ป.ป.ช.จัดงานครบรอบ 24 ปี ภายใต้แนวคิด 'มุ่งมั่นสร้างสังคมไทยที่ไม่ทนต่อการทุจริต' รับบริจาคเพื่อสาธารณกุศล-มอบรางวัลองค์กรโปร่งใส-เข็มกิตติคุณ-ประกวดบทความ-เพชรน้ำเอก
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดงานวันสถาปนา ครบรอบ 24 ปี ภายใต้แนวคิด '24 ปี ป.ป.ช. มุ่งมั่นสร้างสังคมไทยที่ไม่ทนต่อการทุจริต' มีการรับบริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล ให้แก่ มูลนิธิโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า และพิธีมอบรางวัล ได้แก่ รางวัลองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 11 (NACC Integrity Awards) รางวัลเข็มกิตติคุณของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รางวัลประกวดบทความวิซาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และรางวัลเพชรน้ำเอก
พลเอกวัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป.ป.ช. กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับบุคคลและหน่วยงานที่ได้รับรางวัล รู้สึกชื่นชมทุกคนที่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาทุจริต มุ่งมั่นสร้างสังคมไทยที่ไม่ทนต่อการทุจริต แลควบคู่ไปกับกับสร้างค่านิยมของหน่วยงานที่มีธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาล
"พิธีมอบรางวัลเนื่องในวันครบรอบ 24 ปี เพื่อยกย่องบุคคลที่ช่วยเหลือ ทำประโยชน์ต่อการทำงานของป.ป.ช.และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีการบริหารโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาล หวังว่าทุกท่านจะรวบพลังอย่างเข้มแข็งต่อเนื่องแล้วทำให้ปัญหาการทุจริตลดลง" พลเอกวัชรพล กล่าว
ทั้งนี้สำนักงาน ป .ป.ช. ก่อตั้งตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 สำนักงาน ป.ป.ช. จึงถือเอาวันที่ 18 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ตลอด 24 ปีที่ผ่านมา ป.ป.ช. มุ่งมั่นสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตอย่างต่อเนื่องและได้พัฒนาปรับปรุงระบนเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การทำงานแบบ Digital Platiorm เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล
ด้านปราบปรามการทุจริต ปรับปรุงระบบบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนและคดี (CCMS) ให้สามารถเชื่อมโยงระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e - Office) ทำให้เกิดความรวดเร็วโดยเป็นการบันทึกขั้นตอนการทำงานของเจ้าของเรื่องทำให้สามารถติดตามการดำเนินงานได้ทุกขั้นตอน ปรับปรุงระบบการติดตามการดำเนินงานทำให้สามารถบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนและคดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาระบบสีบค้นมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.และคำพิพากษา(RRS) การพัฒนาระบบทะเบียนประวัติผู้ถูกกล่าวหา รองรับการจัดทำทะเบียนประวัติของผู้ถูกจับ มีการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำข้อมูลประกอบสำนวนการไต่สวนคดี หรือแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังมีการแจ้งเรื่องร้องเรียนออนไลน์
ด้านป้องกันการทุจริต ได้พัฒนาระบบสารสนเทศ (Corruption Deterrence System: CDS) สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับติดตามการดำเนินงานด้านป้องกันการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ข. และได้พัฒนาระบบแสดงผลแผนที่ พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (Coruption Risk Mapping) เพื่อแสดงข้อมูลการแจ้งเบาะแสทุ จริตในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย และพิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง (Virtual Anti Corruption Museum)
ด้านตรวจสอบทรัพย์สิน ได้ปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อการรวบรวมและวิเคราะห์ทรัพย์สิน (ACAS) ระบบแจ้งผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชี ระบบเปิดเผยบัญชี และปรับปรุงรูปแบบรายงานและข้อมูลสถิติต่าง ๆ รวมถึงระบบยื่นบัญชีทรัพย์สินออนไลน์
สำหรับพิธีมอบรางวัลของสำนักงาน ป.ป.ช. แก่บุคคลและหน่วยงาน มีรายนาม ดังนี้
รางวัลองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 11 (NACC Integrity Awards) การพิจารณาคัดเลือกรางวัลองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 11 (NACC.Integrity.Awards) จากหน่วยงาน องค์กร หรือสถาบัน ทั้งภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชนและนิติบุคคลอื่น ๆ ที่มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์เพื่อเป็นการยกระดับความโปร่งใสของประเทศไทยสร้างขวัญกำลังใจ และยกย่องเชิดชูหน่วยงาน ให้เป็นแบบอย่างที่ดี ดังนี้
1. รางวัลองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 11 (NACC Integrity Awards) จำนวน 2 องค์กร คือ 1.การไฟฟ้านครหลวง
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2. รางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 11 (NACC Integrity Awards) จำนวน 18 องค์กร คือ
2.1 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
2.2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
2.3 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2.4 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
2.5 ธนาคารอาคารสงเคราะห์
2.6 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
2.7 บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน)
2.8 บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
2.9 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
2.10 บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
2.11 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.12 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
2.13 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
2.14 บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
2.15 บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
2.16 บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
2.17 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2.18 สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
รางวัลเข็มกิตติคุณของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การพิจารณาบุคคลที่ช่วยเหลือ สนับสนุน ทำคุณประโยชน์ หรือดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ด้วยความอุตสาหะ หรือเสียสละเวลา สติปัญญา รวมกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี มี 3 ลำดับชั้น พิจารณาตามระยะเวลาที่บุคคลได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ทำคุณประโยชน์ หรือดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงาน ป.ป.ช. โดยชั้นที่ 1 สำหรับผู้ที่ดำเนินการเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี ชั้นที่ 2 สำหรับผู้ที่ดำเนินการมากกว่า 5 ปี และชั้นที่ 3 สำหรับผู้ที่ดำเนินการมากกว่า 3 ปี
นอกจากนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังอาจพิจารณามอบเข็มกิตติคุณให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์อันโดดเด่นเป็นกรณีพิเศษโดยยกเว้นเกณฑ์ระยะเวลาตามระเบียบดังกล่าวได้อีกด้วย รายชื่อบุคคลที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับเข็มกิตติคุณของสำนักงาน ป.ป.ช.จำนวน 30 ราย ตามลำดับชั้น ดังนี้
เข็มกิตติคุณ ชั้นที่ 1 จำนวน 7 ราย ได้แก่
นายกิตติ วะสีนนท์
นายชัชชม อรรฆภิญญ์
นายวิทยา นีติธรรม
พันตำรวจโท ธีรพงษ์ ดุลยวิจารณ์
นายวิเชียร พงศธร
นายมานะ นิมิตรมงคล
นายสุทธิรักษ์ ยิ้มยัง
เข็มกิตติคุณ ชั้นที่ 2 จำนวน 14 รายได้แก่
นางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง
นายธีรัช ลิมปยารยะ
นางศิริรัตน์ รัตนมงคลศักดิ์
นายอัครกิตติ์ กีรติธนาไชยยศ
นายกุลเวช เจนวัฒน์วิทย์
นายพนา รัตนบรรณางกูร
นายกิตติเดช ฉันทังกูล
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ศิริชัย กาญจนวาสี
รองศาสตราจารย์ มนตรี โสคติยานุรักษ์
นายวันชัย รุจนวงศ์
นางสาวสุชาฎา วรินทร์เวช
นายพิทักษ์ มหบุญพาชัย
นายอาคเนย์ กายสอน
นางสาวติชิลา พุทธสาระพันธ์
เข็มกิตติคุณ ชั้นที่ 3 จำนวน 9 ราย ได้แก่
นางบุบผา วรรัตน์
นายประสงค์ บาลลา
นายเอกชัย เฮ้งเจริญสุข
พันตำรวจตรี ดร.วรชาติ บุรณศิริ
นายจิรพัฒน์ พรมสุวรรณ์
นายชัยวุฒิ สวัสดิรักษ์
นายอารีย์ ตาเอ็น
นายพิทักษ์สิทธิ์ ชีวรัฐพัฒน์
นายวีรชน ไชยชอุ่ม
รางวัลประกวดบทความวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การประกวดบทความวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อสรรหาบทความวิชาการที่มีคุณภาพ จากบุคคลภายนอกและบุคลากรสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. มาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ป.ป.ช. อันจะส่งผลให้วารสารวิชาการ ป.ป.ช. มีมาตรฐานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) มีรายละเอียดผู้ได้รับรางวัล ดังนี้
รางวัลเพชรน้ำเอก
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการคัดเลือกข้าราชการที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ระดับ 'เพชรน้ำเอก' ประจำปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ปฏิบัติงานดีเด่นและดำรงตนอยู่ในมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการที่ดีงามได้มีความภาคภูมิใจมีศักดิ์ศรี เป็นที่ยกย่องเชิดชูเกียรติยอมรับจากสังคมในการประพฤติตนและการปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะ และเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงาน ป.ป.ช. ให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยมีผู้ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อรับรางวัล 'เพชรน้ำเอก' ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ตำแหน่งสาขากระบวนการยุติธรรม ตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่ม ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ นายธันยพัฒน์ ประมวลวิทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มไต่สวน 1 สำนักไต่สวนคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่ 2 ตำแหน่งทั่วไป ตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่ม ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ นายไพโรจน์ นิยมเดชา ผู้อำนวยการกลุ่มสืบสวนและปฏิบัติการข่าว 2 สำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ
กลุ่มที่ 3 ตำแหน่งสาขากระบวนการยุติธรรม ระดับต้น – ระดับสูง ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ นายวีรศักดิ์ แก็บพิมาย พนักงานไต่สวน ระดับสูง สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 3
กลุ่มที่ 4 ตำแหน่งทั่วไป ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ – ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภททั่วไป
ระดับปฏิบัติงาน – ระดับอาวุโส ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ นายธนเกียรติ วัฒนศิลป์ นักสืบสวนคดีทุจริตชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7
กลุ่มลูกจ้างสำนักงาน ป.ป.ช. ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ นางสาวณัฐนรี ตอนนอก พนักงานธุรการ (ลูกจ้างตามสัญญาจ้าง) สำนักไต่สวนการทุจริตภาครัฐ 1