ยึดอายัดทรัพย์ได้ 18.1 ล้าน คดี ‘มานะ จูเมือง’ กับพวก ฉ้อโกง ฟอกเงิน หลอกลงทุนซื้อทองคำหนัก 1 บาท จ่าย 10,000 บาท ให้ผลตอบแทน 19,000 บาท ผู้เสียหายคนไทย-เวียตนาม 18 ราย 28.8 ล้าน แจ้งความ จ.พิจิตร สำนวนอาญาอยู่ในชั้นอัยการ
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) มีคำสั่ง ย.152/2567 เรื่อง ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) รายนายมานะ จูเมือง กับพวก กรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาหรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ
โดยการชักชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติเวียดนามและคนไทยให้ลงทุนซื้อทองคำ น้ำหนัก 1 บาท ต้องจ่ายเงิน 10,000 บาท หรือจ่ายเป็นเงินบาทและเงินดิจิทัล (วันคอยน์) รวมกันมีมูลค่าเท่ากับเงิน 10,000 บาท ใช้ระยะเวลาในการลงทุน 30 วัน จะได้ผลตอบแทนเป็นทองคำน้ำหนัก 1 บาท หรือรับเป็นเงินสด 19,000 บาท จึงเป็นการเสนอผลประโยชน์หรือกำไรในอัตราร้อยละ 90 ต่อเดือน ซึ่งเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้
ทรัพย์สินที่ถูกยึดและอายัด ได้แก่
- ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 33596 เลขที่ดิน 10 หน้าสำรวจ 3203 เนื้อที่ 5 ไร่ - งาน 41 ตารางวา ตำบลป้ามะคาบ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ผู้ถือกรรมสิทธิ/ผู้ครอบครอบครอง นางปัญจพร จันทรวงค์หรือใบนิล
- ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 59978 เลขที่ดิน 80 หน้าสำรวจ 6170 เนื้อที่ - ไร่ 2 งาน - ตารางวา ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านตึกสองชั้น ไม่มีเลขที่จำนวน 1 หลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์/ผู้ครอบครอง 1.นายประศาสน์ ใบนิล 2.นางปัญจพร ใบนิล หรือจันทรวงศ์
- ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 61144 เลขที่ดิน 55 หน้าสำรวจ 6305 เนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 19.4 ตารางวา ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านตึกชั้นเดียว ไม่มีเลขที่จำนวน 7 หลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์/ผู้ครอบครอง นางปัญจพร จันทรวงค์หรือใบนิล
ทรัพย์สินรายการที่ 1 ถึงรายการที่ 3 รวมราคาประเมินประมาณ 15,000,000 บาท
- เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขา พิจิตร เลขที่บัญชี 048-3-637xxx ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชีนางปัญจพร ใบนิล จำนวนเงินคงเหลือ 61,071.62 บาท
รวมราคาประเมินจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 15,061,071.62 บาท พร้อมดอกผล ไว้ชั่วคราวมีกำหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่ คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567
การยึดและอายัดทรัพย์ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการธุรกรรรมมีคที่ ย.28/2565 ลงวันที่ 11 มกราคม 2565 อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดรายคดีมานะ จูเมือง กับพวก เป็นเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร ร วม 57 รายการ เป็นเงิน 3,108,608.29 บาท ต่อมาได้สั่งที่ พ.10/2565 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2565 เพิกถอนอายัด 11 รายการ (บัญชี) 783,651.71 บาท
รวมยึดและอายัดทรัพย์ 2 ครั้ง 18,169,679.9 บาท
@เปิดรายละเอียดคำสั่งยึดอายัดทรัพย์
คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ย. 152 /2567 มีรายละเอียดดังนี้
ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปปง.) ได้รับเรื่องร้องเรียน
จากผู้เสียหาย กรณีนายมานะ จูเมือง กับพวก หลอกลวงให้ร่วมลงทุนซื้อทองคำ ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปยัง นายมานะ จูเมือง กับพวก เป็นจำนวนหลายครั้ง ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาหรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ กล่าวคือ
เมื่อประมาณเดือนมกราคม 2562 ถึงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 25663 เหตุเกิดภายในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม ทั้งกลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน นายมานะ จูเมือง กับพวก ได้ร่วมกันหลอกลวงด้วยการชักชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติเวียดนามและคนไทยให้ลงทุนซื้อทองคำ โดยทองคำน้ำน้ำหนัก 1 บาท ต้องจ่ายเงิน 10,000 บาท หรือจ่ายเป็นเงินบาทและเงินดิจิทัล (วันคอยน์) รวมกันมีมูลค่าเท่ากับเงิน 10,000 บาท ใช้ระยะเวลาในการลงทุน 30 วัน จะได้ผลตอบแทนเป็นทองคำนำหนัก 1 บาท หรือรับเป็นเงินสด 19,000 บาท จึงเป็นการเสนอผลประโยชน์หรือกำไรในอัตราร้อยละ 90 ต่อเดือน ซึ่งเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้
นอกจากนี้เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือได้มีการแจกทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น ทองคำ รถยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ เมื่อครบระยะเวลาในการลงทุนผู้เสียหายไม่ได้รับเงินและผลตอบแทน ซึ่งมีผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงเป็นจำนวนมาก
ต่อมาพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองพิจิตร ได้ดำเนินคดี ตามคดีอาญาที่ 22/2563 กับผู้ต้องหา จำนวน 5 ราย คือ นางสาวทัศนีย์ เทพหยด ผู้ต้องหาที่ 1 ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชาลเลนเจอร์ วัน อินเตอร์เน็ต) นายมานะ จูเมือง ผู้ต้องหาที่ 2 MRSINGUYEN THI BICH NGA หรือนางงา ผู้ต้องหาที 3 (หลบหนี) นางสวดี เทพหยด ผู้ต้องหาที่ 4 และนางสุรภา ธนะกรรัชกุล ผู้ต้องหาที่ 5 (หลบหนี) ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน วันเวลาเกิดเหตุ วันที่ 11 เมษายน 2562 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 เวลาต่อเนื่องกัน ตำบลที่เกิดเหตุ ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เป็นเหตุให้ประชาชนผู้เสียหายทั้งหมด 18 ราย ได้รับความเสียหายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 28,877,918 บาท ปัจปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดพิจิตร และตำรวจภูธรภาค 6 ได้มีคำสั่งที่ 97/2563 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2563 แต่งตั้งตั้งพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีฉ้อโกงประชาชน (One Coin) รายงานการกระทำความผิด ผู้ต้องหานายมานะ จูเมือง กับพวก กล่าวคือ เจ้าพนักงานตำรวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธธรภาค 6 ได้ตรวจสอบพบผู้เสียหายในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพิจิตร ถูกหลอกลวงให้ลงทุนซื้อทองคำด้วยเงินสดส่วนหนึ่ง และสกุลดิจิทัล (One Coin) อีกส่วนหนึ่ง โดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่สูง ลงทุนไปแล้วนั้นก็ไม่ได้รับผลตอบแทนจริงตามที่กลุ่มของนายมานะ จูเมือง ผู้ต้องหา ได้บอกไว้
@ผู้เสียหายร้องทุกข์เอาผิด บุคคล-นิติบุคคล
ในการนี้ผู้เสียหายได้เข้าทำการแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับกลุ่มของผู้กระทำความผิด ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภัทรสุรภา (กรุ๊ป) ในฐานะนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการ และบริษัท ฟิโอเอ็ม แอนด์พาร์ทเนอร์ส กรุ๊ป จำกัด ในฐานะนิติบุคคลและกรรมการบริษัท ซึ่งหลอกลวงให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนได้รับความเดือดร้อน โดยพันตำรวจเอก สราวุธ คนใหญ่ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 6 ในฐานะผู้กล่าวหา ได้กล่าวหานายมานะ จูเมือง กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ สมคบฟอกเงิน ร่วมกันกู้ยืมเงินในลักษณะที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองพิจิตรรับเป็นคดีอาญาญาที่ 153/2563 ปัจจุบันสำนวนคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ อันเข้าลักษณะความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) และ (18) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านายมานะ จูเมือง กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว ต่อมาคณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งที่ ย.28/2565 ลงวันที่ 11 มกราคม 2565 เรื่อง อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว รายคดีนายมานะ จูเมือง กับพวก จำนวน 57 รายการ พร้อมดอกผล มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน นั้น
จากการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคล รวมทั้งผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินคดีดังกล่าวพบข้อมูลเพิ่มเติมว่านายมานะ จูเมือง กับพวก เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้มีสิทธิครอบครองในทรัพย์สินเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 รายการ ประกอบด้วย ที่ดินตามโฉนดที่ดินและเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้ว ปรากฏหลักฐามเชื่อได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการถระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าว ประกอบด้วยตามโฉนดที่ดิน อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฎหลักฐานในทางทะเบียนในการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีมีสิทธิครอบครองโดยผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครอง อาจดำเนินการทางนิติกรรมโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองในทางทะเบียนได้ และสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร อันเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด ซ่อนเร้น ได้โดยง่าย หากมิได้มีการออกคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดำเนินการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน สำนักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านายมานะ จูเมือง กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มติคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567 และระเบียบว่าด้วยการรับเรื่อง การตรวจสอบ การพิจารณาดำเนินการ และการควบคุมการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) จำนวน 4 รายการ พร้อมดอกผล ดังกล่าว
สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 นายมานะ ถูกเจ้าหน้าตำรวจกองปราบจับกุมตัวตามหมายจับศาลจังหวัดพิจิตรข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน