นิด้าโพลเผยประชาชน 61.30% คิดว่า ควรมีการลงโทษพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การยุบพรรค
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2567 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับผลกระทบของการยุบพรรคและการตัดสิทธิทางการเมืองต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการมีสิทธิของประชาชนในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง หากพบบุคคลใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 81.37 ระบุว่า ประชาชนควรจะมีสิทธิในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
ร้อยละ 16.42 ระบุว่า ประชาชนไม่ควรจะมีสิทธิในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
ร้อยละ 2.21 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับการยุบพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 61.30 ระบุว่า ควรมีการลงโทษด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การยุบพรรค
ร้อยละ 36.10 ระบุว่า ควรมีการลงโทษยุบพรรค
ร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าใช้สิทธิเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 39.54 ระบุว่า ควรลงโทษตัดสิทธิทางการเมือง เฉพาะกับผู้กระทำการเท่านั้น
ร้อยละ 31.68 ระบุว่า ควรลงโทษด้วยวิธีอื่นเฉพาะกับผู้กระทำการเท่านั้น
ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ควรลงโทษตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด
ร้อยละ 6.26 ระบุว่า ควรลงโทษด้วยวิธีอื่นกับกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด
ร้อยละ 3.21 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.56 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.29 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.15 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.42 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.37 สมรส และร้อยละ 2.21 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 0.69 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 19.16 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 35.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.07 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 29.69 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.89 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.40 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.53 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.11 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.01 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.50 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.47 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.36 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.97 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 33.28 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.76 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.08 ไม่ระบุรายได้