ส่งออกไทยเดือน มิ.ย. ยังหดตัวต่อเนื่อง แม้ในระยะต่อไปมีแรงหนุนจากฐานต่ำ แต่ต้องจับตาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
มูลค่าส่งออกสินค้าไทยเดือน มิ.ย. หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9
มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในเดือน มิ.ย. 2023 อยู่ที่ 24,826.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -6.4%YOY หดตัวเพิ่มขึ้นจาก -4.6% ในเดือนก่อน มูลค่าส่งออกหักทองคำและอาวุธ ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้สะท้อนการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจริง หดตัวเพียง -5.0% และหากพิจารณามูลค่าการส่งออกเทียบเดือนก่อนแบบปรับฤดูกาลหดตัวเพียง -0.7%MOM_sa โดยรวมมูลค่าส่งออก 6 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 141,170.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -5.4%
ภาพการส่งออกรายสินค้าหดตัวทุกกลุ่ม
ภาพรวมการส่งออกรายสินค้าในเดือน มิ.ย. หดตัวทุกกลุ่ม นำโดย (1) สินค้าเกษตรหดตัว -7.4%YOY หลังจากหดตัว -27% ในเดือนก่อน โดยการส่งออกยางพาราหดตัวต่อเนื่อง 11 เดือนที่ -43.0% ขณะที่ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งขยายตัว 14.2% หลังจากหดตัวแรง -54.8% ในเดือนก่อนตามผลผลิตจากภาคใต้ที่เพิ่มขึ้น ส่งออกไก่สด แช่เย็น แช่แข็งขยายตัว 10.7% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ปัจจัยหนุนจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในบราซิลส่งผลให้มีความต้องการไก่ทดแทนจากไทยมากขึ้น (2) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือนอยู่ที่ -10.2%YOY หดตัวเพิ่มจาก -0.6% ในเดือนก่อน โดยการส่งออกไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์หดตัวมากถึง -80.8% เทียบกับ -63% ในเดือนก่อน ขณะที่การส่งออกน้ำตาลทรายขยายตัว 31.4% ชะลอลงบ้างจาก 44.2% ในเดือนก่อน (3) สินค้าอุตสาหกรรมกลับมาหดตัว -4.6%YOY หลังจากเดือนก่อนขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน โดยการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์หดตัว -25.3% ต่อเนื่อง 9 เดือน การส่งออกอากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบหดตัว -68.8% แต่หากหักผลของทอง อาวุธ และอากาศยาน พบว่าสินค้าส่งออกอุตสาหกรรมหดตัวเพียง -1.4% ขณะที่ (4) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัว -25.5%YOY เทียบกับ -39.9% ในเดือนก่อน จากการส่งออกน้ำมันดิบที่หดตัว -29.0%
ภาพรวมตลาดส่งออกหลักยังผันผวนสูง การส่งออกไปจีนและญี่ปุ่นพลิกมาขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ และยุโรปกลับมาหดตัวอีกครั้ง
การส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ยังผันผวนสูง โดย (1) ตลาดจีนพลิกกลับมาขยายตัว 4.5%YOY หลังหดตัว -24% ในเดือนก่อน จากการส่งออกผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็ง และแห้ง (29.1% ของมูลค่าการส่งออกไปจีนทั้งหมด) ที่ขยายตัว 17.2% หลังหดตัวในเดือนก่อน รวมถึงตลาดฮ่องกงขยายตัวดี 17.6% ตามการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่ขยายตัวถึง 133.9%YOY (2) ตลาดญี่ปุ่นขยายตัว 2.5%YOY หลังหดตัว -1.8% ในเดือนก่อน ขณะที่ (3) ตลาดสหรัฐฯ หดตัว -5.0%YOY หลังขยายตัว 4.2% ในเดือนก่อน (4) ตลาดยุโรป (EU28) หดตัว -6.4%YOY หลังขยายตัว 9% ในเดือนก่อน และ (5) ตลาด ASEAN หดตัวแรงทั้งตลาด ASEAN5 -18.0% และ CLMV -23.0%
ดุลการค้าเกินดุลครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ผลจากมูลค่านำเข้าที่หดตัวแรงกว่ามูลค่าส่งออก
มูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 24,768.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -10.3% หดตัวแรงขึ้นจาก -3.2% ในเดือนก่อน หากพิจารณามูลค่าการนำเข้าหักทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้สะท้อนการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจริง หดตัว -11.4% หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ -1.7% โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (-14.5%YOY, CTG -6.1%) และสินค้าเชื้อเพลิง (-19.0%YOY, CTG -4.2%) ขณะที่มูลค่านำเข้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งขยายตัวดีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ 10.2% เนื่องด้วยมูลค่านำเข้าหดตัวแรงกว่ามูลค่าส่งออก ดุลการค้าในระบบศุลกากรในเดือน มิ.ย. จึงเกินดุลเล็กน้อยครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ที่ 57.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังขาดดุล -1,849.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในเดือนก่อน อย่างไรก็ดี ดุลการค้าในระบบศุลกากรในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 ขาดดุล -6,307.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออกในระยะต่อไปแม้อาจได้
อย่างไรก็ตาม มุมมองการส่งออกของไทยในระยะต่
บทวิเคราะห์โดย... https://www.google.com/url?q=https://www.scbeic.com/th/detail/product/trade-260723&source=gmail&ust=1690517260660000&usg=AOvVaw3PO-iYdzNRx5WkObr0a886">https://www.scbeic.com/th/