ปปง.ตามอายัดทรัพย์ได้ 5 แสนบ. คดีณกานดา ฐิติมนภูดิศ พวก ฉ้อโกงหลอกขายนาฬิกาหรูผ่านแอปพลิเคชันไลน์ อ้างรู้จักพ่อค้าในห้างดังสามารถซื้อได้ถูกกว่าท้องตลาด ในพื้นที่ จ.นนทบุรี พระนครศรีฯ กรุงเทพฯ ผู้เสียหาย 6 ราย 41.2 ล้าน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) มีคำสั่ง ย.206/2567 ลงวันที่ 18 กันยายน 2567 เรื่อง อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว ราย นางสาวณกานดา ฐิติมนภูดิศ ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ กรณี หลอกลวงเสนอขายนาฬิกาฬิกาหรูผ่านทางช่องทางไทม์ไลน์ (Timeline) ในแอปพลิเคชันโลน์ (Line) ของนางสาวณกานดา ซึ่งอ้างว่ารู้จักกับพ่อค้าตลาดนาฬิกาหรูในห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และสามารถซื้อได้ถูกกว่าคาท้องตลาด ผู้เสียหายหลงเชื่อและได้โอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารของนางสาวศิรฉัตรท์ กิจธนธีรนันท์ หรือบัญชีเงินฝากธนาคารของนายวิมล สิงโหพล สามีของนางสาวณกานดา รวมมูลค่าความเสียหาย จำนวน 41,240,0000 บาท กระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกันจำนวนหลายครั้ง มีผู้ได้รับความเสียหายจำนวน 6 ราย เหตุเกิดในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร
ทรัพย์ที่อายัดได้เป็นเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร 8 รายการ ในชื่อนางสาวณกานดากับบุคคลต่างๆ รวมเป็นเงิน 526,199.02 บาท
คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ย. 206 /2567 มีรายละเอียดดังนี้
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายว่าถูกนางสาวณกานดา จิติมภูดิศ กับพวก หลอกลวงขายนาฬิกาหรู โดยโอนเงินให้ไปแล้วแต่ไม่ได้รับสินค้าแต่อย่างใด ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ กล่าวคือ
นางสาวณกานดา จิติมนภูดิศ มีพฤติการณ์ร่วมกันหลอกลวงเสนอขายนาฬิกาฬิกาหกับ ผู้เสียหาย โดยการขึ้นข้อความเสนอขายพร้อมแสดงภาพถ่ายนาฬิกาหรูยี่ห้อต่าง ๆ ผ่านทางช่องทางไทม์ไลน์ (Timeline) ในแอปพลิเคชันโลน์ (Line) ของนางสาวณกานดา ฐิติมนภูดิดิศ ซึ่งอ้างว่ารู้จักกับพ่อค้าตลาดนาฬิกาหรูในห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และสามารถซื้อได้ถูกกว่าคาท้องตลาด ผู้เสียหายหลงเชื่อและได้โอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารของนางสาวศิรฉัตรท์ กิจธนธีรนันท์ หรือบัญชีเงินฝากธนาคารของนายวิมล สิงโหพล สามีของนางสาวณกานดา ฐิติมภูดิศ รวมมูลค่าความเสียหาย จำนวน 41,240,0000 บาท โดยพฤติการณ์การหลอกลวงผู้อื่นของนางสาวณกานดา กับพวก มีการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกันจำนวนหลายครั้ง มีผู้ได้รับความเสียหายในชั้นนี้จำนวน 6 ราย เหตุเกิดหลายพื้นที่ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2561 ซึ่งในแต่ละคดีศาลมีคำพากษาว่าว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมลกฎหมายอาญา กรณีจึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าพฤติการณ์การกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาลักษณะเป็นปกติธุระ อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) และ (18) และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นางสาวณกานดา ฐิติมนภูดิศ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกียวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบกับคำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ ม.94/2563 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่องมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รายนางสาวณกานดา ธิติมนภูดิศ กับพวก คำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม.697/2563 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2563 เรื่องมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด (เพิ่มเติม) รายนางสาวณกานดา ฐิติมนภูดิศ คำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม.909/2565 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2565 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทำความผิด (เพิ่มเติม) รายนางสาวณกานดา ฐิติมนภูดิศ คำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม.272/2567 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 256567 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด (เพิ่มเติม) รายนางสาวณกานดา ฐิติมนภูดิศ กับพวก และในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ที่ประชุมมีมติเพิ่มเติมความผิดมูลฐาน ตามมาตรา 3(18) แห่งพระระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกธุรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว ปรากฎหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า นางสาวณกานดา ฐิติมนภูดิศ กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) และ (18) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งจากการรวบรวมพยานหลักฐาน ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าว ได้ไปซึ่งพรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 8 รายการ พร้อมดอกผล และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้ เป็นสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารอันเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้ได้โดง่าย หากมิได้มีการออกคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดำเนินการ โอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์สิพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน สำนักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุ อันควรเชื่อได้ว่านางสาวณกานดา ฐิติมนภูดิศ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือช่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะกรรมการธธุรกรรมในการประชุม ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมว่าด้วยการรับเรื่องการตรวจสอบ การพิจารณาดำเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว จำนวน 8 รายการ พร้อมดอกผลมีกำหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2567 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2567 โดยมีรายการทรัพย์สินที่อายัดปรากฏตามบัญชีทรัพย์สินแนบท้ายคำสั่งนี้
ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวหรือสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์หรือดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวด้วย