ครม.เศรษฐาเมื่อวันที่ 18 ก.ย.66 รับทราบคำสั่งนายกฯตั้งวิปรัฐบาล ‘อดิศร’ นั่งประธานตามคาด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 20 กันยายน 2566 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 รับทราบคำสั่ง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 233/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนการประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ด้านนิติบัญญัติให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุนการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีในการเสนอร่างกฎหมาย และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ อันจะส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย
จึงสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญเหมาะสม เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 184 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับกิจการของสภาขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) โดยมีองค์ประกอบหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
คณะที่ปรึกษา ประกอบด้วย นางมนพร เจริญศรี ที่ปรึกษา/กรรมการ, รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ปรึกษา/กรรมการ และพล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ที่ปรึกษา/กรรมการ
คณะกรรมการ 44 คน ประกอบด้วย
(1) นายอดิศร เพียงเกษ ประธานกรรมการ
(2) นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง
(3) นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม รองประธานกรรมการ คนที่สอง
(4) นายสรวงศ์ เทียนทอง รองประธานกรรมการ คนที่สาม
(5) นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ รองประธานกรรมการ คนที่สี่
(6) นายอนันต์ ผลอำนวย รองประธานกรรมการ คนที่ห้า
(7) นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ รองประธานกรรมการ คนที่หก
(8) นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ กรรมการ
(9) นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมการ
(10) นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย กรรมการ
(11) นายวันนิวัติ สมบูรณ์ กรรมการ
(12) นางสาวจิราพร สินธุไพร กรรมการ
(13) นางสาวชนก จันทาทอง กรรมการ
(14) นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ กรรมการ
(15) นางเทียบจุฑา ขาวขำ กรรมการ
(16) นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ กรรมการ
(17) นายรังสรรค์ มณีรัตน์ กรรมการ
(18) นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ กรรมการ
(19) นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรรมการ
(20) นางสาวขัตติยา สวัสดิผล กรรมการ
(21) นายวรวงศ์ วรปัญญา กรรมการ
(22) นายเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ กรรมการ
(23) นายธนยศ ทิมสุวรรณ กรรมการ
(24) นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย กรรมการ
(25) นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ กรรมการ
(26) นายอำนาจ วิลาวัลย์ กรรมการ
(27) นางสุขสมรวย วันทนียกุล กรรมการ
(28) นายภราดร ปริศนานันทกุล กรรมการ
(29) นายอัคร ทองใจสด กรรมการ
(30) นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข กรรมการ
(31) นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ กรรมการ
(32) นายชัยมงคล ไชยรบ กรรมการ
(33) นายองอาจ วงษ์ประยูร กรรมการ
(34) นายอรรถกร ศิริลัทธยากร กรรมการ
(35) นายวิทยา แก้วภราดัย กรรมการ
(36) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ กรรมการ
(37) นายศาสตรา ศรีปาน กรรมการ
(38) นายปรเมษฐ์ จินา กรรมการ
(39) นายเสมอกัน เที่ยงธรรม กรรมการ
(40) นายอนุรักษ์ จุรีมาศ กรรมการ
(41) นายซูการ์โน มะทา กรรมการ
(42) นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล กรรมการ
(43) นางพิมพกาญจน์ พลสมัคร กรรมการ
(44) นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ กรรมการและเลขานุการ
ผู้แทนส่วนราชการ ประกอบด้วย 4 ตำแหน่ง นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการ, ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการ, ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ และ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรรมการ
ฝ่ายเลขานุการ 4 ตำแหน่ง ได้แก่ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านประสานกิจการภายในประเทศ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ, ผู้อำนวยการกองประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ, ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 1 กองประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
1.พิจารณาดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความราบรื่นและเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา
2.ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมืองในปัญหาต่างๆ ด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภาอื่นๆ ทั้งการเสนอร่างกฎหมายและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภา ให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น
3.พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานและมีมติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบหรือเห็นชอบแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ มติของคณะกรรมการต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี พร้อมแจ้งคณะรัฐมนตรี
4.ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คณะกรรมการสามารถพิจารณาวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนแปลงมติของคณะกรรมการตามข้อ 2.3 ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น
5.ขอความร่วมมือส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และจัดส่งเอกสารข้อมูลให้แก่คณะกรรมการ
6.ให้ประธานกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
7.ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
องค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการนี้ ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการพ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการโดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2566 เป็นต้นไป