"..สาเหตุเกิดจากหน่วยดำเนินงานขาดการวางแผนการบริหารจัดการภายหลังจากโครงการแล้วเสร็จ โดยไม่กำหนดแผนการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ภาพยนตร์สั้นหรือหนังสั้นที่ผ่าน การประกวดและได้รับรางวัล เพื่อนำไปใช้เป็นช่องทางในการทำให้เกิดกระแสการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด และขาดการบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและหน่วยงานภาคเอกชน รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษา จึงยังไม่สามารถนำสื่อในด้านการจัดทำภาพยตร์สั้นหรือหนังสั้น นำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดในด้านอื่น ๆ .."
การใช้จ่ายเงินงบประมาณตามแผนพัฒนาเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง วงเงินรวมกว่า 294,299,330 บาท ถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบว่า ผลการดำเนินงานยังไม่มีประสิทธิภาพ บางโครงการไม่เกิดผลสัมฤทธิ์เพียงพอ ขณะที่ในการจัดกิจกรรมค่าจ้างทำภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัด ใช้งบประมาณกว่า 2.3 ล้าน ทำหนังสั้น 3 เรื่อง แต่มียอดคนดูหลักสิบหลักร้อย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สตง. ได้เผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบ แผนพัฒนาเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง จำนวน 8 โครงการ 32 กิจกรรม งบประมาณ 294,299,330.00 บาท และได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 จำนวน 8 โครงการ 21 กิจกรรม งบประมาณ 150,570,100.00 บาท
จากการตรวจสอบ พบว่า จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 ต่ำกว่าแผนที่ตั้งไว้ 11 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 34.38 ของจำนวนกิจกรรมที่ตั้งแผนไว้ และได้รับจัดสรรงบประมาณต่ำกว่าแผน 143,729,230.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 48.84 ของจำนวนเงินงบประมาณที่ตั้งแผนไว้ เมื่อจำแนกรายปี พบว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 21,291,380.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.40 ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ไม่ได้รับการจัดสรรจำนวน 5 กิจกรรม งบประมาณ 38,891,400.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.48 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ไม่ได้รับการจัดสรรจำนวน 6 กิจกรรม งบประมาณ 83,546,450.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 91.08 ของจำนวนเงินงบประมาณที่ตั้งแผนไว้ ส่งผลกระทบต่อตัวชี้วัดในมิติห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) และเป้าประสงค์ที่กำหนดการ
เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น รวมถึงกระทบต่อศักยภาพในการยกระดับการท่องเที่ยวและยังไม่สามารถสร้างแรงกระทบ (Impact) ของการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาในภาพรวมของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และส่งผลให้แผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัดขาดความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้บรรลุผลตามเป้าหมายพัฒนาและวิสัยทัศน์ที่กำหนด
สาเหตุเนื่องจากในการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดกำหนดกรอบวงเงินไว้แต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณต่ำกว่าแผนที่ตั้งไว้ 11 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 34.38 ของจำนวนกิจกรรมที่ตั้งแผนไว้และการกำหนดเป้าประสงค์ของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด อาจไม่สอดคล้องสมดุลกับวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร รวมทั้งการจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีบางโครงการอาจยังไม่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกรอบของชุดโครงการที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการนำงบประมาณบางส่วนไปแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงทำให้โครงการตามแผนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
จากการตรวจสอบพบข้อมูลสำคัญดังต่อไปนี้
หนึ่ง
มีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีมีดังนี้
1. โครงการยกระดับการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดครบวงจร กิจกรรมหลักส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กิจกรรมย่อยขยายเส้นทางจราจรเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสู่อุทยานธรณีขอนแก่น (KhonKaen Geopark) รายการขยายถนนสายหนองขาม-ซำบักลอ ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น งบประมาณ 2,684,000.00 บาท ซึ่งเป็นงบประมาณเหลือจ่ายกลุ่มจังหวัด ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 ไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากหน่วยดำเนินงานขาดความพร้อมของพื้นที่ดำเนินการ ขาดบุคลากร รวมถึงข้อจำกัดด้านระยะเวลาที่ดำเนินการเนื่องด้วยได้รับโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณเหลือจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ในไตรมาสที่ 3 จึงทำให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไม่ทันในปีงบประมาณ
2. โครงการยกระดับการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดครบวงจร กิจกรรมที่ 3 สื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมการท่องเที่ยว ของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม กิจกรรมย่อยการประกวดภาพยนตร์สั้นด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด ไม่ได้ดำเนินการ 5 รายการ ดังนี้
1) ค่าเช่าพื้นที่ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมประกวดภาพยนตร์สั้น เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว "เที่ยวอีสานกลางมีเฮ" ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 2) ค่าเช่าพื้นที่ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมประกวดภาพถ่ายเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว "เที่ยวอีสานกลางมีเฮ" ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 3) ค่าจ้างทำ DVD สำเนาภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยว จำนวน 4,000 แผ่น 4) ค่าเช่าสถานที่ 5) การประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด ประชาสัมพันธ์ทางสถานีโทรทัศน์ จำนวน 3 ครั้ง รวมวงเงินงบประมาณที่ไม่ได้ดำเนินการตามโครงการ ทั้งสิ้น 1,595,000.00 บาท
นอกจากนี้ยังพบว่า กิจกรรมค่าจ้างทำภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัด จำนวน 3 เรื่อง เรื่องละ 800,000.00 บาท ได้ประมาณการงบประมาณตามแผนไว้จำนวน 3,600,000.00 บาท ซึ่งไม่ตรงกับรายการที่ระบุ 3 เรื่อง เรื่องละ 800,000.00 บาท ซึ่งเป็นเงินงบประมาณเพียงจำนวน 2,400,000.00 บาท ทำให้การประมาณการงบประมาณสูงกว่าที่ระบุตามรายการ จำนวน 1,200,000.00 บาท
3. โครงการยกระดับการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดครบวงจร กิจกรรมหลักส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ขอนแก่น) ไม่ได้ดำเนินการ 1 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านหม่อนไหม เป็นเงิน 800,000.00 บาท เนื่องจากการดำเนินงานในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า จึงทำให้หน่วยงานก่อหนี้ผูกพันไม่ทันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จึงส่งเงินคืนกลุ่มจังหวัดในกรณีที่หน่วยงานไม่ได้ดำเนินการในบางกิจกรรม จึงส่งผลให้ประชาชนเสียโอกาสในการได้รับประโยชน์จากโครงการในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว และกลุ่มจังหวัดเสียโอกาสในการนำงบประมาณไปใช้พัฒนาในด้านอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่าในการพัฒนากลุ่มจังหวัดในภาพรวม เป็นเงิน 5,079,000.00 บาท และหน่วยงานประมาณการงบประมาณสูงกว่าที่ระบุตามรายการ เป็นเงิน 1,200,000.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,279,000.00 บาท
สอง
มีกรณีผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการล่าช้ากว่าแผนกำหนด จำนวน 2 โครงการ คือ
- โครงการยกระดับการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดครบวงจร กิจกรรมพัฒนาสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าธวัชบุรีให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า ของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าธวัชบุรีอำเภอ ธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ล่าช้ากว่าแผนปฎิบัติราชการประจำปี (สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562) เป็นระยะเวลา 10 วัน เนื่องจากโครงการกำหนดระยะเวลาในการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2562
- โครงการยกระดับผ้าไหมสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น กิจกรรมหลักที่ 3 จัดงานแฟชั่นผ้าไหมกลุ่มจังหวัด ล่าช้ากว่าแผนกำหนดเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีเนื่องจากผู้เสนอราคาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา รวมทั้งหน่วยงานขอขยายเวลาดำเนินงานเนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรครายงานการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานประเด็นการพัฒนาที่ 3 การเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าไหมและOTOP เสียโอกาสทางการตลาด การประชาสัมพันธ์ และเชื่อมโยงตลาดและการท่องเที่ยวกรณีการดำเนินโครงการล่าช้าทำให้ได้รับประโยชน์จากโครงการล่าช้า และทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณไม่เกิดประสิทธิภาพตามห้วงระยะเวลาที่กำหนด และส่งผลกระทบต่อเป้าหมายและตัวชี้วัดของโครงการที่กำหนดตามประเด็นการพัฒนากลุ่มจังหวัด
สาม
ผลการดำเนินกิจกรรมภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดตามโครงการขาดการบริหารจัดการและการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องดังนี้
- โครงการยกระดับการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดครบวงจร กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมการท่องเที่ยว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบประมาณ 8,000,000.00 บาท หน่วยดำเนินงาน คือ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมการท่องเที่ยว กำหนด 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) จ้างทำภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัด จำนวน 3 เรื่อง 2) การประกวดภาพยนตร์สั้นด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด 3) การจัดกิจกรรมประกวดภาพถ่ายด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด 4) การจัดกิจกรรมประกาศผล และมอบรางวัลการประกวดภาพยนตร์สั้น และการประกวดภาพถ่ายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด "เที่ยวอีสานกลางมีเฮ" 5) การประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด ประชาสัมพันธ์ทางสถานีโทรทัศน์จำนวน 3 ครั้ง และ 6) กิจกรรมติดตามประเมินผล โดยการจ้างทำภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัด จำนวน 3 เรื่อง งบประมาณ 3,600,000.00 บาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินตามสัญญา 2,350,000.00 บาท ได้แก่ ภาพยนตร์สั้น จำนวน 3 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 “ดีต่อใจสาวทอผ้า EP 1” เรื่องที่ 2 “ดีต่อใจสาวทอผ้า EP 2” และเรื่องที่ 3 “ดีต่อใจสาวทอผ้า EP 3”
แต่จากการสุ่มตรวจสอบโดยการเข้าเว็บไซด์ของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม เพียงวันที่ 15 มีนาคม 2564 พบว่า มีสถิติการเข้าชมภาพยนตร์สั้น ดังนี้ 1) เรื่อง“ดีต่อใจสาวทอผ้า EP 1” จำนวน 273 ครั้ง 2) เรื่อง “ดีต่อใจสาวทอผ้า EP 2” จำนวน 96 ครั้ง และ 3) เรื่อง “ดีต่อใจสาวทอผ้า EP 3” จำนวน 30 ครั้ง
- โครงการยกระดับการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดครบวงจร กิจกรรมมหกรรมวัฒนธรรมชนเผ่าร้อยแก่นสารสินธุ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบประมาณ 2,821,600.00 บาท หน่วยดำเนินงาน คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์กำหนด 7 กิจกรรม ได้แก่ 1) การส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมชนเผ่า (ภาพยนตร์สั้น) 2) การฟ้อนรำของชนเผ่าต่างๆ 3) การบรรเลงวงดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่า 4) การแสดงศิลปินพื้นบ้าน/ปราชญ์ชาวบ้าน 5) การแสดง สาธิต รากวัฒนธรรมของดีชนเผ่า 6) การประกวดของดีชนเผ่า 7) การประชาสัมพันธ์โดยการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมชนเผ่า (ภาพยนตร์สั้น) งบประมาณ 473,700.00 บาท เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจและถ่ายทอดสื่อสร้างสรรค์ จำนวน 40 คน (2 วัน) และการประกวดสื่อสร้างสรรค์ จำนวน 12 รางวัล และจังหวัดกาฬสินธุ์ประกาศผลการประกวดวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (หนังสั้น) ได้แก่ รางวัลชนะเลิศเรื่อง “หลง รัก กาฬสินธุ์” รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 เรื่อง “สาวภูไท” และรองชนะเลิศ อันดับ 2 เรื่อง “ภูมิสินธุ์” และได้รับรางวัลชมเชย จำนวน 9 รางวัล
จากการตรวจสอบโดยเข้าสังเกตการณ์ภาพยนตร์สั้นในสื่อสังคมออนไลน์ (SocialNetwork) เพียงวันที่ 27 กันยายน 2564 พบว่า หนังสั้นรางวัลชนะเลิศ เรื่อง หลงรักกาฬสินธุ์ ยอดวิว จำนวน 2,201 ครั้ง และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เรื่อง สาวภูไท ยอดวิว จำนวน 557 ครั้ง โดยมีการเผยแพร่อยู่ในช่องของ Youtube เท่านั้น
- โครงการประกวดหนังสั้นส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบประมาณ 4,000,000.00 บาท หน่วยดำเนินงาน คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัด กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จคือ จำนวนหนังสั้นที่เข้าร่วมประกวด และผู้เข้าร่วมในแต่ละกิจกรรม ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประกวดหนังสั้นส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสาน 2) การอบรมให้ความรู้ด้านวัฒนธรรมอีสานและการผลิตหนังสั้นเพื่อการท่องเที่ยว 3) การประชาสัมพันธ์การประกวดหนังสั้นส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสาน 4) การจัดนิทรรศการเผยแพร่หนังสั้นส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสาน โดยการจ้างงานประกวดหนังสั้นส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสาน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินตามสัญญา 3,989,000.00 บาท และจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ประกาศผลการประกวดหนังสั้นส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสาน ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ เรื่องโปงลางของสินธุ์รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 เรื่อง อีกบ่ดน รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เรื่อง Hecome from the moon และเรื่อง Ran นำ Road (แลนนำโลด) และรางวัลชมเชย เรื่อง สามหนุ่มหน้าใส กับโหวดร้ายหนึ่งอัน Pat 2 และเรื่อง Nila “นิลา”
จากการสอบถามเจ้าหน้าที่และการสังเกตการณ์การเผยแพร่หนังสั้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ทางสื่อออนไลน์ (facebook fanpage) ของการประกวดหนังสั้นยังพบว่า มีการเผยแพร่อยู่ในเพจ แต่ไม่พบหนังสั้นในช่องของยูทูป (YouTube) ในช่อง (Channel) ที่เคยได้รับการเผยแพร่ แต่พบหนังสั้นบางเรื่อง เช่น เรื่องโปงลางของสินธุ์ ได้ถูกเผยแพร่ในช่อง (Channel) ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ และจากการไปเข้าดูในสื่อออนไลน์ในเดือนกันยายน 2564 พบว่า ยังมีหนังสั้นเผยแพร่ในช่องของยูทูป (YouTube) โดยเผยแพร่ที่ช่อง (Channel) ของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพียงวันที่ 29 กันยายน 2564 พบว่า เรื่องที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ เรื่อง “โปงลางของสินธุ์” มียอดเข้าชม จำนวน 68,830 ครั้ง
สตง. ระบุว่า ผลการดำเนินกิจกรรมภาพยนตร์สั้น (หนังสั้น) ทั้ง 3 โครงการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง หน่วยดำเนินงานขาดการบริหารจัดการและการประชาสัมพันธ์ให้ต่อเนื่อง โดยไม่กำหนดแผนดำเนินงานในการนำภาพยนตร์สั้น (หนังสั้น) ไปใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างกระแสการประชาสัมพันธ์ตามแนวคิดในการจัดประกวดหนังสั้นผ่านมุมมองในการประชาสัมพันธ์ประเพณีหรือวิถีชีวิตของชาวอีสาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมอีสาน และและการก าหนดกลุ่มเป้าหมายของโครงการไม่สอดคล้องกับเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่กำหนด จึงไม่สามารถทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และจำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 รวมทั้งหน่วยดำเนินงานขาดการติดตามผลและประเมินผลโครงการจากการเข้าชมสื่อภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ที่มีจำนวนไม่มาก ส่งผลให้การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ไม่สามารถนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ในการเกิดกระแสการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดที่เพียงพอให้สามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว และกระตุ้นให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยว เป็นเพียงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในด้านการประชาสัมพันธ์ของกลุ่มจังหวัดในระยะยาว จึงส่งผลกระทบต่อเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่กำหนด
นอกจากนั้น ยังทำให้เสียโอกาสในการนำภาพยนตร์สั้นหรือหนังสั้นไปใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ที่สนใจหรือประชาชนทั่วไปได้รับรู้ถึงประเพณีวัฒนธรรมแหล่งท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด และนำไปสู่การดำเนินงานโครงการที่ไม่บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และผลที่คาดว่าจะได้รับ
สาเหตุเกิดจากหน่วยดำเนินงานขาดการวางแผนการบริหารจัดการภายหลังจากโครงการแล้วเสร็จ โดยไม่กำหนดแผนการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ภาพยนตร์สั้นหรือหนังสั้นที่ผ่าน การประกวดและได้รับรางวัล เพื่อนำไปใช้เป็นช่องทางในการทำให้เกิดกระแสการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด และขาดการบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและหน่วยงานภาคเอกชน รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษา จึงยังไม่สามารถนำสื่อในด้านการจัดทำภาพยตร์สั้นหรือหนังสั้น นำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดในด้านอื่น ๆ และการกำหนดกิจกรรมยังไม่ทำให้เป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามประเด็นการพัฒนาที่ 3 เป็นไปตามที่กำหนด และหน่วยดำเนินงานขาดการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ เพื่อนำปัญหาหรือข้อจำกัดมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ข้อเสนอแนะ
เบื้องต้น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีข้อเสนอแนะให้หัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. กรณีผลการดำเนินงานยังไม่เป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดในประเด็นการพัฒนาที่ 3 สั่งการให้กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง สำนักงานจังหวัดในกลุ่มจังหวัด และหน่วยดำเนินงานที่รับผิดชอบโครงการ ร่วมประชุมวางกรอบการทบทวนและปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้สอดคล้องกับนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ความสำคัญในการประสานแผนพัฒนา รวมทั้งการจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกรอบของชุดโครงการที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
2. กรณีผลการดำเนินงานยังไม่เป็นตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
2.1 สั่งกำชับให้หน่วยงานที่รับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการการพิจารณาเห็นชอบโครงการ ให้มีความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาความพร้อมและความเป็นไปได้ของโครงการและกิจกรรมตามแนวทางนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.2 สั่งกำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานในการดำเนินงานตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมของกรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายใน ปีงบประมาณกำหนด และหากเป็นงบลงทุนควรพิจารณากรอบระยะเวลาที่เหมาะสมกับกระบวนการจัดหา เพื่อมิให้การบริหารโครงการเกิดความล่าช้า
2.3. ให้พัฒนาการจังหวัดขอนแก่นสั่งกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนด คุณลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาให้ชัดเจน โดยให้คำนึงถึงเกณฑ์ราคาและพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วยตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มาตรา 65 เพื่อป้องกันการอุทธรณ์การประกวดราคา และสั่งกำชับคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาผลการเสนอราคา เพื่อป้องกันมิให้ผู้เสนอราคารายอื่นยื่นอุทธรณ์การพิจารณาผล ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารโครงการเกิดความล่าช้า โดยให้ถือปฎิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 55โดยเคร่งครัด
3. กรณีกิจกรรมภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวขาดการบริหารจัดการและการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง สั่งการให้ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม วัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ และวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการดังนี้
3.1 กำหนดแนวทางหรือกำหนดแผนการประชาสัมพันธ์หนังสั้นตามโครงการ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและหน่วยงานภาคเอกชน รวมถึงบูรณาการกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ของจังหวัด เช่น สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด เป็นต้น เพื่อให้เกิดการเผยแพร่สู่สาธารณชนในช่องทางต่าง ๆ ให้มากที่สุด และเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอีสานให้แพร่หลายและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด
3.2 ในการจัดทำโครงการควรกำหนดกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องและเป็นไปตามการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการที่กำหนด เพื่อให้สามารถวัดผลสำเร็จของการดำเนินงานและบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามแผนที่กำหนด
3.3 กำหนดแผนการติดตามผลและประเมินผลโครงการ เพื่อทราบถึงปัญหาหรือข้อจำกัดของการดำเนินงาน เพื่อจะได้แก้ไขหรือนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการโครงการให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด และนำไปใช้ในการดำเนินงานของโครงการอื่น