มูลนิธิไอทีสหรัฐฯ จัดอันดับไทยอยู่ในกลุ่มเปราะบาง ความเสี่ยงสูง หลัง ‘ทรัมป์’ ขึ้นเป็น ปธน. ควบคู่ เม็กซิโก,ออสเตรีย,สโลวีเนีย, แคนาดา ยกเหตุ การใช้จ่ายกลาโหมต่ำ การค้าเกินดุลสหรัฐฯ เดินนโยบายสอดคล้องจีน ขณะลิทัวเทีย,โปแลนด์,ออสเตรเลีย,ลัตเวีย,เอสโตเนีย ความเสี่ยงต่ำสุด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวผลกระทบการเลือกตั้งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกาคนต่อไปว่า บริษัท Trendforce ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการระดับโลกด้านข่าวกรองการตลาดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้ทำเผยแพร่ข่าวระบุว่าเป็นประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงและเปราะบางมาก ต่อกรณีที่นายทรัมป์ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
บริษัทไต้หวันอ้างอิงข้อมูลจากมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (ITIF) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกําไรในกรุงวอชิงตัน ซึ่งได้มีการจัดทำ Trump Risk Index หรือดัชนีความเสี่ยงจากนายทรัมป์ ซึ่งดัชนีนี้มีการจัดอันดับ 39 ประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ตามระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายใต้นโยบายภาษีของรัฐบาลทรัมป์ที่กําลังจะมาถึง
รายงาน ITIF ระบุว่าประเทศที่ถือว่ามีความเสี่ยงมากที่สุดคือเม็กซิโก ในขณะที่ไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่อยู่ใน 10 อันดับแรก ส่วนไต้หวันอยู่ในอันดับที่ 31 อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ
ITIF ใช้ตัวบ่งชี้ในการประเมินสี่ด้าน เพื่อจัดอันดับ ได้แก่ 1.การใช้จ่ายด้านกลาโหม 2.ดุลการค้า ซึ่งเป็นการวัดผลการต่อต้านสหรัฐฯ 3.นโยบายการค้าและเทคโนโลยี และ4.ความเต็มใจที่จะต่อต้านการนโยบายการยึดครองทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของจีน
จากข้อมูลของ ITIF หลักการ "America First" ของนายทรัมป์มุ่งเป้าไปที่ประเทศที่มองว่าใช้ประโยชน์จากการลงทุนของสหรัฐฯ โดยใช้ประโยชน์จากการเปิดกว้างของตลาดสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจของตน หรือสอดคล้องกับจีนเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตัวเองมากกว่าที่จะยืนหยัดอย่างมั่นคงกับสหรัฐฯ
พบข้อมูลว่าในกลุ่มห้าประเทศแรกที่ติดอันดับสูงสุด ในรายงานของ ITIF ได้แก่ประเทศ เม็กซิโก,ไทย,สโลวีเนีย,ออสเตรีย และแคนาดา โดยประเทศเหล่านี้มีลักษณะร่วมกันได้แก่ 1.การใช้จ่ายด้านกลาโหมเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และ2.ทุกประเทศเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดยเม็กซิโกและไทยเกินดุลมากเป็นพิเศษ
ITIF ยังชี้ให้เห็นว่าประเทศเหล่านี้มักจะหลีกเลี่ยงการเข้าข้างสหรัฐฯอย่างเต็มที่ในการต่อต้านอํานาจที่เพิ่มขึ้นของจีนในด้านการทหาร การทูต และเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี
ในทางกลับกัน ห้าประเทศที่ถือว่าปลอดภัยที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุดในรายงาน ITIF ได้แก่ ลิทัวเนีย,เอสโตเนีย,โปแลนด์,ลัตเวีย และออสเตรเลีย โดยประเทศเหล่านี้เกือบทั้งหมดยกเว้นออสเตรเลียจัดสรรงบประมาณด้านกลาโหมสูงกว่าระดับเฉลี่ย ตามที่ ITIF ตั้งข้อสังเกต
รายงานของ ITIF ระบุถึงอันดับของประเทศอื่นๆในเอเชีย พบว่า ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 17 ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 25 และเกาหลีใต้อยู่ในอันดับที่ 22 ซึ่งทั้งหมดมีความเสี่ยงสูงกว่าไต้หวัน