"... ข้อเท็จจริงรับฟังได้สอดคล้องกันว่า ผู้ฟ้องคดีมีความสนิทสนมกับนาง อ. และเป็นผู้พานาง อ. เข้ามาทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง โดยในช่วงแรกให้ปฏิบัติงานในฐานะผู้ช่วยเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงซึ่งมีนาย พ. ดำรงตำแหน่งอยู่ ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง เป็นตำแหน่งที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างขึ้นเองมิใช่ตำแหน่งตามโครงสร้างหรือตามกฎหมายขององค์การบริหารส่วนตำบล นาง อ. จึงไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร หรือพนักงาน หรือลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง..."
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเสนอข้อมูลเชิงลึกไปแล้วว่า นายประจวบ ก้ามจำรูญ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นบปริง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา ถูกตัดสินลงโทษจำคุกเป็นระยะเวลาต่อกันนาน 19 ปี จาก 2 คดี คือ
1. คดีดำเนินโครงการขุดคลองหราเพื่ออนุรักษ์เชิงนิเวศทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหนังสือสั่งการของทางราชการ และหลีกเลี่ยงไม่เปิดโอกาสให้มีการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม นายประจวบ ก้ามจำรูญ โดนตัดสินลงโทษ จำคุก 7 ปีพร้อมกับ นายวิชัย ไพรสงบ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา จำเลยที่ 1 โดนจำคุก 6 ปี 8 เดือน และนายมาโนชญ์ ฐิระพันธ์ อดีตกำนันตำบลนบปริง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา จำเลยที่ 3 จำคุก 4 ปี 8 เดือน
2. คดีทุจริตต่อหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดนตัดสินลงโทษ จำคุก 12 ปี ไม่รอลงอาญา
ทั้งสองคดีนับโทษต่อกัน
ขณะที่ก่อนหน้านั้น ในช่วงเดือนมีนาคม 2559 ศาลปกครองสูงสุด เคยมีคำพิพากษายกฟ้อง ในคดีที่ นายประจวบ ก้ามจำรูญ เป็นผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง ผู้ราชการจังหวัดพังงา เป็นผู้ถูกฟ้องคดี กรณีถูกออกคำสั่งให้พ้นตำแหน่ง นายก อบต.นบปริง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา เนื่องจากถูกสอบสวนพบมีพฤติการณ์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 6 ประการ
ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดพฤติการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและอำนาจหน้าที่ทั้ง 6 กรณี ของ นายประจวบ ก้ามจำรูญ ที่ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว
กรณีที่ 1. แก้ไขแบบประเมินของพนักงานจ้างสองราย คือ นางสาว ร. (อักษรย่อ) พนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และนาง อ. พนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่งผู้ดูแลเด็ก จากที่ผู้บังคับบัญชาประเมินให้ทั้งสองรายผ่านเกณฑ์ เป็นไม่ผ่านเกณฑ์ และรายงานการประเมินที่ได้แก้ไขเพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดพังงา (ก.อบด. จังหวัดพังงา) ให้ทั้งสองรายพ้นจากดำแหน่ง
กรณีที่ 2. แจ้งยกเลิกสัญญาจ้างพนักงานทั้งสองราย ดามข้อ 1 โดยที่คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดพังงา (ก.อบต. จังหวัดพังงา) ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ เป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศพนักงานส่วนตำบลจังหวัดพังงา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ลงวันที่ 26 กรกฏาคม 2547 ข้อ 35 ประกอบข้อ 34 ทำให้พนักงานจ้างทั้งสองรายได้รับความเดือดร้อน จนต้องร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดพังงา (ก.อบด. จังหวัดพังงา)
กรณีที่ 3. จงใจไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดพังงา ครั้งที่ 7/2552 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ซึ่งมีมติให้องค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงแต่งตั้งนาง อ. พนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่งผู้ดูแลเด็ก เป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง
กรณีที่ 4. สั่งการให้นาง อ. ซึ่งไม่ได้ดำรงดำแหน่งใด ๆ ในองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงเข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการ "ภาษาอังกฤษหลักสูตรระยะสั้น" และมีส่วนรู้เห็นในการแอบอ้างชื่อของนาย พ. เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง เพื่อเบิกเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการดังกล่าวจำนวน 10,430 บาท และเป็นผู้อนุมัติให้เบิกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าว ทั้งที่ทราบว่านาง อ. ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าว
กรณีที่ 5. สั่งให้นาย ก. ตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง พ้นจากดำแหน่ง ซึ่งออกเลขคำสั่งและลงวันที่ท้ายคำสั่งย้อนหลัง และไม่ได้แจ้งให้นาย ก. ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรรวมถึงไม่เปิดโอกาสให้นาย ก. ได้ชี้แจงแสดงเหตุผล เป็นการไม่ปฏิบัติดามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทำให้นาย ก. ได้รับความเดือนร้อนจากการที่จะต้องพันจากตำแหน่ง
กรณีที่ 6. อนุมัติโครงการแข่งขันนกกรงหัวจุก สนับสนุนอาหารกลางวันเด็ก โดยไม่ได้ตรวจสอบว่าชมรมนกกรงหัวจุก ผู้ขอรับเงินอุดหนุนมีการบริหารงานภายในหรือมีระเบียบข้อบังคับของชมรมหรือสามารถรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลได้หรือไม่ อย่างไร และเมื่อไม่มีการแข่งขันนกกรงหัวจุกตามที่ระบุไว้ในโครงการฯ ซึ่งนายประจวบ ก้ามจำรูญ ในฐานะผู้ฟ้องคดีย่อมทราบหรือควรที่จะทราบได้ว่าไม่มีการแข่งขันตามที่ระบุไว้ในโครงการฯ จนระยะเวลาล่วงเลยมา 3 ปีกว่าแล้ว ยังเพิกเฉยไม่ได้สั่งการหรือดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น
ศาลฯ พิเคราะห์ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฎแล้วเห็นว่า ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้อง คดีกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 เป็นการกระทำในเรื่องเดียวกันและเกี่ยวเนื่องกันของผู้ฟ้องคดี และเมื่อปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีมิได้อุทธรณ์โด้แย้งคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นสำหรับข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกรณี ประกอบกับผู้ฟ้องคดีก็ได้ให้การยอมรับว่าได้กระทำการตามข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจริงข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นว่า ผู้ฟ้องคดีได้แก้ไขผลการประเมินในแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้างทั้งสองรายด้วยตนเองโดยไม่มีอำนาจ จากที่ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง ผู้บังคับบัญชาของพนักงานจ้างทั้งสองรายได้ประเมินผลการปฏิบัติงานให้ทั้งสองรายผ่านเกณฑ์ แก้เป็นไม่ผ่านเกณฑ์
จากนั้นผู้ฟ้องคดีได้รายงานผลการประเมินที่ได้แก้ไขแล้วนั้นไปยังคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดพังงา (ก.อบต. จังหวัดพังงา) เพื่อขอรับความเห็นชอบให้พนักงานจ้างทั้งสองรายพันจากตำแหน่ง
ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาจ้างกับพนักงานจ้างทั้งสองรายโดยที่ ก.อบต. จังหวัดพังงา ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ การแจ้งยกเลิกสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามที่ประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดพังงา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ลงวันที่ 26 กรกฏาคม 2547 ข้อ 35 กำหนดไว้ ซึ่งกำหนดให้การเลิกจ้างพนักงานจ้างที่ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลก่อน
การกระทำของผู้ฟ้องคดีดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นผลให้พนักงานจ้างทั้งสองรายถูกเลิกจ้างโดยไม่ชอบและได้รับความเดือดร้อน
สำหรับข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีกรณีที่ 3 ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยที่เป็นคุณกับผู้ฟัองคดี นั้น เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า มติ ก.อบต. จังหวัดพังงา ครั้งที่ 7/2552 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 มีมติให้องค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงออกคำสั่งแต่งตั้งและทำสัญญาจ้างพนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่งผู้ดูแลเด็กรายนาง อ. ให้เป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ปฏิบัติหน้าที่ครูอัตราจ้าง) ไม่กี่วันที่ ก.อบด. จังหวัดพังงามีมติเห็นชอบ และผู้ฟ้องคดีได้มีคำสั่งที่ 272/2552 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2552 แต่งตั้งนาง อ. เป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแล้วโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2552 เป็นต้นไป
ผู้ฟ้องคดีได้ให้การเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ว่าได้มีการทำสัญญาจ้างนาง อ. ตามมติ ก.อบต. จังหวัดพังงา ดังกล่าวและมีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้นาง อ. ด้วยแล้ว ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามดำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามมติก.อบต.จังหวัดพังงาดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
กรณีจึงไม่อาจถือว่าผู้ฟ้องคดีจงใจไม่ปฏิบัติตามมติดังกล่าว ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง
สำหรับข้อกล่าวอ้างในกรณีที่ 4 จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฎตั้งแต่ในชั้นคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงฯ ตามคำสั่งอำเภอเมืองพังงา ที่ 84/2553 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2553 คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเดิม ตามคำสั่งจังหวัดพังงา ที่ 1151/2553 และในการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้สอดคล้องกันว่า ผู้ฟ้องคดีมีความสนิทสนมกับนาง อ. และเป็นผู้พานาง อ. เข้ามาทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง โดยในช่วงแรกให้ปฏิบัติงานในฐานะผู้ช่วยเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงซึ่งมีนาย พ. ดำรงตำแหน่งอยู่ ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง เป็นตำแหน่งที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างขึ้นเองมิใช่ตำแหน่งตามโครงสร้างหรือตามกฎหมายขององค์การบริหารส่วนตำบล นาง อ. จึงไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร หรือพนักงาน หรือลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง
โครงการอบรมภาษาอังกฤษหลักสูตรระยะสั้น 5 วัน รุ่นที่ 1/2551 อบรมระหว่างวันที่ 18 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2451 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตกรุงเทพมหานคร ผู้ฟ้องคดีได้อนุมัติให้นาย พ. เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง ขณะนั้น เข้ารับการอบรม นาย พ. ได้ดำเนินการยืมเงินค่าใช้จ่ายจากองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงสำหรับเดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรมตามสัญญาการยืมเงิน เลขที่ 4/2551 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 จำนวน 10,430 บาท สำหรับเป็นค่าเดินทางไปราชการและค่าลงทะเบียนตามหลักสูตรฝึกอบรม
แต่ต่อมาผู้ฟ้องคดีกลับมีคำสั่งให้นาง อ. ซึ่งขณะนั้นมิได้ดำรงดำแหน่งใด ๆ ในองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงเดินทางไปเข้ารับการอบรมแทนนาย พ. ทั้งที่รู้ดีว่า นาง อ. ไม่มีสิทธิ
ผู้ฟ้องคดีได้เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดทำเอกสารฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณรายจ่าย เลขที่ 65/2551 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 ตามสัญญาการยืมเงินที่นาย พ. ได้ดำเนินการไว้
ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้นำเช็คเงินยืมจำนวน 10,430 บาท ขององค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงไปเบิกเงินด้วยตนเองจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาพังงา เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งน่าเชื่อว่าผู้ฟ้องคดีได้นำเงินจำนวนตังกล่าวไปมอบให้นางอมรรัตน์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเข้ารับการอบรมภาษาอังกฤษ
ภายหลังการอบรมแล้วเสร็จ ผู้ฟ้องคดียังเป็นผู้นำรายงานการเดินทางไปราชการไปส่งให้กับส่วนการคลังเพื่อส่งใช้เงินยืมจำนวนดังกล่าว และเอกสารทั้งหมดมีการปลอมลายมือชื่อของนาย พ. จัดทำขึ้น
การกระทำของผู้ฟัองคดีดังกล่าวเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงได้รับความเสียหาย
ข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่าองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดกับผู้ฟ้องคดีในกรณีการกระทำดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และต่อมามีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีและนาง อ. ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงเป็นเงินจำนวน 10,430 บาท
ผู้ฟ้องคดีได้ให้การเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ว่าได้ดำเนินการชำระเงินจำนวนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้ฟ้องคดีได้กระทำการตามข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวจริง
อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่กล่าวอ้างว่ามิได้ปลอมลายมือชื่อของนาย พ. ในฎีกาเบิกเงินเลขที่ 65/2551 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 และมิได้เป็นผู้สั่งให้นาง อ. เข้ารับการอบรมแทนนาย พ. แต่เป็นการที่นาย พ. เองได้ให้ความยินยอมให้นาง อ. เข้าอบรมแทน เนื่องจากนาย พ. เป็นผู้ว่าจ้างนางอมรรัตน์มาปฏิบัติหน้าที่เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงแทนตนตลอดมานั้น จึงไม่อาจรับฟังได้
สำหรับข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีกรณีที่ 5 เห็นว่า ในเรื่องการแต่งตั้ง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 บัญญัติให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปดามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีดุลพินิจที่จะแต่งตั้งบุคคลซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 58/1 และที่ตนไว้วางใจ เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อให้เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล และถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือให้รองนายกองค์การบริหรส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง เมื่อตนหมดความไว้วางใจแล้วซึ่งโดยสภาพแล้วการที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลใช้ดุลพินิจมีคำสั่งถอดถอนหรือให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใดพันจากตำแหน่ง เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหมดความไว้วางใจในตัวรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้นั้น ไม่อาจจะถือได้ว่าเป็นการลงโทษรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้นั้น ทั้งการกระทำหรือพฤดิการณ์ของรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นเหตุให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสื่อมหรือหมดความไว้วางใจลง ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำหรือพฤติการณ์ในเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องโดยเฉพาะเจาะจง แต่อาจจะเป็นการกระทำหรือพฤติการณ์ของรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้นั้นโดยรวม
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีได้ลงลายมือชื่อในคำสั่งที่ 442/2552 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2552 ที่ให้นาย ก. พ้นจากตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2552 ไม่ได้มีการออกคำสั่งย้อนหลังแต่อย่างใด
แต่เมื่อพิเคราะห์จากคำให้การของพยานราย นาง ล. หัวหน้าส่วนการคลังองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง และนาง ว. ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี(ลูกจ้างประจำ) องค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงที่ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งอำเภอเมืองพังงา ซึ่งให้การสอดคล้องกันว่า การออกเลขคำสั่งที่ 442/2552 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2552 เรื่อง ขอยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง ที่มีผลให้นาย ก. รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงคนที่ 2 ต้องพ้นจากตำแหน่ง
ผู้ฟ้องคดีได้ออกคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 14 มกราคม 2553 แต่ได้มีการไปนำเลขคำสั่งที่ถัดจากเลขสุดท้ายของปี พ.ศ. 2552 มาใช้
ผู้ฟ้องคดี ลงลายมือชื่อในช่องพิมพ์/ทาน ของสำเนาคำสั่งดังกล่าว โดยระบุวันที่ 30 ธันวาคม 2552 เป็นการลงลายมือชื่อในวันที่ 14 มกราคม 2553 ซึ่งนาง ล. หัวหน้าส่วนการคลังฯได้ลงชื่อรับคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 14 มกราคม 2553 ตามข้อเท็จจริง ประกอบกับหลักฐานสำเนาทะเบียนคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง เล่มที่ 1/2552 ซึ่งปรากฎเลขที่คำสั่งดังกล่าวข้างต้นเป็นเลขที่สุดท้าย แต่เป็นการออกเลขคำสั่งซ้ำซ้อนกับคำสั่งอื่น และหนังสือด่วนที่สุด ที่ พง 71202/46 ลงวันที่ 18 มกราคม 2553 เรื่อง ขอหารือด่วน ที่นาง ล. หัวหน้าส่วนการคลังฯ มีถึงท้องถิ่นอำเภอเมืองพังงา ขอหารือกรณีผู้ฟ้องคดีออกคำสั่งที่ 442/2552 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2552 ซึ่งระบุข้อเท็จจริงอย่างชัดแจ้งว่าคำสั่งดังกล่าวผู้ฟ้องคดีมีคำสั่งและออกเลขที่คำสั่งในวันที่ 14 มกราคม 2553
จากคำให้การของพยานบุคคลและพยานเอกสารดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่าผู้ฟัองคดีได้ดำเนินการจัดทำคำสั่งที่ 442/2552 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2552 ย้อนหลังจริง อันถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับข้อกล่าวอ้างว่าการออกคำสั่งดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เปิดโอกาสให้นาย ก. ได้ชี้แจงแสดงเหตุผลและไม่ได้แจ้งให้นาย ก. ทราบคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร นั้น
เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าการแด่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพันจากดำแหน่ง เป็นอำนาจดุลพินิจของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะในฐานะที่เป็นผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในท้องถิ่นให้เข้ามารับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล
ดังนั้น การที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลใช้ดุลพินิจให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใดพ้นจาก ตำแหน่งเพราะหมดความไว้วางใจที่จะให้ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยเหลือตนในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อไป จึงไม่จำต้องให้โอกาสผู้นั้นทราบข้อเท็จจริงและได้โต้แย้งหรือแสดงพยานหลักฐานของตนก่อนออกคำสั่งตามนัยมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่อย่างใด
สำหรับข้อกล่าวอ้างกรณีที่ 6 เห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนโครงการแข่งขันนกกรงหัวจุกเพื่อสนับสนุนอาหารกลางวันและอุปกรณ์การเรียนการสอนให้กับนักเรียนโรงเรียนเมืองพังงา ที่เสนอโดยนาย ว. กำนันดำบลนบปริง จำนวน 70,000 บาท โดยมีกำหนดจัดการแข่งขันในวันที่ 12 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2550
แต่เมื่อถึงกำหนดเวลากลับไม่มีการจัดการแข่งขันแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีทราบข้อเท็จจริงแล้วแต่มิได้ดำเนินการให้มีการคืนเงินจำนวนดังกล่าว จนเวลาล่วงเลยมา 3 ปีกว่าก็ยังมิได้ดำเนินการใด ๆ
ข้อเท็จจริงจากคำให้การของพยานบุคคลและพยานเอกสารที่ปรากฏรับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดี และปรากฎข้อเท็จจริงเพิ่มเดิมว่านาย ว. ผู้เสนอโครงการแข่งขันนกกรงหัวจุกได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้จำนวน 70,000 บาท ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงไว้แล้วตามหนังสือรับสภาพหนี้ ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2554 โดยตกลงจะชำระคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงด้วยการผ่อนชำระเป็นรายเดือนจำนวน 5 เดือน กำหนดชำระครบถ้วนภายใน วันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 การกระทำดังกล่าวของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่และไม่รักษาประโยชน์ของราชการ ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงหรือราชการได้รับความเสียหาย
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏดังได้วินิจฉัยมาโดยลำดับนั้น เห็นได้ชัดว่าพฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีเป็นจริงตามข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ระบุไว้ในคำสั่งจังหวัดพังงา ที่ 1762/2553 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553
พฤติการณ์ดังกล่าวของผู้ฟ้องคดีถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือกระทำการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริงหรือราชการอย่างร้ายแรง
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟัองคดีมีคำสั่งจังหวัดพังงา ที่ 1762/2553 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา
จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืน
อนึ่ง เกี่ยวกับกรณีของ นายประจวบ นั้น สำนักข่าวอิศรา รายงานไปแล้วว่า ในส่วนของคดีความทางอาญา คดียังไม่สิ้นสุด นายประจวบ ยังมีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้
แต่ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร พฤติการณ์ของ นายประจวบ นับเป็นกรณีศึกษาสำคัญ เพื่อไม่ให้บุคคลอื่น กระทำผิดซ้ำรอย ไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ชัดเจนอีกกรณีหนึ่ง