นิด้าโพลเผยประชาชน 59.77% เชื่อมากว่ามีตร.-จนท.รัฐบางคนทำตัวเป็นลูกน้องผู้มีอิทธิพล 38.93% ไม่มั่นใจเลยว่าจะได้รับความยุติธรรม-คุ้มครองจากตำรวจ-เจ้าหน้าที่รัฐเมื่อมีปัญหากับผู้มีอิทธิพล
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง 'ผู้มีอิทธิพลกับเจ้าหน้าที่รัฐ' ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับผู้มีอิทธิพลกับเจ้าหน้าที่รัฐ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ 'นิด้าโพล' สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงกลุ่มของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จังหวัด พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 49.54 ระบุว่า ในเขตพื้นที่ไม่มีผู้ใด เป็นผู้มีอิทธิพล
ร้อยละ 26.34 ระบุว่า นักการเมืองท้องถิ่น
ร้อยละ 15.95 ระบุว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ตำรวจ
ร้อยละ 13.21 ระบุว่า ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
ร้อยละ 12.14 ระบุว่า พ่อค้า นักธุรกิจ นายทุนสีเทา
ร้อยละ 6.03 ระบุว่า พ่อค้า นักธุรกิจ นายทุนทั่วไป
ร้อยละ 5.95 ระบุว่า นักการเมืองระดับชาติ
ร้อยละ 5.04 ระบุว่า นักเลงหัวไม้ มือปืน
ร้อยละ 4.81 ระบุว่า ทหาร
ร้อยละ 2.44 ระบุว่า ประธาน กรรมการชุมชน
ร้อยละ 0.76 ระบุว่า สื่อมวลชน คนวงการบันเทิง
ร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความกล้าของประชาชนที่จะมีปัญหาหรือมีข้อขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพล พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 60.30 ระบุว่า ไม่กล้าเลย
ร้อยละ 16.34 ระบุว่า ไม่ค่อยกล้า
ร้อยละ 12.75 ระบุว่า กล้าอยู่แล้ว
ร้อยละ 9.08 ระบุว่า ค่อนข้างกล้า
ร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองและให้ความยุติธรรมของตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อประชาชนมีปัญหาหรือมีข้อขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพล พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย
ร้อยละ 37.10 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ
ร้อยละ 13.51 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ
ร้อยละ 9.92 ระบุว่า มั่นใจมาก
ร้อยละ 0.54 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการที่มีตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐบางคนทำตัวเป็นลูกน้อง ผู้ปกป้องคุ้มครองผู้มีอิทธิพล พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 59.77 ระบุว่า เชื่อมาก
ร้อยละ 26.49 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
ร้อยละ 8.32 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
ร้อยละ 4.35 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
ร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.18 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.67 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.15 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.13 สมรส และร้อยละ 2.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.04 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 37.25 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.02 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.34 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.35 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.03 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.08 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.21 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.10 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.25 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.56 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.37 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.00 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.62 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.28 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.74 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.61 ไม่ระบุรายได้