“FOOD FOR GOOD โดย มูลนิธิยุวพัฒน์ ซึ่งมุ่งเน้นสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสนับสนุนโภชนาการที่ดีและขจัดปัญหาเด็กทุพโภชนาการในเด็กได้เปิดตัวแคมเปญ “ถามหลุมที่ไม่รักแต่คิดถึง” ชวนคนไทยมีส่วนร่วมผ่านควิซของแคมเปญ โดยได้แรงหนุนจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ใจดีกว่า 10 คน ร่วมเป็นกระบอกเสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 นางสาวทิพย์ชยา พงศธร ผู้ร่วมก่อตั้ง FOOD FOR GOOD (ฟู้ดฟอร์กู๊ด) กล่าวว่า จากการทำงานของฟู้ดฟอร์กู๊ด 8 ปีที่ผ่านมา ใน 10 จังหวัด กับ 71 โรงเรียนโดยได้สนับสนุนและแก้ปัญหาด้านโภชนาการให้กับนักเรียนกว่า 11,000 คน พบว่า การอุดหนุนเงินเพื่อเพิ่มงบประมาณการซื้อวัตถุดิบเพื่อทำอาหารเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาโภชนาการเด็กได้อย่างยั่งยืน สำคัญสุดเป็นเรื่องของการมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียน พันธกิจหนึ่งของฟู้ดฟอร์กู๊ด จึงเป็นการสองมอบองค์ความรู้นี้ให้ครูและแม่ครัว กระทั่งสามารถวางแผนเมนูอาหารได้เหมาะสมกับเด็กมากขึ้น และดูแลเด็กรายบุคคลได้ดียิ่งขึ้น
หลายคนอาจมองว่าปัญหาทุพโภชนาการในเด็กเป็นเรื่อง น่าเศร้า แต่ไกลตัว แต่ในความจริงแล้ว ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ใจ สติปัญญา เป็นปัญหาคุณภาพของประชากร จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจระดับประเทศในอนาคต ดังที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบัน นักเรียนระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษาได้รับเงินสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในอัตรา 21 บาท/คน/มื้อ แต่ไม่เพียงพอ
นอกจากนั้น ปัญหาโภชนาการในเด็ก ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ปี 2564 ระบุว่า 1 ใน 3 ของเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี มีภาวะทุพโภชนาการ
ทิพย์ชยา พงศธร ผู้ร่วมก่อตั้ง FOOD FOR GOOD โดยมูลนิธิยุวพัฒน์เพื่อชวนคนทุกภาคส่วนร่วมแก้ปัญหาโภชนาการในเด็ก
ทั้งหมดนี้เป็นที่มาของแคมเปญ ‘ถามหลุมที่ไม่รักแต่คิดถึง’ ซึ่งมี ‘ควิซ’ หรือ ‘คำถาม’ เป็นตัวกระตุ้นคนในสังคมที่เข้ามาติดตามแคมเปญนี้ผ่านหน้าเว็บ http://www.foodforgood.or.th/ ได้มีส่วนร่วมรับรู้ถึงข้อเท็จจริง โดยที่คาแคกเตอร์ในควิซจะสื่อสารข้อเท็จจริงของปัญหาโภชนาการในเด็กไทย พร้อมกับมีส่วนร่วมแก้ปัญหานี้ด้วยการบริจาคเข้าโครงการฟู้ดฟอร์กู๊ด เพื่อระดมทุนไปใช้ในการดำเนินโครงการทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย Good Food Good Knowledge Good Farm และ Good Health
“แคมเปญนี้พยายามจะสื่อสารว่าประเด็นเรื่องอาหารกลางวันในโรงเรียนของเด็กไทย ไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กชนบท ครูโรงเรียนขนาดเล็ก หรือนักโภชนาการ แต่เป็นเรื่องของเราทุกคน” คุณทิพย์ชยากล่าวและว่า แคมเปญนี้ยังได้รับแรงสนับสนุนจากพลังของสื่อบุคคลหรือ “อินฟลูเอนเซอร์” มากมาย ที่ให้ความสำคัญกับปัญหานี้มาร่วมส่งเสียงให้ดังขึ้นผ่านการเล่นและแชร์ควิซ เลยรวมไปถึงการให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นเรื่องอาหาร ที่พวกเขายืนยันว่าไม่ใช่เรื่องของเด็กเท่านั้น
โครงการนี้มีอินฟลูเอนเซอร์เข้ามาช่วยงานมากมาย ได้แก่ อเล็กซ์ เรนเดล, ครูลูกกอล์ฟ (คณาธิป สุนทรรักษ์), เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ ,เชฟฟาง (ณัฐพงศ์ หน่อชูเวช) } Mark Kidchen (ภาวริสร์ พานิชประไพ), แพร-พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ (PEAR is hungry)ม ครูทอม (จักรกฤต โยมพยอม), วงดนตรี Stoondio , ศิลปินสายแอคทีฟอย่าง Juli Baker and Summer เหล่าคุณแม่เจ้าของเพจ ทั้ง ตามติดชีวิตแม่บ้านแขก MOM DIARY ,คุณแม่เลอค่า ,Nidnok Happy Mommy Diary, และ Rocky Journey เลยรวมไปถึงเพจสายกิน อย่าง แม่ เมนูนี้ทำไง, วุ้นแปลอาหาร ,กินกับพีท และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มีผู้ติดตามมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Gluta Story ,Bird Eye View และ Offtography
ร่วมบริจาคได้แล้ววันนี้ที่ http://www.foodforgood.or.th/ เงินบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามแต่กรณีผ่านระบบ e-donation ที่ต่อตรงถึงกรมสรรพากร
ส่วนหนึ่งของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ใจดีที่ช่วยเป็นกระบอกเสียงแคมเปญนี