พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล มีคำสั่งให้ 8 ตำรวจลูกน้องคนสนิท พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ออกจากราชการ พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบสวน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2567 พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีหนังสือคำสั่ง ให้ ตำรวจ 8 ราย ลูกน้องคนสนิทของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล อดีตรองผบ.ตร. ออกจากราชการ และตั้งคณะกรรมการสอบสวนตำรวจทั้ง 8 ราย มีรายละเอียด ดังนี้
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 436/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ด้วยข้าราชการตำรวจดังต่อไปนี้
1. พลตำรวจตรี นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจนครบาล
2. พันตำรวจเอก ภาคภูมิ พิศมัย รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4
3. พันตำรวจเอก เขมรินทร์ พิศมัย ผู้กำกับการ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดจันทบุรี
4. พันตำรวจเอก อาริศ คูประสิทธิ์รัตน์ ผู้กำกับการ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา
5. พันตำรวจโท คริษฐ์ ปริยะเกตุ รองผู้กำกับการป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ (ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 178/2567 ลงวันที่ 18 เมษายน 2567)
6. พันตำรวจตรี ชานนท์ อ่วมทร สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรพระประประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
7. สิบตำรวจเอก ณัฐวุฒิ หวัดแวว ผู้บังคับหมู่ (ทำหน้าที่จราจร) งานปฏิบัติการจราจรตามโครงการพระราชดำริ 1 กองกำกับการ 6 กองบังคับการตำรวจจจราจร (ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 178/2567 ลงวันที่ 18 เมษายน 2567)
8. สิบตำรวจเอก อภิสิทธิ์ คนยงค์ ผู้บังคับหมู่ (ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม) สถานีตำรวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง สืบเนื่องจาก พลตำรวจตรี นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ กับพวกรวม 8 นาย ถูกสืบสวนข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 93/2567 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยปรากฎผลการสืบสวนข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2566 เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการที่ 4 ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคคล เครือข่าย หุ้นส่วน นายทุน เจ้าของเว็บไซต์และผู้ที่เกี่ยวข้องเว็บไซต์พนันออนไลน์ ซึ่งตรวจสอบพบการกระทำความผิด มีการเปิดบริการให้เล่นพนันออนไลน์ สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ เกมส์พนันออนไลน์อื่นๆ จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนในข้อหาร่วมกันจัดให้มีการเล่นหรือทำอุบาย ล่อ ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวน โดยทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่น หรือเข้าพนันในการเล่นทางสื่ออิเล็กทรอนิกสโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันฟอกเงิน โดยพนักงานสอบสวนได้รับ คำร้องทุกข์ไว้แล้วตามคดีอาญาที่ 468/2566 ของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ศาลอาญาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ออกหมายจับผู้ต้องหาที่เป็นข้าราชการตำรวจทั้ง 8 นาย ดังกล่าว จากการตรวจสอบข้อมูลที่ตรวจยึดได้พบบันทึกสรุปยอดบันทึกว่า "จ่ายตำรวจ" พร้อมระบจำจำจำนวนเงินและข้อมูลของนางสาวธันยนันท์ สุจริตชินศรี หรือสุชานันท์ กุลวัฒนโยธิน หรือมินนี่ ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันออนไลน์ พบว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พันตำรวจเอก ภาคภูมิ พิศมัย โดยมีหลัหลักฐานที่ พันตำรวจเอก ภาคภูมิ พิศมัย ให้นางสาวธันยนันท์ สุรริตชินศรี โอนเงินค่าตำรวจ โดยวิธีการนำเงินสดไปฝากเข้าตู้รับฝากของธนาคารต่างๆ เพื่อปกปิดอำพรางการได้มา โดย พันตำรวจเอก ภาคภูมิ พิศมัย ส่งเลขบัญชีธนาคารและภาพหน้าสมุดธนาคารไปยังนางสาวธันยนันท์ สุจริตชินศรี เพื่อให้ดำเนินการนำเงินสดไปฝากเข้าตู้เอทีเอ็มเข้าบัญชีของนายกิตติชัช ปภัสโรบล และนายพุฒิพงษ์ พูนศรี จากการสืบสวนสอบสวนพบว่า เงินค่าตำรวจ ซึ่งเข้าไปในบัญชีนายกิตติชัช ปภัสโรบล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงมีการทำธุรกรรมรับโอนเงินและโอนเงินเข้าไปในบัญชีธนาคารนายพุฒิพงษ์ พูนศรี, นายครรชิต สองสมาน, นายวราวุฒิ บางพระ, และนางสาวพิมพิลาศ แก่นมั่น ซึ่งเป็นบัญชีที่ พันตำรวจโท คริษฐ์ ปริยะเกตุ เป็นผู้ถือและใช้บัญชี
และได้มีการโอนเงินและรับโอนเงินผ่านบัญชีดังกล่าวไปยัง พลตำรวจตรี นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์, พันตำรวจเอก เขมรินทร์ พิศมัย, พันตำรวจเอก อาริศ คูประสิทธิ์รัตน์, พันตำรวจตรี ชานนท์ อ่วมทร, สิบตำรวจเอก ณัฐวุฒิ หวัดแวว และ สิบตำรวจเอก อภิสิทธิ์ คนยงค์ ซึ่งเป็นการโอนเงินและรับโอนเงินจากบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดการพนันออนไลน์ และน่าเชื่อว่ามีพฤติการณ์เรียกรับเงินค่าตำรวจดังกล่าว เหตุเกิดในห้วงปี พ.ศ. 2565 ถึงปี พ.ศ. 2566 กรณีจึงมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า พลตำรวจตรี นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ กับพวก รวม 8 นาย กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 105 มาตรา 119 และมาตรา 179 ประกอบกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2547 จึงแต่งตั้งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. พล.ต.ท.สันติ ชัยนิรามัย จเรตำรวจ เป็นประธานกรรมการ
2. พล.ต.ต.อรรถพล อนุสิทธิ์ ผบก.น.2 เป็นกรรมการ
3. พ.ต อ.รณชัย เมฆชัย รองผู้บังคับการกองตรวจราชการ 3 เป็นกรรมการ
4. พ ต.อ.ธีรศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการ
5. พ.ต อ.ธรรมนิตย์ บุญเพ็ญ ผู้กำกับการฝ่ายสืบสวนและตรวจราชการ 1 กองตรวจราชการ 3 เป็นกรรมการและเลขานุการ
6. พ.ต ท.วรปรัชญ์ วุฑฒิรักษ์ รองผู้กำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการ
7. พ.ต.ท.พฤฒ ศุภจิตตากร สารวัตร (สอบสวน) สน.ปากคลองสาน เป็นกรรมการ
และคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 437/2567 เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการไว้ก่อน
เนื่องด้วยตำรวจทั้ง 8 ราย ข้างต้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน โดยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับเครือข่ายหุ้นส่วน นายทุน เจ้าของเว็บไซต์และผู้ที่เกี่ยวข้องเว็บไซต์พนันออนไลน์ สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ เกมพนันออนไลน์อื่นๆ และต้องหาคดีอาญาที่ 468/2566 ของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ ในข้อหาสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันฟอกเงิน ซึ่งเป็นกรณีต้องหาคดีอาญาร้ายแรง จนถูกศาลอาญาออกหมายจับ ตามหมายจับที่ จ.879-901/2566 ลงวันที่ 62 กันยายน 2566 ในกรณีดังกล่าว และมีเหตุผลให้พักราชการได้ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. 2547 ข้อ 3 (1) คือ ถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญาโดยผู้กระทำความผิดเป็นข้าราชการตำรวจ มีหน้าที่และอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา แต่กลับต้องหาว่ากระทำผิดทางอาญาเสียเอง ซึ่งเป็นคดีสำคัญอยู่ในความสนใจของประชาชน
ประกอบกับปรากฏข้อเท็จจริงตามเอกสารข่าว สำนักงานอัยการสูงสุด ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ว่ามีพฤติการณ์การกระทำในเชิงคุกคามข่มขู่พนักงานอัยการที่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้คำแนะนำปรึกษาการสืบสวนสอบสวนคดีนี้ และขัดขวางกระบวนการสืบสวนสอบสวน ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนและภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งจแห่งชาติอย่างร้ายแรง ถ้าให้คงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ ประกอบกับการสอบสวนพิจารณาในเรื่องนี้มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน และมีผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเป็นเครือข่ายจำนวนมาก พิจารณาแล้วเห็นว่าการสอบสวนพิจารณาที่เป็นเหตุให้สั่งพักราชการนั้นจะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 105 มาตรา 131 และมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ประกอบกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. 257 ข้อ 8 จึงให้ พลตำรวจตรี นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ กับพวกรวม 8 นาย ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
อนึ่ง ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามคำสั่งนี้ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค.ตร. ได้ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 141 ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง และหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์นี้นี้นี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อต่อศาลปกครองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือรับทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือภายใน 90 วัน นับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอทราบผลการวินิจฉัยอุทธรณ์