'ซีดีซี' เผยพ่นยาฆ่าเชื้อพื้นผิวลดการแพร่กระจายโควิดเป็นสิ่งไม่จำเป็น เพราะไวรัสแพร่กระจายผ่านอากาศได้ ด้าน 'ออกซ์ฟอร์ด' เล็งทดลองให้ผู้เคยติดเชื้อโควิดติดเชื้ออีกรอบ หวังตรวจสอบภูมิคุ้มกัน
..................
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัส โดยอ้างอิงข่าวจากสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯอเมริกาหรือซีดีซีได้ออกรายงานฉบับหนึ่งว่าความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มาจากการแพร่เชื้อผานการสัมผัสพื้นผิวสิ่งของนั้นมีน้อยกว่าการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางอากาศมาก และผู้ที่มุ่งเน้นไปที่การพ่นยาทำความสะอาดพื้นผิวเพื่อขจัดการแพร่เชื้ออย่างเดียวนั้นอาจจะทำให้เกิดผลเสียจากการใช้สารเคมีมากกว่าที่จะเป็นประโยชน์
“ซีดีซีระบุชัดเจนว่าความเสี่ยงของการแพร่เชื้อจากการสัมผัสบนพื้นผิวนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำรองจากการแพร่เชื้อซึ่งตามหลักแล้วมักจะมีที่มาการสัมผัสกับละอองลอยและของเหลวโดยตรง”นพ.วินเซนต์ ฮิลล์ หัวหน้าแผนกป้องกันโรคระบาดทางของเหลว ซีดีซีกล่าวบรรยายสรุปทางโทรศัพท์
นายฮิลล์กล่าวต่อไปว่าความเสี่ยงด้านการแพร่เชื้อบนพื้นผิวนั้นจะสูงขึ้นเมื่ออยู่ในพื้นที่อาคาร หรือภายในสถานที่ต่างๆ แต่เมื่ออยู่ในพื้นที่กลางแจ้งแล้ว ทั้งแสงอาทิตย์และปัจจัยต่างๆจะเป็นสิ่งที่จะทำลายไวรัส โดยเฉพาะพื้นผิวที่มีลักษณะเป็นรูพรุนนั้นจะทำให้ไวรัสตายอย่างรวดเร็ว
โดยงานวิจัยที่ผ่านมาได้ระบุว่าการแพร่เชื้อผ่านทางพื้นผิวนั้นจะเกิดขึ้นในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงแรกหลังจากที่คนๆหนึ่งถูกทำให้ติดเชื้อ ซึ่งการทำความสะอาดพื้นผิวในพื้นที่เคหสถานนั้นก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้
“ในสถานการณ์ส่วนมากแล้ว การทำความสะอาดพื้นผิวโดยสบู่หรือผงซักฟอกและการไม่ทำความสะอาดเลยนั้นก็เพียงพอที่จะลดการแพร่เชื้อผ่านพื้นผิวได้แล้ว การฆ่าเชื้อที่บนพื้นผิวนั้นอันที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เว้นเสียแต่ว่าจะเคยมีผู้ติดเชื้อมาอยู่ในเคหสถานเดียวกันภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งพื้นที่พื้นผิวที่ควรจะเน้นในการฆ่าเชื้อนั้นก็ควรจะเป็นพื้นที่ที่มีการสัมผัสมาก อาทิ ลูกบิดประตูหรือสวิทช์ไฟเป็นต้น” นายฮิลล์กล่าว
ส่วนสถานการณ์อื่นๆเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 นั้นมีรายงานว่ามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษนั้นได้มีการทดลองมนุษย์ในขั้นท้าทาย ว่าผู้ติดไวรัสโควิด-19 โดยธรรมชาติก่อนหน้านี้ จะมีการแสดงออกด้านภูมิคุ้มกันอย่างไรเมื่อได้รับไวรัสโควิด-19 อีกครั้งหนึ่ง
โดยรายละเอียดการทดลองนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยมีอาสาสมัครทดลองแตกต่างกันออกไป ซึ่งในขั้นตอนแรกที่จะเริ่มการทดลองในเดือน เม.ย. นั้นจะเป็นการให้โดสไวรัสต่ำสุดในปริมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เคยได้รับเชื้อและไม่ได้แสดงอาการแต่อย่างใด ส่วนการทดลองในขั้นตอนที่ 2 นั้น จะเริ่มต้นในช่วงฤดูร้าน (21 มิ.ย.) โดยอาสาสมัครจะได้รับไวรัสเป็นจำนวนปกติ ซึ่งไวรัสที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้จะเป็นไวรัสโควิดต้นแบบซึ่งมีที่มาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน
เรียบเรียงจาก:https://edition.cnn.com/2021/04/19/health/cdc-covid-guidelines-cleaning/index.html,https://www.ox.ac.uk/news/2021-04-19-human-challenge-trial-launches-study-immune-response-covid-19
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage