การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้การทำ MOU
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้การทำ MOU โดยละเอียดกันในบทความนี้ ที่จะมาขยายความคำว่า MOU ให้ได้ศึกษากัน ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้กระจ่าง ว่า MOU คืออะไรกันแน่
MOU คืออะไร
ก่อนจะทำความเข้าในว่า MOU คืออะไร มาดูชื่อคำเต็มของ MOU กันก่อน ซึ่งย่อมาจาก Memorandum of Understanding คือ “บันทึกความเข้าใจ” โดยในเรื่องของการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้น MOU ก็คือ หนังสือหรือเอกสารที่มีการบันทึกข้อตกลง หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ เป็นการบันทึกเอาไว้เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันทุกฝ่ายตั้งแต่ภาครัฐ เอกชน ไปจนถึงบุคคลทั่วไป
การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU คืออะไร
การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU คือการนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการขึ้นทะเบียนตามขั้นตอน เป็นแรงงานที่อยู่ในระบบ และจะได้รับการคุ้มครองแรงงานอย่างเป็นธรรม แตกต่างจากแรงงานต่างด้าวบัตรชมพู ที่เบื้องต้นอาจเข้ามาอย่างไม่ถูกกฎหมาย หรือเดินทางเข้าประเทศมาตามช่องทางธรรมชาติ แต่ภายหลังหากมีการมาขึ้นทะเบียนและทำบัตรชมพูตามขั้นตอน ก็จะเป็นแรงงานได้รับอนุญาตทำงานในประเทศไทยแบบชั่วคราว และต้องต่ออายุบัตรชมพูตามระยะเวลาที่กำหนด
คนต่างด้าวประเทศที่ต้องทำ MOU คืออะไรบ้าง เพื่อมาทำงานในไทย
ในการทำ MOU นำเข้าแรงงานต่าง
ด้าวมาทำงานในประเทศไทย เป็นหนังสือที่มีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา
เอกสารที่ใช้ในการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU คืออะไรบ้าง
กรณีนายจ้างเป็นบุคคลธรรมดา
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2. แบบคำขอ ตม.7
3. สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออก (ตม.6) (สำเนาทุกหน้าที่มีข้อมูล)
4. สำเนาใบอนุญาตทำงานปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (สำเนาใบรับคำขอใบอนุญาตทำงานพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน)
5. สำเนา ทร.38/1 (ต้องรับรองสำเนา)
6. สำเนาใบรับรองแพทย์ (ต้องรับรองสำเนา)
7. แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างด้าว
8. หนังสือรับรองแรงงานต่างด้าวเข้าทำงาน (นายจ้างเป็นผู้ลงนามเท่านั้น)
9. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)
10. สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)
11. สำเนาใบโควตาปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (ต้องรับรองสำเนา)
12. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีนายจ้างมาไม่ได้)
13. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2. แบบคำขอ ตม.7
3. สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออก (ตม.6) (สำเนาทุกหน้าที่มีข้อมูล)
4. สำเนาใบอนุญาตทำงานปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (สำเนาใบรับคำขอใบอนุญาตทำงานพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน)
5. สำเนา ทร.38/1 (ต้องรับรองสำเนา)
6. สำเนาใบรับรองแพทย์ (ต้องรับรองสำเนา)
7. แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างด้าว
8. หนังสือรับรองแรงงานต่างด้าวเข้าทำงาน (นายจ้างเป็นผู้ลงนามเท่านั้น)
9. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนของนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดฉบับนายทะเบียนรับรอง ไม่เกิน 6 เดือน
10. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)
11. สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)
12. สำเนาใบโควตาปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (ต้องรับรองสำเนา)
13. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีนายจ้างมาไม่ได้)
14. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
หมายเหตุ กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล เอกสารรายการที่ 8-13 ต้องประทับตราบริษัทด้วย
ความสำคัญของแรงงานต่างด้าว MOU คืออะไร
มาดูความสำคัญของ MOU นอกเหนือไปจากความหมายว่า MOU คืออะไร ดังนี้
แรงงานถูกกฎหมาย
ความสำคัญแรกของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวภายใต้การทำ MOU คือการได้นำแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายตั้งแต่ต้น แรงงานทุกคนสามารถพำนักอาศัยในประเทศได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถประกอบอาชีพตามทักษะที่มีได้อย่างไร้ข้อกังวล กรณีเจ็บป่วยก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ง่ายกว่าแรงงานผิดกฎหมาย
ลดปัญหาอาชญากรรม
ปัญหาอันดับต้น ๆ ของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย คือปัญหาอาชญากรรม ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อใครเลย รวมถึงนายจ้างเอง หากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ส่วนหนึ่งคือการนำเข้าแรงงานต่างด้าวภายใต้การทำ MOU จะดีที่สุด เพราะเป็นบุคคลที่มีการขึ้นทะเบียน มีการแสดงตัวตนชัดเจน หากเกิดปัญหาสามารถตามเรื่องได้ง่ายกว่าแรงงานเถื่อนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งสืบหาตัวตนที่แท้จริงได้ยาก
สามารถนำเข้าแรงงานได้ครั้งละจำนวนมาก
การนำเข้าแรงงานต่างด้าวภายใต้การทำ MOU ที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะทำให้นายจ้างสามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวได้หลายคนต่อการนำเข้าหนึ่งครั้ง ส่งผลดีในเชิงธุรกิจ ช่วยให้วางแผนต่อยอดการทำงานในอนาคตได้ ในเรื่องของการจัดการแรงงานภายในองค์กร
การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้การทำ MOU ถือเป็นความสำคัญที่จำเป็นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้จะเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาข้อบังคับเอาไว้ว่า MOU คืออะไร เพราะมีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้สามารถใช้ตัวช่วยได้ด้วยการพึ่งบริการผู้เชี่ยวชาญในด้านการนำเข้าแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะ