นิด้าโพลเผยประชาชน 60.84% เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น จะไม่คุ้มกับค่าอาหาร-ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2567 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ค่าแรงขึ้น…คุ้มมั๊ย กับ ค่าแกง?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 44.50 ระบุว่า เห็นด้วยกับการทยอยปรับขึ้นทั่วประเทศ เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้
ร้อยละ 25.34 ระบุว่า ควรปรับขึ้นเท่ากันทั่วประเทศทันที ไม่ต้องรอวันที่ 1 ตุลาคม 2567
ร้อยละ 16.41 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศในปีนี้
ร้อยละ 13.05 ระบุว่า ควรปรับขึ้นทั่วประเทศโดยไม่มีการทยอยปรับ เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้
ร้อยละ 0.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนว่าคณะกรรมการค่าจ้างจะเห็นด้วยกับข้อเสนอของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 40.23 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น
ร้อยละ 24.12 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย
ร้อยละ 20.84 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น
ร้อยละ 10.23 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก
ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนว่ารัฐบาลจะเริ่มทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น
ร้อยละ 25.95 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย
ร้อยละ 23.36 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น
ร้อยละ 9.92 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก
ร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะคุ้มกับค่าอาหารและค่าครองชีพในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 60.84 ระบุว่า เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น จะไม่คุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น
ร้อยละ 23.97 ระบุว่า เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น จะคุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น
ร้อยละ 9.46 ระบุว่า เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น ไม่ใช่เหตุผลหลัก ที่ทำให้ค่าอาหาร ค่าครองชีพสูงขึ้น
ร้อยละ 4.89 ระบุว่า เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.95 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.21 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.73 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.99 สมรส และร้อยละ 3.28 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 23.13 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 39.01 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.09 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.50 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.27 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.48 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.57 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.06 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.76 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.40 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.07 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.66 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.06 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.63 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.53 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.79 ไม่ระบุรายได้