คณะกรรมการประสานวุฒิสภา มีมติดำเนินคดี รมว.ยุติธรรม หาก กรรมการคดีพิเศษมีมติรับ 'คดีฮั้วเลือก สว.' เป็นคดีพิเศษวันนี้
สืบเนื่องจากกรณีคณะกรรมการคดีพิเศษ (กพค.) ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.) กลาโหม ในฐานะประธาน กพค.นัดประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ 4.3 การพิจารณาเพื่อมีมติให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติการสวบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.จำนวน 2 เรื่อง โดยหนึ่งในนั้น คือ เรื่องสืบสวนที่ 151/2567 กรณี ร้องขอให้ตรวจสอบกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2567 หรือ คดีฮั้วเลือก สว. เพื่อลงมติว่าจะรับไว้เป็นคดีพิเศษหรือไม่ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมติเห็นชอบต้องใช้เสียงสองในสาม หรือตั้งแต่ 15 เสียงขึ้นไปของกรรมการทั้งหมด 22 คน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 คณะกรรมการประสานงานวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินการหากกรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะกรรมการคดีพิเศษมีการดำเนินคดีนี้เป็นคดีพิเศษต่อไป หากกรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะกรรมการคดีพิเศษ รวมถึงหน่วยงานอื่นใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอรัฐธรรมนูญ และกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะกรรมการคดีพิเศษนำเรื่องเกี่ยวกับการกล่าวหาสมาชิกวุฒิสภาว่ามีการฮั้วการเลือกตั้งไปดำเนินคดีพิเศษโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีนั้นก็สามารถที่จะพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
(1) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมาแถลงหรือตอบชี้แจง
(2) ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 150 วรรคหนึ่ง
(3) เเจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อคำเนินคดีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะกรรมการคดีพิเศษ ตามประมาลกฎหมายอาญา
เช่น มาตรา 116 (กล่าวคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
และคณะกรรมการคดีพิเศษเป็นผู้กระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน หรือเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่อง) และมาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการดำเนินคดีโดยมิชอบด้วยรัฐธธรรมนูญพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 หรือเร่งรีบให้มีการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และมาตรา 209 รวมทั้งมาตราอื่น ๆ เป็นคดีพิเศษ และปรากฏในภายหลังว่าก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมาชิกวุฒิสภาหรือผู้ถูกกล่าวหา
(4) ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ
ป.ป.ช.) พิจารณาดำเนินการกับรัฐมตรีว่าการกระทรางยุติธรรม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะกรรมการคดีพิเศษ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 234 และพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 28 ที่บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกัน ว่า
"คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ (1) ไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ... ผู้ใด... ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
อย่างร้ายแรง (2) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ...กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือ
กระทำความผิดต่อตำแเหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธธรรม..."
(5) ส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการตามบทบัญติของรัฐธรธรรมนูญ มาตรา 231 ที่บัญญัติว่า
"ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 230 ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้เมื่อเห็นว่ามีกรณี ดังต่อไปนี้ ...(2) กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครองและให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า..."
(6) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา สามารถเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 170 ประกอบมาตรา 160 และมาตรา 82