"...จะเห็นได้ว่าในช่วงของการเผชิญหน้ากับการระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นช่วงโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการต่อสู้กับวิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับมือกับข้อจำกัดด้านทรัพยากร ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและทั่วถึง การเพิ่มประสิทธิภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และการสร้างความร่วมมือตามหลักปฏิบัติ Circular Economy..."
ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 และการรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น การปรับใช้หลัก Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) โดยการปรับใช้วัสดุ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน ไปพร้อมๆกับการผสานความร่วมมือของทุกภาคส่วน ถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดของทรัพยากรที่เรากำลังเผชิญ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมการเพื่อรับมืออย่างมีศักยภาพสำหรับอนาคต
กลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ 'GC Group' พร้อมกับพันธมิตรได้พัฒนาแนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์ COVID-19 ตามแนวทาง Circular Economy ดังนี้
@การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถูกหลัก และตอบโจทย์ความต้องการ
-Disposable Gown : GC สนับสนุนเสื้อกาวน์ 120,000 ตัว สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เสื้อกาวน์ดังกล่าวผลิตจากเม็ดพลาสติกประเภท PE (Polyethylene) แบรนด์ InnoPlus ซึ่งเป็นการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกทางการแพทย์ พร้อมกับการออกแบบตัดเย็บให้สวมใส่ง่ายสบาย ปลายแขนยาว น้ำหนักเบา ช่วยให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสารคัดหลั่งและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ป่วย
-Medical Protective Suit : GC และบริษัทในกลุ่มร่วมสนับสนุนชุดอุปกรณ์ป้องกันที่ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 500 ชุด โดยมีคุณสมบัติป้องกันในลักษณะ Medical Suit มีมาตรฐานสูง ใช้เฉพาะในห้องผ่าตัดและ ICU สำหรับคนไข้ที่มีอาการรุนแรงและมีโอกาสแพร่กระจายของเชื้อสูง เพื่อป้องกันบุคลากรที่ทำหัตถการหรือที่อยู่ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น โดยการสนับสนุนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือกับวชิรพยาบาล ซึ่งชุดอุปกรณ์ที่สนับสนุนแต่ละชุดประกอบด้วย
Isolation Gown : บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด (HMC) บริษัทในกลุ่ม GC สนับสนุนเม็ดพลาสติก PP (Polypropylene) สำหรับผ้าสปันบอนด์ ผสม Meltblown เพื่อผลิตเป็นเสื้อกาวน์
หมวกอัดอากาศป้องกันการติดเชื้อ (PAPRs) : GC ได้นำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาวัสดุ และเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ มาประยุกต์ใช้ในการขึ้นรูปกล่องกรองอากาศของอุปกรณ์ PAPR ต้นแบบ และการผลิต 3D Printed Face Shield ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน ง่ายต่อการทำความสะอาดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70% โดยในส่วนของปีกหมวก (Visor) ผลิตจากเส้นใยที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพประเภท PLA/PBS Compound ทั้งนี้ GC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรกว่า 30 ราย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ในการผลิตดังกล่าว
ในชุดอุปกรณ์ป้องกันระดับสูงยังประกอบไปด้วย : ผ้าคลุมหมวก ผลิตจาก เม็ดพลาสติกประเภท PET 100%, Coverall (PE), และ Shoe Cover (PP Spunbond)
Face Shield : GC ได้ส่งมอบหน้ากากปกป้องใบหน้า จำนวน 10,000 ชิ้น ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติก Polyethylene Terephthalate (PET) ของบริษัทฯ เพื่อป้องกันการสัมผัสสารคัดหลั่งและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ป่วย และปกป้องใบหน้าของผู้สวมใส่
PE Films : GC สนับสนุนเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง InnoPlus ประเภท (LDPE/LLDPE/HDPE) ประมาณ 30 ตัน เพื่อผลิตฟิล์มพลาสติกกว่า 3,000 ม้วน ซึ่งผลิตโดยผู้ประกอบการพลาสติก 25 ราย เพื่อบริจาคแก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลกว่า 900 แห่งทั่วประเทศ โดยฟิล์มพลาสติกดังกล่าวมีความหนาตั้งแต่ 20-100 ไมครอน มีคุณสมบัติเหนียวแน่น คงทน ยืดหยุ่นได้ดี นำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายในการป้องกัน ลดการแพร่เชื้อ ร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฉากกั้น, ผ้าปูเตียง, ฟิล์มห่อหุ้มเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
Upcycled Mask : ด้วยนวัตกรรม Upcycling ของ GC บริษัทฯ ได้ต่อยอดการนำทรัพยากรมากลับมาใช้ใหม่ ผ่านกระบวนการเพิ่มคุณค่าด้วยการสนับสนุนหน้ากากผ้าอัพไซคลิงกว่า 22,000 ชิ้น สำหรับประชาชนเพื่อสวมใส่ป้องกัน และลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ : GC ผนึกกำลังพันธมิตร สนับสนุนเซตบรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกสำหรับบรรจุอาหารแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ผ่านโครงการ "สู้ไปด้วยกัน l Stronger Together" ให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารต่างๆ กว่า 200 ร้าน ที่มีความจำเป็นต้องปรับการให้บริการขายอาหารผ่านระบบออนไลน์บนแอพพลิเคชั่น Wongnai และ LINEMAN โดยเซตบรรจุภัณฑ์พลาสติกนี้ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ ประเภท Bio-PBS มีความปลอดภัย ถูกสุขอนามัย เหมาะสำหรับการเดลิเวอรี เซตบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยชามใส่อาหาร ถุงหูหิ้ว และช้อนส้อม โดยบรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นได้รับการรับรองด้วยฉลาก GC Compostable ซึ่งเป็นพลาสติกที่ผลิตจากพืช สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ การสนับสนุนในครั้งนี้สามารถลดปัญหาของขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อมรวมจำนวนกว่า 300,000 ชิ้น
@การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ
-ตู้โควิเคลียร์ : GC และบริษัท NPC S&E จำกัด บริษัทในกลุ่ม GC ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาตู้โควิเคลียร์ หรือตู้พ่นซิลเวอร์นาโนฆ่าเชื้อ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส COVID-19 รวมถึงสนับสนุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน 2 ชนิดได้แก่ Glycerine และ Triethanolamine (TEA) ซึ่ง GC เป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศไทย ไว้ใช้ร่วมกับตู้โควิเคลียร์ ให้กับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล จำนวน 13 ตู้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปที่จำเป็นต้องมาใช้บริการในโรงพยาบาล
-Alcohol Gel : GC สนับสนุน Glycerine และ Triethanolamine (TEA) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทในกลุ่ม (GGC และ GC Glycol ตามลำดับ) เพื่อใช้วัตถุดิบสำหรับผลิตเจลแอลกอฮอล์ 1,000,000 ขวด หรือประมาณ 50,000 ลิตร สำหรับโรงพยาบาล เพื่อแจกจ่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมกับ กลุ่มบริษัทของ บริษัท ไทยเบเวอเรจ จำกัด (มหาชน) อีกทั้งยังได้ประสานและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ เช่น กองเรือยุทธการ และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น
@การให้ความรู้ สร้างความตระหนักถึงการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อ
การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง : การเผยแพร่วิธีการจัดการกับหน้ากากอนามัยหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการกระจายของเชื้อไวรัสได้ พร้อมทั้งแนวทางการคัดแยกขยะประเภทอื่นๆ อย่างถูกต้อง
-การให้ความรู้การทำหน้ากากอนามัย : ร่วมกิจกรรมโครงการให้ความรู้และป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ผ่านการสอนการทำหน้ากากอนามัยที่สามารถซัก และนำกลับมาใช้ใหม่ได้
@ร่วมมือพันธมิตรวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์-วิธีรักษามะเร็ง-โรคหัวใจวาย
GC Group ยังร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ และบริษัทเอกชน วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการรักษารวม 14 ประเภท โดยบางส่วนมีการส่งมอบไปแล้วและบางส่วนอยู่ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ 1.Colostomy Bag (ถุงทวารเทียม) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อรองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม 2.ถุงรักษ์ร่าง และถุงรักษ์รูป ใช้สำหรับเก็บร่างและสมองในสภาวะสุญญากาศ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์
3.Blood Collector (ถุงตวงเลือด) สำหรับวัดปริมาณเลือดที่สูญเสียระหว่างคลอดธรรมชาติ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตหลังคลอด 4.Fluid Collector (ถุงรองรับของเหลวในห้องผ่าตัด) สำหรับเป็นทางรวมสารละลายใช้ในห้องผ่าตัด 5.ถ้วย Bio สำหรับคนไข้โรคติดเชื้อ โดยเป็นภาชนะบรรจุอาหารสำหรับผู้ป่วย COVID19 เพื่อใช้แล้วทิ้ง ลดอัตราและความเสี่ยงการติดต่อ
6.โมเดลจำลอง 3D Printing Technology สำหรับการเรียนการสอนทางการแพทย์ (3D Anatomical Models for Surgical Planning and Clinical Training) ได้แก่ 1. Spine Model (เพื่อวางแผนการผ่าตัดโรค ภาวะสมองเคลื่อน) 2. Skull Model (เพื่อศึกษากะโหลกมนุษย์) 3. Ear Bone Model (เพื่อศึกษาระบบกระดูกหู) 4. Cover Brace (อุปกรณ์ครอบขาเทียม)
7.การวิจัยและพัฒนากายอุปกรณ์เพื่อสัตว์ทะเลพิการ-โครงการ ‘Extreme Plus Sea Turtle Prostheses’ (โครงการพัฒนาขาเทียมสำหรับเต่าทะเล) 8. APD Machine (เครื่องควบคุมสารละลายล้างไตผ่านทางช่องท้อง) สำหรับคนไข้โรคไตใช้ควบคุมสารละลาย ล้างไตผ่านทางช่องท้อง 9.APD Connector (อุปกรณ์ประกอบ APD Machine) สำหรับรวมสารละลายสำหรับคนไข้ล้างไต ผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่อง
10.CAPD Bag (ถุงน้ำยาล้างไตผ่านทางช่องท้อง) สำหรับใส่น้ำยาล้างไต 11.Orthosis Sheet (งานกายอุปกรณ์) สำหรับคนไข้ด้านกายอุปกรณ์ 12.ผ้า Upcycling สำหรับใช้งานของโรงพยาบาล ได้แก่ ผ้าม่าน ชุดแพทย์ ชุดพยาบาล เครื่องแบบพนักงาน ผ้าปู ปลอกหมอน บริหารจัดการขยะจากขวด PET มาทำผลิตภัณฑ์ผ้าใช้ในโรงพยาบาล
13.โครงการศึกษาความเป็นได้ในการพัฒนานวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยวิธีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัด และ14.โครงการพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้านการรักษาโรคหัวใจวาย
จะเห็นได้ว่าในช่วงของการเผชิญหน้ากับการระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นช่วงโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการต่อสู้กับวิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับมือกับข้อจำกัดด้านทรัพยากร ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและทั่วถึง การเพิ่มประสิทธิภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และการสร้างความร่วมมือตามหลักปฏิบัติ Circular Economy
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage