ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสกุลเงินดิจิทัลของประเทศ ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด พัฒนา แอปพลิเคชัน CBDC SCB เพื่อเป็นแอปพลิเคชันรองรับการทดสอบการใช้งาน Retail CBDC ซึ่งออกโดย ธปท. นำร่องเปิดให้ผู้เข้าร่วมทดสอบ (Whitelist) ในวงจำกัด ทดลองใช้งานแอปฯ ผ่านฟีเจอร์การเติม สแกนจ่าย โอน แลกคืน CBDC ภายใต้ขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร
ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสกุลเงินดิจิทัลของประเทศ ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด พัฒนา แอปพลิเคชัน CBDC SCB เพื่อเป็นแอปพลิเคชันรองรับการทดสอบการใช้งาน Retail CBDC ซึ่งออกโดย ธปท. นำร่องเปิดให้ผู้เข้าร่วมทดสอบ (Whitelist) ในวงจำกัด ทดลองใช้งานแอปฯ ผ่านฟีเจอร์การเติม สแกนจ่าย โอน แลกคืน CBDC ภายใต้ขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคาร รวมถึงความเชี่ยวชาญทางการเงินในเชิงลึก ตลอดจนความพร้อมด้านทรัพยากรในการรองรับการให้บริการในทุกมิติ เพื่อร่วมกันศึกษาและวางโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมการเงินแห่งอนาคตให้กับประเทศไทยต่อไป
ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารมุ่งมั่นนำขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและความเชี่ยวชาญทางการเงินในเชิงลึก ตลอดจนความพร้อมด้านทรัพยากรของธนาคารมาใช้ในการสนับสนุนและผลักดันโครงการสกุลเงินดิจิทัล (CBDC) ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยได้พัฒนา แอปพลิเคชัน CBDC SCB เพื่อทดสอบการใช้งานฟีเจอร์พื้นฐาน ได้แก่ การเติม-จ่าย-โอน-แลกคืน CBDC โดยได้เริ่มทดสอบการใช้งานที่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาและเริ่มขยายบริเวณทดสอบมายังร้านค้าโดยรอบธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ และจะมีการทดสอบใช้งานไปจนถึงประมาณไตรมาส 3 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมทดสอบ (Whitelist) ในวงจำกัดร่วมกับธนาคาร เป็นพนักงาน SCB และพนักงานในกลุ่ม SCBX ทั้งสิ้นกว่า 3,000 ราย ซึ่งกลุ่ม Whitelist จะสามารถดาวน์โหลดแอป CBDC SCB ได้จาก App Store หรือ Play Store เพื่อลงทะเบียนใช้งาน และแอปฯ นี้จะลงทะเบียนใช้งานได้เฉพาะกลุ่ม Whitelist เท่านั้น ผู้ใช้งานจะสามารถเติม CBDC ผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้เชื่อมต่อกับแอป SCB EASY และสามารถแลก CBDC กลับคืนเป็นเงินในบัญชีดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาทดสอบ โดย 1CBDC มีมูลค่าเท่ากับ 1 บาทเสมอ โดยการทดสอบในครั้งนี้อยู่ภายใต้ขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร”
“นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ร่วมกับ ธปท. และผู้ให้บริการ CBDC รายอื่น ทดลองพัฒนานวัตกรรมต่อยอดบนระบบ CBDC เพื่อศึกษาแนวทางการรองรับโจทย์ในภาคธุรกิจ (Innovation Track) โดย Innovation Track นี้เป็นเพียงการทดสอบในระบบปิดเท่านั้น และไม่มีการนำไปใช้งานกับผู้เข้าร่วมโครงการและร้านค้า โดยปัจจุบัน Retail CBDC เป็นโครงการเพื่อศึกษาตามที่ ธปท.ย้ำเสมอว่า “Pilot to Learn, Not Pilot to Launch” การทดสอบในครั้งนี้เป็นการทดสอบในวงจำกัดโดยมีผู้ใช้งานและร้านค้าที่เป็นกลุ่ม Whitelistรวมทุกผู้ให้บริการ CBDC ประมาณ 10,000 คน และยังไม่มีแผนที่จะออกใช้งานจริง” ดร.ชาลี กล่าวทิ้งท้าย
ธนาคารได้พัฒนาประสบการณ์การใช้งาน และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยการทดสอบการใช้งาน Retail CBDC โดยมีรายละเอียดดังนี้
-กำหนดให้มีการคัดกรองเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมทดสอบเท่านั้น
-กำหนดให้มีการยืนยันตัวตนผู้เข้าร่วมทดสอบ (KYC) และการเติมเงินผ่านการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน SCB EASY รวมถึงกำหนดการแลกคืน CBDC เข้าบัญชี SCB ที่เชื่อมต่อไว้ตอนทำการสมัครเท่านั้น สร้างความมั่นใจด้านมาตรฐานความปลอดภัย โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการสมัครเปิดบัญชีธนาคาร
-แอปพลิเคชัน CBDC SCB สามารถดูธุรกรรมการเงินย้อนหลังได้
-มีฟีเจอร์โอน CBDC ให้กับผู้เข้าร่วมทดสอบด้วยกันผ่าน My QR รวมถึงสามารถบันทึก QR Code เพื่อสะดวกต่อการทำธุรกรรม
-กำหนดให้มีขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่ได้มาตรฐานเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร และมีช่องทางการติดต่อโดยตรงของโครงการ
-ธนาคารมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้งาน CBDC ภายในธนาคารเพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการใช้จ่ายจริง เพื่อสนับสนุนโครงการของธปท. ให้บรรลุเป้าหมายการทดสอบ
สกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชนที่ออกโดยธนาคารกลาง (Retail CBDC) คือ เงินในรูปแบบธนบัตรที่ถูกพัฒนาให้กลายสภาพเป็นรูปแบบเงินดิจิทัล ทำให้การถือ Retail CBDC เทียบเท่ากับการถือธนบัตร ไม่มีความเสี่ยง นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินครั้งสำคัญที่จะเชื่อมโยง และเพิ่มโอกาสต่อยอดเพื่อรองรับนวัตกรรมทุกมิติ เช่น Open DLT Blockchain หรือ Programmable Payment ได้ในอนาคต ลดการแลกเปลี่ยนผ่านตัวกลาง ช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจของไทย เข้าถึงบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตรวจสอบได้ และมีต้นทุนที่ถูกกว่าในปัจจุบัน