นิด้าโพลเผยผลสำรวจประชาชน 'สนใจเรื่องนายกเศรษฐา เยือนต่างประเทศ หรือไม่' 39.01% ไม่ได้ติดตามข่าว การเยือนต่างประเทศของนายกฯ เลย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง 'สนใจเรื่องนายกเศรษฐา เยือนต่างประเทศ หรือไม่' ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประเด็นที่สนใจจากข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ 'นิด้าโพล' สุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงประเด็นที่สนใจจากข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศในช่วง 2 เดือนของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ได้ติดตามข่าว การเยือนต่างประเทศของนายกฯ เลย
ร้อยละ 24.43 ระบุว่า การเข้าพบผู้นำ หรือบุคคลสำคัญในต่างประเทศ
ร้อยละ 24.35 ระบุว่า บทบาทและผลการเยือนต่างประเทศของนายกฯ
ร้อยละ 21.83 ระบุว่า การแต่งกาย/เสื้อผ้าของนายกฯ ระหว่างเยือนต่างประเทศ
ร้อยละ 19.69 ระบุว่า การให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ระหว่างเยือนต่างประเทศ
ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ลักษณะท่าทาง และ/หรือ ภาษากายของนายกฯ ระหว่างเยือนต่างประเทศ
ร้อยละ 10.31 ระบุว่า การจัดการต้อนรับของประเทศเจ้าภาพ
ร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามผู้ที่ติดตามข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศของนายกฯ (จำนวน 799 หน่วยตัวอย่าง) ถึงความพอใจต่อบทบาทของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เกี่ยวกับการเดินทางเยือนต่างประเทศในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 46.31 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ
ร้อยละ 23.40 ระบุว่า พอใจมาก
ร้อยละ 20.27 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ
ร้อยละ 9.39 ระบุว่า ไม่พอใจเลย
ร้อยละ 0.63 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความพอใจในบทบาท/ผลงานของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ในช่วง 2 เดือนที่ดำรงตำแหน่ง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.87 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ
ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ
ร้อยละ 18.40 ระบุว่า พอใจมาก
ร้อยละ 13.74 ระบุว่า ไม่พอใจเลย
ร้อยละ 4.12 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.41 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.14 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.45 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.43 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.98 สมรส และร้อยละ 2.59 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 23.89 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 38.02 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.01 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.42 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.66 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.23 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.11 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.75 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.83 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.74 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.00 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.34 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.28 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.09 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.32 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.16 ไม่ระบุรายได้