นิด้าโพลเผยประชาชน 45.27% มองว่าการวิวาทะระหว่างพรรคเพื่อไทย-ประชาชนผ่านสื่อ เป็นแค่ละครฉากหนึ่ง เพราะการเมืองไม่มีมิตรแท้-ศัตรูถาวร
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2567 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองในปัจจุบันระหว่างพรรคประชาชนกับพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิวาทะระหว่างพรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทยที่ผ่านสื่อในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 45.27 ระบุว่า เป็นแค่ละครทางการเมืองฉากหนึ่ง เพราะการเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร
ร้อยละ 29.16 ระบุว่า เป็นแค่ความพยายามที่จะเพิ่มคะแนนเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่น
ร้อยละ 17.10 ระบุว่า เป็นเรื่องจริงจังว่าอยู่ฝั่งตรงข้ามกันแน่นอนในการเลือกตั้งครั้งหน้า
ร้อยละ 8.47 ระบุว่าไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความเป็นไปได้ที่พรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทยจะจับมือกันจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 36.72 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย
ร้อยละ 32.37 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้
ร้อยละ 17.71 ระบุว่า เป็นไปไม่ค่อยได้
ร้อยละ 13.20 ระบุว่า เป็นไปได้มาก
ด้านความเชื่อที่ว่าขณะนี้พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคเดียวที่สามารถต่อสู้กับพรรคประชาชนได้ พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
ร้อยละ 25.88 ระบุว่า เชื่อมาก
ร้อยละ 23.89 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
ร้อยละ 20.69 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความเป็นไปได้ต่อคำกล่าวของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรว่าพรรคเพื่อไทยจะได้ สส. เกิน 200 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 34.20 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย
ร้อยละ 27.25 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้
ร้อยละ 24.58 ระบุว่า เป็นไปไม่ค่อยได้
ร้อยละ 12.29 ระบุว่า เป็นไปได้มาก
ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นต่อบุคคลที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง (เช่น นายทักษิณ ชินวัตร นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นายชัยธวัช ตุลาธน) ขึ้นเวทีหาเสียงในฐานะผู้ช่วยหาเสียง พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 46.49 ระบุว่า ไม่เป็นไรเพราะกฎหมายไม่ได้ห้าม
ร้อยละ 22.75 ระบุว่า ถึงกฎหมายไม่ห้ามก็ไม่สมควรขึ้นเวทีหาเสียง
ร้อยละ 14.35 ระบุว่า ควรแก้กฎหมายห้ามไม่ให้ผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองขึ้นเวทีหาเสียง
ร้อยละ 12.29 ระบุว่า ควรแก้กฎหมายยกเลิกการตัดสิทธิทางการ
ร้อยละ 4.12 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.59 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.61 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.73 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.60 สมรส และร้อยละ 2.67 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 0.53 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 19.24 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 34.97 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 31.68 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.27 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.08 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 18.70 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.69 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 9.92 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.89 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.38 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.34 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.08 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 35.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.54 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.27 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.52 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.31 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.08 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.23 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.32 ไม่ระบุรายได้