“..กรมอนามัยได้จัดกลุ่มกิจการตามความเสี่ยงในการเกิดโอกาสการระบาดของโรค พิจารณาจาก ความหนาแน่นของการให้บริการความสะอาด สุขลักษณะของสถานที่ การระบายอากาศ ลักษณะของกิจกรรมมีโอกาสสัมผัสใกล้ชิด-สัมผัสสารคัดหลั่ง ถอดหน้ากาก/ตะโกน ระยะเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง..”
เป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้ว นับตั้งแต่ที่ไทยเปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยวจาก 61 ประเทศ 2 พื้นที่ ให้เดินทางท่องเที่ยวได้แบบไม่ต้องกักตัวใน 17 พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) ประกอบด้วย
-
กรุงเทพมหานคร
-
สมุทรปราการ (สนามบินสุวรรณภูมิ)
-
กระบี่
-
พังงา
-
ประจวบคีรีขันธ์ (ต.หัวหิน หนองแก)
-
เพชรบุรี (เทศบาลเมืองชะอำ)
-
ชลบุรี (พัทยา อ.บางละมุง ต.นาจอมเทียน ต.บางเสร่ เกาะสีชัง อ.ศรีราชา)
-
ระนอง (เกาะพยาม)
-
เชียงใหม่ (อ.เมือง แม่ริม แม่แตง ดอยเต่า)
-
เลย (เชียงคาน) บุรีรัมย์ (อ.เมือง)
-
หนองคาย (อ.เมือง ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ สังคม)
-
อุดรธานี (อ.เมือง นายูง หนองหาน ประจักษ์ศิลปาคม กุมภวาปี บ้านดุง)
-
ระยอง (เกาะเสม็ด)
-
ตราด (เกาะช้าง)
รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการ ปลดล็อกบางกิจการ กิจกรรมเพื่อให้สอดรับกับการเปิดรับนักเที่ยว และเพื่อเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่ทั้งนี้ ก็เป็นถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ยังน่าเป็นห่วงและกังวล เนื่องจากการคลายล็อกกิจการ กิจกรรม อาจะทำให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ละเลยมาตรการป้องกันตัว และอาจนำสู่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ได้
ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้วกว่า 7 หมื่นราย พบผู้ติดเชื้อสะสม 98 ราย คิดเป็น 0.13%
เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2564 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส่งโทรสารในราชการถึงปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ระบุว่า ขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติตามแนวทางการกำกับ ตรวจสอบ ประเมินติดตาม และเฝ้าระวัง กิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการในพื้นที่เปิดประเทศของกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับแนวทางการกำกับ ตรวจสอบ ประเมินติดตาม และเฝ้าระวัง กิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการในพื้นที่เปิดประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้กรมอนามัยจัดทำมาตรการสำหรับองค์กร หรือ COVID Free Setting (CFS) เพื่อรองรับให้ผู้ประกอบกิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการ ได้ดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ต่อมา CFS ได้ถูกนำมาเป็นมาตรการสำคัญในแผนการเปิดประเทศ โดยการกำหนดให้พื้นที่ที่ทำการเปิดประเทศ กิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการ ต้องดำเนินการตามมาตรการ CFS อย่างเข้มงวด เพื่อให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายในการป้องกันโรคไม่ให้เกิดการระบาด โดยกระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดการประเมิน ติดตาม เฝ้าระวัง และร้องเรียนขึ้น
ส่วนประเภทกิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการ ที่กำหนดให้พื้นที่เปิดประเทศ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นกลุ่มกิจการที่นักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ มีโอกาสการใช้บริการ
กรมอนามัยได้จัดกลุ่มกิจการตามความเสี่ยงในการเกิดโอกาสการระบาดของโรค พิจารณาจาก ความหนาแน่นของการให้บริการความสะอาด สุขลักษณะของสถานที่ การระบายอากาศ ลักษณะของกิจกรรมมีโอกาสสัมผัสใกล้ชิด /มีโอกาสสัมผัสสารคัดหลั่ง/ถอดหน้ากาก/ตะโกน ระยะเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม ความปลอดภัยของ Ecosystem ที่เกี่ยวข้อง
แบ่งความเสี่ยงเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
1) กลุ่มความเสี่ยงระดับปานกลาง
คือ ลักษณะกิจการที่เปิดบริการในพื้นที่เปิด อยู่ในพื้นที่เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง มีโอกาสสัมผัส พูดคุย และถอดหน้ากากน้อย ได้แก่
-
ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ (สถานที่เปิดโล่ง)
-
ร้านอาหาร/ร้านอาหารที่มีการแสดงดนตรี เรียนรู้ (สถานที่เปิดโล่ง)
-
ขนส่งสาธารณะ (ไม่ปรับอากาศ)
-
สวนสาธารณะ สนามกีฬา กลางแจ้ง
-
รถเร่จำหน่ายอาหาร
-
ร้านสะดวกซื้อ/ร้านของที่ระลึก (สถานที่เปิดโล่ง)
-
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
-
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อุทยาน น้ำพุร้อนธรรมชาติ ชายหาด น้ำตก ถ้ำ เกาะ แก่ง หรือ
-
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นในทำนองเดียวกันและเปิดโล่ง
-
งานประชุม งานแสดงสินค้า (ไม่มีชิมอาหาร)
-
กิจการอื่นๆ ตามที่สาธารณสุขกำหนด
2) กลุ่มความเสี่ยงระดับสูง
คือ ลักษณะกิจการที่เปิดบริการในพื้นที่ปิด อยู่ในพื้นที่เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง มีโอกาสสัมผัส พูดคุย ถอดหน้ากาก เช่น ระหว่างรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น ได้แก่
-
ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ (ที่เป็นห้องปิด ใช้เครื่องปรับอากาศ)
-
โรงยิม ฟิตเนส (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ)
-
โรงภาพยนตร์
-
ร้านอาหาร/ร้านอาหารที่มีการแสดงดนตรี (ที่เป็นห้องปิด ใช้เครื่องปรับอากาศ)
-
ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์
-
ขนส่งสาธารณะ (ปรับอากาศ)
-
สวนสนุก สวนน้ำ
-
ร้านเสริมสวย/ตัดผม
-
ร้านสะดวกซื้อ/ร้านของที่ระลึก (ที่เป็นห้องปิด ใช้เครื่องปรับอากาศ)
-
โรงแรม/ธุรกิจนำเที่ยว/รถนำเที่ยว/เรือนำเที่ยว
-
แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวิทยาการ ประวัติศาสตร์ นันทนาการ และแหล่งท่องเที่ยวที่มีอาคารปิด
-
งานแสดงสินค้า (มีชิมอาหาร) งานเทศกาล งานแสดงดนตรีกลางแจ้ง
-
กิจการอื่นๆ ตามที่สาธารณสุขกำหนด
3) กลุ่มความเสี่ยงระดับสูงมาก
คือ ลักษณะกิจการที่เปิดบริการในพื้นที่ปิด อยู่ในพื้นที่เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง บริการมีการสัมผัสใกล้ชิดเป็นเวลานาน หรือ มีโอกาสสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกาย และมีการรวมตัวของคนจำนวนมาก ได้แก่
-
ร้านสัก เจาะ
-
ร้านทำเล็บ/ร้านนวด สปา
-
โรงยิม ฟิตเนส (มีเครื่องปรับอากาศ)
-
สนามกีฬาเพื่อการจัดการแข่งขันกีฬา
-
ตลาดสด ตลาดนัด และตลาดประเภทอื่นๆ
-
งานเทศกาล งานดนตรีในอาคาร
-
กิจการอื่นๆ ตามที่สาธารณสุขกำหนด
กระบวนการกำกับ ตรวจสอบ ประเมิน ติดตาม และเฝ้าระวัง
ส่วนที่ 1 การประเมินรับรองตนเอง (Self-Certification) กิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการ มีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
1) ให้จัดทำรายชื่อ (Name List) ของกิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการ ให้ครอบคลุมทุกกิจการในพื้นที่ที่กำหนดให้เปิดประเทศ หรือ COVID Free Zone ตามที่จังหวัดกำหนด ซึ่งอาจเป็นจังหวัด อำเภอ หรือ พื้นที่เฉพาะ
2) แจ้งประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้กิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการ ดำเนินการ สมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ Thai Stop COVD Plus และศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดบริการตามมาตรการ CFS (ในกรณีที่เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นควบคุมไว้แล้ว
หากไม่ประเมินตนเองผ่าน Thai Stop COVID Plus ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ จะมีความผิดตามมาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
3) เมื่อกิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการ ดำเนินการได้ตามแนวทาง CFS แล้วให้ประเมินรับรองตนเองในระบบ โดยการตอบคำถามทุกข้อ หากไม่ผ่านให้ปรับปรุงบริการ แล้วประเมินใหม่จนผ่าน เมื่อผ่านจะได้รับการปักหมุดบนแผนที่ เพื่อให้ผู้รับบริการทราบถึงกิจการที่เป็นไปตามมาตรฐาน และจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองตนเอง หรือ E-Certificated
4) ให้แจ้งกิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการ พิมพ์ E-Certificated ออกจากระบบ และติดในที่ประชาชนสามารถเห็นได้ชัดเจน สามารถข้าทำการตรวจสอบ E-Certificated ผ่าน QR-Code ได้สะดวก โดยสามารถพิมพ์ E-Certificated ติดในสถานประกอบการได้มากกว่า 1 แผ่นตามความเหมาะสม
5) แจ้งให้ผู้ประกอบการติดป้าย หรือสื่อสาร ให้ผู้รับบริการรีวิว แนะนำ ติชมการดำเนินการตามมาตรการ CFS ผ่าน E-Certificate หรือ E-Sticker (ออกโดยเจ้าหน้าที่) ผ่าน QR-Code อย่างน้อยร้อยละ 5 ของผู้รับบริการแต่ละวัน หรือร้านขนาดเล็ก อย่างน้อยวันละ 5 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินสามารถตรวจสอบได้บนระบบ Thai Stop COVID ในส่วนของเจ้าหน้าที่
6) ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการทราบถึงช่องทางการช่วยเหลือโดย หากมีปัญหาทางระบบ สามารถโทรผ่าน สายด่วน โทร 0811371633 และหากมีปัญหาในแนวปฏิบัติจะระบุเบอร์โทรศัพท์ผู้รับผิดชอบ Setting ท้ายแนวปฏิบัติ CFS
ส่วนที่ 2 การแจ้งตรวจสอบ และร้องเรียน โดยประชาชน (People Voice)
1) ให้จังหวัดสื่อสารประชาสัมพันธ์ และสั่งการให้เจ้าพนักงานในพื้นที่ที่กำหนดเปิดประเทศในจังหวัดสื่อสารให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ทราบถึงสิทธิ์ของประชาชนในการตรวจมาตรการ CFS ของกิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการ
2) จังหวัดอาจจัดตั้งอาสาสมัคร หรือแกนนำประชาชนในพื้นที่ เป็นกลุ่มตรวจสอบ เฝ้าระวังสถานประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ CFS
3) ระบบการแจ้งตรวจสอบ ร้องเรียนประกอบด้วย 3 ช่องทาง
-
สแกน QR Code บน E - Certificated และ E - Sticker ที่ปิดไว้ในสถานประกอบการ
-
บนเว็บไซต์ Thai Stop COVID ที่เมนู รีวิวสถานประกอบการ อาจเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นในกายภาคหน้า
-
แจ้งเบาะแส ด้วยภาพถ่ายบน Facebook : COVID Watch
ส่วนที่ 3 การประเมิน กำกับ ตรวจสอบ และเฝ้าระวังมาตรการเชิงรุก (Proactive Inspection)
1) ตั้งคณะกรรมการประเมิน กำกับ ตรวจสอบ และเฝ้าระวังมาตรการเชิงรุก โดย ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องภาคเอกชน และภาคประชาชน
2) กำหนดเป้าหมายกิจการที่มีความเสี่ยงสูงต่อโอกาสเกิดการระบาด เพื่อกำกับ ตรวจสอบ เข้มข้น ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร ร้านอาหารริมบาทวิถี โรงแรม และสถานบันเทิง รวมถึงกิจการอื่นๆตามที่จังหวัดกำหนดตามสถานการณ์ความเสี่ยงของการระบาด
3) กำหนดจำนวนเป้าหมายในการสุ่มกำกับตรวจสอบเชิงรุก
-
ตรวจสอบจำนวนตามประเภทกิจการตามที่กำหนดใน 2) แล้วสุ่มอย่างน้อยร้อยละ 20 ของจำนวนในพื้นที่ จากนั้นทำแผนสุ่มตรวจทุก 2 สัปดาห์
-
ตรวจข้อมูลการรีวิวสถานประกอบการบนเว็บไซต์ Thai Stop COVID โดยขอสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่จากกรมอนามัย แล้วหากสถานประประกอบการใด ได้รับการร้องเรียน หรือได้รับการประเมินเชิงลบ ให้คณะกรรมการข้างต้น ดำเนินการตรวจสอบกิจการนั้นๆโดยเร่งด่วน หากมีนัยสำคัญต่อโอกาสเสี่ยงต่อการระบาดให้ดำเนินการตรวจ และใช้มาตรการทางกฎหมายทันที หากเป็นเรื่องที่ไม่เร่งด่วนให้ทำแผนร่วมกับการสุมประเมิน กำกับ ตรวจสอบปกติ
4) ให้คณะกรรมการประเมิน กำกับ ตรวจสอบ และเฝ้าระวังมาตรการเชิงรุก จัดทำแผน และดำเนินการสุ่มตรวจอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์ โดยการตรวจสอบดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
-
ดำเนินการบนเว็บไซต์ Thai Stop COVID ในส่วนของเจ้าหน้าที่ โดยในฐานข้อมูลจะปรากฎรายชื่อกิจการที่ประเมินตนเอง แล้วสามารถดำเนินการประเมินได้จากรายชื่อ หรือหากกิจการยังไม่ได้ประเมินตนเองบนระบบ ก็สามารถเพิ่มรายชื่อและประเภทกิจการได้
-
พิมพ์แบบพิมพ์ออกมาจากระบบ แล้วดำเนินการประเมินตรวจสอบกิจการ แล้วจึงนำมาลงระบบภายหลัง โดยการเพิ่ม หรือตรวจสอบรายชื่อ
ทั้งนี้ การประเมินทั้งจากระบบ หรือนำเข้าข้อมูลในระบบ จะทำให้เจ้าหน้าที่ที่ประเมินสามารถออกใบรับรอง หรือ E - Sticker ยืนยันมาตรการ CFS โดยภาครัฐได้ ซึ่ง E - Sticker ให้มอบให้เจ้าของกิจการกิจกรรม สถานประกอบการ ติดเช่นเดียวกับ E - Certificated เพื่อยืนยันการดำเนินการตามมาตรการ และให้ประชาชนตรวจสอบ ผ่าน QR-Code
กรณีตรวจพบว่ มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถปลดใบรับรองดังกล่าว จนกว่าสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องและแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ เพื่อออกใบรับรอง หรือ E - Sticker หรือ E - Certificated ให้ใหม่
5) ดำเนินการตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามมาตรการกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยที่เจ้าพนักงานตามกฎหมายฉบับใดหรือหลายฉบับย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนั้น 1 ทุกฉบับ ส่วนจะใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับใด ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าอยู่ในข่ายบังคับของกฎหมายใด หรือในกรณีที่มีเหตุการณ์นั้นอยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย 2 ฉบับขึ้นไป ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าพนักงานว่าจะเลือกใช้มาตรการตามกฎหมายใดก็ได้ที่จะเกิดประสิทธิผลได้มากกว่าหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย ให้ดำเนินการ ดังนี้
-
ตักเตือน ให้คำแนะนำ ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
-
ออกคำสั่งตามกฎหมาย
-
ดำเนินคดีตามกฎหมายในกรณีผ่าฝืน
6) การรายงาน ให้จังหวัดจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน CFS ในพื้นที่ที่กำหนดให้เปิดประเทศอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์ รายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด/กหม. ใน 2 ส่วน คือ
-
ผลการลงทะเบียน และการประเมินตนเอง ตามกิจการสำคัญ บนระบบ Thai Stop COVID ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร ร้านอาหารบาทวิถี โรงแรม และสถานบันเทิง หรือกิจการตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.กำหนด และคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด/กทม.
-
ผลการสุ่มการประเมิน กำกับ ตราจสอบ และเฝ้าระวังมาตรการเขิงรุก ในกลุ่มกิจการสำคัญ
เหล่านี้ คือแนวทางการกำกับ ตรวจสอบ ประเมินติดตาม และเฝ้าระวัง กิจการ กิจกรรม และสถานประกอบการในพื้นที่เปิดประเทศ ที่กระทรวงมหาดไทย แจ้งทุกจังหวัด เพื่อดูแลตามที่กระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือ เพื่อให้การเปิดประเทศเป็นได้อย่างปลอดภัย
ภาพประกอบ: th.hotels.com
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage