ช่วงการระบาดครั้งล่าสุดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่มีการกระจายของเชื้อไปมากกว่าครึ่งประเทศ และทำให้เกิดการบังคับใช้มาตรการปิดเมือง ก็เป็นข้อบ่งชี้ประการหนึ่งเกี่ยวกับวัคซีนที่ผลิตในประเทศจีนได้ดี ซึ่งการติดเชื้อและการแพร่เชื้อว่าไม่ได้สูงนั้นก็มาจากประเด็นที่ว่าการใช้มาตรกรทางสาธารณสุขอันเข้มข้นนั้นยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อคุมการแพร่ระบาดอยู่
สืบเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่สร้างความกังวลอยู่ ณ เวลานี้ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ประเทศจีนนั้นก็ยังคงไม่มีข่าวความเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นเกี่ยวกับมาตรการรับมือไวรัสโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวแต่อย่างใด
ซึ่งจากกรณีดังกล่าวนั้น ทางด้านของสำนักข่าวไฟแนนเชียลไทม์ ของประเทศอังกฤษได้มีการวิเคราะห์ท่าทีเกี่ยวกับ วัคซีนจากจีน และประเด็นต่างๆอันเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเอาไว้ในหัวข้อรายงานชื่อว่าความสงสัยที่เพิ่มมากขึ้นกับวัคซีนของประเทศจีนทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำรายงานดังกล่าวมานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นได้บีบบังคับให้รัฐบาลทั่วโลกต้องดำเนินการกระชับคุมเข้าการเข้าออกชายแดน เร่งระดมการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด และดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมกันอีกครั้งหนึ่งในช่วงตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่ทว่าในเมืองต้าเหลียน ซึ่งเป็นเมืองท่าเรือในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ทางการได้มีการระบุความเสี่ยงของไวรัสนี้ว่าอยู่ในระดับกลางจนถึงระดับต่ำ
ขณะที่หน่วยงานด้านสุขภาพรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญของประเทศจีนนั้นก็ได้กล่าวว่าสิ่งที่สะท้อนจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึง “กระสุนวิเศษ” ที่ป้องกันผู้ติดเชื้อจากโควิดได้อย่างน้อยกว่า 200 ล้านคน และป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตได้ถึงสามล้านราย ในขณะที่ทางตะวันตกนั้นกลับละเลยทำให้การระบาดของไวรัสโอไมครอนนั้นเปิดความไม่เสถียรขึ้นมา
“ชาติตะวันตก ดูเหมือนว่าจะบีบ จับจากไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ถ้าไวรัสนี้ถูกพิสูจน์ว่ามีการติดเชื้อสูงจริง เนื่องจากว่าพวกเขาไม่ได้มีกรผ่อนปรนมาตรการควบคุมที่เป็นไปตามวิทยาศาสตร์ และมีความมั่นใจในวัคซีนที่มากจนเกินไป” สำนักข่าวโกลบอลไทม์ ซึ่งเป็นสำนักข่าวของภาครัฐของประเทศจีนรายงาน
อย่างไรก็ตาม ก็มีประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนและความสงสัยเกิดขึ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนที่ผลิตในประเทศจีน ในแง่ของเรื่องภูมิคุ้มกัน ในขณะที่ประเทศจีนนั้นได้เริ่มมีการฉีดทั้งวัคซีนบูสเตอร์และวัคซีนให้กับเด็กที่อายุตั้งแต่สามปีแล้ว
โดยในประเทศจีน ณ เวลานี้ได้มีการจัดสรรวัคซีนให้กับประชาชนจำนวนกว่า 2.5 พันล้านโดสให้กับประชาชนจำนวนกว่า 1.4 พันล้านคน และมีประชาชนจำนวนกว่าหลายร้อยล้านคนที่ได้รับวัคซีนที่ผลิตจากบริษัทซิโนแวคและรัฐวิสาหกิจซิโนฟาร์ม ซึ่งวัคซีนทั้งสองตัวนั้นเป็นวัคซีนเชื้อตายแทนที่จะเป็นวัคซีนที่ใช้รหัสดีเอ็นเอของวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์และไบออนเทค และวัคซีนจากบริษัทโมเดอร์นา
ขณะที่นายเบน คาวลิง ศาสตราจารย์ด้านการระบาดวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงก็ได้กล่าวว่า ยังมีประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนอีกมากเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนแบบเชื้อตายเมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนชนิดอื่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย อันได้แก่วัคซีนแบบ mRNA และวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า
“ในช่วงการระบาดครั้งล่าสุดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่มีการกระจายของเชื้อไปมากกว่าครึ่งประเทศ และทำให้เกิดการบังคับใช้มาตรการปิดเมือง ก็เป็นข้อบ่งชี้ประการหนึ่งเกี่ยวกับวัคซีนที่ผลิตในประเทศจีนได้ดี ซึ่งการติดเชื้อและการแพร่เชื้อว่าไม่ได้สูงนั้นก็มาจากประเด็นที่ว่าการใช้มาตรกรทางสาธารณสุขอันเข้มข้นนั้นยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อคุมการแพร่ระบาดอยู่”นายคาวลิงกล่าว
นายคาวลิงกล่าวต่อว่าแต่อย่างไรตามการระบาดนั้นก็ได้พิสูจน์ให้เห็นอีกประการว่าประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีต่ออาการเจ็บป่วยจากไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรงนั้นก็ดูเหมือนว่าจะมีสูงด้วยเช่นกัน เพราะการระบาดล่าสุดมีแค่ผู้ป่วยอาการรุนแรงเป็นจำนวนที่เล็กน้อยเท่านั้น
รายงานข่าวว่าประเทศจีนจะจัดกีฬาโอลิมปิก ฤดูหนาวตามกำหนดการ แม้จะมีการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน (อ้างอิงวิดีโอจาก WION)
โดย ณ เวลานี้ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนซึ่งสามารถกระจายไปได้อย่างรวดเร็วนับแต่นครนิวยอร์ก,กรุงลอนดอน และกรุงโซลนั้นถือว่าเป็นบททดสอบใหม่สำหรับวัคซีน
ซึ่งจากข้อมูลชุดแรกที่มาจากนักการระบาดวิทยาที่ประเทศแอฟริกาใต้ พบว่าไวรัสโอไมครอนนั้นมีส่วนเชื่อมโยงกับการติดเชื้อซ้ำในจำนวนที่เยอะมากเมื่อเทียบกับการติดเชื้อระลอกก่อนหน้านี้
มีข้อมูลอีกประการหนึ่งระบุด้วยว่าในหลายประเทศที่ยากจน วัคซีนจากประเทศจีนนั้นกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยชีวิตผู้คนในช่วงแรกของการระบาดได้เป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่โครงการโคแวกซ์ภายใต้กลุ่มพันธมิตรวัคซีนกาวีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาตินั้นพยายามอย่างมากเพื่อจะให้บรรลุเป้าหมายการบริจาควัคซีน แต่ทว่าประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนที่มีต่อวัคซีนจีนนั้นก็ยังคงมีอยู่ต่อไปทั้งในประเทศจีนและในต่างประเทศเอง
โดยต้องยอมรับความไม่แน่นอนดังกล่าวนั้นเกิดมาจากทางรัฐบาลจีนด้วยส่วนหนึ่ง เพราะนับตั้งแต่ที่ไวรัสโคโรน่าได้ถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น ประมาณเกือบสองปีก่อน กรุงปักกิ่งก็ได้เซ็นเซอร์สัญญาณของปัญหาและการตั้งคำถามที่มีต่อการดำเนินการของภาครัฐ
ซึ่งการขาดความโปร่งใสในเรื่องของประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนและภูมิคุ้มกันที่ลดต่ำลงมานั้นได้ทำให้ชาวจีนหลายคนมีความเป็นกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้ปกครองของเด็กที่มีอายุน้อย และกลุ่มผู้สูงอายุ
สืบเนื่องจากข้อมูลที่มาจากการสัมภาษณ์และกลุ่มแชทในโซเชียลมีเดียส่วนที่ ที่สำนักข่าวไฟแนนเชียลไทม์ได้รวบรวมมาได้ พบว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานั้นมีความพยายามต่อต้านไม่ให้ลูกของตัวเองเข้าไปรับวัคซีนอย่างเงียบๆ
ขณะที่ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาซึ่งมีประชากรเกือบ 8 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกนั้นพบว่ามีผู้เสียชีวิตคิดเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของจำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิดทั้งหมด ในภูมิภาคนี้ก็ปรากฎว่าได้รับวัคซีนจากประเทศจีนมากกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับวัคซีนที่ได้รับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยวัคซีนจีนที่ส่งมาให้ยังภูมิภาคนี้โดยมากแล้วก็จะมาจากการบริจาคผ่านโครงการโคแวกซ์
แต่อย่างไรก็ตาม ในภูมิภาคแคริบเบียนนั้นก็เริ่มที่จะเปลี่ยนไปหาผู้ผลิตวัคซีนจากรายอื่นๆมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่นรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐเซาเปาโล ของประเทศบราซิลที่เคยมีความร่วมมือกับบริษัทซิโนแวคเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา ในช่วงเวลาเดียวกับที่ประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู นั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับมาตรการการรับมือโรคระบาด
ก็พบว่ามีการฉีดวัคซีนจากประเทศจีนเป็นจำนวนที่มากที่สุดในช่วงที่มีการระบาดในตอนแรก แต่อย่างไรก็ตามจำนวนดังกล่าวก็ได้ถูกแซงโดยวัคซีนจากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าในภายหลัง
ขณะที่เจ้าหน้าที่จากรัฐเซาเปาโลก็ได้อ้างว่าวัคซีนโคโรน่าแวคที่ผลิตจากบริษัทซิโนแวคนั้นแสดงผลภูมิคุ้มกันได้สูงถึง 78 เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากจะนำมาใช้ป้องกันการป่วยแบบไม่รุนแรงจนถึงรุนแรง โดยอ้างอิงข้อมูลนี้จากผลการทดลองในท้องถิ่น แต่ภายหลังจากที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความโปร่งใสของข้อมูล ไม่กี่วันหลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ประกาศว่าอัตราประสิทธิภาพโดยรวมนั้นอยู่ที่ 50.4 เปอร์เซ็นต์ หรือก็คือสูงกว่าเกณฑ์ที่จำเป็นในการอนุมัติตามกฎระเบียบ ซึ่งตรงนี้นั้นรวมถึงกรณีการป่วยแบบไม่รุนแรงแล้ว
ส่วนข้อมูลจากนักวิจัยของสถาบันบุตันตันของรัฐ ซึ่งเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโคโรน่าแวคในประเทศบราซิลก็ได้ระบุว่าผลจากการเว้นระยะห่างของวัคซีนทั้งสองโดสเป็นระยะเวลาอยู่ที่ 21 วัน จะพบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ที่ 62.3 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าสงสัยนั้นก็ยังคงมีอยู่เกี่ยวกับเรื่องช่วงอายุของภูมิคุ้มกัน
อนึ่งสถาบันบูตันตันนั้นเป็นหน่วยงานที่ได้มีการจัดส่งวัคซีนโคโรน่าแวคเป็นจำนวนกว่า 100 ล้านโดส โดยส่วนมากแล้ววัคซีนจำนวนนี้ถูกผลิตโดยโรงงานของตัวเอง และไม่ได้มีการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมไม่ได้มีการเจรจากับทางรัฐบาลกลางแต่อย่างใด
รายงานข่าวประเทศจีนซึ่งกำลังพัฒนาวัคซีนตัวใหม่เพื่อรับมือกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน (อ้างอิงวิดีโอจาก The Star)
ส่วนที่ประเทสสิงคโปร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาระบุว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนจากบริษัทซิโนแวคหรือจากรัฐวิสาหกิจซิโนฟาร์มนั้นควรต้องเข้ารับวัคซีนในโดสที่สามในเดือนหน้า จึงจะถือว่าเป็นผู้ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัคซีนจากประเทศจีนนั้นจะเริ่มเป็นที่ลดความนิยมลง แต่ความเร็วในการดำเนินนโยบายด้านการทูตวัคซีนของประเทศจีนนั้นไม่ได้ลดลงไปด้วยแต่อย่างใด และดูไม่น่าจะถูกยกเลิกได้โดยง่ายนัก
ซึ่งจากประเด็นนี้นั้นก็ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนนั้นมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าประเด็นเรื่องของการเมืองนั้นอาจไปขัดขวางความร่วมมือกันเทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตะวันตกและจีนเพื่อจะตอบโต้ต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
โดยนายเจอโรม คิม ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยาและอธิบดีสถาบันวัคซีนนานาชาติแห่งสหประชาชาติ และยังเป็นผู้ที่ทำงานกับทั้งผู้พัฒนาวัคซีนจากจีนและตะวันตกก็ได้ออกมาเตือนเช่นกันว่าประเด็นแค่ว่าการฉีดวัคซีนนั้นไม่ใช่ทางออกและทางแก้ปัญหาอย่างเดียวแต่ประการใด
“ในทั่วโลกนั้น เราเห็นการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็มีการติดเชื้อ มีโรค มีการเสียชีวิตจากโควิด-19 อยู่ ดังนั้นเราลืมอาจจะลืมไปแล้วว่าวัคซีนก็เป็นแค่หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตามระบบที่จะป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เท่านั้น ซึ่งระบบในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ว่านี้ก็มีหลายวิธีทั้งการใส่หน้ากาก การเว้นระยะห่างทางสังคม การกักตัวเอง ตรวจหาเชื้อ และการฉีดบูสเตอร์วัคซีน” นายคิมกล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.ft.com/content/c57028b4-573e-4ca4-8266-4d7c0ab72492