพูดถึงไวรัสโคโรนาในค้างคาวที่พบในประเทศในทวีปแอฟริกา โดยไวรัสชนิดนี้ชื่อว่า NeoCoV ซึ่งเป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับไวรัส MERS ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อโรคที่รุนแรงมากในมนุษย์ แต่ด้วยความสามารถในการแพร่กระจายที่ไม่ดี ทำให้การระบาดของ MERS-CoV จึงอยู่ในวงจำกัด
ปกติไวรัส MERS-CoV และ ไวรัสอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกันจะใช้โปรตีนตัวรับจากเซลล์โฮสต์ที่ไม่เหมือนไวรัส SARS-CoV-2 ที่ใช้ ACE2 โดยไวรัสกลุ่ม MERS-CoV ใช้โปรตีนชื่อว่า Dpp4 และเป็นที่น่าสนใจว่า งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าไวรัสที่ชื่อว่า NeoCoV นี้ไม่ได้ใช้ Dpp4 เหมือนเพื่อนคนอื่นๆ แต่ดันไปใช้โปรตีน ACE2 เหมือนกับที่ SARS-CoV-2 ใช้ติด ข้อมูลจากทีมวิจัยระบุว่า ไวรัสชนิดนี้ยังติดได้ดีแต่เซลล์ของค้างคาว และ ติดเซลล์คนได้ไม่ดี ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม 1 ตำแหน่งที่โปรตีนหนามสไปค์ของไวรัส (T510F) ที่จะทำให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ได้เหมือน SARS-CoV-2
ประเด็นที่เป็นข้อเท็จจริงคือ ไวรัสชนิดนี้สามารถกลายพันธุ์เพิ่มจนจับกับ ACE2 ของมนุษย์ได้ แต่ประเด็นที่ไม่ได้มีการแสดงในการศึกษานี้คือ ติดแล้วจะแพร่กระจายไวเหมือน SARS-CoV-2 หรือไม่ เพราะการจับกับ ACE2 ได้อย่างเดียวอาจไม่ใช่สิ่งรับประกันถึงความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัส และ ประเด็นสำคัญอีกข้อคือ การที่ไวรัสชนิดนี้ใกล้เคียงกับ MERS-CoV อาจจะไม่ได้หมายถึงความสามารถในการก่อโรคได้รุนแรงเท่า MERS-CoV เสมอไป ดังนั้น การสรุปไปว่า จะเป็นไวรัสที่ระบาดในมนุษย์ที่รุนแรงและทำให้คนเสียชีวิตถึง 30% ยังเป็นการสรุปที่ไม่อยู่บนข้อเท็จจริงครับ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ไวรัสตัวนี้จำเป็นต้องถูกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 มีรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ได้ทำการสุ่มสำรวจประชากรกวางหางขาว (White-tailed Deer) บริเวณเกาะสแตเทนของกรุงนิวยอร์กจำนวน 131 ตัว โดยเก็บตัวอย่างเลือดและตัวอย่างจากการสว็อบ (Swab) พบว่า มีกวางหางขาวถึง 15% ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน โดยพิจารณาจากการพบแอนติบอดีต้านโควิด-19 สายพันธุ์ดังกล่าวในตัวอย่างที่เก็บมา ทำให้เกิดความกังวลว่า กวางหางขาวอาจกลายเป็นแหล่งเพาะโรคที่จะนำไปสู่โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่
โดยหัวหน้าคณะวิจัย กล่าวว่า การค้นพบสายพันธุ์โอไมครอนในกวางหางขาวในนครนิวยอร์ก ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการระบาด เนื่องจากในสหรัฐมีกวางมากถึง 30 ล้านตัว ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งเพาะโควิดสายพันธุ์ใหม่
“การระบาดของไวรัสชนิดนี้ในประชากรสัตว์มักเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะกลับมาสู่มนุษ์ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการเปิดโอกาสให้ไวรัสพัฒนาไปสู่สายพันธุ์ใหม่ และเมื่อไวรัสกลายพันธุ์อย่างสมบูรณ์ มันจะสามารถหลบหลีกการป้องกันของวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น เราจะต้องเปลี่ยนวัคซีนอีกครั้ง” สุเรช คูชิพูดี นักจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ กล่าว
การค้นพบครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ตรวจพบโอไมครอนในสัตว์ป่า ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐ แม้จะยังไม่มีหลักฐานว่าสัตว์ต่าง ๆ กำลังแพร่เชื้อไวรัสสู่มนุษย์ แต่รายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐระบุว่า การติดเชื้อไวรัสโคโรนาส่วนใหญ่ พบในสัตว์ที่มีความใกล้ชิดกับมนุษย์ที่ติดเชื้อโควิด
เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 รัฐบาลสหรัฐระบุว่า พบการติดเชื้อโควิดในกวางครั้งแรกที่รัฐโอไฮโอ ทำให้รายชื่อสายพันธุ์สัตว์ที่ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชนิด สำหรับการค้นพบครั้งนี้ ใช้ตัวอย่างที่เก็บรวบรวมมาจากกวางนานหลายเดือน ก่อนที่สายพันธุ์โอมิครอนจะปรากฏขึ้น และเข้าแทนที่สายพันธุ์ก่อนหน้าอย่างเดลต้าในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ก่อนหน้านี้มีรายงานการพบโควิดในสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ สุนัข แมว เสือ สิงโต เสือดาวหิมะ นาก กอริลล่า และมิงค์
จะต้องติดตามต่อไปว่า จะมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอีกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรลดระดับการป้องกันลงเพื่อความปลอดภัยของทุกคน
เรียบเรียงจาก:
"NeoCov": Chinese Scientists Warn Of New Kind Of Coronavirus From Bats
What WHO Said On NeoCov Coronavirus, Discovered By Chinese Scientists
Omicron found in NYC deer raises questions about COVID transmission from animals to humans