"..สำหรับผู้เสียชีวิตใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ 1,125 ราย พบจากพื้นที่สงขลา 176 ราย ยะลา 233 ราย ปัตตานี 354 ราย และนราธิวาส 362 ราย โดยพบว่า มีผู้ได้รับวัคซีนเข็ม 1 จำนวน 77 ราย และเข็ม 2 จำนวน 3 ราย.."
การระบาดของเชื้อโควิดในพื้นที่ภาคใต้ยังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง
โดยเฉพาะการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2564 จำนวน 8,675 ราย พบว่ามีผู้ติดเชื้อในพื้นที่ภาคใต้ 6 จังหวัดติด 10 อันดับแรกมีผู้ป่วยรวม 2,726 ราย
ประกอบด้วย ปัตตานี 618 ราย สงขลา 586 ราย นครศรีธรรมราช 582 ราย นราธิวาส 352 ราย ยะลา 340 ราย และตรัง 249 ราย
เมื่อจำแนกข้อมูลสำคัญ-รายจังหวัด พบสิ่งที่น่าสนใจ ดังนี้
สงขลา ส่วนใหญ่ติดเชื้อจากคนในพื้นที่
ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ระบุว่า สงขลา ป่วยใหม่ 586 ราย โดยแบ่งเป็น กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ 441 ราย , รายงานการติดเชื้อจากคลินิกคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดิน 32 ราย , ติดเชื้อในชุมชน 28 ราย , โรงเรียนสอนศาสนา 18 ราย , บริษัทหรือห้างร้าน 15 ราย , ยืนยันผลจากผลตรวจ ATK 13 ราย
ตลาด 11 ราย , ติดเชื้อในหน่วยงาน 7 ราย , กลุ่มบุคลากรสาธารณสุข 6 ราย , เดินทางมาจากต่างจังหวัด และเป็นผู้ป่วยยืนยันจากต่างจังหวัด รวม 9 ราย , ติดเชื้อในโรงงาน 3 ราย , กลุ่มตรวจก่อนทำหัตถการ 2 ราย และตรวจก่อนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 1 ราย
โดยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนจนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยสะสมแล้ว 44,792 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศ 44,769 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 23 ราย
ยะลา ติดเชื้อเข้าข่ายกว่า 1.5 หมื่นราย
ผู้ป่วยในจังหวัดยะลา 340 คน กระจายอยู่ในพื้นที่ 7 จาก 8 อำเภอ แบ่งเป็น อำเภอเมืองยะลา 109 ราย อำเภอเบตง 94 ราย อำเภอยะหา 17 ราย อำเภอรามัน 75 ราย อำเภอบันนังสตา 26 ราย อำเภอธารโต 10 ราย และ อำเภอทรงปินัง 9 ราย มีผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (ATK) 430 ราย
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 24 ตุลาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อสะสม 38,577 ราย ซึ่งเป็นการติดเชื้อในจังหวัด 38,551 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 26 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้ติดเชื้อเข้าข่ายสะสม 15,962 ราย
ปัตตานี มีผู้เดินทางจากมาเลเซียนับพันราย
ข้อมูลเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ระบุว่าจังหวัดปัตตานี มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 621 ราย รวมสะสม 34,296 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 354 ราย
สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการรักษา 7,466 ราย แบ่งเป็น อำเภอเมือง 1,585 ราย อำเภอไม้แก่น 289 ราย อำเภอยะหริ่ง 764 ราย อำเภอหนองจิก 586 ราย อำเภอโคกโพธิ์ 475 ราย อำเภอสายบุรี 906 ราย อำเภอแม่ลาน 83 ราย อำเภอยะรับ 687 ราย อำเภอปะนาแระ 214 ราย อำเภอทุ่งยางแดง 341 ราย อำเภอนายอ 854 ราย อำเภอกะพ้อ 387 ราย
ยอดผู้ป่วยวถสมจากต่างจังหวัด 870 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 295 ราย
นอกจากนี้ ยังมีคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศมาเลเซียเพิ่ม 21 ราย อยู่ระหว่างกักตัว 102 ราย ให้กลับบ้าน 5 ราย รวมกักตัวสะสม 1,573 ราย
นราธิวาส ติดเชื้อสูงสุดที่อำเภอเมือง
สถานการณ์โควิดในจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 24 ตุลาคม 2564 มีผู้ป่วยรายใหม่ 265 ราย มาจากพื้นที่อำเภอเมือง 3 ราย อำเภอตากใบ 4 ราย อำเภอยิงอ 3 ราย อำเภอจะแนะ 32 ราย อำเภอแว้ง 2 ราย อำเภอรือเสาะ 36 ราย อำเภอระแงะ 146 ราย อำเภอศรีสาคร 1 ราย อำเภอเจาะไอร้อง 1 ราย อำเภอสุไหงปาดี 14 ราย และอำเภอสุไหงโก-ลก 21 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 34,724 ราย รักษาหายสะสม 31,021 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 363 ราย
ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 – 21 ตุลาคม 2564 ณ เวลา 18.00 น. พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ พบผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมแล้ว 1,125 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 0.68% โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็น ชาย 577 ราย หญิง 548 ราย และมีอายุเฉลี่ยประมาณ 67 ปี
สำหรับผู้เสียชีวิตใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ 1,125 ราย พบจากพื้นที่สงขลา 176 ราย ยะลา 233 ราย ปัตตานี 354 ราย และนราธิวาส 362 ราย
เมื่อดูระยะเวลาตั้งแต่เริ่มป่วยจนเสียชีวิต พบว่า มีผู้ป่วยมากกว่า 21 วันและเสียชีวิต จำนวน 143 ราย , มีผู้ป่วยมากระหว่าง 11-21 วันและเสียชีวิต จำนวน 444 ราย และมีผู้ป่วยน้อยกว่า 10 วันและเสียชีวิต 538 ราย
ขณะที่การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค พบว่า ผู้เสียชีวิตเป็นความดันโลหิตสูง 569 ราย โรคเบาหวาน 369 ราย ภาวะอ้วน 210 ราย ไตวาย 185 ราย ผู้ป่วยติดเตียง 35 ราย โรคอื่นๆ 109 ราย และไม่มีโรคประจำตัว หรือไม่ระบุข้อมูล 205 ราย
โดยปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดโควิด 41.69% เกิดอาการปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ, 36.71% สัมผัสผู้ติดเชื้อ , 10.93% อาศัยหรือเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงหรือสถานที่ที่มีคนหนาแน่น , 9.60% ไม่ทราบสาเหตุ
อีกประเด็นที่สำคัญก็คือ ผู้เสียชีวิต 1,125 รายนั้น พบว่า มีผู้ได้รับวัคซีนเข็ม 1 จำนวน 77 ราย และเข็ม 2 จำนวน 3 ราย
อย่างไรก็ตาม แผนการหยุดยั้งการระบาดครั้งนี้ คือ การฉีดวัคซีนในพื้นที่ให้ได้ 70% ของประชากร
จากฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 21 ตุลาคม 2564 พบว่า 4 จังหวัดชายแดนใต้ที่มีประชากรรวม 3,583,722 ราย ขณะนี้ฉีดวัคซีนเข็ม 1 รวม 1,661,157 ราย หรือ 46.35% เข็ม 2 รวม 1,121,156 ราย หรือ 31.28% และเข็ม 3 รวม 61,966 ราย หรือ 1.73%
แบ่งเป็น สงขลา ฉีดวัคซีนเข็ม 1 จำนวน 744,822 รายหรือ 50.08% เข็ม 2 จำนวน 546,922 ราย หรือ 36.77% และเข็ม 3 จำนวน 25,907 หรือ 1.74%
ปัตตานี ฉีดวัคซีนเข็ม 1 จำนวน 306,376 รายหรือ 41.23% เข็ม 2 จำนวน 184,542 ราย หรือ 24.84% และเข็ม 3 จำนวน 11,822 หรือ 1.59%
ยะลา ฉีดวัคซีนเข็ม 1 จำนวน 281,549 รายหรือ 51.38% เข็ม 2 จำนวน 188,713 ราย หรือ 34.44% และเข็ม 3 จำนวน 9,443 หรือ 1.72%
นราธิวาส ฉีดวัคซีนเข็ม 1 จำนวน 328,410 รายหรือ 40.78% เข็ม 2 จำนวน 200,979 ราย หรือ 24.96% และเข็ม 3 จำนวน 14,794 หรือ 1.73%
ขณะที่ ศบค.ส่วนหน้า ที่มีพลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กำหนดแผนการประชุมทุกจันทร์ พุธ ศุกร์ เพื่อติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
โดยแบ่งเป็น 4 ภารกิจสำคัญ ดังนี้
1.การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ โดยให้จัดทำสื่อที่สอดคล้องและสนับสนุน ศบค. และ จังหวัด สื่อสารและเผยแพร่ผ่านช่องทางของเครือข่าย ศอำเภอบต. และภาคีเครือข่าย เช่น วิทยุ บัณฑิตอาสา ฯลฯ
2.มาตรการเยียวยา โดยให้จัดเตรียมข้อมูล รวบรวม และกำหนดมาตรการในการเยียวยา ประสานหน่วงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดทำแผนหรือโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล
3.มาตรการในการผ่อนคลาย ให้ประสานและรวบรวม กำหนดมาตรการในการบริหารจัดการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นเกี่ยวกับการเรียนแบบออนไซต์ (On Site) , การบริหารจัดการแรงงานก , การบริหารจัดการระบบคมนาคม (รถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน)
4.งานธุรการและอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลและเอกสารประกอบการประชุม จัดหาและสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค วัสดุ และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ฯลฯ
ทั้งหมดเป็นภาพรวมสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ภาคใต้ ที่ ศบค.คาดหวังว่า หากฉีดวัคซีนครบ 70% ของประชากร และจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน กว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage