สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เรียกร้องปล่อยตัวนักโทษชั่วคราว ความผิดไม่ร้ายแรง อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว ตั้งครรภ์ ผู้ต้องขังจากเหตุการเมือง ดคียังไม่เด็ดขาด ป้องกันโควิดระบาดในเรือนจำ
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2563 สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ดําเนินการการปล่อยตัวผู้ต้องขังเพื่อความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดโควิด19 โดยมีใจความ ดังนี้
โดยที่ไวรัสโควิด19 ได้แพร่ระบาดอย่างร้ายแรง จนทําให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มีการ กําหนดมาตรการห้ามคนออกนอกบ้าน การปิดเมืองบางพื้นที่ การงดการรวมกลุ่มของคนจํานวนมาก แนะนําให้ ประชาชนอยู่กับบ้าน การสวมหน้ากากอนามัย และให้ประชาชนเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) เพื่อ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่มาตรการงดการอยู่รวมกลุ่มกัน หรือให้เว้นระยะห่างทางสังคมไม่สามารถนํามาใช้ สําหรับผู้ต้องขังในเรือนจํา เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ต้องขังทั้งประเทศ จํานวน 377,769 คน ซึ่งเป็นความจุเรือนจําอยู่ กว่า 123,000 คน เป็นสภาวะคนล้นคุก กระทั่งกรมราชทัณฑ์ได้ออกมาตรการป้องกัน การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในเรือนจําต่าง ๆ คือ การงดเว้นการเยี่ยม การงดเว้นการนําผู้ต้องขังออกไปทํางานภายนอกเรือนจํา การงดเว้น การให้บุคคลภายนอกเข้ามาทํากิจกรรมภายในเรือนจํา การคัดกรองผู้ต้องขังเข้าใหม่ การให้ผู้ต้องขังสวมหน้ากาก และล้างมือเป็นประจํา ดังที่ทราบทั่วกันนั้น
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เห็นว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ได้กลายเป็นภัยคุกคาม ต่อชีวิตของคนไทยหรือของคนทั่วโลก และเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินต่อความอยู่รอดของมนุษย์ และเห็นว่าสิทธิการ เข้าถึงการบริการด้านสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนตามข้อที่ 12 แห่งกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยรัฐมีหน้าที่ในการป้องกันภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่สามารถ คาดการณ์ได้และให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ อีกทั้งรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 47 วรรคแรก กําหนดว่าบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ วรรคสาม กําหนดว่าบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับ การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งยังกําหนดหน้าที่รัฐตามมาตรา 55 ว่า รัฐต้อง ดําเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคและส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลักสิทธิการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพดังกล่าวคุ้มครองบุคคลทุกคน แม้บุคคลที่ถูกจํากัดอิสรภาพ เช่น ผู้ต้องขัง ซึ่งสอดคล้องหลักมาตรฐานขั้นต่ําขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (ข้อกําหนด เนลสันแมนเดลา) ที่กําหนดว่า “ผู้ต้องขังควรได้รับการบริการด้านสุขภาพตามมาตรฐานเช่นเดียวกับที่รัฐจัดให้กับ ประชาชนทั่วไป และจะต้องสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่จําเป็นโดยไม่คิดมูลค่า และไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุ แห่งสถานภาพด้านกฎหมาย”
ด้วยข้อเท็จจริงและหลักสิทธิด้านสุขภาพดังกล่าว สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เห็นว่า แม้ กรมราชทัณฑ์จะใช้มาตรการต่างๆดังกล่าวมาข้างต้น ซึ่งบางมาตรการมีผลในการจํากัดสิทธิของผู้ต้องขังเป็นอย่าง มากจนก่อให้เกิดความไม่สงบในเรือนจําบางแห่ง แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด 19 ในเรือนจําได้ จึงสมควรให้มีการใช้มาตรการปล่อยตัวผู้ต้องขังในภาวะฉุกเฉินเนื่องจากการแพร่ระบาดของ โควิด19 ดังที่หลายประเทศได้ใช้มาตรการเหล่านี้ไปแล้ว โดย สสส. เห็นพ้องกับหลักการตามข้อเสนอของสถาบัน เพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศ (องค์การมหาชน) โดยให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังบางกลุ่มที่สมควรอยู่ในเรือนจําน้อยที่สุด โดยพิจารณาจากลักษณะความผิด ซึ่งต้องไม่ใช้กับผู้ต้องขังคดีร้ายแรง ความประพฤติ โทษคงเหลือ ตลอดจนภาวะ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยใช้หลักเกณฑ์ วิธีการหรือมาตการต่างๆ ที่เหมาะสม อาทิ การปล่อยก่อนกําหนด การพัก โทษ การปล่อยตัวชั่วคราว และการเปลี่ยนโทษจําคุกที่เหลือเป็นการควบคุมตัวที่บ้าน ดังต่อไปนี้
1. ผู้ต้องขังระหว่างที่คดียังไม่เสร็จเด็ดขาด ประกอบด้วย ผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการสอบสวน การไต่สวน พิจารณา และการอุทธรณ์ฎีกา รวมทั้งผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขัง
2. ผู้ต้องขังเด็ดขาดที่อายุมากกว่า 60 ปี
3. ผู้ต้องขังเด็ดขาดที่มีโรคประจําตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคระบบการ หายใจเรื้อรัง และโรคมะเร็ง
4. ผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ 5. ผู้ต้องขังเด็ดขาดที่เหลือโทษจําคุกตั้งแต่ 1 ปีลงไป
6. ผู้ต้องขังเด็ดขาดกลุ่มคดีอื่นๆ ที่มีความผิดไม่ร้ายแรง (อาทิ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ร.บ.การ พนัน คดีลหุโทษ ฯลฯ)
7. ผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับการการมีส่วนร่วมสาธารณะ และผู้ต้องขังคดีที่มีสาเหตุทางการเมือง
สสส. ยืนยันว่า ก่อนการปล่อยตัวผู้ต้องขัง จากสถานที่คุมขัง ควรกําหนดแนวทางและมาตรการการคัด กรองด้านสุขภาพก่อนการปล่อยตัว การให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ควรมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อจัดให้มีระบบการดูแลและการติดตามที่เหมาะสมเท่าที่ จําเป็น ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือในการดํารงชีพ และการประกอบอาชีพตามความจําเป็นของแต่ละบุคคล ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)