'ธีรัจชัย-วิโรจน์-เลาฟั้ง' สส.พรรคประชาชน ยื่นหนังสือขอให้กรมที่ดินตรวจสอบที่มาโฉนด 'เทมส์ วัลลีย์'
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 ที่กรมที่ดิน เวลา ประมาณ 11.00 น. นายธีรัจชัย พันธุมาศ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร และนายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สส.พรรคประชาชน (ปชน.) มายื่นหนังสือขอให้กรมที่ดินตรวจสอบกรณีการออกโฉนดที่ดินโรงแรมเทมส์ วีลลีย์ ทั้ง 4 แปลง
นายธีรัจชัย กล่าวว่า จากการที่ตนเองอภิปรายในการลงมติไม่ไว้วางใจน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แล้วทางนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกรมที่ดิน ชี้แจงว่าที่ดินของโรงแรมเทมส์ วัลลีย์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงวัตุประสงค์การใช้งานตั้งแต่ปี 2562 และอ้างคำสั่งคณะปฏิวัติ 2515 ว่าได้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 2514 และให้พื้นที่นิคมสร้างตนเองสามารถใช้เป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมได้ 100% ทั้งสองกรณีไม่สามารถนำมาใช้อ้างได้ เพราะโรงแรมมีการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2556 แต่เพิ่งมาขออนุญาตเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในปี 2562 ส่วนคำสั่งคณะปฏิวัติ 2515 ไม่ได้ระบุถึงการยกเลิกมติครม. 2514 ที่ประกาศให้มีการสร้างนิคมสร้างตนเองลำตะคองโดยให้คงพื้นที่ต้นน้ำไว้ 3 แห่ง ส่วนที่กรมที่ดินยกมติคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ปี 2537 มาอ้างว่ามีการอนุญาตให้ออกเอกสารสิทธิ์ได้ แต่ในความเป็นจริงอาจจะมีการอนุญาตให้คนที่บุกรุกครอบครองได้แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ และหลังจากยื่นหนังสือไปแล้วพรรคประชาชนจะติดตามเรื่องอย่างใกล้ชิด ส่วนในหนังสือที่ยื่นมีเอกสารต่าง ๆ ทั้งกฎหมาย และประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแผนที่ของ GISDA ที่ระบุว่าพื้นที่ที่เป็นประเด็นยังอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ
"เอกสารชุดนี้จะหักล้างทุกสิ่งที่นายวราวุฒิ และกรมที่ดินแถลงข่าว ถ้าตรวจสอบแล้วว่าจริงก็ขอให้กรมที่ดินดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด" นายธีรัจชัย กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวเสริมว่า โดยสรุปแล้วมติครม.2514 ยังคงมีอำนาจอยู่ถึงปัจจุบัน ยังไม่มีคำสั่งใดที่มายกเลิกมติครม. 2514 ได้ ดังนั้นพื้นที่ต้นน้ำยังคงอยู่ พอพื้นที่ต้นน้ำยังคงอยู่ตามพ.ร.บ.ที่ดินและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยืนยันชัดเจนว่าพื้นที่ภูเขา ต้นน้ำ ลำธาร เป็นพื้นที่ที่ออกโฉนดไม่ได้ การที่ออกโฉนดได้ ไม่สามารถยืนยันได้ว่าพื้นที่นั้นได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่มายื่นวันนี้เพราะต้องการให้ตรวจสอบว่าออกโฉนดได้อย่างไร
ต่อมาเวลาประมาณ 11.25 น. นายเจนกิจ เชฏฐวาณิชย์ รองอธิบดีกรมที่ดินมารับหนังสือของนายธีรัจชัย
นอกจากนี้ กรมที่ดินออกเอกสารชี้แจงกรณีการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินบริเวณต้นน้ำ ว่า ตามที่มีการอภิปรายในประเด็นการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในพื้นที่ต้นน้ำลำลำธาร (WATERSHED AREA) นิคมสร้างตนเองลำตะคอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นั้น กรมที่ดิน ขอชี้แจงความเป็นมา ดังนี้
พื้นที่นิคมสร้างตนเองลำตะคองตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม
2514 อนุมัติพื้นที่ป่าไม้ถาวร "ปากช่อง - หมูสี" เนื้อที่ประมาณ 444.268 ตารางกิโลเมตร และ "ป่าโครงการรถไฟมวกเหล็ก - สีคิ้ว" เนื้อที่ประมาณ 2.400 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 280,000 ไร่ ให้เป็นพื้นที่นิคมสร้างตนเองลำตะคองเพื่อจัดที่ดินทำกินให้ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนลำตะคอง โดยกำหนด
พื้นที่ Watershed Area จำนวน 3 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 107,085 ไร่ เมื่อกรมประชาสงเคราะห์ได้เข้าดำเนินการจัดที่ดินให้แก่ราษฎรพบว่า มีราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์ในพื้นที่บำไม้ส่วนกลาง 20% เต็มพื้นพื้นที่แล้ว
ในส่วนของพื้นที่ดันน้ำลำธารพบว่ามีราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นจำนวนมาก คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติจึงได้ประชุมและมีมติเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรโดยในช่วงปี พ.ศ.ศ. 2525-2527 ได้มีมติให้นำที่ดินที่ราษฎรเข้าครอบครองและอยู่อาศัยแล้วมาจัดสรรให้แก่ราษฎรอยู่อาศัยและทำกินโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์
จนกระทั่งในการประชุมคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2537 เมื่อวันที่ ที่ 7 ตุลาคม 2537 คณะกรรมการฯ ได้มีมติอนุมัติให้ออก น.ค. 3 ให้แก่ราษฎร และให้กันพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
(Watershed Area) รวมเนื้อที่ประมาณ 33,965 ไร่ เพื่อปลูกป้าตามโครงการปลูกป้าทดแทนและอนุรักษ์ดินและน้ำ นิคมสร้างตนเองลำตะคองได้ดำเนินการออก น.ค. 3 ในพื้นที่ตันน้ำลำธารให้กับสมาชิกนิคมฯ และที่ดินก็ได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินและ น.ส. 3 ก. สืบเนื่องจาก น.ค. 3 ในพื้นที่ล้ำลาลำธารจำแนกเป็นโฉนดที่ดินจำนวน 8,738 แปลง เนื้อที่ประมาณ 39,061 ไร่ และ น.ส. 3 ก. จำนวน 1,427 แปลง เนื้อที่ประมาณ 13,118 ไร่ รวมทั้งสิ้น 10,165 แปลง เนื้อที่ประมาณ 52,179 ไร่ ไม่ได้ออกโฉนดที่ดินในอภิปรายแต่เพียงพื้นที่เดียวแต่อย่างใด
ทั้งนี้ พื้นที่ต้นน้ำลำธาร (WATERSHED AREA) ในนิคมสร้างตนเองลำตะคองนั้นเป็นพื้นที่หวงห้ามเด็ดขาด เมื่อคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับที่ดินในขณะนั้นมีมติให้จัดที่ดินและออก น.ค. 3 ให้กับสมาชิกนิคมฯ ได้ สมาชิกที่ได้รับ น.ค. 3 ก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการออกโฉนดที่ดินหรือ น.ส. 3 ก. ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 โดยมีผู้ปกครองนิคมฯ ร่วมทำการรังวัดและยืนยันความถูกต้องของ น.ค. 3 ด้วย การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวในพื้นที่ต้นน้ำลำธารของนิคมสร้างตนเองลำตะคอง จึงเป็นไปตานโยบายการบริหารจัดการที่ดิน
และชอบด้วยระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ