‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ มีมติ 8 ต่อ 1 ไม่รับคำร้อง ตีความคุณสมบัติ ‘รมต.’ ต้อง ‘มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์’ ชี้ปัญหายังไม่เกิดขึ้น-คำร้องเป็นเพียง ‘การขอให้อธิบาย’
....................................
เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ประชุมปรึกษาในคดีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) (เรื่องพิจารณาที่ 4/2568) กรณีการแต่งตั้งบุคคลเป็นรัฐมนตรีจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 21/2567
โดยศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก มีมติ 8 ต่อ 1 มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า บุคคลต้อง “มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์” และ “ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง” ส่วนประเด็นอื่น ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
ทั้งนี้ ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง กำหนดหลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดย ครม.ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม และมาตรา 158 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน”
โดยรัฐธธรรมนูญนี้วางกลโกป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มงวด เด็ดขาด เพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมือง จึงบัญญัติคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไว้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 ที่จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติสูงกว่าบุคคลที่จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากรัฐมนตรีเป็นฝ่ายบริหารและเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานบริหารราชการแผ่นดิน
การพิจารณาว่า บุคคลใดมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5) หรือไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกแม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลทุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (7)
การเสนอบุคคลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี จะต้องพิจารณาคุณสมบัติดังกล่าว และเป็นผู้รับผิดชอบในการนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลเป็นรัฐมนตรี และเป็นผู้รับสนองพระบรมรมราชโองการดังกล่าว
การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 188 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวที่จะเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ 230 วรรคหนึ่ง (2)
ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (2) และมาตรา 44 ต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญโดยตรง หรือมีการกำหนดบทบาทหน้าที่และอำนาจหลักไว้ในรัฐธรรมนูญ และการยื่นคำร้องในกรณีดังกล่าว จะต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจที่เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องปรากฏว่า การเสนอชื่อบุคคล ซึ่งสมควรแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการใช้อำนาจในทางบริหารและต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ
คำร้องดังกล่าวเป็นเพียงการขอให้อธิบาย หรือแปลความหมายบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคล ที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) (5) และ (7) และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 9 (5) ว่า มีความหมายขอบเขตเพียงใด อันมีลักษณะเป็นการหารือเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของผู้ร้องเกิดขึ้นแล้ว
อีกทั้งกรณีการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองตำแหน่งอื่นตามคำร้อง ซึ่งไม่ใช่รัฐมนตรี ก็เป็นอำนาจให้ความเห็นชอบของ ครม. ตาม พ.ร.บ.เฉพาะข้าราชการการเมือง มิใช่การใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องด้วยเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (2) และมาตรา 44
อาศัยเหตุผลตามที่กล่าวข้างต้น ศาลรัฐธธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (8 ต่อ 1 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย นายอุดม สิทธิวิรัชธธรรม) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า บุคคลต้อง “มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์” และ “ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง” (เสียงข้างน้อยเห็นว่า เป็นกรณีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) ประกอบมาตรา 158 วรรคหนึ่ง มาตรา 160 (4) และ (5) และมาตรา 164 วรรคหนึ่ง (1) และเห็นว่า เป็นประเด็นปัญหาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจที่เกิดขึ้นแล้ว) ส่วนประเด็นอื่น ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
สำหรับคดีนี้ คณะรัฐมนตรี (ผู้ร้อง) มอบหมายให้นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำสำนักนายกรัฐมนตรี ยื่นหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) กรณีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการเสนอชื่อบุคคลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 21/2567 ซึ่งการพิจารณาว่าบุคคลต้อง “มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์” และ “ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง” และ “ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) (5) และ (7)
รวมทั้ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราราชการการเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 9 (5) กำหนดว่า ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต้อง “ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี” ว่า มีขอบเขตหรือแนวทางการพิจารณาอย่างไร