ในส่วนของข้อมูลเปรียบเทียบนั้นพบว่า ในกลุ่มของผู้พักฟื้นจากโควิดนั้นพบว่ามีแอนติบอดีต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่ำกว่า 17.4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับโควิดสายพันธุ์ทั่วไป, ในกลุ่มของผู้ที่รับวัคซีนเชื้อตายนั้นพบว่ามีแอนติบอดีต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่ำกว่า 5.1 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับโควิดสายพันธุ์ทั่วไป,ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์ ZF2001 ระยะสั้น พบว่ามีแอนติบอดีต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่ำกว่า 10.6 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับโควิดสายพันธุ์ทั่วไป,และในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์ ZF2001 ระยะยาว 4 เดือน พบว่ามีแอนติบอดีต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่ำกว่า 3.1 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับโควิดสายพันธุ์ทั่วไป
จากกรณีการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ณ เวลานี้นั้น ทำให้มีหลายฝ่ายได้ออกมาพูดถึงกรณีการฉีดวัคซีนบูสเตอร์เพื่อจะรับมือกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ทั้งในประเด็นเรื่องการฉีดวัคซีนบูสเตอร์และวิธีการฉีดวัคซีนว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด
ล่าสุดนั้นทางสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้สำรวจรายงานต่างประเทศ ก็พบรายงานจากวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ที่ระบุว่าระยะเวลาที่เหมาะสมของการเว้นระยะห่างนั้นควรจะต้องเป็น 4 เดือนอย่างน้อย และวัคซีนของบริษัทโมเดอร์นาก็มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากจะนำมาใช้เป็นวัคซีนบูสเตอร์ สำนักข่าวจึงได้นำเอารายงานมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา วารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ ได้มีการเขียนรายงานถึงประสิทธิภาพของวัคซีนบูสเตอร์เพื่อใช้เพิ่มระดับสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน (B.1.1.529) โดยผลการศึกษาหนึ่งพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของแอนติบอดีถึง 20 เท่าหลังจากที่ฉีดวัคซีนของบริษัทโมเดอร์นาเป็นโดสที่ 3 ตามมาหลังจากการฉีดวัคซีนหลักก่อนหน้านี้ และอีกผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ามีประโยชน์ที่มากขึ้นถ้าหากมีการทิ้งระยะห่างระหว่างโดสให้นานขึ้น
@แอนติบอดีที่สูงขึ้น 20 เท่าหลังจากการฉีดบูสเตอร์
ในการศึกษารายการแรกที่นำโดสทีมนักวิทยาศาสตร์จากบริษัทโมเดอร์นา ได้มีการประเมินผลการตอบสนองของแอนติบอดีที่เป็นกลางที่มีต่อการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาในโดสที่ 3 ต่อไวรัสโควิดสายโอไมครอน (2 โดสก่อนหน้าเป็นวัคซีนของบริษัทโมเดอร์นา) เปรียบเทียบกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ทั่วไป (D614G), ไวรัสโควิดสายพันธุ์เบตา (B1351) และไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา (B1617.2) ซึ่งผลการศึกษาก็พบว่าแอนติบอดีที่จะใช้รับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นน้อยกว่าโควิดสายพันธุ์ทั่วไปและสายพันธุ์เบตา ส่วนข้อมูลความเจือจางหรือค่า ID50 นั้นพบว่าในการป้องกันโควิดสายพันธุ์โอไมครอน มีค่า ID50 ต่ำกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 35 เท่า
ทั้งนี้เมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 7 เดือน หลังจากการฉีดวัคซีน 2 โดส ค่าแอนติบอดีสำหรับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะอยู่ที่ 55 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลอง ขณะที่ค่า ID50 สำหรับไวรัสโควิดโอไมครอนนั้นจะอยู่ต่ำกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ทั่วไปประมาณ 8..4 เท่า
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ด้วยวัคซีนต้นแบบของบริษัทโมเดอร์นา ด้วยปริมาณ 50 มิลลิกรัม จะพบว่าค่า ID50 สำหรับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 20 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับค่าที่ได้รับในช่วงระยะเวลา 1 เดือนหลังจากที่มีการฉีดวัคซีนในโดส 2 ไปแล้ว ซึ่งในช่วงเวลาหลังจากเข็ม 2 ดังกล่าวนั้นพบว่ามีค่า ID50 ต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน อยู่ที่ต่ำกว่าโควิดสายพันธุ์ทั่วไปประมาณ 2.9 เท่า
ต่อมาเมื่อระยะเวลาผ่านไปได้ประมาณ 6 เดือนหลังจากมีการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ในโดสที่ 3 จะพบว่าค่าความเข้มข้นของแอนติบอดีค่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นลดลงไปประมาณ 6.3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับจุดสูงสุดซึ่งก็คือ 1 เดือนหลังจากการฉีดวัคซีนบูสเตอร์โดส แต่อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจในกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดสอบนั้นพบว่ายังสามารถตรวจจับความเข้มข้นของแอนติบอดีได้อยู่ดี
นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบพบว่าแอนติบอดีที่เป็นกลางเพื่อรับมือโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นมีการลดลงเร็วกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ทั่วไปหลังจากการฉีดบูสเตอร์แล้ว ซึ่งการลดลงดังกล่าวนั้นมีความเหมือนกันหลังจากตอนที่ฉีดวัคซีนโมเดอร์นาในโดสที่ 2 โดยจากข้อมูลพบว่าเมื่อมีการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ไปแล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ค่าแอนติบอดีต่อโควิดสายพันธุ์ทั่วไปนั้นจะลดลงไปอยู่ที่ 2.3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาผ่านไป 1 เดือนหลังจากการฉีดบูสเตอร์
ขณะที่ข้อมูลการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาจำนวน 3 โดสด้วยปริมาณโดสละ 100 มิลลิกรัม พบว่าจะสามารถสร้างค่า ID50 ต่อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ประมาณ 2.5-2.6 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ที่ประมาณ 50 มิลลิกรัมของวัคซีนโมเดอร์นาต้นแบบ และนอกจากนี้การฉีดวัคซีนบูสเตอร์จำนวน 100 มิลลิกรัมนั้นก็พบว่าให้ค่าความเข้มข้นสูงมากกว่าประมาณ 1.4-1.5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับค่าความเข้มข้นสูงสุดต่อโควิดสายพันธุ์ทั่วไปที่วัดได้ในช่วงเวลาประมาณ 1 เดือนหลังจากการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาในโดสที่ 2 และผลการฉีดวัคซีนบูสเตอร์นั้นยังแสดงให้เห็นถึงภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงต่อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เช่นเดียวกับสายพันธุ์เดลตาและเบตา
ผู้ที่เขียนการศึกษายังได้กล่าวด้วยว่าการเพิ่มขึ้นของแอนติบอดีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนประมาณ 20 เท่าดังกล่าวนั้นอาจลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ได้เป็นอย่างยิ่ง
รายงานข่าวการทดลองวัคซีนบูสเตอร์ของบริษัทโมเดอร์นา ต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (อ้างอิงวิดีโอจากซีเอ็นเอ็น)
@การเว้นระยะเวลา 4 ระหว่างโดสก่อนการฉีดบูสเตอร์
มีข้อมูลที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งซึ่งมาจากนักวิจัยด้านสถาบันวิทยาศาสตร์จีนในกรุงปักกิ่ง ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความเข้มข้นและค่าแอนติบอดีที่เป็นกลางต่อโควิดสายพันธุ์ทั่วไปและสายพันธุ์อันน่ากังวลอื่นๆ หลังจากที่มีการฉีดวัคซีนจำนวน 2 โดสบวกกับวัคซีนบูสเตอร์จำนวน 1 โดสไปแล้ว โดยชนิดของวัคซีนที่ดำเนินการสำรวจที่ว่ามานี้มีทั้งวัคซีนเชื้อตาย (โคโรนาแวค ของบริษัทซิโนแวค และ BBIBP-CorV ของรัฐวิสาหกิจซิโนฟาร์ม) หรือวัคซีน ZF2001 โปรตีนซับยูนิต ซึ่งวัคซีนเหล่านี้นั้นพบว่ามีการใช้ทั้งในประเทศจีนและในอีกหลายประเทศ
โดยผู้ที่เข้ารับการสำรวจนั้นมีทั้งกลุ่มที่เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และกำลังพักฟื้นอยู่ รวมไปถึงกลุ่มที่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อนเลย ซึ่งกลุ่มที่ได้รับวัคซีน ZF2001 นั้นมีการแบ่งอออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มที่เว้นระยะสั้นที่มีการเว้นระยะห่างระหว่างโดส 1 และโดส 2 อยู่ที่ 1 เดือน และบูสเตอร์โดสหลังจากโดสที่ 2 จะเว้นระยะห่างอยู่ที่ระยะเวลาอีก 1 เดือน กับกลุ่มที่ 2 ที่เป็นการเว้นระยะห่างระยะยาวนานกว่า ซึ่งโดส 1 และโดส 2 นั้นจะมีการเว้นระยะห่างกัน 1 เดือน และบูสเตอร์โดสหลังจากโดสที่ 2 นั้นจะเว้นระยะห่างกันอยู่ที่ประมาณ 4 เดือน
นักวิจัยได้ดำเนินการใช้อนุภาคไวรัสเทียมเพื่อทำการทดสอบตัวอย่างเซรุ่มสำหรับแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในกลุ่มที่เข้ารับการทดลองก็พบว่ามีการลดลงของแอนติบอดีที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเป็นประมาณที่สูงเป็นอย่างยิ่ง ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน ZF2001 ทั้งสองกลุ่มย่อย (กลุ่มทดสอบระยะสั้นและระยะยาว) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายและกลุ่มผู้กำลังฟื้นตัวจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้ในกลุ่มตัวอย่างเซรุ่มที่ได้จากกลุ่มผู้พักฟื้นจากโควิดพบว่า 15 จาก 16 ตัวอย่างเซรุ่มนั้นมีผลที่เป็นลบสำหรับแอนติบอดีที่เป็นกลางเพื่อจะรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน แต่อย่างไรก็ตามตัวอย่างเซรุ่มที่ได้จากกลุ่มผู้ทดลองวัคซีนเชื้อตายและวัคซีน ZF2001 นั้นยังพบว่ามีประสิทธิภาพต่อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
ขณะที่ข้อมูลของผู้เข้าทดสอบการรับวัคซีนจำนวนทั้ง 3 โดส อันประกอบไปได้ตัวอย่างเซรุ่มจำนวน 10 จาก 16 ตัวอย่างของกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตาย, 9 จาก 16 ตัวอย่างของผู้ที่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์ในระยะสั้น ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีน ZF2001,และ 16 จาก 16 ตัวอย่างของผู้ที่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์ในระยะสั้น ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีน ZF2001 พบข้อมูลว่าทั้งหมดนั้นมีแอนติบอดีที่สามารถต่อต้านไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้
นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จากการเก็บตัวอย่างเซรุ่มในกลุ่มที่เว้นระยะเวลาการฉีดวัคซีน ZF2001 ระหว่างโดส 2 และบูสเตอร์โดสเป็นระยะเวลา 4 เดือนนั้นพบว่า เมื่อเก็บตัวอย่างในช่วงระยะเวลาผ่านไปประมาณ 4-6 เดือนหลังจากโดสที่ 3 พบว่า ตัวอย่างจำนวน 9 จาก 13 ตัวอย่างยังคงมีแอนติบอดีที่เป็นกลางรับมือต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
ในส่วนของข้อมูลเปรียบเทียบนั้นพบว่า ในกลุ่มของผู้พักฟื้นจากโควิดนั้นพบว่ามีแอนติบอดีต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่ำกว่า 17.4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับโควิดสายพันธุ์ทั่วไป, ในกลุ่มของผู้ที่รับวัคซีนเชื้อตายนั้นพบว่ามีแอนติบอดีต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่ำกว่า 5.1 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับโควิดสายพันธุ์ทั่วไป,ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์ ZF2001 ระยะสั้น พบว่ามีแอนติบอดีต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่ำกว่า 10.6 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับโควิดสายพันธุ์ทั่วไป,และในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์ ZF2001 ระยะยาว 4 เดือน พบว่ามีแอนติบอดีต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่ำกว่า 3.1 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับโควิดสายพันธุ์ทั่วไป
ดังนั้นจึงเป็นข้อสรุปที่สำคัญก็คือว่ายิ่งเว้นระยะห่างระหว่างวัคซีนหลักในโดสที่ 2 กับวัคซีนบูสเตอร์ ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องของภูมิคุ้มกันที่สุงขึ้นต่อไวรัสโควิดในทุกสายพันธุ์นั่นเอง
รายงานข่าวการทดลองวัคซีนในรุ่นที่ 2 ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถรับมือโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ (อ้างอิงวิดีโอจาก 11Alive)
ผู้เชียนงานวิจัยยังได้กล่าวว่าผลการวิจัยนั้นแสดงให้เห็นว่าการฉีดบูสเตอร์หลายโดสผนวกกับการเว้นระยะที่ยาวนานขึ้นของวัคซีนระหว่างโดสนั้นจะให้ผลป้องกันที่สูงต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์อย่างโอไมครอน ทั้งในกลุ่มที่เคยฉีดวัคซีนไปแล้วและกลุ่มที่เคยผ่านการติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว
“ผลลัพธ์ของเรานั้นมีความสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้อันเกี่ยวข้องกับผู้รับวัคซีนประเภท mRNA และยังสรุปให้เห็นว่าวัคซีนในรุ่นถัดไปที่มีศักยภาพอันกว้างขวางเพื่อจะป้องกันไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 ได้ในหลายสายพันธุ์นั้นยังคงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง” ผู้วิจัยกล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.cidrap.umn.edu/news-perspective/2022/01/studies-highlight-benefits-covid-vaccine-booster-longer-dose-spacing