เครือซีพี ร่วมกับ พม. ภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา รวม 24 องค์กร ประกาศเจตนารมณ์ "มุ่งมั่นในการสร้างสังคมเสมอภาค ปราศจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ”
เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ มหานาค – นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เป็นประธานในพิธีลงนามประกาศเจตนารมณ์ "การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” จัดโดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา จำนวน 24 องค์กร ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ ในการนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย ดร. เนติธร ประดิษฐ์สาร ผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แทนร่วมลงนามและรับมอบประกาศเกียรติคุณในฐานะองค์กรต้นแบบในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศอย่างเป็นรูปธรรม
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ด้วยประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ทำให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในการส่งเสริม พิทักษ์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี รวมทั้งกลุ่มอื่น ๆ ที่มีเพศสภาพไม่ตรงตามเพศที่กำเนิด เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและขจัดการเลือกปฏิบัติ จากนั้นได้ผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ดังนั้น สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติให้ทุกคนได้รับรู้ สามารถเข้าถึงอย่างสะดวกและรวดเร็ว นำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการปรับทัศนคติและค่านิยมของคนในสังคมว่าด้วยความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งต้องอาศัยกลไกรัฐที่มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ รวมทั้งเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันอุดมศึกษา และภาคประชาสังคม ตลอดจนประชาชนทั่วไป
ดร. เนติธร ประดิษฐ์สาร ผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ ภูมิใจที่ได้รับเกียรติเป็น 1 ใน 24 องค์กรแรกของประเทศไทย ที่ได้ร่วมลงนามและประกาศเจตนารมณ์ "การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” ซึ่งสอดคล้องกับการประกาศนโยบายเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านภายในเครือฯ การร่วมประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้ ตอกย้ำว่าเครือฯ ให้ความสำคัญและจะนำประกาศด้านสิทธิมนุษยชนและนโยบายที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามประกาศเจตนารมณ์นี้ ซึ่งมี 6 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ 1.การแต่งกายตามอัตลักษณ์ทางเพศสภาพหรือเพศสภาวะของบุคคล 2. การจัดพื้นที่ที่เหมาะสมตามอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ 3. การประกาศรับสมัครงาน ไม่นำลักษณะเฉพาะทางเพศมากำหนดเป็นคุณสมบัติของผู้สมัคร 4. การใช้ถ้อยคำ ภาษาและกิริยาท่าทางที่เหมาะสม ไม่เสียดสี หรือลดคุณค่าของทุกเพศ 5. การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในในสัดสวนที่เหมาะสมกับทุกเพศสภาพ และ 6. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน สิ่งเหล่านี้หลายข้อเป็นสิ่งที่เครือฯ ดำเนินการอยู่แล้ว และจะขยายผลให้ครอบคลุมบริษัทในเครือฯ ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย ยังรวมถึงอีก 21 ประเทศที่เครือฯ ดำเนินกิจการ วันนี้เป็นก้าวแรกที่ส่งเสริมให้บริษัทในเครือฯ จัดทำนโยบายแผนปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมว่าจะนำเจตนารมณ์นี้ไปสู่การปฏิบัติจริงตามมาตรฐานสากลระดับโลกได้อย่างไร
ทั้งนี้ 24 องค์กร ที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในครั้งนี้ ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์,สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ,บจ. รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.,บมจ. ปตท., ม.ธรรมศาสตร์ ,ม.นเรศวร ,ม.เชียงใหม่, ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง,ม.กรุงเทพธนบุรี, เครือเจริญโภคภัณฑ์, กลุ่มเซ็นทรัล, บมจ. สหพัฒนพิบูล, บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ. เสนาดีเวลลอปเม้นท์, บจ. ครีเอท อินเทลลิเจ้นซ์, บจ. แอมบาสเดอร์ เวิลด์, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, กรุงศรี คอนซูมเมอร์, บจ. พีบี. สมาร์ท เอ็นเนอยี, บจ.อเด็คโก้ เพชรบุรีตัดใหม่, บจ. สยามพลัสโคโค่นัทออยล์, บจ.เคเจ อินเตอร์เนชั่นแนล, บจ. ไบรท์ แอนด์ ไชน์, สมาคมเครือข่ายธุรกิจ SME รุ่นใหม