ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศโปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รองรับการสมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ในอีก 120 วัน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาแพ่งและพาณิชย์ (ฉลับที่ 24) หรือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม พ.ศ.2567 มีผลบังคับใช้ 120 วัน หลังประกาศใช้ในราชกิจจา ความว่า
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมขอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับ24) พ.ศ. 2567”
มาตรา 2พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 43 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 43 ภูมิลำเนาของคู่สมรส ได้แก่ถิ่นที่อยู่ที่คู่สมรสอยู่กินด้วยกันฉันคู่สมรส เว้นแต่ คู่สมรสฝ่ายใดได้แสดงเจตนาให้ปรากฏว่ามีภูมิลำเมาเนาแยกต่างหากจากกัน”
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 1993/22 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 193/22 อายุความสิทธิเรียกร้องระหว่างคู่สมรส ถ้าจะครบกำหนดก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง"
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 1435 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 1435 การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายมีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์แล้ว"
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 1437 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายผู้หมั้นได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่ผู้รับหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้รับหมั้นนั้น เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้รับหมั้น"
ให้ไว้ ณ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2567 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน
อ่านประกาศฉบับเต็ม: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/36482.pdf
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมีผู้ประสงค์จะไปจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายใหม่ จะยังไม่สามารถทำได้ทันทีระหว่างที่กฎหมายเพิ่งประกาศใช้ ต้องรอให้พ้น 120 วัน หรือตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป จึงจะสามารถไปจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งใหม่ที่รับรองสิทธิสมรสเท่าเทียม