กมธ.การศาสนาฯ วุฒิสภา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติพ่อดีเด่นแห่งชาติ-ด้านการพัฒนาชุมชน ประจำปี 2566 “วิษณุ” ปาฐกถาพิเศษรำลึกพ่อแห่งแผ่นดิน ในหลวงรัชกาลที่ 9
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ที่ อาคารรัฐสภา (ฝั่งสภาผู้แทนราษฎร) คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมจริยธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ จัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติพ่อดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 35 คน เพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานอนุกรรมมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม วุฒิสภา กล่าวว่า ตามที่คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมจริยธรรม ได้กำหนดจัดงานน้อมรำลึกพ่อหลวงไทย ร่วมใจเชิดชูวัฒนธรรมและจัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่พ่อดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องบุคคลซึ่งเป็นพ่อที่ดีสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติ โดยมีการประกาศรายชื่อพ่อดีเด่นทั้ง 35 ท่าน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา ตนขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลพ่อดีเด่นประจำปี 2566 ทุกท่าน ขอให้ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคมทั้งด้านการเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดีตลอดจนการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจของตนเองให้ดีเช่นนี้ต่อไป
นายแพทย์ฆนัท ครุธกูล ประธานคณะทำงานจัดงานพ่อดีเด่นแห่งชาติ วุฒิสภา กล่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรมและคณะทำงานคนดี สุขภาพดีในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรมฯ วุฒิสภา ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และการเผยแพร่คุณธรรมและจริยธรรมตามหลักคุณธรรม 5 ประการ ซึ่งประกอบด้วย กตัญญู วินัย สุจริต พอเพียง และจิตอาสา โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างคนไทยให้มีคุณภาพ สุขภาพดี เป็นคนดี เก่ง กล้า ทั้งนี้ การสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับคนไทย จะต้องมีเครื่องมือ รูปแบบ และวิธีการสื่อสารที่ให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย (Generations) อย่างเป็นระบบตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน สังคม เนื่องจากแต่ละช่วงวัยมีทัศนคติ แนวคิด และประสบการณ์ชีวิตในบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกัน
นายแพทย์ฆนัท กล่าวว่า เมื่อกล่าวถึง ‘พ่อ’ ถือว่าเป็นผู้มีพระคุณและบทบาทอย่างสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญูกตเวที โดยวันพ่อแห่งชาติวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็นพระบิดาแห่งชาติ สมาคมฯ มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านฯ ซึ่งมีต่อพสกนิกรทั้งประเทศและเทิดทูนพระองค์ท่านไว้เหนือเกล้า ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานจึงได้คัดเลือกบุคคลตัวอย่างเพื่อรับรางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยพิจารณาคัดเลือกจากหลักเกณฑ์ เป็นผู้มีผลงานโดดเด่นและทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างต่อเนื่อง จำนวน 35 ท่าน และ พ่อดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชน จำนวน 20 ท่าน เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นต้นแบบในการส่งเสริมสถาบันครอบครัวมีคุณธรรมและจริยธรรมสืบไป
ขณะที่ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรีและพ่อดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ.2565 กล่าวปาฐกถาพิเศษ “รำลึกพ่อแห่งแผ่นดิน ในหลวงรัชกาลที่ 9” ว่า การมอบรางวันพ่อดีเด่นวันนี้เกิดจากความร่วมมือหลายภาคส่วน ตนจึงขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่าน ตามที่ประเทศไทยประกาศให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ ซึ่งเป็นวันที่ทำให้ลูกได้คิดถึงความเป็นพ่อและได้คิดถึงในวันที่ตนเองจะต้องเป็นพ่อ จะเป็นพ่อที่ดีได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยโชคดีที่มีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็นพระบิดาแห่งชาติ ทรงเป็นปกครองราษฎรด้วยธรรมราชา ประชาชนทุกคนเป็นเหมือนลูกของพระองค์ท่าน นอกจากนั้นยังทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกรไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใด อยู่ห่างไกลสักเพียงใด ก็มิทรงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎร ทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
“หากรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อหลวงที่ทรงเป็นพ่อของแผ่นดิน ทรงทำเพื่อประชาชน เมื่อมาถึงวันพ่อ เราจะทำอะไรเพื่อตอบแทนพ่อของเราอาจทำได้ง่ายๆ เพียงหอมแก้ม ไปกอด ไปรับประทานอาหารร่วมกัน ให้การ์ด มอบพวงมาลัยให้พ่อ แต่เราจะทำเช่นนั้นกับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ไม่ได้ ดังนั้น เราสามารถตอบแทนบุญคุณพ่อหลวงของเราได้ 2 ทาง คือ 1.รักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชนุภาพ อย่าให้ผู้ใดจาบจ้วงล่วงละเมิดพระองค์ท่านได้ และ 2.ปฏิบัติและเดินตามรอยที่พระองค์ท่านทรงเป็นตัวอย่างให้กับประชาชนตลอดมา หากเราร่วมกันสานต่อก็จะเป็นการสนองพระมหากรุณาธิการ เป็นตามหลักคำสอนทางพุทธศาสนา ‘มาตาปิตุอุปัฏฐานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง’ ซึ่งเป็นมงคลชั้นเลิศที่สุดของมนุษย์” ศ.ดร.วิษณุ กล่าว
สำหรับรายชื่อผู้ที่ได้เข้ารับรางวัลเชิดชูเกียรติพ่อดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 35 ท่าน ได้แก่
1.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
2.นายเจริญ สิริวัฒนภักดี
3.รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
4.นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
5.นายโยธิน เนื่องจำนงค์
6.นายอนันต์ สิรการัณย์
7.นายพันธ์เลิศ ใบหยก
8.นายสุรพล สุประดิษฐ์
9.ดร.สมชาย เหล่าสายเชื้อ
10.นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ
11.นายกนกศักดิ์ ปิ่นแสง
12.นายเสรี สุวรรณภานนท์
13.ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร
14.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
15.นายสุจินต์ พฤกษานานนท์
16.นายอนุฤทธิ์ เกิดสินธ์ชัย
17.นายเผชิญ แก้วนพรัตน์
18.นายสุภกิต เจียรวนนท์
19.พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม
20.นายกมลภพ วีระพละ
21.นายธนัตถ์ ศรมณี
22.นายชาญณรงค์ พานิชนันทนกุล
23.พล.อ.ต.นินาท มูลจนะบาตร์
24.พล.ต.วุทธยา จันทมาศ
25.พล.ต.อาจิณ ปัทมจิตร
26.พล.ต.วรยส เหลืองสุวรรณ
27.ดร.วิกร ภูวพัชร์
28.พล.ท.ฐิตวัชร์ เสถียรทิพย์
29.นายวิทัย รัตนากร
30.นายมนต์ชัย รุ่งชาญชัย
31.นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล
32.ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
33.ดร.เทอดศักดิ์ บุญทศ
34.ดร.สุธี โมกขะเวส
35.ศ.ดร.อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์
รายชื่อผู้ที่ได้เข้ารับรางวัลเชิดชูเกียรติพ่อดีเด่นแห่งชาติ ด้านการพัฒนาชุมชน 20 ท่าน ได้แก่
1.ดร.อิทธิกร ขาเดช
2.ดร.อนุสร เวสิทธิ์
3.พ.ต.ท.สมเดช เชื้อดี
4.พ.อ.(พ) เฉลิมเกียรติ ขวัญเมือง
5.ร.ต.ท.ปรีชา นาดี
6.ร.ต.ต.เศกศักดิ์ แพงศรี
7.ร.ต.ต.ประนอม วันหลัง
8.ร.อ.ชุมพล ตุลาพันธุ
9.นายพิชัย สิทธินุกูลชัย
10.นายจรัญ ลีลาน้อย
11.นายบุญธรรม ป้อมแน่น
12.นายวิทยา กองมณี
13.นายชัชวาลย์ ปีตะนีละผลิน
14.นายเอกพล สุวรรณ
15.นายสามารถ ปั้นบัวงาม
16.นายต่อพงษ์ ส่งศรีโรจน์
17.นายโกวิทย์ โกศลกิตติพงษ์
18.นายประดิษฐสรณ์ เอกวิริยะกิจ
19.นายพิชัย น้อยอาษา
20.นายสุภา น้อยเรือน