กรมการแพทย์-มธ.พัฒนาหลักสูตรการแพทย์แม่นยําแนวใหม่ รักษา-ป้องกันโรคที่คํานึงถึงความผิดปกติของยีน ตั้งเป้ายกระดับการสร้างองค์ความรู้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ทางกรมการแพทย์ โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ ได้จับมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แม่นยํา เพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ และเพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชนในมิติใหม่ของระบบสาธรณสุขในประเทศไท
นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การแพทย์แม่นยําเป็นแนวทางใหม่ในการรักษาและป้องกันโรค ที่คํานึงถึงความผิดปกติของยีน สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล การแพทย์แม่นยํากําลังเปลี่ยนแปลงการวิจัยทางคลินิกและชีวการแพทย์ การดูแลสุขภาพ แนวความคิดและมุมมองในการใช้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงสุขภาพของประชาชนและลดค่าใช้จ่ายของระบบสาธารณสุขของประเทศ
Disruptive Technologies คลื่นลูกที่สามของการปฏิวัติทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ เกิดขึ้นหลังจากการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์กลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย และมีต้นทุนถูกลงอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับกลไกของการเกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดพลาดของรหัสพันธุกรรม ทั้งในระดับ DNA RNA และโปรตีน ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดข้อจํากัดในการปรับตัวของระบบการดูแลสาธารณสุข
ทั้งนี้ เพื่อเตรียมการกับการรองรับมิติใหม่ทางการแพทย์นี้ จึงต้องยกระดับความสําคัญในการสร้างองค์ความรู้ ความถนัดในการวิเคราะห์ โดยการวางแผนเนื้อหาและการจัดอบรม (Education & Training) ในรูปแบบต่างๆ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และบุคคลทั่วไป เพื่อปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และมีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล รวมทั้งยังมีเป้าหมายที่จะพัฒนาไปยังระดับผู้นําในภูมิภาคด้วย
กรมการแพทย์มีภารกิจหลักในการพัฒนาวิชาการด้านการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสม การเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรด้านการแพทย์เฉพาะทาง จึงมีความจําเป็นที่จะต้องเร่งการสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เพื่อการให้บริการและดูแลรักษาผู้ป่วย โดยปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในแกนหลักสําคัญเพื่อระบบสาธารณสุขไทย
ด้าน รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน ซึ่งเป็นแกนสําคัญในการพัฒนาการศึกษา เพื่อ Upskill และ Reskill ให้กับประชาชน รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร( ศูนย์พัทยา ซึ่งอยู่ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะเป็นศูนย์การทางการแพทย์ Medical Hub ทั้งทางด้านระบบบริการทางการแพทย์แบบดิจิตอล และศูนย์กลางทางการรักษาแบบมุ่งเป้าเชิงสุขภาพ หรือ Precision Health ต่อไปในอนาคต
“จากหลักการดังกล่าว กรมการแพทย์ โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ เห็นควรให้มีการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านการแพทย์แม่นยําร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และบุคคลทั่วไป เพื่อนําความรู้ความสามารถด้านการแพทย์แม่นยําที่ได้ศึกษามาให้บริการแก่ผู้ป่วย” รศ.เกศินี กล่าว
รศ.เกศินี กล่าวอีกว่า การสร้างหลักสูตรสําหรับการแพทย์แม่นยํา จํานวน 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรที่ 1. Basic Genetics and Precision Medicine, หลักสูตรที่ 2 Genetic Counselor for Precision Medicine, หลักสูตรที่ 3 Clinical Genetics and Genomics for Precision Medicine และหลักสูตรที่ 4 Laboratory in Genetics and Genomics for Precision Medicine โดยสามารถเริ่มลงทะเบียนได้ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 และเริ่มอบรมในวันที่ 10 มีนาคม 2565 อย่างไรก็ตาม สําหรับข้อมูลเพิ่มเติม http://bit.ty/3sXPUH หรือ E-mail: [email protected]