คณะกรรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจน-ลดความเหลื่อมล้ำ สภาผู้แทนราษฎร ชง นิรโทษกรรม ‘เจ้าหนี้นอกระบบ’ แก้กฎหมาย ปปง. ลงโทษสูงเจ้าหน้าที่รัฐ-เพิ่มมูลฐานความผิดฟอกเงิน งัด มาตรการภาษีดัดหลัง เปิดพิมพ์เขียว ศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ถึง ครม.แพทองธาร
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า คณะกรรมาธิการ (กมธ.) แก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ สภาผู้แทนราษฎรร ได้ประชุมและเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายงานผลการศึกษา เรื่อง ปัญหาหนี้นอกระบบและแนวทางการแก้ไขอย่างบูรณาการและยั่งยืน เตรียมที่จะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบและเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเร็ว ๆ นี้
รายงานข่าวระบุว่า โดยผลการพิจารณาศึกษาดังกล่าวที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาเห็นชอบนั้น ได้ระบุถึง แนวทางการบริหารจัดการและแก้ไขหนี้นอกระบบบทั้งในเชิงของนโยบาย แนวทางการบริหารจัดการแบบองค์รวม และการแก้ไขกฎหมาย เช่น การเพิ่มบทลงโทษให้สูงขึ้นหากเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และการกำหนดให้เป็นฐานความผิดในกฎหมายฟอกเงิน
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า รวมถึงยังมีข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เช่น จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ การออกมาตรการภาษี และการออกกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หรือ พระราชกำหนด (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมเจ้าหนี้นอกระบบ
@@ เปิดพิมพ์เขียวแก้หนี้นอกระบบ
แนวทางการบริหารจัดการและแก้ไขหนี้นอกระบบบ
จากการพิจารณาศึกษาปัญหาหนี้นอกระบบในสังคมไทยปัจจุบัน คณะกรรมาธิการ ได้กำหนดกรอบการพิจารณา คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดหนี้นอกระบบ สภาพปัญหาของหนี้นอกระบบและข้อจ้ากัดทางกฎหมายของหนี้นอกระบบนั้น และจากผลการพิจารณาศึกษาดังกล่าว คณะกรรมาธิการจึงมีข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ คือ แนวทางการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาเชิงกฎหมาย ซึ่งมี รายละเอียด ดังนี้
แนวทางการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน คณะกรรมาธิการจึงได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง มีรายละเอียด ดังนี้
1.แนวทางการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ
สืบเนื่องจากการดำเนินงานในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตามนโยบายของรัฐบาลได้มุ่งเน้นการดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการการท้างานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดภารกิจแต่ละด้านให้แก่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในภารกิจนั้น ๆ อยู่เดิม รับผิดชอบดำเนินการโดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน ซึ่งจากการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของหน่วยงานที่มีภารกิจโดยตรงพบว่า
การดำเนินการดังกล่าวยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ คณะกรรมาธิการจึงได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานของหน่วยงาน ดังนี้
การดำเนินงานในระยะเร่งด่วน
การดำเนินงานในระยะเร่งด่วน เป็นการดำเนินงานที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานจะต้องเร่งดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างเร่งด่วนในระยะแรก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
ด้านลูกหนี้
จากผลการพิจารณาศึกษาสภาพปัญหาหนี้นอกระบบของลูกหนี้นั้นจะพบว่าโดยส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ลูกหนี้มีความจ้าเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นเพราะรายได้ของลูกหนี้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพในชีวิตประจ้าวัน ปัญหาความยากจน ปัญหาของกลุ่มประชาชนฐานราก ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ ถือเป็นต้นเหตุที่ทำให้ประชาชนต้องพึ่งพาอาศัยแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรแก้ไขจากต้นเหตุโดยส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน
ทั้งนี้ จากผลการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า มีหลายหน่วยงานที่ได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมในการสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชนอยู่แล้ว แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง และควรสร้างช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโครงการต่าง ๆ ได้โดยง่าย ซึ่งการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วยวิธีการรดังกล่าว จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ กล่าวคือเมื่อประชาชนมีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินออมจะท้าให้ ประชาชนไม่ต้องพึ่งพาอาศัยบุคคลอื่น หรือกู้ยืมเงินเพื่อมาใช้ในการดำรงชีพและสามารถพึ่งพาอาศัยตนเองได้มากขึ้น อีกทั้งไม่ต้องพึ่งพาอาศัยแหล่งเงินกู้นอกระบบ
ประชาชนจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของ ตนเองและครัวเรือน และการตระหนักรู้ถึงผลเสียของการเป็นหนี้นอกระบบ รวมถึงจะต้องมีความรู้ทางการด้านการเงิน ซึ่งความรู้ในส่วนนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ประชาชนสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการบริหารการเงินของตนเองและครัวเรือน เพื่อไม่ให้เข้าสู่วงจรของการเป็นหนี้
ทั้งนี้ ในการให้ความรู้ทางการเงินนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานและหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับ ประชาชน ควรมีการให้บริการด้านความรู้ทางการเงินและองค์ความรู้ด้านกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับ กรณีปัญหาหนี้นอกระบบและสิทธิต่าง ๆ ของตนเอง เช่น สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิและประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่องทางการติดต่อ ขอรับความช่วยเหลือ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือดังกล่าวได้โดยง่าย
นอกจากนี้ ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการรับลงทะเบียนหนี้นอกระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้นอกระบบเข้าสู่ กระบวนการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ได้ง่ายขึ้น หากเป็นกรณีดังกล่าวนี้ ลูกหนี้นอกระบบควรเข้าสู่ กระบวนการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว จะท้าให้ลูกหนี้สามารถเจรจากับเจ้าหนี้นอกระบบได้ เพื่อเจรจาและตกลงเกี่ยวกับมูลหนี้กู้ยืมเงินให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย รวมถึงการชำระหนี้ของลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ตามความสามารถของลูกหนี้
ด้านเจ้าหนี้
ตามที่ได้กล่าวมาในหัวข้อเกี่ยวกับประเด็นการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นั้น มีมาตรการในการส่งเสริม สนับสนุนให้เจ้าหนี้นอกระบบควรเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ เพื่อทำการเจรจาและตกลงเกี่ยวกับมูลหนี้กู้ยืมเงินให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย และจะนำไปสู่การที่เจ้าหนี้ไม่ต้องถูกดำเนินคดี เนื่องจากการกระทำความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน
นอกจากนี้ เจ้าหนี้ดังกล่าวควรจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจดังกล่าว สามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี และการประกอบธุรกิจดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกับกิจการธนาคารถือเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเมื่อเจ้าหนี้ได้ลงทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวนี้จะถือ ว่าเป็นผู้ให้สินเชื่อแก่บุคคลอื่น เป็นทางการค้าปกติ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ถือเป็น อัตราดอกเบี้ยที่สูง แต่ถ้าเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่ประชาชนบางรายมีการจ่ายดอกเบี้ยโหดทั้งแบบรายวัน/รายเดือน/รายปี ที่ยังสามารถจ่ายได้สูงถึงร้อยละ 20 ต่อ 24 วัน หรือ ร้อยละ 200 – 300 ต่อปี
การดำเนินงานของหน่วยงาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานจะต้องบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งควรมีการกำหนดเป้าหมายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบร่วมกัน เพื่อให้ทุกหน่วยงานดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยไม่ควรมองเฉพาะเพียงภารกิจ ในการดำเนินงานของส่วนราชการของตนเอง
อีกทั้งการดำเนินงานควรมีการติดตามการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ พร้อมกับร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว ตลอดจนการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของหน่วยงานทุกงาน ที่มีภารกิจในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล
สำหรับการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบนั้น หน่วยงานควรมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ กล่าวคือ การส่งเสริมการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น มากกว่ามุ่งเน้นไปที่การเพิ่มแหล่งเงินทุนให้กับประชาชน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ และยังคงท้าให้ปัญหาหนี้สินยังคงอยู่
หน่วยงานที่มีภารกิจในการปราบปรามปัญหาหนี้นอกระบบอย่างเคร่งครัดและจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเจ้าหนี้นอกระบบที่กระทำความผิดต่อกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการกระท้าความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา การทวงถามหนี้ที่เป็นการกระท้าที่ผิดกฎหมาย กรณีเจ้าหนี้นอกระบบที่เป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เป็นต้น
หน่วยงานควรดำเนินการในเชิงรุก โดยการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง และควรนำมาตรการทางภาษีมาบังคับใช้ กล่าวคือ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจทราบว่าบุคคลใดเป็นเจ้าหนี้นอกระบบ สามารถแจ้งข้อมูลของบุคคลดังกล่าวไปยังสำนักงานสรรพากรพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลภาษีของบุคคลนั้น และหากพบว่าบุคคลดังกล่าว ยื่นรายการแสดงภาษีเงินได้ไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ยื่นรายการภาษี ให้ดำเนินการตามกระบวนการตรวจสอบภาษีและดำเนินคดีต่อไป
นอกจากนี้ หากพิจารณาแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบนั้น เป็นการมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้งฝ่ายลูกหนี้และฝ่ายเจ้าหนี้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมานั้น ในการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้จะต้องเป็นความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย แต่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย ไม่ประสงค์เข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้จึงทำให้ การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ ไม่สามารถดำเนินการได้
ดังนั้น ควรมีการกำหนดมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใดในการจูงใจเพื่อให้คู่ความทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการดังกล่าวบรรลุประสงค์
การดำเนินงานในระยะยาว
สำหรับการดำเนินงานในระยะยาว คณะกรรมาธิการมีข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาในส่วนของหน่วยงานเป็นหลัก โดยเป็นการพิจารณาจากผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับสภาพปัญหาของหนี้นอกระบบ ซึ่งคณะกรรมาธิการมีข้อเสนอแนะว่า การดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในบางส่วนงานนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณ เช่น การดำเนินการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสำหรับเบี้ยประชุม การเดินทาง เป็นต้น
หน่วยงานที่มีภารกิจในการดำเนินงานควรจัดตั้งคำขอรับงบประมาณ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการแก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีหนี้นอกระบบ เนื่องจากข้อจ้ากัดของกฎหมายเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคต่อการแก้ไข ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยในประเด็นดังกล่าวนี้ คณะกรรมาธิการเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ได้แก่ การกำหนดค้านิยามของค้าว่า “หนี้นอกระบบ” การตีความคำว่า “ประโยชน์ที่ได้รับมากเกินส่วนอันสมควร” สิทธิในการดำเนินคดีของลูกหนี้นอกระบบ และการกำหนดบทลงโทษ รวมถึงการเสนอแก้ไขกฎหมายอื่น ได้แก่ การกำหนดให้การกระท้าความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เป็นมูลฐานความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ.2542
แนวทางการบริหารจัดการแบบองค์รวม
สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการแบบองค์รวมนี้ คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเป็นอย่างครบวงจร โดยการจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ซึ่งไม่เพียงแต่แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเท่านั้น แต่รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ด้านอื่น ๆ ด้วย โดยเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี กำหนดให้มีภารกิจในการแก้ไขปัญหาหนี้สินและหนี้นอกระบบโดยตรงและเบ็ดเสร็จ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวนี้ จะต้องมีการกำหนดกรอบ การดำเนินงาน กำหนดกรอบตัวชี้วัด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการกำกับดูแลและการติดตามการประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ในการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมานั้น มีความจ้าเป็นจะต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน บุคลากร ทรัพยากรต่าง ๆ ดังนั้น รัฐบาลจึงควรพิจารณาศึกษาถึงความคุ้มค่า ความจำเป็น และจะต้องกำหนดกรอบการดำเนินงานของหน่วยงานนี้ให้เกิดความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ๆ
@@ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ปปง.
แนวทางการแก้ไขปัญหาเชิงกฎหมาย
จากผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการ พบว่าข้อจ้ากัดของกฎหมาย ถือเป็นปัญหาและอุปสรรคประการหนึ่งต่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ดังนั้น คณะกรรมาธิการ จึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเชิงกฎหมาย โดยมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง มีรายละเอียด ดังนี้
1.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560
สำหรับการพิจารณาศึกษาเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ในส่วนของปัญหาด้านกฎหมายนั้น คณะกรรมาธิการได้น้ารายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาใช้ประกอบการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการด้วย ซึ่งจากผลการพิจารณาพบว่า ประเด็นที่รายงานการประเมินสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ย เกินอัตรา พ.ศ. 2560 ควรให้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวนั้น สอดคล้องกับผลการพิจารณาศึกษา ข้อจำกัดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมาธิการ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการ มีข้อเสนอแนวทางแก้ไข พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มีรายละเอียด ดังนี้
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560
สำหรับการพิจารณาศึกษาเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ในส่วนของปัญหาด้านกฎหมายนั้น คณะกรรมาธิการได้นำรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาใช้ประกอบการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการด้วย ซึ่งจากผลการพิจารณาพบว่า ประเด็นที่รายงานการประเมินสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ย เกินอัตรา พ.ศ.2560ควรให้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวนั้น สอดคล้องกับผลการพิจารณาศึกษา ข้อจำกัดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมาธิการ
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการมีข้อเสนอแนวทางแก้ไขพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มีรายละเอียด ดังนี้
- กำหนดคำนิยามของคำว่า “หนี้นอกระบบ” เนื่องจากกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้กำหนดค้านิยามและลักษณะของค้าว่า “หนี้นอกระบบ” ไว้อย่างชัดเจน ในขณะที่ลักษณะของหนี้นอกระบบมีความซับซ้อน และมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่ตลอด อีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ทั้งกฎหมายทั่วไปและกฎหมายเฉพาะ ทำให้ต้องมีการตีความหนี้นอกระบบว่ามีความหมายว่าอย่างไรและมีลักษณะอย่างไร
ดังนั้น จึงควรกำหนดค้านิยามของคำว่า “หนี้นอกระบบ” ให้ครอบคลุมถึงกรณีที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่ออุดช่องว่างทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาการตีความเกี่ยวกับสภาพปัญหาหนี้นอกระบบของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากผู้กระท้าความผิดจะมีการพัฒนารูปแบบการกระท้าความผิดอยู่ตลอดเวลา - กำหนดการกระทำความผิดที่มีลักษณะฉกรรจ์ เนื่องจากลักษณะการกู้ยืมเงินนอกระบบในปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบการกระทำความผิดที่ซับซ้อนและมีลักษณะที่แตกต่างกันไป อีกทั้งยังมีการกระท้าที่มีลักษณะเป็นการสมคบกันปกปิดวิธีดำเนินการ ปล่อยกู้ที่มีลักษณะเป็นขบวนการที่มีนายทุนอยู่เบื้องหลัง รูปแบบการปล่อยกู้รายวันและเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูง
ดังนั้น จึงควรปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้มีความเหมาะสมและได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการกำหนดบทฉกรรจ์ กับการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นเครือข่ายหรือขบวนการและการกระทำความผิดที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยกำหนดให้การกระทำความผิดดังกล่าวเป็นลักษณะฉกรรจ์ที่จะต้องได้รับโทษหนักขึ้นจากการกระทำความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราทั่วไป
- กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการ เนื่องจากในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามหนี้นอกระบบโดยตรง และกฎหมายไม่ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ให้ชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ทราบถึงขอบเขตอำนาจของตนเองในการป้องกันและปราบปรามหนี้นอกระบบ
แม้ว่ารัฐบาลจะได้กำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยให้บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ในทางปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวจะดำเนินการแบบแยกภารกิจของหน่วยงานของตนซึ่งท้าให้แต่ละ หน่วยงานมุ่งเน้นที่จะดำเนินภารกิจที่อยู่ภายใต้หน่วยงานและกรอบการดำเนินงานของหน่วยงานตนเองเท่านั้น ซึ่งอาจขาดการมองสภาพปัญหาและภารกิจในภาพรวมเป็นหลัก จึงอาจท้าให้การดำเนินงานยังขาดประสิทธิภาพในเรื่องของการดำเนินงานที่เป็นเอกภาพ อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและต่อเนื่อง
ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง ภายใต้พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 โดยเปรียบเทียบกับคณะกรรมการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 เพื่อให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการด้านบริหารและการประสานงานเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและ ก่อให้เกิดความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งจะช่วยลดกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการที่มีความซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างกลไกการประสานงานที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีความรับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ อาจกำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ดังต่อไปนี้
- ศึกษา พิจารณา และเสนอมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไข ป้องกันและปราบปรามการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราแก่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
- พิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
- กำหนดรูปแบบ กระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคเอกชนในการดำเนินนโยบายเพื่อป้องกันและปราบปรามการ เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
- เสนอแนะคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการในการคุ้มครอง หรือให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในด้านอื่น ๆ
- ติดตามประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
- ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
@@ อัดยาแรง ‘เจ้าหน้าที่รัฐ’ เอี่ยว โทษสูง
การแก้ไขบทลงโทษ
1.แก้ไขบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดลักษณะฉกรรจ์
- การกระทำความผิดที่มีลักษณะเป็นขบวนการ เนื่องจากหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมักเป็นการกู้ยืมเงินนอกระบบจากเจ้าหนี้ที่มีลักษณะเป็นขบวนการที่มีลักษณะเป็นการสมคบกันปกปิดวิธีดำเนินการ โดยมีนายทุนอยู่เบื้องหลังในการกระทำความผิด
ดังนั้น จึงควรกำหนดอัตราโทษให้ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกรายที่มีส่วนรวมในการกระทำความผิดและกำหนดบทลงโทษในอัตราสูงเพื่อให้สอดคล้องกับกรณีที่ได้กำหนดให้ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่มีลักษณะฉกรรจ์ - ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปัญหาหนี้นอกระบบในหลายกรณีเกิดจากการปล่อยกู้ของผู้มีอ้านาจในท้องถิ่น หรือเจ้าหนี้บางคนมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และให้การสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือ
ดังนั้น จึงควรปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้มีความเหมาะสมและได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดโทษในอัตราสูงสำหรับความผิดที่เป็นบทฉกรรจ์ในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดหรือใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ
@@ เพิ่มฐานความผิดในกฎหมายฟอกเงิน
แก้ไขบทลงโทษ
แม้ว่าจะได้มีการตราพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 เพื่อป้องปรามการกระทำความผิด โดยกำหนดบทลงโทษกรณีที่มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าว ด้วยการกำหนดโทษให้ผู้ที่กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจ้าทั้งปรับก็ตาม
แต่ปัญหาหนี้นอกระบบที่มีการให้กู้ยืมโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรายังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และได้มีการพัฒนารูปแบบการกระทำความผิดในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบทลงโทษดังกล่าวยังไม่มีผลให้เป็นการยับยั้งการกระทำความผิดได้
โดยเฉพาะกรณีที่มีการให้กู้ยืมในลักษณะที่เป็นขบวนการที่มีนายทุนอยู่เบื้องหลัง หรือกรณีที่มีผู้มีอิทธิพลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้การสนับสนุนในการกระทำความผิด ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้กระท้าความผิดไม่เกิดความเกรงกลัวต่อโทษ อาจเกิดจากผลประโยชน์ที่ได้รับมีจ้านวนสูงกว่าอัตราโทษที่กำหนดไว้ ในกฎหมาย ดังนั้น จึงเห็นควรเพิ่มมาตรการในการยับยั้งการกระทำความผิด ด้วยการเพิ่มอัตราโทษปรับให้สูงขึ้น
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันอาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และไม่เพียงพอที่จะป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดได้ จึงทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และมีการกระทำความผิดในลักษณะที่เป็นองค์กรอาชญากรรม ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่สลับซับซ้อน ยากแก่การปราบปราม อันส่งผลให้ผู้กระทำความผิดได้รับผลประโยชน์ในจ้านวนมหาศาล
ดังนั้น คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า ควรกำหนดการให้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เป็นมูลฐานความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
นอกจากนี้ ควรมีการนำมาตรการทางภาษีมาใช้ในการลงโทษผู้กระทำความผิด รวมถึงกำหนดความผิดในการหลีกเลี่ยงภาษี กรณีที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิด เป็นมูลฐานความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย
@@ ตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ
ข้อสังเกตกรรมาธิการ
ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ จากการผลพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการที่ได้มีการพิจารณาศึกษาถึงสภาพปัญหา ของหนี้นอกระบบ ข้อจ้ากัดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้นำมาสู่แนวทางการบริหารจัดการและแก้ไข ปัญหาหนี้นอกระบบ และข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้น คณะกรรมาธิการจึงมีข้อสังเกตต่อการดำเนินงาน และการแก้ไขปัญหา อุปสรรคให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
ข้อสังเกตต่อรัฐบาล
- การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน ขาดการบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ทำให้การดำเนินการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลและรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องหนี้นอกระบบเป็นการเฉพาะ เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
- จากการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าการดำเนินงานของหน่วยงานมีภารกิจหน้าที่ที่ทับซ้อนกัน ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนกันของงบประมาณ ดังนั้น จึงควรมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลและมีภารกิจ เพื่อแก้ไข ปราบปรามหนี้นอกระบบอย่างครบวงจร โดยการจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ และกำหนดให้เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรง ต่อนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นหน่วยงานที่แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเท่านั้น แต่รวมถึงแก้ไขปัญหาหนี้สินด้านอื่น ๆ ด้วย
- รัฐบาลควรกำหนดแนวทางในการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานในการแก้ไข ปัญหาหนี้นอกระบบให้ประชาชนได้รับทราบอย่างชัดเจนและทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการรับลงทะเบียนหนี้นอกระบบ แนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง
- รัฐบาลควรมีมาตรการการเงินช่วยเสริมสภาพคล่องและแบ่งเบาภาระประชาชน โดยออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปที่ได้รับความเดือดร้อนหรือต้องการเงินทุน ผ่านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และคิดอัตราดอกเบี้ย ในอัตราที่ต่ำเช่น ร้อยละ 2 เช่นเดียวกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รัฐบาลได้มีการออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจาก COVID-19 ผ่านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Soft Loan) เป็นต้น
@@ งัดมาตรการภาษี ‘ดัดหลัง’
ข้อสังเกตต่อหน่วยงาน
- กรมการปกครอง ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทาง ในการรับลงทะเบียน หลักเกณฑ์ และแนวทางในการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพื่อให้ประชาชน ได้รับทราบและเข้าใจถึงแนวทางในการดำเนินงานของภาครัฐ
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการให้สินเชื่อ หรือให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินเข้ามายื่นขออนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้ การกำกับ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในระบบให้ประชาชนรายย่อยในระดับท้องถิ่น
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรมีฐานข้อมูลเจ้าหนี้นอกระบบที่เป็นบุคคล ต่างด้าว เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- กรมการปกครอง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรมีการบูรณาการฐานข้อมูลหนี้นอกระบบร่วมกัน เนื่องจากหน่วยงานที่มีการดำเนินงานแก้ไขปัญหา หนี้นอกระบบได้มีการจัดเก็บข้อมูลของเจ้าหนี้และลูกหนี้นอกระบบไว้ในหลายหน่วยงาน ซึ่งข้อมูลที่ทุกหน่วยงานจัดเก็บไว้นั้น ควรมีการบูรณาการข้อมูลดังกล่าวให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อไม่ให้ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกันและเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการป้องกันและปราบปราบเจ้าหนี้นอกระบบ
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมสรรพากร ควรบูรณาการการทำงานร่วมกัน ในการปราบปรามหนี้นอกระบบ โดยนำเอามาตรการทางภาษีมาบังคับใช้กับเจ้าหนี้นอกระบบ
- การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการพัฒนาชุมชน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และกรมการจัดหางาน ควรมีการส่งเสริมสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ โดยหน่วยงานควรเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะกรณีกู้เงินออนไลน์ ควรมีการประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการปิดกั้นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เงินกู้ออนไลน์
ทั้งนี้ การดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันดังกล่าว ควรมีการกำหนดระยะเวลาในการปิดกั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานและขจัดปัญหาเงินกู้ออนไลน์ - กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ควรมีการสร้างระบบข้อมูลการรายงานสถานะทางการเงินของกองทุนหมู่บ้านฯ เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านสามารถเรียนรู้และรายงานสถานะทางการเงินได้อย่างต่อเนื่อง
- ธนาคารภายใต้กำกับของรัฐ เป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐ โดยการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เชิงพาณิชย์ได้ ธนาคารของรัฐจึงควรมีแนวทางให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนที่สอดคล้องกับมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล
@@ ชง นิรโทษกรรม ‘เจ้าหนี้นอกระบบ’
ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย
- แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบควรมีการกำหนดมาตรการทางภาษีมาบังคับใช้กับเจ้าหนี้นอกระบบ ซึ่งถือเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้และทำให้สามารถทราบถึงรายได้ของเจ้าหนี้นอกระบบในการให้ลูกหนี้กู้ยืม
- กระทรวงยุติธรรมควรมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัยหรือไม่เหมาะสม กับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 โดยอาจนำแนวทางการเสนอแก้ไขข้อจ้ากัดของกฎหมายตามที่คณะกรรมาธิการได้เสนอตามรายงานผลการพิจารณาศึกษาฉบับนี้
- กระทรวงยุติธรรมควรกำหนดให้ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เป็นความผิดมูลฐานของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ตามรายละเอียดที่คณะกรรมาธิการได้เสนอแนะในรายงานผลการพิจารณาศึกษาฉบับนี้
- ควรมีการบูรณาการกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบซึ่งปัจจุบันที่มีอยู่หลายฉบับ โดยรวมและออกเป็นกฎหมายฉบับเดียว พร้อมทั้งมอบหมายให้มีหน่วยงาน หลักในการรับผิดชอบดูแลโดยตรง
- ควรบัญญัติบทกฎหมายการนิรโทษกรรมไว้ในพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อให้ผู้ที่ให้กู้ยืมเงินเข้ามาลงทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ต้องรับโทษ
ดังเช่น พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน ที่ระบุให้บุคคลที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวมาขอรับอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ต้องรับโทษ